แพทย์จาก St. David's Medical Center เป็นกลุ่มแรก ๆ ในสหรัฐที่ได้ใส่อุปกรณ์เทคโนโลยีกระตุ้นเส้นประสาทสำหรับการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้าย

ข่าวทั่วไป Tuesday December 14, 2021 10:15 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

แพทย์จาก St. David's Medical Center เป็นกลุ่มแรก ๆ ในสหรัฐที่ได้ใส่อุปกรณ์เทคโนโลยีกระตุ้นประสาทตัวใหม่เพื่อช่วยรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้าย ระบบ Barostim System นี้เป็นเทคโนโลยีตัวเดียวที่ได้รับการอนุมัติโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) เพื่อใช้ระบบประสาทควบคุมภาวะหัวใจล้มเหลวและปรับปรุงการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด

ระบบของเทคโนโลยีดังกล่าวนี้มาพร้อมอุปกรณ์ที่ตั้งค่าโปรแกรมได้ โดยจะอยู่ในบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าของผู้ป่วยและส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังตัวรับแรงดัน (baroreceptor) ซึ่งเป็นตัวรับรู้การเปลี่ยนแปลงความดันในหลอดเลือดแดงคาโรติด การทำเช่นนี้จะกระตุ้นให้เกิด baroreflex ซึ่งเป็นการตอบสนองหลักในระบบหลอดเลือดและหัวใจของร่างกาย ทำให้เกิดการตอบสนองต่อหัวใจที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ

"เมื่ออุปกรณ์ทำงาน อุปกรณ์จะส่งสัญญาณกระแสประสาทผ่านอิเล็กโทรดไปยังตัวรับในหลอดเลือดแดงคาโรติด" ดร. Jeffrey Apple ศัลยแพทย์หลอดเลือดจาก Cardiothoracic and Vascular Surgeons ที่เป็นผู้ดำเนินกระบวนการดังกล่าวนี้ที่ St. David's Medical Center กล่าว "การทำเช่นนี้จะหลอกให้ร่างกายคิดว่าระบบประสาทซิมพาเทติกและระบบประสาทพาราซิมพาเทติกทำงานอย่างถูกต้อง จากนั้นสมองจะตอบสนองและส่งสัญญาณบอกร่างกายว่าหัวใจทำงานอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยคลายหลอดเลือด ชะลออัตราการเต้นของหัวใจ และลดของเหลวในร่างกาย"

การรักษาด้วยวิธีนี้ออกแบบมาเพื่อปรับสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งจะลดอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว

"การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวด้วยวิธีนี้ออกแบบมาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย รวมถึงผู้ที่ยังมีอาการแม้จะได้รับยาและไม่มีทางเลือกในการรักษาด้วยอุปกรณ์อื่นใด" นายแพทย์ Andrea Natale, F.A.C.C., F.H.R.S., F.E.S.C แพทย์ด้านการตรวจสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจและกรรมการบริหารฝ่ายการแพทย์ Texas Cardiac Arrhythmia Institute ที่ St. David's Medical Center กล่าว "การรักษาด้วยวิธีนี้ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้โดยมีข้อจำกัดน้อยลง"

สื่อมวลชนติดต่อ :
Matt Grilli
Elizabeth Christian Public Relations
MGrilli@EChristianPR.com
512-498-3192


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ