MDS เผยข้อมูลใหม่ในการรักษาโรคและการดูแลให้แก่ผู้ป่วย ในที่ประชุมสากลโรคเลือดไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม

ข่าวต่างประเทศ Friday May 18, 2007 12:03 —Asianet Press Release

ครอสวิคส์, นิวเจอร์ซีย์--18 พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
มูลนิธิโรคเลือดไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม(MDS) ได้เปิดเผยข้อมูลสำคัญที่รวบรวมจากที่ประชุมนานาชาติครั้งที่ 9 ว่าด้วยเรื่องโรคเลือดไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม (MDS) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวครอบคลุมถึงข้อมูลด้านการรักษาแบบใหม่ด้วยการใช้ยารับประทาน เช่นยา lenalidomide ซึ่งได้มีการนำเสนอในที่ประชุมเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาผู้ป่วย รวมถึงข้อมูลล่าสุดในการเพิ่มทางเลือกในการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยที่ประชุมครั้งนี้จัดขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ที่ซึ่งมีการประชุมคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์สากล โดยมีนักวิจัยที่สำคัญ 75 ท่านจาก 14 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมประชุม และหารือกันเรื่องข้อมูลล่าสุดเพื่อสร้างความเข้าใจและการรักษาโรคเลือดไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม(MDS)
การรักษาด้วยยาแบบใหม่จะช่วยเอื้อประโยชน์ให้ผู้ป่วยรอดชีวิตและป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคในร่างกาย
การประชุมในปีนี้ ดร.อลัน ลิสท์ จากศูนย์มะเร็งและสถาบันวิจัย เอช.ลี มอฟฟิทท์ (H.Lee Moffitt Cancer Center& Research Institute) ในเมืองเทมป้า รัฐฟลอริด้า ได้นำเสนอข้อมูลที่บ่งชี้ว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรค MDS ซึ่งมีโครโมโซม 5q ลดลงและได้รับยา lenalidomide นั้น สามารถมีชีวิตได้โดยไม่ต้องถ่ายเลือดเฉลี่ยประมาณ 2.2 ปี และหลังจาก 4 ปี ผู้ป่วยยังคงตอบสนองต่อการรักษา นอกจากนี้ ในบรรดาผู้ป่วยผู้ที่ร่างกายมีการสร้างเซลล์ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา lenalidomide นั้น มีผู้ป่วยจำนวน 87% มีอัตราการรอดชีวิตประมาณ 10 ปี เมื่อเทียบกับ 4% ของผู้ที่ร่างกายไม่มีการสร้างเซลล์ตอบสนอง
ดร.อริสโตเติลส์ เจียกอนนิดิส จากมหาวิทยาลัยเฮนริช-เฮน เมืองดัชเซิลดอร์ฟ เยอรมนี ยังได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับยา lenalidomide ที่บ่งชี้ว่าการรักษายังสามารถช่วยป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคในผู้ป่วย MDS ที่มีโครโมโซมลดลง 5q ด้วยเช่นกัน โดยผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยา lenalidomide มีโอกาสรอดชีวิตอย่างมีนัยสำคัญตามสถิติที่พบ
"นับเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากที่เราได้เห็นถึงข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการรักษาด้วยยารับประทาน อาทิยา lenalidomide ซึ่งเป็นประโยชน์ในการรักษาโรค MDS และยังเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ป่วย นอกเหนือไปจากวิธีการรักษาที่มีอยู่ และการถ่ายเลือดบ่อยๆ" เคที่ เฮพทินสตอล ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของมูลนิธิโรคเลือดไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม (MDS) กล่าว "ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา lenalidomide สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งการถ่ายเลือดเป็นเวลาหลายปี อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยาดังกล่าวสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตในระยะยาวตลอดจนป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคในผู้ป่วยบางราย"
ทางเลือกในการดูแลรักษาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ยืนยาว
นอกจากนี้ ข้อมูลล่าสุดเรื่องการประเมินประสิทธิภาพของยาอีริโธรปัวอีตินหรือที่รู้จักกันว่า EPO ได้ถูกหยิบยกขึ้นนำเสนอในที่ประชุมด้วยเช่นกัน โดยการเกิดโรค MDS ในขั้นต้นนั้น ผู้ป่วยหลายรายจะเผชิญกับภาวะโลหิตจาง โดยผู้ป่วยประมาณ 80% จะเกิดภาวะโลหิตจางหรือมีปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติในการวินิจฉัยเบื้องต้น แม้ว่าภาวะโลหิตจางเรื้อรังจะแทบไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิต แต่ภาวะเช่นนี้จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงอย่างมาก ดังนั้น ผู้ให้การรักษาจะต้องแนะนำผู้ป่วยถึงปัจจัยอื่นๆที่ช่วยในการรักษาด้วย เช่นการใช้ยา EPO เพื่อกระตุ้นให้ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงมากขึ้น หรือให้ผู้ป่วยเข้ารับการถ่ายเลือดบ่อยๆเพื่อช่วยป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง
นอกจากนี้ มูลนิธิโรค MDS ยังได้เปิดเผยถึงแนวทางใหม่เกี่ยวกับวิธีการป้องกันและรักษาภาวะ"เหล็กเกินในร่างกาย"(iron overload) ซึ่งเป็นอาการที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการถ่ายเลือดบ่อยๆเพื่อช่วยรักษาภาวะโลหิตจาง ซึ่งมียาบางชนิดที่สามารถช่วยขจัดหรือลดเหล็กออกจากร่างกายได้ เช่นยา deferoxamine และยา deferasirox และลดโอกาสในการสร้างเหล็กที่เป็นสารพิษที่ทำอันตรายต่อหัวใจ ตับ และอวัยวะสำคัญ โดยแนวทางใหม่ของมูลนิธิ MDS ได้ระบุว่า ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการถ่ายเลือดมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน หรือ ปริมาณที่มากกว่า 1000 ควรได้รับยาเพื่อลดสารเหล็กเกิน จากตัวแทนจำหน่ายยา 1 ใน 3 ที่ให้บริการทั่วโลก
โรคเลือดไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม(MDS) เป็นภาวะการเกิดมะเร็งในไขกระดูกที่ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถผลิตเซลล์เลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือดออกมาได้เพียงพอ ทั้งนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีผู้เป็นโรค MDS มากเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม มีการวินิจฉัยออกมาว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ในสหรัฐประมาณ 20,000-25,000 รายต่อปี และประมาณ 30% ของผู้ป่วยที่เป็นโรค MDS จะพัฒนาเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดฉับพลัน (AML)ได้
เกี่ยวกับมูลนิธิ MDS
มูลนิธิโรคเลือดไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม อิงค์(Myelodysplastic Syndromes Foundation, Inc) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่เคร่งครัดในการอุทิศตนในการป้องกัน รักษา และศึกษาโรคเลือดไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม โดยหน่วยงานนี้ดำเนินงานด้วยการยึดคำมั่นสัญญาที่จะให้ความร่วมมือกับนานาชาติในการพัฒนากระบวนการชั้นนำเพื่อป้องกันและรักษาโรค MDS หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ http://www.mds-foundation.org
ติดต่อ:
เคธีย์ เฮพตินสตอลl
ผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติการ
มูลนิธิโรคเลือดไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม อิงค์
1-800-MDS-0839
แหล่งข่าว : มูลนิธิโรคเลือดไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม อิงค์
เว็บไซต์: http://www.mds-foundation.org
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ