สถานีโทรทัศน์ CGTN ไขข้อข้องใจ “แนวทางที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางของจีนเป็นอย่างไร”

ข่าวทั่วไป Wednesday June 17, 2020 17:46 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

ปักกิ่ง--17 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ สถานีโทรทัศน์ CGTN เผยแพร่เนื้อหาของแผนงานที่รัฐบาลจีนยื่นต่อที่ประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ชุดที่ 13 ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่า จีนให้คำมั่นที่จะขจัดความยากจนและสร้างสังคมที่มีความเจริญระดับปานกลางในปีนี้ แม้ต้องเผชิญความท้าทายอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ก็ตาม เพื่อให้ภารกิจดังกล่าวลุล่วง ประชาชนจำนวน 5.51 ล้านคนใน 52 มณฑล ต้องหลุดพ้นจากความยากจนภายในระยะเวลาเพียง 6 เดือน ความพยายามของจีนทำให้ผู้ยากไร้ได้รับโอกาสในการมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยตั้งแต่ปี 2556 จนถึง 2562 ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในชนบทมากกว่า 93 ล้านคนสามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้ในที่สุด และนี่ก็เป็นเวลาถึง 7 ปีติดต่อกันที่มีประชากรหลุดพ้นจากความยากจนมากกว่า 10 ล้านคนในทุก ๆ ปี ระหว่างการเดินทางตรวจเยี่ยมเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย เมื่อวันที่ 8-10 มิถุนายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวว่า ความสำเร็จดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมอันดีงามของจีน ตลอดจนความแข็งแกร่งของระบบสังคมนิยมที่มีลักษณะแบบจีน ซึ่งทำให้ผู้คนจากทุกกลุ่มชาติพันธุ์สามารถร่วมมือกันเข้าสู่สังคมที่มีความเจริญระดับปานกลางในทุกแง่มุม ปรัชญาที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและการบรรเทาความยากจน แนวทางที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางเป็นปรัชญาการเมืองของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และยังเป็นหนึ่งในวาระสำคัญของประเทศ ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาการทุจริต การบรรเทาความยากจน และการยกระดับมาตรฐานชีวิตของประชาชน รวมถึงความพยายามป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นับตั้งแต่ที่นายสี ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) ในปี 2555 เขาก็มักจะกล่าวเนื่องในโอกาสต่าง ๆ ว่า "ความปรารถนาของผู้คนที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้นเป็นเป้าหมายที่เรามุ่งมั่นจะทำให้เกิดขึ้น" นายสีได้พูดถึงประเด็นเรื่องบรรเทาความยากจนระหว่างการเดินทางเยี่ยมเมืองหนิงเซี่ยในเดือนมิถุนายนนี้ว่า "ไม่ควรมีชนกลุ่มน้อยกลุ่มใดที่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลังสังคมที่มีความมั่งคั่งระดับปานกลางในทุกแง่มุมของประเทศ” นอกจากนี้ เขายังบอกให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและสมาชิกพรรคยึดถือหลักปรัชญาการพัฒนาที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยให้ความสนใจกับเกษตรกรเป็นอันดับสำคัญในการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่และโครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มรายได้ด้วย ชีวิตผู้คนต้องมาก่อน ในช่วงที่โควิด-19 ยังแพร่ระบาด ปรัชญาที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจีน ตั้งแต่ที่มีการแพร่ระบาดเกิดขึ้น คณะกรรมการกลางของ CPC ซึ่งนำโดยนายสี ได้เข้าไปรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างรวดเร็ว พร้อมให้คำมั่นว่าจะปกป้องชีวิตและสุขภาพของประชาชนทุกคนไม่ว่าอย่างไรก็ตาม รัฐบาลกลางได้ระดมบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยที่สุด และทรัพยากรที่จำเป็นที่สุดจากทั่วประเทศมายังจังหวัดหูเป่ย ซึ่งเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสุด "ประชาชนมาก่อนคืออะไร" นายสีเอ่ยคำถามนี้ขึ้นมาในเชิงวาทศิลป์ ขณะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่จากเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ในวันแรกของการประชุมประจำปีของ NPC เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา "บุคลากรทางการแพทย์ประมาณ 10 คน รับหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วย 1 รายเป็นเวลาหลายสิบวันอย่างพิถีพิถันจนในที่สุดก็สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ ขณะเดียวกันก็มีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากที่มาร่วมระดมกำลังเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยเพียงรายเดียว เพราะสิ่งสำคัญก็คือการทำทุกอย่างเพื่อรักษาชีวิตผู้คนไว้ให้ได้” นายสียกตัวอย่างผู้ติดเชื้อวัย 87 ปีรายหนึ่งที่ดร. หลู เจี่ย รองผู้อำนวยการจากมณฑลหูเป่ยเล่าให้ที่ประชุม NPC ชุดที่ 13 ฟัง “เราเต็มใจที่จะช่วยชีวิตผู้คนไม่ว่าอย่างไรก็ตาม แม้ผู้ป่วยจะมีอายุมากขนาดไหน หรือมีอาการร้ายแรงเพียงใด เราก็ไม่เคยยอมแพ้” นายสีกล่าว ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 บุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลกต่างก็ได้เรียนรู้ว่า ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่รักษายากที่สุดและจำเป็นต้องได้รับทรัพยากรทางการแพทย์ที่ทันสมัยที่สุด ซึ่งจีนได้ให้การรักษาผู้ป่วยทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงอายุหรือความมั่งคั่ง แม้รายงานการทำงานของรัฐบาลในปีนี้จะระบุว่า เศรษฐกิจของจีนมีการเติบโตติดลบในไตรมาสแรก แต่มันเป็น "ราคาที่คุ้มค่า" ในการสกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และช่วยชีวิตผู้คนเอาไว้ ดูบทความต้นฉบับได้ที่ https://bit.ly/3fBO6rr วิดีโอ - https://cdn5.prnasia.com/202006/cgtn/video.mp4 คำบรรยาย - แนวทางที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางของจีนเป็นอย่างไร?

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ