คต. แจ้ง “ อียู ขึ้นทะเบียนสารเคมีที่ควรระมัดระวัง ”

ข่าวทั่วไป Friday October 31, 2008 17:24 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--31 ต.ค.--กรมการค้าต่างประเทศ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า หน่วยงานจัดการสารเคมียุโรป (European Chemical Agency: ECHA) ได้จัดทำรายชื่อสารเคมีชุดแรกที่จะอยู่ใน Candidate List ซึ่งเป็นสารที่ควรระมัดระวังอย่างสูง (Substances of Very High Concern: SVHC) อาจประกอบ ด้วยสารเคมี 12 ชนิดจากรายชื่อสารเคมี 16 ชนิดที่ประเทศสมาชิก EU เสนอมา อย่างไรก็ตามยังมีสาร เคมีอีก 4 ชนิดที่ยังไม่สามารถลงมติเอกฉันท์ได้ว่าเป็นสาร SVHC หรือไม่ และจะมีการหารือและประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม 2551 ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างน้อยปีละครั้ง ในขณะ เดียวกันกลุ่มองค์กรรักษาสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภครวมทั้ง NGOs ของ EU ได้เสนอรายชื่อสารเคมีอันตรายของกลุ่มจำนวน 270 ชนิดโดยใช้ชื่อว่า SIN List และประชาสัมพันธ์ให้ใช้สารเคมีอื่นทดแทนสารเคมีเหล่านี้อย่างทันที เพราะสารเคมีดังกล่าวเป็นสารเคมีที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งส่งผลต่อการสืบพันธุ์หรือสามารถสะสมได้นานในร่างกายและสิ่งแวดล้อม หรือ CMR (Carcinogenic, Mutagenic, Reprotoxic) จึงเข้าข่ายสารเคมีที่ต้องได้รับอนุญาตตามระเบียบ REACH นอกจากนี้สาร SVHC ประกอบด้วยอีก 2 ประเภทใหญ่คือ สาร PBT (Bioaccumulative and Toxic) และสาร vPvB (very Persistent and very Bioaccumulative) อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบการของไทยที่ผลิตและส่งออกสาร เคมีที่ถูกเสนออยู่ใน Candidate List ควรศึกษาขั้นตอนการขออนุญาตผลิตตั้งแต่บัดนี้ หรือหาสารเคมีประเภทอื่นเพื่อทดแทนซึ่งจะมีขั้นตอนยุ่งยากน้อยกว่า และสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารเคมีที่จะอยู่ใน Candidate List 16 ชนิดได้ที่ http://echa.europa.eu/consultations/authorisation/ svhc/svhc_cons_en.asp และรายละเอียดเกี่ยวกับสารเคมีที่อยู่ใน SIN List ที่ http://www.chemsec.ort/ list/ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการไทยต้องตรวจสอบและประสานกับผู้นำเข้าสินค้าไปยังสหภาพยุโรปว่า สินค้าที่ผลิต /ส่งออกเข้าข่ายการจดทะเบียนสารเคมีตามระเบียบ REACH หรือไม่ เพื่อให้ทันการจดทะเบียนล่วงหน้ากับ ECHA ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2551 หากดำเนินการไม่ทันกำหนดจะไม่สามารถนำเข้าใน EU ได้จนกว่าจะได้จดทะเบียนสารนั้นให้เสร็จสิ้นก่อน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ