สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเร่งเตรียมความพร้อมช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยรองรับแผนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเตรียมจัดงาน “AEC and SMEs Challenges : Next Steps”

ข่าวทั่วไป Monday October 4, 2010 17:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ต.ค.--คอร์ แอนด์ พีค สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เผยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยและกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ต้องเร่งเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการแข่งขันการค้าเสรีเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) อย่างเป็นทางการ ในปี 2558 เตรียมจัดงานเสวนาระดับชาติ “AEC and SMEs Challenges : Next Steps” ในวันที่ 13 ตุลาคมนี้ นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บทบาทของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) กำลังเป็นปัญหาที่สำคัญ และมีความกังวลอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อม ในการที่ประเทศไทยและประเทศสมาชิกของอาเซียน ที่จะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) อย่างเป็นทางการ ผ่านแผนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ในปี 2558 ที่ประกอบด้วย การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน การเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน การพัฒนาที่เท่าเทียมกัน และการเชื่อมโยงกับตลาดโลก โดยอาเซียนจะเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ มีประชากรมากกว่า 580 ล้านคน และเป็นจุดที่สร้างความสนใจทางด้านการค้าและการลงทุนให้กับนานาประเทศ แต่ถึงเวลานี้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย รวมถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก จำเป็นที่จะต้องพัฒนาศักยภาพอย่างเร่งด่วน และเตรียมรองรับกับการเปิดตลาดการค้าเสรี ต้องมีการผลิตสินค้าให้ตรงกับมาตรฐานสากล และพร้อมรับที่จะมีกติกาทางการค้าที่เปลี่ยนแปลง โดยทุกอย่างจะไร้พรมแดนเสมือนหนึ่งเป็นประเทศเดียวกัน โดยในวันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป การเคลื่อนย้ายการผลิต และกำลังคนทุกภาคส่วนของงาน ในประเทศกลุ่มอาเซียนสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ หรือจะตั้งโรงงานการผลิตที่ไหนก็ได้ ทำให้เกิดกลไกทางตลาดร่วมกัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จึงร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) จัดเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย โดยการจัดเสวนาใน “AEC and SMEs Challenges : Next Steps” ขึ้น ในวันพุธที่ 13 ตุลาคม 2553 เวลา 08.00 — 16.30 น. ณ ห้องคริสตัล ฮอลล์ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาไปในทุก ๆ ด้าน นายดุสิต กล่าวต่อว่า สำหรับจุดอ่อนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย หรือนักธุรกิจไทย คือขาดความชำนาญทางด้านภาษาอังกฤษ และจะเป็นอุปสรรคในการเปิดเสรีเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งประเทศไทยควรจะมีความพร้อมในทุก ๆด้าน แต่ยังขาดในเรื่องการสื่อสารในภาษาต่างประเทศ ซึ่งยังเป็นจุดด้อยของไทย ที่แตกต่างจากประเทศในกลุ่มอาเซียนอื่นๆ ที่มีทักษะทางด้านภาษามากกว่า รวมถึงปัญหาการคอรัปชั่น ที่ประเทศไทย ต้องเร่งที่จะแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวต่อว่า เขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) จะต้องมีการผลิตกำลังทางค้า แบบก้าวกระโดด โดยจะมีผู้ค้าประเทศขนาดใหญ่ ทั้งจีน ยุโรป อินเดีย จะเข้ามาร่วมด้วยในทันที ส่วนนักลงทุนท้องถิ่นในอาเซียน ที่จะเข้ามาลงทุนมากที่สุด จะเป็นสิงคโปร์และ มาเลเซีย ในส่วนของประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าของประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน และเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมต่างๆ ของอาเซียนมาโดยตลอด การก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นับเป็นโอกาสที่สำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ที่จะต้องเร่งปรับตัวและใช้โอกาสจากการลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรในภูมิภาคให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น สาขาผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์อาหาร อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงภาคบริการ เช่น สาขาการท่องเที่ยว การบริการ สาขาสุขภาพ และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับ หัวข้อในการจัดงานเสวนา “AEC and SMEs Challenges : Next Steps” ในครั้งนี้จะมีหัวข้อสำคัญต่าง ๆ โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะปาฐกถาพิเศษ เรื่อง บทบาทของไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ,การบรรยายพิเศษจากผู้แทนเลขาธิการอาเซียน เรื่อง อดีตและก้าวต่อไปของอาเซียน , เหลียวหลังแลหน้า AEC และอาเซียนในมุมมองนักธุรกิจไทย : โอกาส อุปสรรค ทิศทางของผู้ประกอบการ SMEs และธุรกิจไทย สนใจเข้าร่วมงาน ติดต่อเพิ่มเติมได้ที่ 02-622-1860 ต่อ 447 หรือ aecprompt@gmail.com หรือ เว็บไซต์ http://rss.thaichamber.org/rss/view.asp?nid=1757 สอบถามละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: คุณธนศักย์ อุทิศชลานนท์ และคุณธนิษฐา วิทยานนท์ ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร.02-439-4600 ต่อ 8202 และ 8302 อีเมล์ tanasaku@corepeak.com , tanithav@corepeak.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ