ร่วมฟังการบรรยาย ประชุมสัมมนา และเวิร์คช็อปจากองค์กรระดับนานาชาติ ภายในงานมหกรรมพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2561 (SETA 2018)

ข่าวบันเทิง Friday March 16, 2018 11:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 มี.ค.--FYI SETA 2018 Conferences ร่วมฟังการบรรยาย ประชุมสัมมนา และเวิร์คช็อปจากองค์กรระดับนานาชาติ ภายในงานมหกรรมพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2561 (SETA 2018) การจัดประชุมวิชาการและนิทรรศการนานาชาติ ภายในงานมหกรรมพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2561 (Sustainable Energy Technology Asia 2018 : SETA 2018) ในระหว่างวันที่ 21-23 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด "การใช้นวัตกรรมดิจิทัล เพื่อพลังงานที่ยั่งยืน" โดยตลอดทั้ง 3 วันของการจัดงานจะมีการจัดการบรรยาย ประชุมสัมมนา และเวิร์คช็อปกว่า 25 หัวข้อ จากเหล่าผู้ทรงคุณวุฒิ และองค์กรชั้นนำทั้งภาครัฐและเอกชนด้านพลังงานและเทคโนโลยีระดับนานาชาติ ที่จะมาร่วมให้ความรู้พร้อมแลกเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับพลังงาน และเทคโนโลยีต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น ดร. ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน คุณแอคเนตา ไรซิ่ง ผู้อำนวยการสมาคมนิวเคลียร์โลกศาสตราจารย์ ฮิเดโตชิ นิชิมูระ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจ เพื่อภูมิภาคอาเซียนและเอเชียตะวันออกและคุณปีเตอร์ แกลลี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานสื่อสารองค์กร นิสสัน ประเทศไทย โดยเปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ฟรีที่เว็บไซต์ www.setaasia.com นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือแปลภาษาสำหรับผู้ฟังในทุกการบรรยาย ไฮไลท์หัวข้อการบรรยายและการประชุมสัมมนาที่น่าสนใจ วันที่ 21 มีนาคม 2561 ในช่วงเช้าภายหลังจากพิธีเปิดงานโดย พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี จะเริ่มต้นด้วยการปาฐกถาพิเศษ โดย ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ศาสตราจารย์ ฮิเดโตชิ นิชิมูระ ผู้อำนวยการบริหารสถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจ เพื่อภูมิภาคอาเซียนและเอเชียตะวันออก(ERIA) และ ดร. ราชิต อัลลีม ประธานบริหาร การไฟฟ้าและประปาแห่งเมืองชาร์จาห์, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จากนั้นในช่วงบ่ายจะเปิดเวทีอภิปราย CEO Energy Forum ในหัวข้อ การก้าวเปลี่ยนยุคของพลังงานในเอเชีย: อุปสรรคและความท้าทายต่อบทบาท หน้าที่ของภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อก้าวสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคุณแอคเนตา ไรซิ่ง ผู้อำนวยการสมาคมนิวเคลียร์โลก (WNA) คุณสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และคุณจัสติน วู หัวหน้าฝ่ายวิจัยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, บริษัท Bloomberg New Energy Finance มีผู้ดำเนินรายการคือ คุณอายะ โยชิดะ หัวหน้าฝ่ายภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, ทบวงพลังงานระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการบรรยายเรื่อง พลังงานไฮโดรเจน อนาคตพลังงานของโลก โดย ดร. อาคิล จามาล ผู้อำนวยการนักเทคโนโยลีด้านการจัดการถ่าน ฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท ARAMCO, ประเทศซาอุดิอาระเบีย คุณแอนดริว ว้อนท์ กรรมการบริหาร บริษัทเอกชนด้านพลังงานไฮโดรเจนหมุนเวียน, ประเทศออสเตรเลีย คุณ ปรัส กาเนช แผนกวางแผนองค์กร บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ เมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด และ ศาสตราจารย์ มาซากาซึ โตโยดะ ประธาน และประธานกรรมการบริหาร สถาบันเศรษฐกิจพลังงานแห่งญี่ปุ่น (IEEJ) ปิดท้ายด้วยการบรรยายเรื่อง"ทิศทางอนาคตของยาพาหนะไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" โดย นิสสันมอเตอร์ ประเทศไทย วันที่ 22 มีนาคม 2561 ในส่วนของเวทีอภิปรายหลัก จะจัดเป็น ASEAN Energy Forum หรือ เวทีอภิปรายด้านพลังงานของภูมิภาคอาเซียน จัดต่อเนื่องตั้งแต่ 9.00 -17.00 น. มีหัวข้อการอภิปราย อาทิ การสร้างความร่วมมือด้านพลังงาน ระหว่างประเทศในอาเซียนบวก ในมุมมองของรัฐบาลและผู้ลงทุน โดย ดร. สันจายัน เวโลธัม ประธานคณะกรรมการ ศูนย์กลางอาเซียนเพื่อการพลังงาน (ACE) ประเทศอินโดนีเซีย ดาตุ๊ก บาดรียา อาเบ มาเลค์ รองเลขาธิการ (พลังงานและเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม) KeTTHA, ประเทศมาเลเซีย ดร. หงเพิง หลิว เลขาธิการ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP), ประเทศไทย คุณเวนกาทาชาลัม อันบูโมชิ นักเศรษฐศาสตร์พลังงานอาวุโส สถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งอาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) คุณซูดัม ปาวาร์ ผู้อำนวยการ นวัตกรรมและเทคโนโลยี (ITC) นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายเรื่อง One Belt One Road - เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะพูดคุยเกี่ยวกับทิศทางและกรอบการไปสู่จุดหมาย One-belt One-Road จากผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนกลยุทธ์จากรัฐบาลจีน ต่อด้วยหัวข้อ ความท้าทายของโตโยต้าต่อความก้าวหน้าของพลังงานไฟฟ้า, การทำงานร่วมกันของภาคส่วนพลังงานอาเซียน, แหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบกระจายในเมียนมาร์ ในส่วนของการบรรยายนั้น มีหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ เทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงาน โดย ศาสตราจารย์ ดร. คิโยชิ คานะคูระ จากมหาวิทยาลัยโตเกียวเมโทรโปลิแทน, ประเทศญี่ปุ่น เครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อตอบสนองสังคมเมืองอันชาญฉลาด โดย มาร์ค เลสลี่ ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการ Fluence Energy Asia Pacific การกักเก็บพลังงานในประเทศไทย รวมถึง เทคโนโลยีสมาร์ทกริด จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) วันที่ 23 มีนาคม 2561 ในวันสุดท้ายเวทีสัมมนาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยพื้นที่ของเวทีใหญ่จะเป็นการร่วมจัดงานโดย สภาวิศวกร, สภาสถาปนิกแห่งประเทศไทย และ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีหัวข้อการอภิปรายเรื่อง การส่งผ่านเทคโนโลยี – กรณีศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง โดย นาย เจตกำจร พรหมโยธี นายกสภาสถาปนิกไทย นางเกศวรงค์ หงส์สดารมภ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ ดร.ชเล คุณาวงษ์ คณะกรรมการ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ต่อด้วยหัวข้อ วิถีทางแห่งความฉลาดสู่ความยั่งยืน จัดโดย ACT สภาสถาปนิก และหัวข้อ พลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย: ทิศทางโอกาสและความท้าทาย; แหล่งพลังงานชีวมวล และพลังงานความร้อน จัดโดย EIT วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย โดยจะบรรยายใน 3 เรื่องหลักได้แก่ 1.นโยบาย, การวางแผนกลยุทธ์ พลังงานชีวมวล 2.สถานการณ์ของพลังงานชีวมวลและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน 3.กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ: มิตรผล แหล่งพลังงานชีวมวล ในส่วนของห้องประชุมย่อย มีการบรรยายที่น่าสนใจ อาทิ เรื่องการจัดหาและนโยบายด้านนวัตกรรมพลังงานหมุนเวียน โดย องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา รวมถึงการบรรยายเรื่อง ข้อตกลงการซื้อขายพลังงานเสมือนโดยตรง และ การเปิดโอกาสความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน
แท็ก เอเชีย   SET  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ