ยุทธศาสตร์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของยูเอ็นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาเซียน

ข่าวต่างประเทศ Tuesday December 7, 2010 13:53 —Asianet Press Release

แคนคูน, เม็กซิโก--7 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ - เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ มาตรการต่างๆจะจำกัดขอบเขตอุตสาหกรรมการเกษตรและการประมงในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา World Growth ซึ่งเป็นองค์กรเอ็นจีโอที่ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน เปิดเผยว่า ข้อเสนอเรื่องการลดโลกร้อนที่ยื่นต่อองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เพื่อจำกัดการใช้ที่ดินและแผืนป่าในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จะส่งผลกระทบในระดับที่เป็นอันตรายต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาค และช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้เพียงเล็กน้อย (โลโก้: http://photos.prnewswire.com/prnh/20081204/DC49733LOGO ) World Growth ซึ่งเป็นเอ็นจีโอที่สนับสนุนการพัฒนานั้น ระบุถึงงานวิจัยฉบับใหม่ที่ว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอีกครึ่งหนึ่งจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เห็นข้อสรุปว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาซึ่งตั้งอยู่ในเขตป่าร้อนชื้นนั้น ไม่ใช่สาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก นอกจากนี้ ทางองค์กรยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ในปัจจุบันของตัวแทนเจรจาของยูเอ็นที่ได้สนับนุนโครงการต่างๆ ว่า อาจจะทุ่มเงินในโครงการลดโลกร้อนมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์เข้าสู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา แทนการมุ่งเน้นเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของโลก อลัน อ็อกซ์ลีย์ ประธาน World Growth และอดีตประธาน GATT (ซึ่งกลายเป็นองค์การการค้าโลกในปัจจุบัน) กล่าวในที่ประชุมโลกร้อนที่เมืองแคนคูนว่า “ตัวแทนเจรจาจากประเทศร่ำรวย ผู้บริจาค และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กำลังอ้างว่า ข้อตกลงว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและการทำให้ป่าเสื่อมโทรม หรือ REDD (reduced emissions from deforestation and forest degradation) จะช่วยความยากจน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน่าอัศจรรย์ นี่เป็นข้ออ้างที่ไม่ตรงกับความจริง งานวิจัยฉบับใหม่จาก Winrock International ซึ่งเผยแพร่ในที่ประชุมครั้งนี้ ได้ลดการประมาณการการลดก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าลงครึ่งหนึ่ง จากระดับ 17% เป็น 8% และคาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวจะลดลงอีกเมื่อการดูดซับก๊าซคาร์บอนด้วยการเพาะปลูกต้นไม้เริ่มต้นขึ้น นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญในที่ประชุมยังได้ให้ความกระจ่างว่า ภาคการเกษตรเป็นสาเหตุหลักของการตัดไม้ทำลายป่าในกลุ่มประเทศยากจน ข้อเสนอ REDD เพื่อจำกัดการใช้ที่ดินและผืนป่า ถือเป็นคำสั่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อกลุ่มประเทศยากจน ในการควบคุมป่าไม้และการผลิตทางการเกษตร มาตรการเหล่านี้เพิกเฉยต่อความจำเป็นในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย รวมทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก และภูมิภาคอเมริกาใต้ ในการขยายพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อสร้างงาน อาหาร และลดความยากจน หน่วยงานด้านการบริจาคและยูเอ็นให้คำมั่นสัญญาว่าจะมอบเงินจำนวนมากถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับโครงการเหล่านี้ และสัญญาว่าจะบริจาคมากขึ้น แต่ถึงกระนั้น ข้อตกลง REDD ก็เป็นยุทธศาสตร์ที่ไม่ได้ช่วยขจัดความยากจนให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง” คลิกที่นี่ ( http://www.worldgrowth.org/forestry/index.cfm?sec=10&subSec=42&id=559 ) เพื่ออ่านรายงานที่เหลือของ World Growth หากต้องการคุยกับผู้เชี่ยวชาญของ World Growth หรือค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับงานขององค์กร กรุณาส่งอีเมล์ไปที่ media@worldgrowth.org หรือโทรศัพท์ไปที่หมายเลข +1-866-467-7200 World Growth เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรและไม่ใช่หน่วยงานของรัฐบาล ก่อตั้งขึ้นเพื่อขยายงานวิจัย ข้อมูลข่าวสาร ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย และทรัพยากรด้านอื่นๆ เพื่อปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจและมาตรฐานความเป็นอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน World Growth ยืนหยัดอยู่ในยุคของโลกาภิวัฒน์และอำนาจของการค้าเสรี เพื่อขจัดความยากจนให้หมดสิ้นและสร้างงานและโอกาส World Growth สนับสนุนการผลิตน้ำมันปาล์มและใช้ผืนป่าเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดความยากจน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก World Growth เชื่อว่า การเพาะปลูกน้ำมันปาล์มและป่าไม้จะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ World Growth กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.worldgrowth.org ติดต่อ: World Growth โทร: +1-866-467-7200 อีเมล: media@worldgrowth.org แหล่งข่าว : World Growth AsiaNet 42480 --เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ