นักวิทยาศาสตร์จีนผนึกกำลังร่วมต่อสู้กับโควิด-19

ข่าวทั่วไป Wednesday February 19, 2020 13:44 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

ปักกิ่ง--19 ก.พ.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ หนังสือพิมพ์ Science & Technology Daily รายงานว่า: เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดโควิด-19 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน (MOST) ได้เปิดโครงการ "รับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ซึ่งเป็น 4 กลุ่มโครงการที่ประกอบด้วยโครงการฉุกเฉิน 20 โครงการนับจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ MOST ยังดำเนิน 2 โครงการใหญ่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย "การพัฒนายาสำคัญชนิดใหม่" และ "การป้องกันและรักษาโรคติดต่อรุนแรง" รวมถึงผลักดันแผนวิจัยและพัฒนาระด้บชาติที่จำเป็น โดยช่วงที่ผ่านมา ผลสำเร็จสำคัญที่ได้จากโครงการเหล่านี้ถูกนำไปใช้ป้องกันและควบคุมโรคระบาดในพื้นที่แนวหน้า ในด้านของการคัดเลือกยานั้น เจ้าหน้าที่แนวหน้าจากทีมวิจัยต่าง ๆ ได้ร่วมมือกันบนพื้นฐานงานวิจัยที่มีอยู่ และใช้ความพยายามในการคัดเลือกยาตามระบบจำนวนมาก ทั้งยาที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดอยู่แล้ว หรือที่อยู่ในขั้นทดลองทางคลินิก ผลที่ตามมาคือ พวกเขาสามารถค้นพบยาต้านไวรัสโคโรนาที่คาดว่ามีประสิทธิภาพ เช่น Chloroquine Phosphate, Remdesivir และ Favipiravir นอกจากนี้ในช่วงไม่กี่วันที่ตามมา นักวิจัยยังเร่งทดสอบทางคลินิก ซึ่งผลทดลองแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยที่เด่นชัดมากขึ้น "ทีมป้องกันและควบคุมโรค" ได้อาศัยการวิจัยและพัฒนา รวมถึงประสบการณ์ที่สั่งสมมาในแวดวงเซลล์บำบัด ยาแผนจีน และวิธีรักษาด้วยพลาสมาในจีน เพื่อทยอยจัดการทดลองทางคลินิกในการประเมินประสิทธิภาพของแนวทางบำบัดรักษา 3 แนวทางข้างต้น ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่สำคัญในการรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในขั้นวิกฤต เพื่อจัดหาโซลูชันที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการรับมือกับการแพร่ระบาดด้วยสเต็มเซลล์บำบัด ทางผู้บริหารของ MOST ได้เดินทางไปสถาบัน Innovation Institute of Stem Cell and Regenerative Medicine ในสังกัดสถาบัน Chinese Academy of Science เพื่อยืนยันความก้าวหน้านี้ โดยได้พัฒนายาใหม่ชื่อว่า CAStem ที่ใช้รักษาโควิด-19 ซึ่งก็ได้ปรากฏให้เห็นความคืบหน้าสำคัญบ้างแล้วในการทดลองรักษาโรคหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) โดยทีมวิจัยได้ยื่นขออนุมัติจากสำนักงานผลิตภัณฑ์ยาแห่งชาติจีนอย่างเร่งด่วน และกำลังทำงานร่วมกับสถาบันทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันยา CAStem ได้รับการอนุมัติแล้วจาก Ethics Committee และกำลังอยู่ในขั้นตอนการสังเกตการณ์และประเมินผลทางคลินิก ส่วนโครงการฉุกเฉินที่มีชื่อว่า "การศึกษาทางคลินิกว่าด้วยการป้องกันและรักษาโควิด-19 ด้วยยาจีนและตะวันตกแบบผสมผสาน" นั้น ก็มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ด้วยการสนับสนุนจาก MOST จางป๋อลี่ หัวหน้าโครงการและอธิการบดีมหาวิทยาลัยยาแผนจีนเทียนจิน กล่าวว่า "การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 มีประสิทธิภาพในเชิงบวก" โดยมีรายงานว่าผู้ป่วยจำนวน 23 รายหายดีและออกจากโรงพยาบาลยาแผนจีนและตะวันตกในมณฑลหูเป่ย และโรงพยาบาลยาแผนจีนในเมืองอู่ฮั่นได้แล้ว ในด้านการรักษาด้วยพลาสมานั้น China National Biotech Group ได้รวบรวมพลาสมาจากผู้ป่วยในระยะพักฟื้น รวมถึงเตรียมผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับพลาสมาภูมิคุ้มกันพิเศษและโกลบูลินภูมิคุ้มกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พลาสมาที่สร้างภูมิคุ้มกันพิเศษนี้ ผ่านขั้นตอนการทดสอบความปลอดภัยทางชีววิทยาในตัวอย่างเลือดอย่างเข้มงวด รวมถึงการทดลองทำลายไวรัสและต่อต้านไวรัส และอื่น ๆ โดยถูกนำไปใช้รักษาทางคลินิกโดยได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และถูกนำไปใช้รักษาทางคลินิกกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงแล้ว ส่วนในด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีนนั้น ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีน (CDC) ประสบความสำเร็จในการแยกสายพันธุ์ไวรัสโรคโควิด-19 ครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 มกราคม ซึ่งได้รับการรับรองโดยองค์การอนามัยโลก และองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ โดยวัคซีนชนิดใหม่ที่ใช้กับโควิด-19 ได้เริ่มทดลองกับสัตว์แล้ว ซึ่งมอบความหวังให้กับทุกคน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ