ศิลปิน NFT ผู้บุกเบิกวงการ Digital art ทั่วเอเชีย เตรียมจัดแสดงผลงานที่งานอาร์ต บาเซิล ฮ่องกง ประจำปี 2565 ในนิทรรศการเอ็นเอฟทีสุดยิ่งใหญ่บนบล็อกเชนเทซอส

ข่าวทั่วไป Tuesday May 24, 2022 11:20 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

-  เทซอส บล็อกเชนประหยัดพลังงาน หวนคืนสู่เวทีอาร์ต บาเซิล อีกครั้งที่งานอาร์ต บาเซิล ฮ่องกง ประจำปี 2565 ในฐานะตัวเลือกในดวงใจศิลปินร่วมสมัยหน้าใหม่ไฟแรงในโลกศิลปะ NFT นิทรรศการ "NFTs + The Ever-Evolving World of Art" เตรียมเผยโฉมที่งานอาร์ต บาเซิล ฮ่องกง ตั้งแต่วันที่ 27 ถึง 29 พฤษภาคม 2565 โดยจะจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยแบบดิจิทัลรับยุคใหม่ ซึ่งมี Digital art เป็นไฮไลท์สำคัญ

-  พื้นที่จัดแสดงแบบอินเทอร์แอคทีฟนี้ จะจัดแสดงผลงานที่ออกแบบขึ้นจากความร่วมมือกับแพลตฟอร์ม Digital art ชั้นนำอย่างเอฟเอ็กซ์แฮช เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมได้รับ NFT ในรูปแบบ Digital art ที่ไม่ซ้ำใครจากศิลปินที่ร่วมจัดแสดงผลงาน ในประสบการณ์แกลเลอรี NFT แบบอินเทอร์แอคทีฟที่มีขึ้นเป็นครั้งแรก

Non-Fungible tokens (NFTs) หรือ NFT และ Digital art (generative art) จะเข้ามาสร้างเสียงฮือฮาในงานอาร์ต บาเซิล ฮ่องกง (Art Basel Hong Kong) ประจำปีนี้ ในนิทรรศการที่สร้างขึ้นบนบล็อกเชนสาธารณะประหยัดพลังงานอย่างเทซอส (Tezos) (www.tezos.com) นิทรรศการนี้มีชื่อว่า 'NFTs + The Ever-Evolving World of Art' (NFT + โลกศิลปะที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา) โดยจะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 27 ถึง 29 พฤษภาคม นับเป็นนิทรรศการครั้งแรกของเทซอสในงานอาร์ต บาเซิล ฮ่องกง ซึ่งจะจัดแสดงผลงานของศิลปินเจ้าของชิ้นงาน Digital art ร่วมสมัยกว่า 20 รายจากทั่วโลก ศิลปินแต่ละรายล้วนโดดเด่นด้วยสไตล์และรูปแบบผลงานของตนเอง เพื่อนำเสนอความหลากหลาย ความแข็งแกร่ง และศักยภาพของ NFT ในการเป็นสื่อศิลปะอย่างหนึ่ง

นิทรรศการ 'NFTs + The Ever-Evolving World of Art' จะจัดแสดงผลงานบนพื้นที่ 250 ตารางเมตร ในฮอลล์ 1เอ ของศูนย์การประชุมและจัดแสดงสินค้าฮ่องกง ผู้เข้าชมจะได้เห็นผลงานที่ถูกฉายภาพมากมายจากศิลปินเบื้องหลังผลงาน Digital art และ NFT ชั้นแนวหน้าจากทั่วทั้งภูมิภาค ทั้งบรูไน จีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ นอกจากนี้ นิทรรศการดังกล่าวยังจะมีการนำเสนอผลงานจากศิลปินทั่วโลกด้วย ทั้งจากอเมริกาเหนือและยุโรป ไม่ว่าจะเป็นบัลแกเรีย แคนาดา ฝรั่งเศส โปแลนด์ เซอร์เบีย สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา

ศิลปินที่เข้าร่วมจัดแสดงนี้มีทั้งจิตรกรและศิลปินข้ามศาสตร์ชาวฟิลิปปินส์อย่างบยอร์น คัลเลจา (Bjorn Calleja) เจ้าของผลงานที่สะท้อนถึงการมีปฏิกิริยาต่อกันและกันระหว่างโลกมนุษย์ทั้งเล็กและใหญ่ในสภาพแวดล้อมของตนเอง ศิลปินระดับรางวัลชาวสิงคโปร์อย่างเยียว ชิห์ หยุน (Yeo Shih Yun) ผู้ผสานรวมการใช้หมึกจีนวาดภาพแบบดั้งเดิมเข้ากับสื่อใหม่ ๆ ในสไตล์ร่วมสมัย ซง ติง (Song Ting) ศิลปินจากจีน ผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ NFT ชิ้นแรก ๆ ที่นำขึ้นประมูลในสำนักประมูลที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลกอย่างไชน่า การ์เดียน (China Guardian) เช่นเดียวกับศิลปินชาวฝรั่งเศส-แคนาดาอย่างนิโคลัส แซสซูน (Nicolas Sassoon) เจ้าของผลงานที่โดดเด่นด้วยรูปแบบพิกเซล ซึ่งเคยจัดแสดงตามสถาบันชื่อดังมาแล้วหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะอเมริกันวิทนีย์ (สหรัฐ) พิพิธภัณฑ์วิคตอเรีย แอนด์ อัลเบิร์ต (สหราชอาณาจักร) และซองเทรอ ปอมปิดู (ฝรั่งเศส)

พื้นที่จัดแสดงนี้ยังจะมีผลงานอันเลื่องชื่อของศิลปินจากทั่วโลกด้วย ทั้งนิโคลัส แซสซูน (Nicolas Sassoon) (ฝรั่งเศส), ฉิงหนาน ตัน (Qingnan Tan) (ชื่อในวงการ แรนดอม คอมโบ หรือ Random Combo) (จีน), แชซุก "ซีเอส" ลิม (Chaeseok (CS) Lim) (เกาหลีใต้), ไลโอเนล เรดิสสัน (Lionel Radisson) (ชื่อในวงการ มาคิโอ135 หรือ makio135) (ฝรั่งเศส), ยาซิด อซาฮารี (Yazid Azahari) (บรูไน), มูนิรา ฮัมซาห์ (Munira Hamzah) (ชื่อในวงการ มูมู่ เดอะ สแตน หรือ Mumu the stan) (มาเลเซีย), อิสครา เวลิตช์โควา (Iskra Velitchkova) (บัลแกเรีย), ไมเคิล ซานคาน (Michael Zancan) (ฝรั่งเศส), ซาราห์ ริดจ์ลีย์ (Sarah Ridgley) (สหรัฐ), อเล็กซานดรา โยวานิค (Aleksandra Jovani?) (เซอร์เบีย), ปาร์ค เซ จิน (Park Se Jin) (ชื่อในวงการ 08เอเอ็ม หรือ 08AM) (เกาหลีใต้), ฟ่าน อี้ เหวิน (Fan Yi Wen) (ชื่อในวงการ เรวา หรือ Reva) (จีน), แมตต์ เดลอริเยร์ (Matt DesLauriers) (แคนาดา) และวีสลอว์ บอร์คาวสกี (Wieslaw Borkowski) (ชื่อในวงการ ไบเวย หรือ baiwei) (โปแลนด์)

ชิ้นงานที่จัดแสดงนี้ผสานรวมการจัดแสดงแบบอินเทอร์แอคทีฟระดับบุกเบิกที่สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือกับเอฟเอ็กซ์แฮช (FXhash) ซึ่งเป็นตลาดซื้อขาย NFT ในรูปแบบ Digital art ชั้นนำบนเทซอส ผู้มาเยือนจะได้มีปฏิสัมพันธ์กับผลงานจัดแสดง และสร้าง NFT Digital art ขึ้นมาแบบ 1/1 จากหนึ่งในชุดผลงานของศิลปินที่ร่วมจัดแสดง ซึ่งจะแสดงให้เห็นในการจัดแสดงผลงาน และขณะเดียวกันก็จะส่งไปยัง NFT Wallet เป็นของขวัญให้ผู้เข้าชมรายนั้นด้วย การแสดงผลงานนี้ออกแบบขึ้นมาเพื่อมอบประสบการณ์การใช้ชีวิตโดยมีกลไกดิจิทัลอยู่เบื้องหลัง ซึ่งจะอัปเดตตัวเองแบบเรียลไทม์เมื่อมีการสร้างและมอบงานศิลป์เป็นของขวัญ เติมเต็มศิลปะบนผนังด้วยผลงานเวอร์ชันใหม่ ๆ รวมถึง NFT ที่ศิลปินชื่อดังระดับโลกสร้างขึ้นใหม่ไม่ซ้ำกันแบบ 1/1 สำหรับศิลปินที่ร่วมจัดแสดงผลงาน Digital art แบบอินเทอร์แอคทีฟนี้มีทั้งยาซิด อซาฮารี, ซาราห์ ริดจ์ลีย์, มาร์เซโล โซเรีย-รอดริเกซ (Marcelo Soria-Rodriguez), ไรอัน เบลล์ (Ryan Bell), จินเหยา หลิน (Jinyao Lin), อาหลวน หวัง (Aluan Wang), แม็กซ์ โอชิมะ (Max Oshima) หรือลูนาเรียน (Lunarean) และอเล็กซานดรา โยวานิค Digital art นั้นถูกมองว่าเป็นการหลอมรวมกันของ 'คน' กับ 'เครื่องจักร' ซึ่งศิลปินจะสร้างอัลกอริทึมที่สร้างชิ้นงานใหม่ ๆ ได้เองเมื่อได้ข้อมูลอินพุตบางอย่างจากผู้ใช้ โดยงานศิลป์ที่ไม่ซ้ำใครนี้สร้างขึ้นตามวิสัยทัศน์ที่ตัวศิลปินมีในการออกแบบอัลกอริทึมนั้น

การแสดงผลงานแบบอินเทอร์แอคทีฟนี้คาดว่าจะสร้างและมอบชิ้นงานที่สร้างขึ้นใหม่จากผลงานของศิลปินที่ร่วมจัดแสดงได้ราว 5,000-8,000 ชิ้น ผู้มาเยือนเพียงแค่สแกนคิวอาร์โค้ดในพื้นที่จัดแสดงนี้ ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการสร้างงานศิลป์ชิ้นใหม่ และจะมีการฉายภาพผลงานชิ้นนั้นภายในงาน ทั้งหมดนี้จะดำเนินการแบบเรียลไทม์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้เข้ามามีส่วนร่วมและสร้างงานศิลป์ที่ไม่เหมือนใครเอาไว้เอง ผลงานเหล่านี้จะสร้างขึ้นเป็น NFT บนบล็อกเชนเทซอส และเข้าถึงได้ผ่านวอลเลตคูไค (Kukai) (https://kukai.app/) ในรูปแบบเบราว์เซอร์ของเทซอส ระบบจะออกวอลเลตให้ผู้ใช้โดยอัตโนมัติในช่วงเวลาที่มีการสร้างโทเคนใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นจากการล็อกอินใช้งานบัญชีโซเชียลมีเดียใดก็ได้ของบุคคลผู้นั้นเพื่ออนุญาตให้ระบบสร้างวอลเลตได้

คุณเยียว ชิห์ หยุน ศิลปินวิชวลอาร์ตชาวสิงคโปร์ กล่าวถึงการจัดแสดงผลงานที่กำลังจะเปิดฉากขึ้นว่า "ตลอดประวัติศาสตร์โลกศิลปะ นิยามของคำว่าศิลปะก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา การได้เห็น NFT มีพื้นที่ของตนเองในงานอาร์ต บาเซิลนั้น สะท้อนให้เห็นว่าสื่อกลางนี้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น เมื่อศิลปินและนักสะสมทั่วโลกยอมรับคุณค่าของ NFT ที่นอกเหนือไปจากแวดวงคริปโทฯ และโซเชียลมีเดีย และสำหรับศิลปินอย่างดิฉันแล้ว NFT มอบแพลตฟอร์มที่มีประโยชน์มาก ๆ ในการทำให้ผลงานของดิฉันก้าวไกลกว่าเดิม และทำให้ดิฉันได้เชื่อมโยงกับชุมชนครีเอเตอร์หลายล้านคนที่ล้วนสนับสนุนเทคโนโลยีนี้ และเล็งเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีนี้ในการส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ทั่วโลก"

คุณเยียว ชิห์ หยุน เป็นศิลปินร่วมสมัยชาวสิงคโปร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ผลงานของเธอนำภาพวาดหมึกจีนแบบดั้งเดิมมาตีความใหม่ด้วยสื่อกลางแบบใหม่และเพอร์ฟอร์แมนซ์อาร์ต นับจนถึงวันนี้ ผลงานของเธอได้รับการยกย่องมากมายทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับสากล รวมถึงคอมมิชชันจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์เมื่อปี 2554 ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์วิชวลอาร์ตร่วมสมัยแห่งแรกของประเทศ ผลงานภาพวาด "Conversations with Trees" (คุยกับต้นไม้) ของคุณเยียว ชิห์ หยุน เป็นหนึ่งในผลงานที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลซอฟเวอรีน เอเชียน อาร์ต ไพรซ์ (Sovereign Asian Art Prize) และคว้ารางวัลซอฟเวอรีน เอเชียน อาร์ต ไพรซ์ สาขาผลงานในดวงใจ (People's Choice) ได้ในปี 2555 ก่อนที่ผลงานชิ้นนี้ถูกนำขึ้นประมูลโดยคริสตี้ เอเชีย (Christie's Asia) ในท้ายที่สุด และในปี 2542 และ 2550 นั้น คุณเยียว ชิห์ หยุน ยังชนะการประกวดภาพวาดยอดเยี่ยมแห่งปีของธนาคารยูโอบีด้วย (รางวัลดีเด่นในหมวดศิลปะนามธรรม)

เมื่อมองวงการศิลปะในภาพรวมแล้ว เอเชียมียอดขายงานศิลป์เพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ โดยเพิ่มขึ้นถึง 31% ซึ่งพื้นที่ที่มีส่วนผลักดันมากที่สุดนั้นคือฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่น แม้ผู้ซื้อในสหรัฐยังคงทุ่มเงินซื้อมากที่สุดในปี 2564 แต่นักสะสมชาวเอเชียก็มีสัดส่วนถึงหนึ่งในสามของการเสนอราคาทั้งหมดเมื่อประเมินตามมูลค่าทั่วโลก และมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่ง (46%) ของชิ้นงานที่ถูกเสนอราคาหรือถูกซื้อในวงเงินกว่า 5 ล้านดอลลาร์ แนวโน้มนี้ปรากฏให้เห็นในแวดวง NFT ด้วยเช่นกัน ปัจจุบัน เมื่อนับประเทศที่สนใจ NFT มากที่สุด 5 อันดับแรกของโลกนั้น เอเชียกวาดไปแล้วถึง 4 ประเทศ โดยเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิดเป็นสัดส่วนถึง 35% ของอุตสาหกรรมเอ็นเอฟทีที่มีมูลค่าราว 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก การที่เอเชียให้ความสนใจกับ NFT เช่นนี้ ทำให้นิทรรศการนี้มุ่งเฉลิมฉลองงานศิลปะ NFT ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างพุ่งพรวด รวมถึงศักยภาพที่ NFT มอบให้โลกศิลปะดั้งเดิมได้ นอกจากนี้ นิทรรศการดังกล่าวยังมุ่งผลักดัน Digital art ซึ่งเป็นหมวดงานศิลป์ที่หลอมรวมศิลปะและเทคโนโลยีได้อย่างลงตัว

คุณแคทเทอรีน อึ้ง (Katherine Ng) หัวหน้าฝ่ายการตลาดและปฏิบัติการของทีซี เอแพค (TZ APAC) กล่าวถึงนิทรรศการนี้ว่า "ในฐานะงานแสดงศิลปะร่วมสมัยชั้นนำของโลก การได้เห็นแวดวงศิลปะรวมตัวกันเพื่อเชิดชูจิตวิญญาณของนวัตกรรมแวดวงศิลปะยุคนี้นับเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมาก ๆ การได้มีโอกาสนำเสนอความสามารถทาง Digital artชั้นแนวหน้าของโลกคือหัวใจสำคัญของสิ่งที่ระบบนิเวศเทซอสมุ่งส่งเสริม NFT เปิดโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อนให้ครีเอเตอร์เหล่านี้เข้าถึงผู้ชมกลุ่มใหม่ ๆ ได้ ทั้งยังขัดเกลาผลงานและสร้างชื่อให้ตนเองในโลกออนไลน์ได้ นับเป็นการพลิกโฉมกฎเกณฑ์เดิม ๆ เมื่อว่ากันในเรื่องการเข้าถึงโลกศิลปะไปเลย"

นอกเหนือจากการนำเสนอความเป็นอินเทอร์แอคทีฟด้วยการสร้างโทเคนแบบเรียลไทม์แล้ว พื้นที่จัดแสดงของเทซอสยังจะเปิดพื้นที่ในรูปแบบจีเนียส บาร์ (Genius Bar) ด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้ศิลปิน ผู้ดูแลแกลเลอรี และผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ เข้ามาศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NFT ได้โดยตรงจากทีมในระบบนิเวศของเทซอส

คุณแคทเทอรีน กล่าวเสริมว่า "เพื่อให้สอดคล้องกับธีมงานประจำปีนี้อย่าง 'NFTs + the Ever-Evolving World of Art' เรารู้สึกตื่นเต้นในการนำเสนอผลงานสุดล้ำ ซึ่งผลักดันการใช้ NFT และความไร้ขอบเขตของ NFT เป็นสื่อกลาง ช่วยมอบพลังให้ศิลปินในขณะที่ NFT เข้ามาพลิกโฉมขอบข่ายและขนาดของโลกศิลปะทุกวันนี้ในยุคดิจิทัล ถึงเวลาแล้วที่เราควรให้การยอมรับผู้มีความสามารถรุ่นใหม่ในโลกดิจิทัลในเวทีดั้งเดิม เมื่อโลกของศิลปะสมัยใหม่ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจของผู้สร้าง หลอมรวมเข้ามาเรื่อย ๆ"

ระบบนิเวศเทซอสมีการออกแบบที่ประหยัดพลังงานและคิดค่าธรรมเนียมดำเนินธุรกรรมไม่มาก จนมีศิลปิน นักสะสม และผู้สร้าง NFT จากทั่วโลกร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายนี้อย่างแข็งแกร่ง รวมถึงแบรนด์ผู้มองการณ์ไกลที่ต้องการยกระดับการทำธุรกิจในเว็บ3 (Web3) ไม่ว่าจะเป็นทีมรถแข่งฟอร์มูลาวันอย่างเรด บูล ฮอนดา เรซซิง (Red Bull Honda Racing) และแมคลาเรน เรซซิง (McLaren Racing) ไปจนถึงยักษ์ใหญ่วงการธนาคารอย่างโซซิเอเต้ เจเนเรล (Societe Generale) ยักษ์ใหญ่วงการเกมอย่างยูบิซอฟต์ (Ubisoft) แบรนด์แฟชันอเมริกันอย่างแก๊ป (GAP) และอื่น ๆ อีกมากมาย

งานอาร์ต บาเซิล ฮ่องกง ประจำปี 2565 จะมีผู้จัดแสดงระดับท้องถิ่นและสากลรวมกัน 130 ราย และสำหรับผู้ที่มาร่วมงานด้วยตนเองไม่ได้ แกลเลอรีต่าง ๆ ยังเตรียมนำเสนอผลงานของตนในรูปแบบออนไลน์ด้วยใน 'Art Basel Live: Hong Kong' ในห้องที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการรับชมออนไลน์โดยเฉพาะ ทั้งนี้ นิทรรศการ 'NFTs and the Ever-Evolving World of Art' จะเปิดให้รับชมสำหรับผู้ที่ได้รับเชิญเท่านั้นตั้งแต่วันที่ 24 ถึง 30 พฤษภาคม 2565 และจะเปิดให้บุคคลทั่วไปรับชมได้ตั้งแต่วันที่ 27 ถึง 29 พฤษภาคม 2565 ที่ศูนย์การประชุมและจัดแสดงสินค้าฮ่องกงในย่านหว่านไจ๋ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://artbasel.com/hong-kong/at-the-show

คุณเยียว ชิห์ หยุน ศิลปินวิชวลอาร์ตชาวสิงคโปร์  และคุณแคทเทอรีน อึ้ง หัวหน้าฝ่ายการตลาดและปฏิบัติการของทีซี เอแพค ยินดีให้สัมภาษณ์

เกี่ยวกับเทซอส

เทซอส (Tezos) คือ Smart Money ที่เข้ามากำหนดนิยามใหม่ของการถือครองและแลกเปลี่ยนมูลค่าในโลกดิจิทัลที่เชื่อมถึงกัน เทซอสเป็นบล็อกเชนที่อัปเกรดได้เอง ประหยัดพลังงาน และมีประวัติน่าเชื่อถือ โดยนำนวัตกรรมแห่งอนาคตมาใช้อย่างราบรื่นโดยไม่มีการหยุดชะงักของเครือข่าย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชม www.tezos.com

เกี่ยวกับทีซี เอแพค

ทีซี เอแพค (TZ APAC) เป็นหนึ่งในหน่วยงานชั้นนำที่สนับสนุนระบบนิเวศของเทซอสในเอเชีย ทีซี เอแพค ออกแบบกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าให้บล็อกเชนสำหรับองค์กรและนักสร้างสรรค์ ด้วยแนวทางจากล่างขึ้นบน โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนิเวศของเทซอส ทั้งนี้ ทีซี เอแพค ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเทซอส และมีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tzapac.com

เกี่ยวกับเอฟเอ็กซ์แฮช

เอฟเอ็กซ์แฮช (FXhash) เป็นแพลตฟอร์มแบบเปิด ที่ให้ศิลปินเผยแพร่ Generative Token ที่ถูกเก็บบนบล็อกเชนเทซอสได้ Generative Token เป็นโปรแกรมที่ออกแบบเพื่อสร้างผลลัพธ์แบบสุ่ม โดยเมื่อมีการเปิดให้สร้าง Generative Token (ตามการตัดสินใจของศิลปิน) แล้ว ผู้ที่มีวอลเลตของเทซอสก็จะสร้าง Non-fungible Generative Token อาไว้เองได้ โทเคนที่สร้างขึ้นใหม่แต่ละชิ้นจะไม่ซ้ำกันและถูกจัดเก็บเป็น NFT บนบล็อกเชนเทซอส NFTเหล่านี้สอดรับกับข้อกำหนด FA2 ซึ่งหมายความว่า NFT เหล่านี้รองรับการแลกเปลี่ยนได้เหมือนกับ NFT อื่น ๆ ในระบบนิเวศเทซอส ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.fxhash.xyz

เกี่ยวกับอาร์ต บาเซิล

อาร์ต บาเซิล (Art Basel) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2513 โดยผู้ดูแลหอศิลป์จากเมืองบาเซิล ปัจจุบัน อาร์ต บาเซิล เป็นผู้จัดงานแสดงศิลปะร่วมสมัยและศิลปะสมัยใหม่ชั้นนำของโลก โดยจัดขึ้นที่เมืองบาเซิล เมืองไมอามีบีช และฮ่องกง การจัดแสดงแต่ละแห่งแตกต่างกันไปตามเมืองและภูมิภาคที่จัดงาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นในหอศิลป์ที่เข้าร่วม งานศิลป์ที่จัดแสดง และเนื้อหาของโปรแกรมคู่ขนานต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือกับสถาบันในท้องถิ่นสำหรับการจัดงานแต่ละครั้ง ผลงานของอาร์ต บาเซิล ได้ขยับขยายจนเป็นมากกว่าเพียงงานแสดงศิลปะ โดยอาศัยแพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ ๆ รวมถึงโครงการริเริ่มใหม่ ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นรายงานตลาดศิลปะโลกโดยอาร์ต บาเซิล และยูบีเอส โกลบอล (Art Basel and UBS Global Art Market Report) โปรแกรมพอดแคสต์อย่าง "อินเตอร์เซกชันส์: ดิ อาร์ต บาเซิล พอดแคสต์" (Intersections: The Art Basel Podcast) และโปรแกรมบีเอ็มดับบลิว อาร์ต เจอร์นีย์ (BMW Art Journey) ทั้งนี้ อาร์ต บาเซิล มีเดอะ ไฟแนนเชียล ไทม์ส (The Financial Times) เป็นพันธมิตรสื่อระดับโลก ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.artbasel.com


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ