วาโซ่ เทรนนิ่ง จัดสัมมนาเรื่อง ความรู้เรื่องกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ชัดเจน เข้าใจง่าย

ข่าวทั่วไป Wednesday December 3, 2008 16:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ธ.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง ขอเชิญเข้าร่วมอบรม และสัมมนา เรื่องความรู้เรื่องกฎหมายคุ้มครองแรงงาน (รวมความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มแรงแรงงานทั้งเก่า และใหม่ ที่ผู้บริหาร เจ้าของกิจการ และผู้ที่ทำงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลจำเป็นต้องทราบ: วิทยากรบรรยายได้ชัดเจน เข้าใจง่าย) Labour Law Knowledges อบรมวันจันทร์-อังคารที่ 22 ธันวาคม 2551 เวลา 09.00-16.00 น.ณ โรงแรมดุสิตปริ๊นเซสศรีนครินทร์ ถนนศรีนครินทร์ ความสำคัญ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน มีสถานะเป็นกฎหมายมหาชน หากฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายฉบับนี้จะ มีโทษถึงขั้นถูกจำคุกได้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ที่เป็นพระราชบัญญัติ ฉบับแรก พศ. 2541 มีทั้งหมด 166 มาตรา ซึ่งใน ปี2551มีการยกเลิกมาตราเดิมบัญญัติใหม่26มาตรา และเพิ่มแทรกมาใหม่อีก 7 มาตราเป็นเรื่องที่ไม่สนใจเรียนรู้มิได้ เพราะผู้ใดสั่งการผิดกฎหมายหรือกระทำการผิดกฎหมายหรือไม่สั่งการให้ถูกกฎหมาย ต่างมีความผิดต้องถูกลงโทษทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาทุกท่าน ในทุกสายงานที่มี ลูกน้อง รวมถึง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ฝ่ายการพนักงาน ฝ่ายธุรการบุคคล ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายวินัยและแรงงานสัมพันธ์ฝ่ายนโยบายและกำกับ ฝ่ายบัญชีและการเงิน จำเป็นต้องมาเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง กับวิทยากรมืออาชีพ ซึ่งเป็นอดีตประธานคณะทำงานยกร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเข้าใจเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานอย่างดียิ่ง เป็นผู้สามารถอธิบายข้อกฎหมายให้ผู้ไม่มีพื้นทางกฎหมายได้เข้าใจด้วยภาษาง่ายๆ และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริงพร้อมตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาประกอบมากมายเพื่อเสริมความเข้าใจในทางกฎหมายแรงงานมากขึ้นประกอบด้วยตัวบทกฎหมาย โดยย่อ ผ่าน 172 หน้าการนำเสนอ กำหนดการ วันแรก 08.30-09.00 ลงทะเบียน 09.00-16.00 หลักการและสถานภาพที่สำคัญของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมีอย่างไร ความมุ่งหมาย ของรัฐธรรมนูญในการดูแลลูกจ้างมีเพียงไร ความหมายที่ถูกต้องของนายจ้าง (เหตุใดผู้บังคับบัญชา/หัวหน้างานจึงมีฐานะเป็นนาย จ้าง และมีโอกาสติดคุกแทนนายจ้างที่ทำผิด) ความหมายที่ถูกต้องแท้จริงของการรับเหมาค่าแรงมีอย่างไร ความรับผิดชอบที่แท้จริงต่อการที่ใช้วิธีเหมาค่าแรงงานมีเพียงไร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน100,000บาท นั้นหมายถึงการกระทำอย่างไร ความหมายที่สมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญปี50เกี่ยวกับการให้ลูกจ้างได้ค่าตอบแทน สิทธิ ประโยชน์ และสวัสดิการ ที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติมีขอบเขตเพียงไรและสิ่งต่างๆนั้นได้แก่อะไรบ้าง ความหมายที่ถูกต้องเกี่ยวกับลูกจ้าง ผู้ว่าจ้าง ผู้รับเหมาชั้นต้น ผู้รับเหมาช่วง สัญญาจ้าง วันทำงาน วันหยุด วันลา ค่าจ้าง ค่าจ้างในวันทำงาน ค่าจ้างขั้นต่ำ การทำงาน ล่วงเวลาค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย และค่าชดเช่ยพิเศษ มีอย่างไร เพียงไร หลักประกันต้องคืนภายใน7วัน เหมือนการจ่ายค่าชดเชยพิเศษและค่าชดเชยพิเศษแทนบอกกล่าวล่วงหน้าใช่ไหม การจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดเมื่อเลิกจ้าง ต้องจ่ายภายใน 3วัน ใช่ไหม ค่าชดเชยต้องจ่ายในวันเลิกจ้างใช่ไหม ที่ถูกต้องจ่ายเมื่อไรกันแน่ ตามกฎหมายใหม่ห้ามนายจ้างรับหลักประกันใดๆจากลูกจ้างยกเว้นงานใดบ้างที่รับหลักประกันได้และมีหลักเกณฑ์อย่างไรกับการรับหลักประกัน ในการรับคนเข้าทำงาน การโอน การควบรวม ลูกจ้างต่างนิติบุคคล มีสิ่งใดที่ต้องกังวลซึ่งนายจ้างมักทำผิดบ่อยๆ กฎหมายว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงาน ถูกยกสถานะเป็นกฎหมายมหาชน จำนวน12มาตรา มีอะไรบ้าง มีความหมายเพียงไร เหตุใดสัญญาจ้าง ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างจึงห้ามทำเอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควร แต่ข้อตกลงทำเอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควรได้ เหตุใดจึงไม่ห้ามลูกจ้างล่วงเกิน คุกคาม ก่อความเดือดร้อน รำคาญ ทางเพศต่อนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน เหตุใดเมื่อปรากฎผลทดลองงานลูกจ้างไม่ผ่าน จึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนเลิกจ้าง การแจ้งหรือการส่งเอกสารให้อธิบดี หรือพนักงานตรวจแรงงาน ทำไมไม่จำเป็นต้องเดินทางไปพบด้วยตนเองทุกครั้ง การนับอายุงานของลูกจ้างที่ถูกต้องนับอย่างไร การเว้นระยะการจ้าง หรือการจ้างครั้งใหม่ในหน้าที่ต่างจากการจ้างครั้งก่อน ทำไมต้องนับอายุงานทุกช่วงเข้าด้วยกัน เหตุใดสัปดาห์หนึ่งทำงานปกติเพียง 5 วัน วันละ9 ชั่วโมง รวมเป็นทำงานสัปดาห์ละ 45 ชั่วโมง ทำไมจึงเป็นการผิดกฎหมายแรงงานฉบับใหม่ เหตุใดนายจ้างจึงสั่งลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไม่ได้ เหตุใดนายจ้างจึงสั่งลูกจ้างทำงานในวันหยุดไม่ได้ กิจกรรมอะไรที่มีอภิสิทธิ์สั่งลูกจ้าง มาทำงานในวันหยุดได้ โดยไม่ต้องถามความสมัครใจ ไม่มาเป็นความผิด สั่งลงโทษได้ ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาและชั่วโมงทำงานในวันหยุดที่ลูกจ้างสมัครใจและเต็มใจมาทำงานทำไมรวมกันต้องไม่เกิน36ชั่วโมง(กิจการใดจ่ายค่าล่วงเวลาและ ค่าทำงานในวันหยุดรวมกันเกิน 36 ชั่วโมง/สัปดาห์ มีความผิดต้องโทษจำคุกไม่เกิน6เดือนปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ) เหตุใดพักครั้งละ 5 นาที 10 นาที หรือพัก 30 นาที ก่อนเลิกงานแล้วกลับบ้านได้ เป็นการพักที่ชอบด้วยกฎหมาย มี 8 ลักษณะงานใด ที่ให้ทำงาน ในวันหยุดประจำสัปดาห์ ได้โดยชอบ หน้าที่ของนายจ้างที่ต้องจัดวันหยุดให้ลูกจ้าง 3 วัน คือวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี มีขอบเขตและหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องเพียงไร มี 12 งานอะไร ที่นายจ้างไม่ให้หยุดในวันหยุดตามประเพณีได้ (มิใช่งานห้างสรรพสินค้า) งานที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพ โดยมีอุปกรณ์ป้องกันที่ตัวบุคคล ห้ามมิให้นายจ้างยอมให้ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด สิทธิการลาป่วย สิทธิได้ค่าจ้างเนื่องจากป่วยมีเพียงไร ลูกจ้างลาป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์ มีแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 ยืนยันต่อศาลว่าลูกจ้างป่วยจริง มีใบเสร็จค่าตรวจรักษา มีใบเสร็จซื้อยา เหตุใดศาลกีฏาตัดสินว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ลูกจ้างลาทำหมัน มีสิทธิได้ค่าจ้างเต็มกี่วัน เหตุใดลูกจ้างบางกิจการลากิจ โดย ได้ค่าจ้างบ้าง ไม่ได้ค่าจ้างบ้าง ลาได้ 3 วัน 6 วัน 10 วัน 15 วัน ไม่เท่ากัน เหตุใด จึงชอบด้วยกฎหมาย ความหมายที่แท้จริงของการลาเพื่อฝึกอบรม ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานมีเพียงไร ทำไมลาไปอบรมเพื่อเป็นปรปักษ์กับนายจ้างได้ ทำไมนายจ้างยอมให้ลูกจ้างหญิงทำงานนั้งร้านสูง 10 เมตรขึ้นไปไม่ได้ ทำไมนายจ้างยอมให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานโดยติดไปกับยานพาหนะไม่ได้ ทำไมนายจ้าง ยอมให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานเกิน 22.00 น. ไม่ได้ ให้มาทำงานในวันหยุดมิได้ ให้มาทำงานล่วงเวลาไม่ได้ ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำ 5 งานใด นายจ้างอาจให้ทำงานล่วงเวลาในวันทำงานได้ ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรโดยได้ค่าจ้างกี่วัน เหตุใดลาก่อนคลอดและลาหลังคลอดไม่ได้เหมือนก่อน ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ขอเปลี่ยนงานเดิม ทั้งก่อนคลอดและหลังคลอดได้ โดยต้องมีหลักฐานอะไรมาแสดง เหตุใดในงานบางชนิดที่ห้ามลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำ เช่น แอร์โฮสเตส เป็นต้น แต่นายจ้างก็เลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้ จะให้ทำหน้าที่นั้นก็ไม่ได้ เหตุใดจึงจ้างเด็กต่ำกว่า 15ปีทำงานใดๆมิได้ วันที่สอง 09.00-16.00 เหตุใดให้เด็กอายุไม่ถึง 18ปีทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุดไม่ได้ เหตุใดห้ามไม่ให้เด็กอายุไม่ถึง 18ปีทำงานในสถานบริการทุกชนิด ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 6เดือนปรับไม่เกิน 100,000บาท เหตุใดห้ามจ่ายค่าจ้างเด็ก ให้แก่เด็ก หรือให้แก่บิดามารดาเด็ก ป็นการล่วงหน้า หรือขณะแรกจ้าง หรือก่อนวันจ่ายค่าจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และวันหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย ถ้านายจ้างมิได้ให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนครบตามระเบียบ(ไม่น้อยกว่า 6 วัน/ปี)นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้าง เหตุใดผู้บริหารเช่น รองกรรมการผู้จัดการ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการ ผู้อำนวยการฝ่ายฯลฯจึงมีสิทธิได้ค่าล่วงเวลาแม้จะมีอำนาจสั่งลดค่าจ้างลูกจ้าง ก็ยังมีสิทธิได้ O/Tและค่าทำงานในวันหยุด ในกรณีลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดตาม ม.119 นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนสะสมและวันหยุดตามส่วนในปีเลิกจ้าง ในกรณีลูกจ้างลาออกหรือถูกเลิกจ้างเพราะทำผิดตาม ม.119 เหตุใดนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนสะสมด้วยหรือ การคิดค่าจ้างต่อวันและต่อชั่วโมงที่ถูกต้องตามกฎหมายจะต้องคิดอย่างไรจึงจะถูกต้อง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ฯลฯ จ่ายเมื่อไรถึงจะถูกกฎหมาย ลูกจ้างรายเดือน ไปทำงานท้องที่อื่นในวันหยุด ไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างและค่าล่วงเวลาในระหว่างเดินทาง ทำไม ลูกจ้างรายวัน ได้ค่าจ้างระหว่างเดินทาง หากนายจ้างเคยจ่ายค่าล่วงเวลา ให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิได้ค่าล่วงเวลาตามกฎหมาย นายจ้างจะยกเลิกไม่จ่ายได้หรือไม่ ถ้านายจ้างเคยจ่ายค่าลวงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดในอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จะยกเลิกได้หรือไม่ ถ้านายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว ด้วยเหตุอันมีกระทบต่อการประกอบการ จนไม่สามารถประกอบการตามปกติได้ ถ้าไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จ่าย 75%ใช่ไหมในช่วงที่หยุดงาน และแจ้งลูกจ้างผู้ตรวจแรงงานไม่น้อยกว่า 3วันทำการใช่ไหม นายจ้างหักค่าจ้างลูกจ้าง ไม่จำกัดจำนวน เพื่อชำระภาษีเงินได้ และตามคำสั่งกรมบังคับคดีใช่ไหม ค่าจ้างขั้นต่ำ ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างทุกสัญชาติ ทุกศาสนา และทุกเพศเหมือนกันใช่ไหม ห้ามนายจ้างจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ และต้องติดประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพียงไร เมื่อมีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการภานในสถานประกอบการ แต่ถ้ามีคณะกรรมการลูกจ้าง ให้คณะคณะกรรมการลูกจ้างเป็นคณะกรรมการสวัสดิการ ทั้งคณะ เมื่อมีลูกจ้าง 10 คน ขึ้นไป ต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยมีรายละเอียดอยางน้อย 8 หมวด ได้แก่หมวดอะไรบ้าง เมื่อไรที่จะต้องแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ถ้าจัดทำ หรือแก้ไขข้อบังคับที่ไม่มีความชำนาญ จะเกิดผลเสียหายอย่างไร ข้อบังคับ ที่มีประโยชน์ มีลักษณะอย่างไร มีลูกจ้างกี่คน ที่ต้องทำทะเบียนลูกจ้าง หมวดการร้องทุกข์ กฎหมายบังคับให้มี 5 หัวข้อ อะไรบ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร เหตุใดไม่ควรใช้แบบมาตรฐานของทางราชการ หากใช้เกิดผลเสียหายต่อนายจ้างอย่างไร กฎหมายกำหนดเงื่อนไขการพักงานเพื่อสอบสวน และการจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานอย่างไร อัตราค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างมีอย่างไร ความหมายที่ถูกต้องของการเลิกจ้างมีเพียงไร การเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ภายใต้สัญญาการจ้างที่ไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดมีองค์ประกอบอย่างไร ข้อยกเว้นโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยกรณีทำผิดมีอย่างไร ต่อไปหนังสือเลิกจ้างที่ระบุเพียงเหตุผลตามมาตรา 119ต้องจ้ายค่าชดเชยด้วย เงื่อนไขการจ่ายค่าชดเชยพิเศษ และค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกล่วงหน้า กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบการไปตั้งที่อื่น มีอย่างไร เงื่อนไขการจ่ายค่าชดเชยพิเศษ และค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีมีการปรับปรุง การผลิด การจำหนาย หรือการบริการ รวมทั้งปรับปรุงหน่วยงาน โดยใช้เครื่องจักรใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรเก่า หรือใช้เทคโนโลยีช่วย มีขอบเขตเพียงไร หากนายจ้างไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ทำไมต้องวางหลักประกันต่อศาลก่อนจึงจะฟ้องคดีได้และฟ้องได้ภายในกี่วัน การฝ่าฝีน 34 มาตราใด ที่มีโทษถึงจำคุก มีเนื้อหาโดยย่ออย่างไร ที่ผู้กระทำแทนนายจ้าง ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ทุกตำแหน่ง หากสั่งการผิด หรือกระทำการผิด หรือไม่สั่งการให้ทำถูก จะต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้านายจ้างไม่รายงานสภาพการจ้าง และสภาพการทำงาน ภายในเดือนมกราคม 2552 และต่อไปไม่รายงานการเปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือนภาย ในเดือนถัดไป จะถูกกฎหมายลงโทษอย่างไร ถามตอบปัญหาข้อสงสัย ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนต่อหลักสูตร ต่อท่าน ท่านละ 6,400 บาท + ภาษี 7 % = 6,848 บาท กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอย.สามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510 วิธีการสำรองที่นั่ง 1. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 หรือ ดาวน์โหลดใบสมัคร คลิ๊กที่นี่ 2. แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231 3. สมัคร Online คลิ๊กที่นี์ 4. E-mail: ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ 5. ดาวน์โหลด แผนที่ สถานที่อบรม คลิ๊กที่นี่ วิธีการชำระเงิน 1. เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ 2. โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 3. แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 0-29062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด) การแจ้งยกเลิกการอบรม ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วมสัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วัน หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมเอกสาร เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ