TCJเหินฟ้าร่วมประชุมอนุสัญญาประเทศรัฐภาคีแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือโลกร้อน

ข่าวทั่วไป Wednesday November 15, 2017 13:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 พ.ย.--พีอาร์ นิวส์ บียอนด์ ""ดร.ทรงวุฒิ ไกรภัสสร์พงษ์"" ได้รับเกียรติทำหน้าที่เป็นหนึ่งในคณะผู้แทนรัฐบาลไทยในการเจรจาครั้งนี้ ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประชุมปีนี้ โดยการประชุมเจรจาอนุสนธิสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) จัดที่เมืองบอนน์ สหพันธรัฐเยอรมันนี หวังเพิ่มศักยภาพขีดความสามารถของประเทศไทย หลังปีก่อนประสบความสำเร็จดึงเงินมาให้สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เพื่อสำรวจหาค่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดร. ทรงวุฒิ ไกรภัสสร์พงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ที.ซี.เจ. เอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือ ""TCJ"" เปิดเผยว่า ตนเองได้รับเกียรติเข้าร่วมประชุม ณ สหพันธรัฐเยอรมันนี โดยเป็นการเข้าร่วมประชุมเพื่อเจรจาสำหรับสมาชิก (Conferent on Parties) ครั้งที่ 23 โดยมี ประเทศฟิจิเป็นเจ้าภาพ ซึ่งใช้สถานที่ประชุมที่เมืองบอนน์ สหพันธรัฐเยอรมันนี สำหรับการประชุมปีนี้มีสมาชิกเข้าร่วมประชุม 194 ประเทศและรัฐ โดยมีจำนวนผู้เข้าประชุมประมาณ 20,000 คน รวมทั้งนักข่าวและผู้สนใจหรือเอ็นจีโอรวมเป็นกว่า 30,000 คน ส่วนประเด็นที่เจรจามีจำนวนมากนับ 100 ประเด็น ซึ่งทำให้การเจรจาเป็นไปด้วยความลำบากต้องแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ๆ และให้แต่ละประเทศส่งผู้แทนมาเข้าร่วมประชุมในห้องนั้น ๆ เพื่อเจรจาทีละหัวข้อย่อย ๆ ดร.ทรงวุฒิ กล่าวเพิ่มว่า ตนเองได้รับผิดชอบใน 3 เรื่อง หลัก ได้แก่ 1. การเจรจาการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาสู่อุตสาหกรรมประเทศไทย เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศของโลก 2.ความช่วยเหลือและสนับสนุนทางด้านการเงินแก่ประเทศกำลังพัฒนา 3. การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะเกิดกับประเทศที่กำลังพัฒนาที่ต้องใช้มาตรการ เพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการหาทางเยียวยาผู้ประกอบการและคนงานที่อาจจะตกงาน " ผมเองรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับโอกาสให้ทำหน้าที่นี้ โดยงานปัจจุบันที่ทำให้กับ TCJ เอง ก็ทำเต็มที่ ซึ่งงานราษฎร์ผมเองก็ดูแล ด้านงานหลวง งานช่วยประเทศชาติผมเองก็ดูแลอย่างสม่ำเสมอ และให้ความสำคัญอย่างเต็มความสามารถ โดยผมเองยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ทำให้ผมคาดว่าในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยอาจจะได้รับประโยชน์ด้วยการช่วยเหลือทางเงินทุน ที่ผมดำเนินการเจรจา ซึ่งปีที่แล้วประสบความสำเร็จในการดึงเงินมาให้สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เพื่อทำการสำรวจหาค่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละโรงงาน นอกจากนั้น จะทำการเจรจากับกองทุน Green Climate Fund เพื่อให้ความช่วยเหลือโรงงานที่พบว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโลกร้อน หรือ การเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ ในด้านความช่วยเหลือทางการปรับปรุงเครื่องจักรและเทคโนโลยีบางอย่างที่เป็นจุดที่ปล่อย ก๊าซเรือนกระจกมาก "ดร. ทรงวุฒิ กล่าวทิ้งท้าย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ