การประกวดออกแบบชุดประจำชาติจีน "Inheritance and Craftsmanship" เปิดฉากแล้ว ณ กรุงปักกิ่ง

ข่าวต่างประเทศ Monday April 4, 2016 12:40 —Asianet Press Release

ปักกิ่ง, จีน--4 เม.ย.--ซินหัว—เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์ เกือบทุกประเทศในโลกต่างก็มีเครื่องแต่งกายประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น กิโมโนของญี่ปุ่น ฮันบกของเกาหลีใต้ อ่าวหญ่ายของเวียดนาม และส่าหรีของอินเดีย เช่นเดียวกับจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 5 พันปี และอยู่ระหว่างการบูรณะอารยธรรม โดยชุดประจำชาติจีนถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมของชาติได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฟ้นหาผู้มีพรสวรรค์ด้านแฟชั่นที่สามารถออกแบบเสื้อผ้าที่ถ่ายทอดคุณลักษณะและจิตวิญญาณของชนชาติจีนในปัจจุบัน การประกวดออกแบบชุดประจำชาติจีน Inheritance and Craftsmanship จึงได้ถือกำเนิดขึ้น และมีพิธีเปิดงาน ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา การประกวดแข่งขันดังกล่าวจะจัดขึ้นจนถึงเดือนตุลาคม และจะมีการเดินสายจัดแสดงผลงานที่โดดเด่นไปทั่วประเทศและต่างประเทศในเดือนพฤศจิกายน ภายใต้การนำของสภาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแห่งชาติของจีน ร่วมกับสำนักข่าวซินหัว ซินหัวเน็ต และนิตยสารเท็กซ์ไทล์ แอพพาเรล วีคลี โดยการประกวดจะแบ่งออกเป็นประเภทดีไซเนอร์สมัครเล่นและมืออาชีพ เพื่อดึงดูดผู้เข้าร่วมประกวดจากต่างประเทศ ที่ปรึกษาและอีคอมเมิร์ซ ดีไซเนอร์ที่มีชื่อเสียงของจีนจะรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับการประกวด และจะร่วมมือกับหลากหลายแบรนด์ดังที่ให้การสนับสนุนผู้เข้าประกวด ผู้เข้ารอบสุดท้าย 24 คนจะนำเสนอผลงานการออกแบบของตนให้ที่ปรึกษาทั้ง 3 คนได้รับชมพร้อมให้คำแนะนำ ซึ่งผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัล 150,000 หยวน (23,100 ดอลลาร์) นอกจากนี้ ผลงานของผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้ง 24 คนจะถูกนำไปจัดแสดงตามเมืองใหญ่ ได้แก่ ซูโจว เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง ฮ่องกง และปารีส ขณะเดียวกันผลงานดังกล่าวยังจะปรากฏบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเหล่าดีไซเนอร์ผู้ชนะการประกวดและแบรนด์ผู้สนับสนุนได้ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นให้เป็น "แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแห่งใหม่สุดทันสมัยสำหรับเครื่องแต่งกายจีน" เพื่อผลักดันการผลิตและจำหน่ายในตลาด ตลอดจนเพื่อพัฒนาบทบาทของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการเห็นคุณค่าด้านวัฒนธรรม ผ้าไหมเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการส่งเสริมนโยบาย "One Belt and One Road" การประกวดออกแบบครั้งนี้จะรวบรวมผลงานภายใต้แนวคิด "มรดกและหัตถศิลป์" หรือ "Inheritance and Craftsmanship" จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ "จีนมีบทบาทในเวทีโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บัดนี้ จึงถึงเวลาแล้วที่เราควรผลักดันวัฒนธรรมด้านเสื้อผ้าและแฟชั่นของจีนไปก้าวต่อไป มรดกมีความหมายมากกว่าแค่การลอกเลียนแบบหรือการทำซ้ำ หากแต่เป็นการสร้างสรรค์ ผมเชื่อว่าเวทีประกวดนี้จะมีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจเสื้อผ้าในอนาคต โดยเฉพาะสำหรับการปฏิรูปโครงสร้างด้านอุปทานของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน" คุณหลี่ ตังฉี ประธานสมาคมนักออกแบบแฟชั่นจีน กล่าว ข้อกำหนดและการสมัคร ผู้ที่สนใจส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดจะต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้: 1. แนวคิดการออกแบบ: "มรดกและหัตถศิลป์" (3-4 ชุด) 2. ภาพร่างสี: กรุณาร่างภาพขนาด 27 ซม. x 40 ซม. ที่เสร็จสมบูรณ์ และใส่ชื่อผลงานไว้มุมบนซ้าย พร้อมแนบตัวอย่างเนื้อผ้าขนาด 4 ซม. x 4 ซม. ที่มุมขวาล่าง นอกจากนี้ ผู้เข้าประกวดจะต้องลงชื่อตนเองและชื่อผลงานบริเวณมุมขวาล่างทางด้านหลังของภาพ 3. ภาพวาดโครงสร้าง: กรุณาเตรียมภาพวาดโครงสร้างหรือภาพวาดด้วยมือของเสื้อผ้าแต่ละชุด พร้อมคำอธิบายเกี่ยวกับหัวข้อและแนวคิด 4. ใบสมัคร: กรุณาดาวน์โหลดและพิมพ์ใบสมัครจากเว็บไซต์ทางการของการประกวด (www.zhongguoguofu.com) เพื่อกรอกใบสมัคร พร้อมแนบรูปถ่าย 5. การนำเสนอผลงาน: เหตุผลในการออกแบบ คำบรรยายเกี่ยวกับเนื้อผ้า คำอธิบายเกี่ยวกับเทคนิคการผลิต จุดเด่น (สอดคล้องกับหัวข้อการประกวดอย่างไร) 6. สำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ (หน้า-หลัง) โปรดอ่าน: ผู้เข้าประกวดจะต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ทั้งหมดที่ระบุไว้ข้างต้น ทั้งในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และกระดาษ กรุณาส่งสำเนาอิเล็กทรอนิกส์มาที่ zggf@news.cn โดยระบุ "ชื่อนักออกแบบ + ชื่อผลงาน" ในหัวข้ออีเมล กรุณาส่งสำเนากระดาษมาตามที่อยู่ด้านล่าง: ที่อยู่: Room 1007, Zhidi Plaza, NO. 55 of Hongwu Road, Xuanwu District, Nanjing, Jiangsu Province, P.R.China รหัสไปรษณีย์: 210005 ติดต่อเจ้าหน้าที่: Mrs. Lv +86 139 1448 8485, Mr. Zhang +86 150 7782 1366 ติดต่อผ่านทาง QQ: 3109519599 หมดเขต: วันที่ 31 พฤษภาคม 2559 นับจากวันที่ประทับตราไปรษณีย์ กรุณาจ่าหน้าพัสดุว่า "การประกวด" เพื่อที่จะไม่ต้องชำระค่าไปรษณีย์ หากผู้สมัครมีข้อสอบถาม กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลการประกวดผ่านทาง QQ แหล่งข่าว: Inheritance and Craftsmanship-TCC Design Award Committee รูปภาพประกอบข่าวประชาสัมพันธ์: http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=268508 AsiaNet 63962

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ