ทริส ประกาศผลการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการ "ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)" ได้คะแนนรวม 7.26 คะแนน (ระดับ "ดี")

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday July 21, 2004 14:43 —ทริส เรตติ้ง

        ทริส ประกาศผลการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการของ บมจ. ธนาคารกรุงไทย โดยได้คะแนนรวม 7.26 อยู่ในระดับ "ดี" ซึ่งสะท้อน
ให้เห็นถึงการที่ธนาคารได้เริ่มนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาปฏิบัติ และอยู่ระหว่างการพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อไป
ในอนาคต โดยธนาคารกรุงไทยนับเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เข้ารับการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการโดยทริส
ทริสเปิดเผยว่า คะแนนรวมดังกล่าวได้มาจากการพิจารณาปัจจัยด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมีการถ่วงน้ำหนักจากคะแนนย่อย 4 เกณฑ์
ได้แก่ สิทธิของผู้ถือหุ้น 6.10 คะแนน องค์ประกอบและบทบาทของคณะกรรมการและคณะผู้บริหาร 7.11 คะแนน การเปิดเผยข้อมูล 8.27 คะแนน
และวัฒนธรรมการกำกับดูแลกิจการ 7.52 คะแนน ซึ่งธนาคารได้คะแนนสูงสุดในเรื่องการเปิดเผยข้อมูล โดยมีการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญครบถ้วนและ
ตรงตามเวลา นอกจากนี้ การจัดทำรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงินโดยทั่วไปอยู่
ในเกณฑ์ดี
ธนาคารได้คะแนนในเกณฑ์วัฒนธรรมการกำกับดูแลกิจการในระดับดี โดยคณะกรรมการบรรษัทภิบาลของธนาคารได้จัดทำนโยบายและแนวทาง
ปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาล ซึ่งผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารในเดือนธันวาคม 2545 แต่การถ่ายทอดวัฒนธรรมการกำกับดูแลกิจการมาสู่ระดับ
พนักงานยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ส่วนการกระจายหุ้นให้ผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) นั้น หลังจากที่ธนาคารได้นำหุ้นในส่วนที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ
พัฒนาระบบสถาบันการเงินถืออยู่ และหุ้นที่มีการจัดสรรเพิ่มเติมออกจำหน่ายในเดือนตุลาคม 2546 ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้
ลดลงเหลือร้อยละ 56.38 ในขณะที่สัดส่วนผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 35.85 เป็นผลให้เกิดการถ่วงดุลที่มากขึ้นระหว่างผู้ถือหุ้นรายย่อย
และรายใหญ่
สำหรับเรื่ององค์ประกอบและบทบาทของคณะกรรมการและคณะผู้บริหาร ธนาคารมีกรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหารเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 2
ซึ่งก่อให้เกิดการถ่วงดุลที่ดี และมีกรรมการอิสระ ซึ่งเป็นกรรมการตรวจสอบของธนาคาร ครบถ้วนตามแนวทางปฏิบัติของ ตลท. และ ธปท. โดย
คณะกรรมการธนาคารได้มีการพิจารณาคุณสมบัติของกรรมการที่ได้รับการเสนอชื่อจากคณะอนุกรรมการสรรหาฯ และให้ความเห็นชอบในที่ประชุม
คณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการตรวจสอบได้ทำหน้าที่กำกับดูแลและสอบทานความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของระบบบัญชี รายงานการเงิน
รวมทั้งระบบควบคุมภายใน นอกจากนั้น ธนาคารได้ให้ความสำคัญในเรื่องความเสี่ยง โดยมีคณะกรรมการที่ดูแลการบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบ
ด้วยคณะผู้บริหาร 2 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการบริหาร
ความเสี่ยงที่สำคัญของธนาคาร
ทริสกล่าวต่อไปอีกว่าในเรื่องสิทธิของผู้ถือหุ้น ธนาคารมีกลไกที่ทำให้ผู้ถือหุ้นมีความมั่นใจว่าจะได้รับผลตอบแทนอย่างครบถ้วน ซึ่งพิจารณา
ได้จากโครงสร้างการถือหุ้นของธนาคารที่มีความชัดเจนและไม่มีลักษณะการถือหุ้นไขว้กัน นอกจากนี้ธนาคารมีมาตรการในการอนุมัติการทำรายการที่
เกี่ยวโยงกัน การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งมีระบบป้องกันและตรวจสอบการใช้ข้อมูลภายในของลูกค้าเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์
อย่างไรก็ดี ธนาคารยังสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นในเรื่องการให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิออกเสียงได้อย่างแท้จริง ซึ่งพิจารณาจากการจัดประชุมผู้ถือหุ้น
โดยผู้แทนของผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ควรนำเสนอเรื่องที่สำคัญให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาในวาระอื่นๆ ซึ่งทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่มีโอกาสได้พิจารณาข้อมูลล่วงหน้า
การให้สารสนเทศที่เพียงพอแก่ผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น และการอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันประชุมให้ดียิ่งขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ