ไทยประกาศชัดมุ่งมั่นขจัดอาชญากรรมประมง พร้อมเชิญประชาคมโลกแสดงจุดยืนร่วมกัน ณ การประชุม FishCRIME2017

ข่าวทั่วไป Thursday September 28, 2017 09:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ การประชุม The 3rd International Symposium on Fisheries Crime (FishCRIME2017) กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 25 -26 กันยายน 2560 พลเอกปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะผู้แทนประเทศไทย ได้กล่าวแสดงจุดยืนในความมุ่งมั่นของประเทศไทยที่จะขจัดอาชญากรรมประมง และจะร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง พร้อมเชิญชวนนานาประเทศทั่วโลกให้ช่วยกันปราบปรามและหยุดยั้งอาชญากรรมทางการประมงทุกรูปแบบ พลเอกปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในฐานะผู้นำคณะผู้แทนไทยไปเข้าร่วมการประชุม The 3rd International Symposium on Fisheries Crime (FishCRIME2017) กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้แสดงท่าทีของประเทศไทยว่าในฐานะที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของโลก จำเป็นต้องคำนึงถึงความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัย และคุณภาพของอาหารที่ผลิตสาหรับผู้บริโภค ที่สำคัญห่วงโซ่การผลิตจะต้องไม่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางการประมง ซึ่งมีเครือข่ายความเชื่อมโยงข้ามชาติ ในส่วนของประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการประมงเพื่อความยั่งยืนซึ่งเป็นเป้าหมายแห่งชาติ มีกรอบกฎหมายใหม่ที่เป็นสากลมากขึ้น เพื่อป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทาประมง IUU เรือประมงและเรือสนับสนุนทุกประเภทจะถูกควบคุมตามมาตรฐานสูงสุด สินค้าประมงที่นำเข้าไทยจะถูกตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งหากมีสินค้าที่ทำผิดกฎหมายเข้ามาก็จะดำเนินมาตรการทั้งทางอาญาและทางการปกครองอย่างรุนแรง เพื่อป้องกันสินค้าประมง IUU เข้าสู่ห่วงโซ่การผลิตตามมาตรการรัฐเจ้าของท่าและระบบการตรวจสอบย้อนกลับ พร้อมทั้งได้ผลักดันมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันอาชญากรรมประมง นอกจากนี้ ยังได้พยายามแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคการประมง ไม่เฉพาะการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแรงงานให้เป็นสากลมากขึ้นเท่านั้น แต่ได้มีการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังทั้งการทาประมง IUU และแรงงานผิดกฎหมายหรือการทางานที่ไม่พึงประสงค์ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งความผิดในสิ่งเหล่านี้มีโทษรุนแรงเพื่อให้เกิดการยับยั้งมิให้กระทำผิดต่อไป ซึ่งต้องขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ได้ร่วมมือประสานงานอย่างใกล้ชิดและให้ความช่วยเหลือในการปฏิรูปของไทยครั้งนี้ด้วย โดยในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยได้มีการแสดงจุดยืนที่มุ่งมั่นในการขจัดอาชญากรรมประมง และขอความร่วมมือจากทุกประเทศในการช่วยกันปราบปรามอาชญากรรมประมงทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ระดับโลก ตามแนวทางที่ดีที่สุด ซึ่งในที่ประชุมต่างรู้สึกชื่นชมกับท่าทีของประเทศไทยและพร้อมที่จะร่วมมือกันหยุดยั้งอาชญากรรมประมงด้วยความเข้มแข็งเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรประมงของโลก ผู้ช่วยรัฐมนตรีเกษตรฯ กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ