“ยูธ โคแล็บ” โมเดล ปั้นสตาร์ทอัพหน้าใส จากหลายชาติในเอเชียแปซิฟิก

ข่าวทั่วไป Friday March 23, 2018 12:48 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 มี.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ หากจะกล่าวถึงกระแสการทำธุรกิจในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา ทั่วโลกต่างมุ่งความสนใจไปยังสตาร์ทอัพเกิดใหม่มากมาย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มีไฟ มีไอเดียสร้างสรรค์และแปลกใหม่ ต่างวาดภาพความฝันของธุรกิจที่มีการเติบโตสูงกว่า 200% ภายใน 1 ปี แต่จะมีสักกี่ธุรกิจที่ทำได้อย่างที่ตั้งเป้าไว้ ยกตัวอย่างเช่นในประเทศจีน มีการเกิดไอเดียธุรกิจที่เหมือนๆกันราว 500 – 2,000 ราย แต่จะประสบความสำเร็จเพียงแค่ 20 รายเท่านั้น (ข้อมูลอ้างอิงจาก digitalagemag.com) ด้วยเป้าหมายในการพัฒนาเยาวชนและสังคมให้เติบโตไปพร้อมๆกัน จึงทำให้เกิดโครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co:Lab) ขึ้นในปี พ.ศ. 2560 จากความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิซิตี้ (Citi Foundation) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักและโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) โดยโครงการดังกล่าวริเริ่มขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาในสังคมและการว่างงาน ด้วยการพัฒนาความเป็นผู้นำ การเป็นผู้ประกอบการและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมอย่างยั่งยืนในกลุ่มเยาวชน โดยยูธ โคแล็บ เป็นโครงการภายใต้โปรแกรมเพื่อการพัฒนาเยาวชนของมูลนิธิซิตี้ ชื่อ "พาธเวย์ส ทู โพรเกรส" (Pathways to Progress)1 หรือในอีกมุมหนึ่งอาจกล่าวได้ว่า โครงการนี้เป็นการปั้นสตาร์ทอัพจากแถบเอเชียแปซิฟิกให้เติบโตผ่านแนวคิดสังคมยั่งยืนนั่นเอง โมเดลของโครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co:Lab) นี้ ไอเดียเริ่มแรกเกิดขึ้นมาจากหนึ่งในแผนการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนของสหประชาชาติ แล้วถูกตีโจทย์ออกมาให้เป็นโมเดลส่งเสริมเยาวชนดังที่เห็น คือนอกจากผลลัพธ์ที่ต้องการคือพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนแล้ว เรายังได้เห็นเยาวชนในสังคมมีส่วนร่วม มีจิตสำนึกและให้ความสำคัญกับสังคมรอบข้างผ่านไอเดียสร้างสรรค์ของเยาวชนเหล่านี้ด้วย นอกจากประเทศไทยที่ได้นำโมเดลโครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co:Lab) มาใช้แล้ว ยังมีอีกหลากหลายประเทศทั่วทวีปเอเชียแปซิฟิก อาทิ ฟิลิปปินส์ มัลดีฟ เนปาล ศรีลังกา ภูฏาน วานูอาตู หมู่เกาะโซโลมอน และจีน เป็นต้น ที่ได้นำโมเดลดังกล่าวไปพัฒนาเยาวชนเช่นกัน ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา โครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co:Lab) ในประเทศไทย ได้มีการจัดเสวนา เพื่อให้เยาวชนได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ประกอบการชั้นนำระดับเอเชีย รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเวิร์คชอปภายใต้หัวข้อ การออกแบบนวัตกรรมเชิงสังคม โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญ ทั้งด้านเทคโนโลยี การพัฒนานวัตกรรม และธุรกิจ ที่มาคอยให้คำปรึกษากับทีมที่ผ่านเข้ารอบ หลังจากนั้นโครงการได้มีการคัดเลือก National Champion หรือทีมที่มีศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจให้ได้รับโอกาสในการนำเสนอผลงานของตนเองบนเวทีเสวนาระดับเอเชียแปซิฟิกอย่าง Youth Co:Lab Summit 2018 โดยจะมีการจัดกิจกรรมขึ้นในช่วงวันที่ 26-28 มีนาคม ซึ่งจะมีทีมเยาวชนผู้ชนะในการนำเสนอแผนธุรกิจจำนวน 21 ทีมจาก 9 ประเทศเข้าร่วมการประชุม เยาวชนเหล่านี้จะได้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมเพื่อความยั่งยืน และในวันสุดท้ายเยาวชนจะได้ทำการพัฒนาธุรกิจของตนเองเพื่อนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายแขนงวิชา และค้นหาผู้ชนะเลิศจากทั่วทวีปเอเชียแปซิฟิก ปี 2018 ซึ่งโครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co:Lab) นี้ นอกจากจะได้เห็นศักยภาพและไอเดียสร้างสรรค์ของเยาวชนเหล่านี้แล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันไปผ่านทางไอเดียธุรกิจที่เกิดขึ้นมานี้อีกด้วย นอกจากนี้ ยูธ โคแล็บ ยังเป็นอีกหนึ่งโครงการระดับนานาชาติ ที่ให้โอกาสเยาวชนแต่ละประเทศได้พบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นระหว่างกัน อีกทั้งด้วยเครือข่ายของมูลนิธิซิตี้และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ที่มีอยู่ทั่วโลก จึงทำให้โอกาสของเยาวชนได้ถูกขยายกว้างออกไปอีก ทั้งนี้ภายในงานจะได้พบกับสตาร์ทอัพหรือธุรกิจเพื่อสังคมจาก 9 ประเทศ ที่ได้ได้นำเสนอไอเดียจากแนวคิดการพัฒนาสังคมให้เกิดความยั่งยืน เพราะเชื่อว่าการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องเอื้อต่อสังคม มิใช่การทำธุรกิจเพื่อการค้าเพียงอย่างเดียว อาทิ "Hostbeehive" ธุรกิจสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งในรูปแบบสังคมยั่งยืน "A-chieve" ธุรกิจพัฒนากระบวนการแนะแนวอาชีพ "Younghappy" นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคมเพื่อผู้สูงอายุ 3 ตัวแทนจากประเทศไทย "Bundle .bt" ธุรกิจรับส่งสินค้าจากภูฏาน "Arooga Health" ธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจากฟิลิปปินส์ "Neleya Eco Farm Enterprise" ธุรกิจพัฒนาโมเดลการทำฟาร์มจากประเทศเวนูอาตู และ "Psycoders" ธุรกิจพัฒนาแอปพลิเคชั่นแชทบอทที่ติดตามและช่วยเหลือปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ใช้งาน ผ่านทางกิจกรรมที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ เป็นต้น นายนรินทร์ จิตต์ปราณีชัย ตัวแทนจากทีม A-chieve ประเทศไทย หนึ่งในทีมที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมงานยูธ โคแล็บ ซัมมิท 2018 (Youth Co:Lab Summit 2018) กล่าวว่า "โครงการยูธ โคแล็บ ช่วยเปิดมุมมองแนวคิดใหม่ในการแก้ปัญหาและการนำความรู้ไปใช้ในแผนธุรกิจ เพื่อให้เข้าใจว่าไอเดียที่เรามีจะสามารถสร้างประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ได้อย่างไร นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสพบกับเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์ มีแพชชั่น ทำให้เราได้แรงบันดาลใจในการทำงานเพื่อพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น ซึ่งเป้าหมายของเราคือต้องการสร้างสังคมที่ทุกคนมีความสุขกับอาชีพและมีบทบาทในสังคม โดยสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษจากโครงการนี้ คือการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญ เนื่องจากเราคิดว่าการพัฒนาการศึกษาคือการสร้างอนาคตของโลก และหากเยาวชนทุกคนได้รับการศึกษาที่ดีและเท่าเทียมกัน พวกเขาอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมและโลกนี้จะดีขึ้นอย่างยั่งยืน" ทั้งนี้ งานเปิดตัว Youth Co:Lab Summit 2018 รวมถึงการเสวนานวัตกรรมสังคมในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกจะจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 26 มีนาคม 2561 และการแข่งขันรวมถึงการประกาศรางวัลนวัตกรรมทางสังคมของเยาวชน "Regional Social Innovation Challenge" ในวันพุธที่ 28 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ อาคารสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยูธ โคแล็บได้อย่างต่อเนื่องผ่านทาง #YouthCoLab และ www.youthcolab.org *โครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co: Lab) เปิดตัวในปีพ. ศ. 2560 โดย UNDP และได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซิตี้ ซึ่งโครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co: Lab) เป็นโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งตอบสนองความท้าทายทางสังคมและการว่างงาน โดยการใช้ประโยชน์จากความเป็นผู้นำและการเป็นผู้ประกอบการรวมถึงนวัตกรรมของเยาวชน ในการพัฒนาสังคม ทั้งนี้ โครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co: Lab เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Pathways to Progress** ของมูลนิธิซิตี้ในภูมิภาคนี้ ** Pathways to Progress เป็นแนวคิดหลักด้านการพัฒนาเยาวชนของมูลนิธิซิตี้ ให้ความสำคัญกับปัญหาการว่างงานของเยาวชนทั่วโลก ด้วยความพยายามของมูลนิธิซิตี้และการเสริมสร้างความเข้มแข็งโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครซิตี้ที่อุทิศให้กับโครงการ Pathways to Progress ซึ่งโครงการได้สนับสนุนเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 16-24 ปี เพื่อเสริมสร้างความคิดริเริ่มในการเป็นผู้ประกอบ และเริ่มมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ ในเดือนกุมภาพันธ์ปีพ. ศ. 2560 มูลนิธิซิตี้ได้ประกาศเจตน์จำนงค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับเยาวชนในเมืองด้วยการจะมอบงบประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่โครงการพัฒนาเยาวชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนจำนวนกว่า 500,000 คนทั่วโลกในปีพ. ศ. 2563 และเพื่อสนับสนุนความพยายามเหล่านี้ ซิตี้ได้ระดมกำลังอาสาสมัครซิตี้กว่า 10,000 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำแก่เยาวชน ให้พร้อมเดินหน้าสู่เป้าหมายการทำงานของพวกเขา เกี่ยวกับ "มูลนิธิซิตี้" มูลนิธิซิตี้ มีบทบาทในการทำงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนทั่วโลกให้ดีขึ้น ด้วยการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินอย่างทั่วถึง การสร้างอาชีพสำหรับเยาวชน รวมถึงสร้างสภาพเศรษฐกิจของชุมชนที่ดีขึ้น นอกจากการให้ความช่วยเหลือแล้ว มูลนิธิซิตี้ ยังได้ใช้ความเชี่ยวชาญในฐานะสถาบันการเงินชั้นนำและความพร้อมของพนักงาน ที่สนับสนุนให้พันธกิจของบริษัทประสบความสำเร็จและขับเคลื่อนแนวคิดความเป็นผู้นำและนวัตกรรม ดูข้อมูลเพิ่มเติมของมูลนิธิฯ ที่www.citifoundation.com เกี่ยวกับ "ซิตี้" ธนาคารชั้นนำของโลก ที่ให้บริการแก่ลูกค้ากว่า 200 ล้านราย ในกว่า 160 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลก ซิตี้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายให้กับลูกค้าบุคคล องค์กร ภาครัฐและสถาบันต่างๆ โดยธุรกิจหลักครอบคลุมการธนาคารและสินเชื่อเพื่อลูกค้าบุคคล (สายบุคคลธนกิจ) ธนาคารเพื่อองค์กรและการลงทุน (สายสถาบันธนกิจและวาณิชธนกิจ) ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ บริการธุรกรรมทางการเงินต่างๆ รวมถึงบริการบริหารความมั่งคั่ง ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.citigroup.com | ทวิตเตอร์: @Citi | ยูทูป:www.youtube.com/citi | บล็อก: http://new.citi.com | เฟซบุ๊ก: www.facebook.com/citi | ลิงก์อิน: www.linkedin.com/company/citi

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ