บอนน์ และ เอชบอร์น ประเทศเยอรมนี--19 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ / อินโฟเควสท์
- ขาดกรอบการกำกับดูแลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ (M2M)
- จำเป็นต้องมีการทำข้อตกลงโรมมิ่ง M2M ระหว่างประเทศ
- รหัสผู้ให้บริการเครือข่ายแบบเปิดช่วยให้การเปลี่ยนจากผู้ให้บริการรายหนึ่งไปยังอีกรายหนึ่งง่ายดายยิ่งขึ้น
หากประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่กำหนดกรอบการกำกับดูแลที่เฉพาะเจาะจง การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ (machine-to-machine communication: M2M) จะไม่สามารถพัฒนาจนเป็นตลาดที่ประสบความสำเร็จได้ อุปสรรคสำคัญที่สุดที่ขัดขวางการเติบโตของ M2M คือ การเปลี่ยนผู้ให้บริการและการโรมมิ่งมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายสูง เพราะไม่มีการกำหนดค่าธรรมเนียม M2M ที่แน่นอน ในการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆด้านการกำกับดูแลนั้น บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ Detecon International ยังกล่าวด้วยว่า การเตรียมเลขหมายให้เพียงพอต่อการใช้งานแอพพลิเคชั่น M2M ต่างๆ รวมถึงการสร้างแพลตฟอร์มรวมข้อมูลที่เหมาะสม เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมี
ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือประเทศไทย ปัจจุบันไม่มีประเทศใดเลยที่มีกรอบการกำกับดูแลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับ M2M อย่างไรก็ดี สิงคโปร์และมาเลเซีย ได้พัฒนากรอบการกำกับดูแลการโรมมิ่ง M2M ระดับทวิภาคี และริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสำหรับโครงการ M2M มากมาย “ประเทศไทยและอินโดนีเซียควรทำตาม ด้วยการกำหนดอัตราค่าบริการ M2M ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ผลิตและผู้ใช้งาน หากไม่ทำเช่นนี้ผู้ใช้งานก็ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากกลับไปใช้บริการโรมมิ่งระหว่างประเทศที่มีราคาแพงเหมือนเดิม” มาร์คัส สไตน์โกรเวอร์ (Markus Steingrover) หุ้นส่วนผู้จัดการบริษัท Detecon International กล่าว สำหรับประเทศไทยนั้น เขาแนะนำให้จัดสรรคลื่นความถี่ 3G เพิ่ม เพื่อรองรับการใช้งานแอพพลิเคชั่น M2M ต่างๆ
นอกจากนั้น Detecon ยังแนะนำให้มีการใช้รหัสผู้ให้บริการเครือข่าย (MNC) แบบเปิด เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนผู้ให้บริการ M2M ได้ ในระบบนี้ ผู้ใช้งานหรือคนกลางจะมี MNC ของตนเอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเสียแรงและเสียค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนซิมการ์ดในอุปกรณ์ M2M ต่างๆ ผู้ใช้งานเพียงแค่ซื้อบริการเครือข่าย M2M ในตลาดค้าส่งเท่านั้น
ท่านสามารถศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบทบาทของการกำกับดูแลในการพัฒนาตลาดการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ระดับประเทศ ได้จากเอกสารแสดงความเห็นของ Detecon ในหัวข้อ "Eliminating Regulatory Roadblocks for M2M Deployment" (http://www.detecon.com/m2m_deployment)
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
http://www.detecon.com
[email protected]
ข้อมูลติดต่อสำหรับสื่อ:
Detecon International GmbH
Gerhard Auer
โทรศัพท์: +49-228-700-1013
อีเมล: [email protected]
แหล่งข่าว: Detecon International GmbH