มศว ร่วมปั้นผู้นำธุรกิจเชิงสร้างสรรค์

ข่าวทั่วไป Friday March 9, 2018 15:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--12 มี.ค.--ศูนย์บริการวิชาการ มศว อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าให้กับประเทศสูงถึง 1.60 ล้านบาท (ขอแก้ไขเป็น 1.61 ล้านล้านบาท) ข้อมูลนี้กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าโอท็อป ให้มีอนาคตที่แจ่มใสและสามารถเป็นผู้นำธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ได้ไม่ยาก หากได้เรียนรู้กระบวนการคิดเพื่อพัฒนาปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของสินค้าให้มีความทันสมัย น่าซื้อ น่าใช้ จากผู้ที่มีความรู้มีทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มาเป็นผู้ถ่ายทอดองคความรู้จากทฤษฎีไปสู่ภาคการปฏิบัติจริง ซึ่งก็จะทำให้ประเทศไทยเรามีโอกาสที่จะหลุดพ้นจากประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และทำให้สินค้าไทยได้รับการยอมรับเป็น"อุตสหกรรมสร้างสรรค์ของไทย" ที่มีคุณค่าและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ล่าสุดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้ผุดไอเดียแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อพัฒนาผู้นำธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ใน 4 สาขา ร่วมกับสถาบันพลาสติก บริษัทกันตนา กรุ๊ป จำกัด ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ที่คาดว่าจะสร้างความสำเร็จให้กับกลุ่มผู้ประกอบการได้อย่างเห็นผลจริง ดังเช่นที่อาจารย์อัศวิน โรจน์สง่า ผู้เชี่ยวชาญสาขาออกแบบตกแต่งร้าน Visal Merchandising อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของสินค้าโอท็อปและการนำเสนอสินค้าจากภูมิปัญญาไทยพื้นบ้านบางอย่าง ให้มีความโดดเด่นดึงดูดใจให้เกิดความอยากซื้อผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไปใช้ประโยชน์ "ผมใช้ความรู้ในวิชาชีพเข้ามาช่วยพัฒนาสินค้าของผู้ประกอบการที่ส่วนมากนำเสนอสินค้าที่มาจากภูมิปัญญาทั้งเก่าและใหม่อยู่แล้ว แต่เขามีปัญหาในการจัดดิสเพลย์ ภูมิปัญญาหรือเรื่องความคิดสร้างสรรค์เขามีอยู่แล้วแต่เขามีข้อจำกัด เราเพียงแต่เข้าไปช่วยให้เขาคิดนอกกรอบ ผู้ประกอบการคนไทยส่วนใหญ่มักจะลเอกการทำอะไรตามๆ กัน หรือทำตามแบบต่างชาติเพราะคิดว่าดี ขายได้ เป็นแพทเทิร์นเดียวกัน ไม่มีใครค่อยคิดถึงเรื่องการทำนอกกรอบหรือเห็นแล้วมาปรับได้ เราไม่ใช่คนไปกำหนดบังคับผู้ประกอบการว่าต้องทำแบบนั้นหรือทำแบบนี้ แต่เราจะดูสินค้าเขาและช่วยวางแนวทางให้เขาปรับ ทำให้เขาคิดได้ว่าทำอะไรได้มากกว่านี้เพื่อจะให้สินค้าของเขามีการตอบสนองจากกลุ่มผู้ใช้ได้มากขึ้น เช่น ผู้ประกอบการรายหนึ่ง เขามีพื้นฐานการออกแบบมาเพราะเรียนมาทางด้านนี้ เขาทำเครื่องประดับ สินค้าพวกเครื่องประดับของเขาก็จะออกมาแบบไทยๆ รูปทรงลวดลายแบบไทยๆ นำองค์เทพพระพิฆเนศมาทำเป็นเข็มกลัดสวยมากๆ งานลักษณะแบบนี้อยู่แค่การจัดวางให้ถูกต้องก็จะมีราคาและไม่ได้อยู่ในแค่ประเทศเท่านั้น อาจได้ไปโชว์ถึงในต่างประเทศ ถูกครับผมกำลังจะบอกว่าการจัดวางหรือพรีเซ็นต์เทชั่น มีผลต่อการขายสินค้ามาก และมีคุณค่าขึ้นมาก ของเล็กๆ นี่ล่ะที่จะทำอย่างไรให้น่าสนใจ ตัวโปรดักส์มีความน่าสนใจอยู่แล้ว ในทางกลับกันของราคาถูกไม่แพงแต่เป็นของชิ้นเล็กเหมือนกัน แต่เราจัดวางเหมือนร้านเพชร ลูกค้าอาจไม่กล้าเข้า เราต้องรู้ก่อนว่าโปรดักส์เราคืออะไร เราเป็นใคร เราจะขายใคร ของแพงก็ต้องทำให้แพง ของถูกก็ต้องทำให้รู้ว่าเราขายของถูก มันมีหลักการของการออกแบบมาช่วย สอนกันแบบทางลัดรู้เร็วเพราะผู้ประกอบการแต่ละคนก็มีพื้นฐานความรู้และความเข้าใจไม่เหมือนกัน แต่เราก็ทึ่งกับพวกเขานะว่าพอเขาได้รับการอบรมแล้วเขาทำได้ดีน่าทึ่งมาก ผมไม่ได้สอนให้เขาเชื่อตามผมนะครับแต่จะสอนให้เขาได้คิดเป็น ทำเป็น เราเป็นแค่คนแนะนำให้เขาลองจัดดิสเพลย์ในวันแรกแบบที่ยังไม่ได้เรียนรู้ 10 กลุ่ม ของมีคละกันหลายหวดหมู่ จัดแล้วก็ค่อยมาสอนให้เขารู้ว่าการจัดดิสเพลย์สินค้าให้มีความน่าสนใจและเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายคือ การต้องรู้หลักการเรื่ององค์ประกอบของสี ระยะการมองเห็นไกลใกล้ พอฟังเข้าใจแล้วก็เอาใหม่ ให้เขารื้อดิสเพลย์แต่ทีแรกนั้นแล้วจัดกันใหม่ คราวนี้เขาทำได้ดีขึ้น รอบนี้เราบอกว่าเรามีอุปกรณ์ตัวช่วยทั้งที่จริงก็มีอยู่ให้แล้วแต่ทีแรก เราจะบอกว่าตัวช่วยในการจัดดิสเพลย์สินค้านี้ไม่ได้อยากให้ใช้ทุกชนิด ผู้ประกอบการต้องรู้ว่าเขาขายอะไรและตัวช่วยหรืออุปกรณ์เสริมประกอบฉาก ประกอบสินค้าให้มีคุณค่านั้นเหมาะกับสินค้าเขาหรือไม่ หยิบอะไรที่ไม่ใช้มาจะถูกหักคะแนนออกทันที นี่ก็คือการสอนเรื่องของให้เหมาะสมกับโปรดักส์ ไม่ใช้เฮโลขนมากันหมด ใช้ไม่ใช่ฉันไม่รู้ มันพูดถึงเรื่องธุรกิจ งบประมาณ การลงทุน ต้นทุน จาก 100 คะแนนนี่เขาต้องเกิดการคิดล่ะ ราวนี่ใช้ไหม ตัวนี้ใช้ไหม ทุกอย่างแฝงอยู่ในนั้น ผมเห็นการจัดวางสินค้ารอบหลังนี่ผมแทบน้ำตาไหลเพราะเขาทำกันได้ดีขึ้นมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเก่งกล้าใน 3 วันที่มาอบรมกับทาง มศว แต่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ ดู เสาะหาเยอะๆ เพราะโลกเรามันเปลี่ยนทุกวัน ผลิตภัณฑ์เดิมไปทุกที่เราก็ต้องเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาของบูธ ลูกค้าเดิมอาจกลับมาถ้าเห็นแบบเดิมๆ ก็จำได้แต่จะไม่อยากซื้อ ก็จะได้ลูกค้าใหม่ด้วย มันคือการขับเคลื่อน ถ้าเราอยู่กับที่เราจะขายใครไม่ได้เลย เราต้องตามให้ได้คือเทรนด์" ทั้งนี้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร จัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการสู่การเป็นผู้นำธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ใน 4 สาขา ได้แก่ สาขาถ่ายภาพเพื่อการพาณิชย์และสาขาผลิตรูปแบบรายการโทรทัศน์ โดยบริษัทกันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติกและคอมโพสิท สาขาออกแบบตกแต่งร้าน (Visual Merchandising) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการนำเสนอการจัดแสดงสินค้าผ่านรูปแบบการดีไซน์ สีสัน เสียงเพลง ไปจนถึงการเลือกวัสดุตกแต่งให้ดึงดูดใจลูกค้า รวมไปถึงเอกลักษณ์ที่ดึงตัวตนของธุรกิจตนเองออกมาให้เห็นเด่นชัด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการได้พัฒนาไปสู่การเป็นนักออกแบบตกแต่งร้านอย่างมืออาชีพ โดยมีกลุ่มคณาจารย์จาก มศว เป็นพันธมิตร ดังเช่นที่อาจารย์อัศวินกล่าวถึง สาขาถัดมาคือ สาขาธุรกิจบริการไลฟ์สไตล์ โดยมีพันธมิตรคือศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thai-IDC) นำเสนอผลงานทั้งภาพถ่ายรายการโทรทัศน์ การออกแบบตกแต่งร้าน ออกแบบธุรกิจไลฟ์สไตล์ ฯลฯ ตอบโจทย์ในเชิงพาณิชย์ ผู้ประกอบการและนักออกแบบในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สามารถสมัครร่วมโครงการฯ ได้ที่ โทร.02-367-8289 / 02-367-8296 (กรมพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) หรือที่ ศูนย์บริการวิชาการ มศว และเครือข่ายพันธมิตร

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ