การประชุมความร่วมมือทางทะเลและการบริหารมหาสมุทรครั้งที่ 2 ว่าด้วยแนวปฏิบัติของรัฐและการบริหารมหาสมุทรเพื่ออนาคตที่ดีกว่า

ข่าวทั่วไป Tuesday November 16, 2021 16:10 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

การประชุมความร่วมมือทางทะเลและการบริหารมหาสมุทรครั้งที่ 2 ว่าด้วยแนวปฏิบัติของรัฐและการบริหารมหาสมุทรเพื่ออนาคตที่ดีกว่า

เมื่อวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2564 สถาบันทะเลจีนใต้ศึกษาแห่งชาติ (National Institute for South China Sea Studies) ได้จัดการประชุมความร่วมมือทางทะเลและการบริหารมหาสมุทรครั้งที่ 2 (Second Symposium on Global Maritime Cooperation and Ocean Governance) ในเมืองซานย่า ประเทศจีน โดยในการประชุมได้นำเสนอหัวข้อต่าง ๆ รวมถึง "โอกาสและความท้าทายในการบริหารมหาสมุทรทั่วโลก" "การปฏิรูปสถาปัตยกรรมความปลอดภัยในทะเลจีนใต้" และ "แนวทางปฏิบัติในการบริหารมหาสมุทรในทะเลจีนใต้" ในหัวข้อแรก วิทยากรได้แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายในการบริหารมหาสมุทรทั่วโลกในปัจจุบัน โดยมีความพยายามในระดับนานาชาติและในระดับชายฝั่งในการปรับใช้กลไกที่มีอยู่ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางธรรมชาติ (Convention on Biological Diversity หรือ CBD) และ UNCLOS ฯลฯ พร้อมสำรวจแนวทางใหม่ ๆ เพื่อยกระดับการบริหารมหาสมุทรในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง

แม้ว่าจะมีความท้าทายทางกฎหมายและในทางปฏิบัติในหลายระดับ แต่ความตั้งใจอันดีเบื้องหลังความพยายามดังกล่าวก็ยังควรค่าแก่การสนับสนุน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มในปัจจุบันที่ค่อย ๆ เปิดเผยออกมา อย่างกระแสโลกาภิวัฒน์ย้อนกลับ การแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ และความเสื่อมถอยของระเบียบการบริหารมหาสมุทรทั่วโลกที่อิงกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ก็จะไม่ถูกละเลยไป และการกำหนดแนวคิดสากลเกี่ยวกับความปลอดภัยและการพัฒนาทางทะเล รวมถึงการสำรวจบทบาทการสาธิตกลไกระดับภูมิภาคในการบริหารมหาสมุทรทั่วโลก ก็อาจนับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี

เนื่องด้วยความกังวลว่าข้อพิพาทในทะเลจีนใต้อาจเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือในการบริหารมหาสมุทรในระดับภูมิภาค วิทยากรจึงได้หารือถึงความจำเป็นในการปฏิรูปสถาปัตยกรรมความปลอดภัยในทะเลจีนใต้ในปัจจุบัน โดยการปฏิรูปดังกล่าวเรียกร้องให้คงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมความปลอดภัยอย่างสันติในทะเลจีนใต้ที่ยึดตามปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติ (Declaration on the Conduct หรือ DOC) ปี 2545 และการเจรจาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับประมวลการปฏิบัติ (Code of Conduct หรือ COC) ซึ่งสนับสนุนให้อาเซียนเป็นแกนกลางในประเด็นนี้

มีความเป็นไปได้ที่รัฐชายฝั่งทะเลจีนใต้จะรับแนวปฏิบัติด้านการบริหารมหาสมุทรบางข้อไปดำเนินการร่วมกัน ตัวอย่างเช่น จัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเล (Marine protected areas หรือ MPAs), สร้างการกำกับดูแลด้านการประมงในระดับภูมิภาค, เรียนรู้ประสบการณ์ขั้นสูงจากรัฐชายฝั่งอื่น ๆ ทั่วโลก, ประสานงานระดับนโยบายภายในภูมิภาค และจัดการกับความเสียหายของไมโครพลาสติกในทะเล แนวปฏิบัติเหล่านี้อยู่นอกเหนือข้อพิพาทในทะเลจีนใต้และมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับสวัสดิภาพของผู้อยู่อาศัยบนชายฝั่งทะเลจีนใต้ทุกคนรูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1685796/image_1.jpg


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ