ใช้สมองให้ครบทุกส่วน หากไม่อยากสมองเสื่อม !! ได้เวลากระตุ้นสมองส่วนที่ละเลย ฝึกง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน

ข่าวบันเทิง Tuesday October 31, 2017 13:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ต.ค.--นานมีบุ๊คส์ ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศอันก้าวล้ำ หนุนนำให้สื่อไฮเทคเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้นทุกวันๆ จนการใช้อุปกรณ์ช่วยจำอย่างมากเกินไปส่งผลให้สมองค่อยๆ เสื่อมสภาพ นักวิทยาศาสตร์สมองทั่วโลกค้นพบข้อเท็จจริงแล้วว่า หากคุณปล่อยชีวิตเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ อาจทำให้สมองเสื่อมไวขึ้นโดยไม่รู้ตัว! ได้เวลาสำรวจตัวเองแล้วปรับพฤติกรรมก่อนจะสาย ด้วยเทคนิคกระตุ้นสมองส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้ สร้างสมองที่สมดุล จาก นพ.คะโตะ โทะชิโนะริ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์สมองชื่อดังของญี่ปุ่น เจ้าของหนังสือฝึกสมองระดับ Bestseller "66 วิธีลับคมสมอง" และ "ยิ่งเรียนสูงเรียนเก่ง ยิ่งต้องเร่งปรับตัว" ได้วิเคราะห์เจาะลึกถึงพฤติกรรมที่ละเลยสมองบางส่วน แต่ก็มอบทางออกเป็นเคล็ดลับฝึกสมองส่วนที่ถูกลืมนี้ไว้ด้วยเช่นกัน ในผลงานเล่มล่าสุด "ปรับสมองไม่ให้เสื่อม" ที่คุณจะต้องทึ่งกับกลไกการทำงานของสมองที่น่าฉงน แต่เราควบคุมได้ และฝึกฝนง่ายๆ ได้ตลอดเวลา นพ.คะโตะ อธิบายเกี่ยวกับ "การปรับสภาพสมอง" ว่า เป็นการจงใจเปลี่ยนวิธีการใช้สมองซึ่งเอนเอียงไปทางส่วนใดส่วนหนึ่ง หันมากระตุ้นสมองส่วนอื่นๆ อย่างทั่วถึงกันจนได้สมองที่แข็งแรง ในเมื่อสมองซีกขวาโดยเฉพาะส่วนที่ควบคุมด้านการมองเห็น ด้านความเข้าใจ และด้านการจดจำไม่ค่อยถูกกระตุ้น ไม่มีการใช้งาน ก็จะไร้ประสิทธิภาพจนค่อยๆ เสื่อม ทำให้สมองโดยรวมไม่สมดุล นำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ในที่สุด (ขั้นรุนแรงก็อาจเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์) คำแนะนำสารพัดวิธีเพื่อปรับสภาพสมองไม่ให้เป็นสมองอ่อนแอก็อัดแน่นและเข้าใจง่ายอยู่ในเล่มนี้แล้ว การปรับสภาพสมองมีหลักพื้นฐานก็คือ "พักสมองส่วนที่ใช้บ่อย และใช้สมองส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้" สมองก็จะสมดุล มีภูมิต้านทาน ไม่เสื่อมสภาพ ในเล่มนี้เสนอวิธีฟิตสมองซีกขวา 3 ด้าน (จาก 8 ด้าน) ได้แก่ ด้านการมองเห็น ด้านความเข้าใจ และด้านการจดจำ เราขอหยิบยกวิธีปรับความเคยชินของสมองที่น่าสนใจจาก "ปรับสมองไม่ให้เสื่อม" เพื่อเป็นแนวทางให้คุณไปปรับใช้เบื้องต้น ดังนี้ ? สั่งอาหารจากภาพ ไม่ต้องดูตัวหนังสือ เป็นการกระตุ้นสมอง "ด้านการมองเห็น" เพราะ ความสามารถในการอ่านตัวหนังสือจะใช้สมองซีกซ้าย และความสามารถในการดูภาพจะใช้สมองซีกขวา ดังนั้นคนที่ดูเมนูอาหารแล้วสั่งจากภาพจะเป็นคนที่พื้นที่สมองด้านนี้แข็งแรง ไม่ว่าดูอะไรก็วิเคราะห์ได้ดีและว่องไว ? แปรงฟันด้วยมือที่ไม่ถนัด ช่วยกระตุ้นสมอง "ด้านความเข้าใจ" เนื่องจากร่างกายซีกขวาควบคุมโดยสมองซีกซ้าย และร่างกายซีกซ้ายควบคุมโดยสมองซีกขวา ดังนั้นการที่เราเปลี่ยนมาใช้งานมือข้างที่ไม่ถนัด ทำให้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สะดวก และพยายามทำความเข้าใจพร้อมปรับตัว เป็นวิธีปรับสมองที่ได้ผลดีที่สุด ? คิดตารางเวลาแบบย้อนหลัง เพราะเรามักจะคุ้นเคยกับการเขียนกำหนดการแบบไปข้างหน้าตามลำดับ แต่ถ้ามองกลับกัน ลองทำกำหนดการแบบถอยหลังดูบ้างก็จะช่วยกระตุ้นสมอง "ด้านการจดจำ" เป็นการปรับวิธีคิดจากเริ่มกี่โมง มาเป็นต้องเสร็จกี่โมงแทน จะเห็นได้ว่าการทำกิจกรรมจะว่องไวและลงตัวอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจากการปรับพฤติกรรมนี้มาสร้าง "สมองที่แข็งแรง" ที่สมดุลไปทุกส่วน ด้วยการท้าทายกิจวัตรประจำวันของเรา หากคุณรู้สึกว่าใช้สมองเกินพอดีไปบางส่วน ก็เตือนสติตัวเองว่าต้องไม่ละเลยสมองส่วนอื่นๆ ที่ควรถูกใช้งานและถูกกระตุ้นในวันนั้นๆ ด้วย สมองจะได้ใช้งานอย่างทั่วถึง เพียงคุณปรับความเคยชินในชีวิตประจำวัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ก็เพราะสมองคนเราพัฒนาได้ตลอดชีวิต และปรับสภาพได้ตลอดนั่นเอง "ปรับสมองไม่ให้เสื่อม" มี 23 บทวิเคราะห์ และ 34 วิธีฝึกสมองแสนง่ายที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน วางจำหน่ายแล้วตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ ราคา 225 บาท หรือสั่งซื้อผ่านทาง www.nanmeebooks.com และ www.facebook.com/nanmeebooksfan หรือโทร 0-2662-3000 กด 1

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ