ส.อ.ท. ขอนำส่งข่าวส.อ.ท. จับมือ กระทรวงวิทย์ ร่วมผลักดันอุตสาหกรรมไทยสู่ศตวรรษที่ 21

ข่าวทั่วไป Monday May 21, 2018 14:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 พ.ค.-- ส.อ.ท. ขอนำส่งข่าวส.อ.ท. จับมือ กระทรวงวิทย์ ร่วมผลักดันอุตสาหกรรมไทยสู่ศตวรรษที่ 21 พร้อมขับเคลื่อน Industry Transformation ด้วย STI สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย ไปสู่ศตวรรษที่ 21 พร้อมหารือแนวทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการเกษตร พัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม และการพัฒนา SMEs ไทย ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การหารือดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์กรุงเทพฯ โดยหลังการหารือ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีนโยบายชัดเจนถึงการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) มาสร้างชาติ โดยแบ่งเป็นกลุ่มวิทย์สร้างคน วิทย์แก้จน วิทย์สู่ภูมิภาค และวิทย์เสริมแกร่ง โดยในทุกกลุ่มจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ซึ่งเป็นพลังสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้นโยบายเหล่านี้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญจะเป็นการวางรากฐานเพื่อไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน การหารือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ ในครั้งนี้ จึงมีเป้าหมายในการร่วมผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยสู่ศตวรรษที่ 21 โดยใช้ วทน. สร้างความเข้มแข็งในทุกมิติ เพื่อเตรียมอุตสาหกรรมไทยสู่อนาคตได้อย่างแข็งแกร่ง ด้านนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการประชุมหารือร่วมกันว่า สภาอุตสาหกรรมฯ ในฐานะเป็นแกนกลางเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคอุตสาหกรรมไทย ได้มีความเห็นตรงกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในการร่วมมือกันพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไปสู่ศตวรรษที่ 21 โดยจะร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายหลัก 4 ด้าน ดังนี้ 1. แนวทางพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกษตรด้วย STI (Science Technology and Innovation) เพื่อเพิ่มมูลค่าและปรับเปลี่ยนสู่การเป็น Smart Farming โดย ส.อ.ท. ได้นำเสนอการยืดอายุผักผลไม้สดที่มีมูลค่าสูงเพื่อการส่งออก โดยใช้ วทน. และส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนใน Plant Factory 2. ด้าน STEM Academy แบ่งเป็นการพัฒนาทักษะคนในภาคอุตสาหกรรม (Reskill / Unskill) และการพัฒนากำลังคนด้าน STEM ให้ตรงความต้องการของภาคอุตสาหกรรม (EarlyRecruitment) เพื่อผลิตกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลน ให้สอดคล้องกับความต้องการและสามารถทำงานกับภาคอุตสาหกรรม โดยเริ่มจากการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญ และองค์ความรู้ของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ทั้งภาค ทวิภาคี และ Factory Management รวมทั้งเจ้าของกิจการ 3. The Industry Innovation Transform Entrepreneur Center ลดความเหลื่อมล้ำ เสริมสร้างศักยภาพคนทุกกลุ่ม ด้วยการผลักดันเทคโนโลยีเพื่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมใน 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ได้แก่ เกษตรกร และ OTOP 2) กลุ่ม SMEs (Local / Cluster / Sector) ที่มีศักยภาพ 500 ราย 3) กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ และ 4) กลุ่มTech-based Startup 300 ราย โดย ส.อ.ท. จะเน้นสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก (เกษตรกร และ OTOP), การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับSMEs และการพัฒนา Tech-based Startup 4. พัฒนาโครงสร้างเพื่ออุตสาหกรรมแห่ง (Future Industry Infrastructure) โดยการหาอุตสาหกรรมที่มีความได้เปรียบ และเป็นอุตสาหกรรมในอนาคต เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมเข้าสู่ตลาด และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าและบริการ โดย ส.อ.ท. จะพัฒนาฐานข้อมูลเชิงลึกของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการยกระดับมาตรฐานของไทยสู่มาตรฐานสากล ส่วนความร่วมมือในเรื่องอื่นๆ จะเป็นเรื่องของการพัฒนาระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะสำหรับการบริหารจัดการน้ำ พลังงาน และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ในเขต EEC, การใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและการค้า, การพัฒนา Startup Platform, การจัดงาน Thai Tech Expo และ Techno Mart, ความร่วมมือในการส่งเสริมให้SMEs เข้าถึงนวัตกรรม ITAP / Open Innovation / Ted Fund และแนวทางการพัฒนาTechnology Financing ร่วมกัน นายสุพันธุ์กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ