กรมการพัฒนาชุมชน จับมือม. ศิลปากรติดปีกผู้ประกอบการไทย ใส่ดีไซน์ใหม่สู่ใบไม้สีทองของดี3จังหวัดภาคใต้

ข่าวทั่วไป Friday November 24, 2017 14:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 พ.ย.--มหาวิทยาลัยศิลปากร เพราะความแตกต่างเป็นตัวสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและนี่จึงเป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยศิลปากรนำโดยดร.เรืองลดา ปุณยลิขิต อาจารย์ประจำหลักสูตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ(หลักสูตรนานาชาติ)และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตนมหาบัณฑิต สาขาศิลปะการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรและหัวหน้าโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมจากใบไม้สีทองได้ลงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อฝึกอบรมพัฒนาผู้ประกอบการพร้อมช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าโอทอป อย่างใบไม้สีทองของประจำท้องถิ่นที่แขกไปใครมาต้องซื้อกลับไปฝากกันในรูปลักษณ์ดั้งเดิมที่เป็นเพียงใบไม้ตั้งโชว์ในกรอบรูปปรับโฉมสู่ความเป็นสินค้านวัตกรรมใหม่เปิดตลาดสากล นายไกรวุฒิ ช่วยสถิตย์ พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่าทางหน่วยงานเล็งเห็นถึงปัญหาของผู้ประกอบการท้องถิ่นทั้งสภาวะเศรษฐกิจและทางไปต่อของสินค้าชุมชนที่เป็นเรื่องของความรู้ ความสามารถทางการตลาดที่ควรจะมีการยกระดับในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีแนวทางและมีตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นพร้อมกันนั้นเรายังได้รับมอบหมายจากนโยบายของรัฐบาลฉะนั้นจึงได้มีแผนที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ นำไปสู่การขยายช่องทางการตลาดนำไปสู่ฐานรากได้ดี ควรมีทั้งเรื่องของการบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม การตลาดที่เปิดกว้างและการเพิ่มมูลค่าด้วยเรื่องเล่าทางวัฒนธรรมอันสืบเนื่องธรรมชาติ คุณวัชรา เจ๊แม ผู้ประกอบการร้านนรากรอบรูป ต.บางนาค จ.นราธิวาส หนึ่งในร้านเก่าแก่ย่านตลาดนราธิวาสบอกว่าตนดำเนินธุรกิจใบไม้สีทองมามากกว่า20 ปี โดยรากฐานเดิมที่บ้านทำธุรกิจช่างกรอบรูปแล้วก็ได้คิดค้นที่จะนำใบไม้สีทองมาวางใส่ในกรอบรูปโดยได้ออกหาใบไม้บริเวณท้องถิ่นเลือกที่มีลักษณะสีสวยงามแล้วนำมาใส่กรอบตั้งขายโชว์ในร้านที่ตลาดจึงเป็นที่รู้จักและนักท่องเที่ยวจะแวะซื้อเป็นของฝากเหมาะกับการมอบให้กับญาติผู้ใหญ่ "ต้นใบไม้สีทองหรือย่านดาโอ๊ะ" ถือเป็นต้นไม้หนึ่งเดียวในโลก ที่พบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ มีความสวยงาม ที่มีถึง 3 สี คือ สีนาค สีเงิน และสีทอง ทำให้ใบไม้สีทองกลายเป็นใบไม้มงคลตามความเชื่อที่หลายคนอยากที่มีไว้ภายในบ้านเพื่อเป็นสิริมงคลซึ่งที่ร้านก็ขายมานานมีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว แต่ก็มีร้านอื่นๆในจังหวัดเกิดขึ้นเยอะต่างคนก็ต่างขายก็ทำให้มีคู่แข่งบ้างเลยคิดอยากจะให้ธุรกิจของเรามีจุดเด่นบ้างเพื่อสร้างความแตกต่างและก็คิดมาตลอดที่อยากจะพัฒนาผลิตภัณฑ์แต่เราก็ไม่รู้จะสำเร็จไหมจึงไม่มีความกล้าที่จะลงทุนและที่สำคัญเราไม่มั่นใจว่าจะมีตลาดตอบรับรูปแบบใหม่ในแบบที่เราคิดเองหรือเปล่าจึงทำให้เราไม่ได้ขยับปรับเปลี่ยนรูปแบบการขายตลอดมาจนวันนี้" ด้านนายอนันต์ ดารามั่น ผู้ประกอบการท้องถิ่นจากร้านโกลเด้นลีฟ การ์เด้น บอกว่าทุกวันนี้ยอดขายเป็นไปได้อย่างไม่หวือหวาจะขายดีในงานแฟร์ช่วยเทศกาลและอาศัยว่าพยายามนำเสนอการขายเรื่องราวความเป็นสิริมลคลตามความเชื่อพร้อมกับพูดถึงความยากเย็นของการหาสินค้าเพื่อให้เกิดความน่าสนใจแต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่เคยพัฒนาสินค้าให้หลุดพ้นออกจากกรอบเดิม "เวลาไปหาใบไม้แต่ละทีต้องเข้าไปในป่าลึกเข้าออกจะลำบากมาก ดังนั้น คนที่จะเข้าไปเก็บต้องเป็นผู้ชำนาญทาง โดยปีหนึ่งจะเก็บได้แค่ 2 ช่วง คือ เดือนมีนาคม และกันยายน เท่านั้น ใบที่เก็บมา เฉลี่ยจาก 100 ใบ จะมีใบสมบูรณ์จำหน่ายได้ประมาณ 20 ใบเท่านั้นทางร้านจะบอกกับลูกค้าแบบนี้ตลอดเพราะเราขายเสน่ห์เรื่องราวของใบไม้แต่ตลอดมาก็พยายามคิดอยู่ตลอดว่าจะพัฒนาผลิตภัณฑ์แต่ติดที่งบประมาณและการศึกษาความเป็นไปได้เรามองตลาดกันไม่ออกว่ามันจะเป็นรูปแบบไหน แม้ผู้ประกอบการทุกคนอยากจะลองที่หลากหลาย และช่วยกันขาย ไม่แข่งกันขาย แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีแนวทางฉะนั้นทุกคนเลยพร้อมมากและตื่นเต้นดีใจมากที่ได้รับความช่วยเหลือ" ปิดท้ายที่ ดร.เรืองลดา กล่าวว่าโจทย์ของคณะทำงานมีอยู่เพียงว่าต้องทำให้ใบไม้สีทองนี้สร้างสรรค์ให้ออกมานอกกรอบโดยได้วางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากกว่าความเป็นของตั้งโชว์และศึกษาทำให้เกิดขึ้นภายใต้ความเป็นไปได้ทางด้านการผลิตและเชิงการตลาดซึ่งเริ่มต้นด้วยการปรับแนวคิดทางการตลาดพร้อมนำตัวอย่างช่องทางการตลาดมาให้ศึกษาและช่วยสร้างสรรค์โลโก้อัตลักษณ์สินค้าที่ต้องมีให้จดจำ "สิ่งที่โครงการกำลังทำให้คือการเพิ่มตลาดให้ด้วยการทำให้ผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านสามารถเปิดตลาดเพิ่มได้พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มขณะเดียวก็จะสอนให้รู้จักการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยจะมีทางเลือกให้เลือกหลากหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้ประกอบการได้เลือกแนวทางของตัวเองซึ่งเราก็คาดหวังให้ผู้ประกอบการมีความแข็งแกร่งและยั่งยืน เพราะงานนี้เราไม่ได้เน้นการสอนแต่เราพร้อมฝึกปฎิบัติให้ผู้ประกอบการลงมือทำได้จริงเพื่อบ่มเพาะจนถึงปลายน้ำที่ผลิตภัณฑ์สามารถวางจำหน่ายในตลาดนานาชาติได้ซึ่งนั่นก็ได้ผลดีทั้งระบบเศรษฐกิจและได้ประชาสัมพันธ์ของดีของท้องถิ่นไทยไปในตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ