ปกป้องบุตรหลานของท่านจากโรคปอดบวมซึ่งคร่าชีวิตเด็กเป็นจำนวนมาก

ข่าวต่างประเทศ Monday November 2, 2009 08:58 —Asianet Press Release

ซิดนีย์--2 พ.ย.--มีเดียเน็ท อินเตอร์เนชั่นแนล — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ เนื่องในวันปอดบวมโลก - 2 พฤศจิกายน 2552 มีการคาดการณ์ว่าในปีหน้าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีร่วม 61 ล้านคนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นโรคปอดบวม[1] ตัวเลขสถิติที่น่าตกใจแสดงให้เห็นว่าโรคปอดบวมคร่าชีวิตเด็กๆ มากกว่าโรคอื่นๆ และมากกว่าโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคหัดรวมกัน[2] โดยทุก 15 วินาทีจะมีเด็กเสียชีวิตจากโรคปอดบวม 1 คน หรือมากถึง 5,500 คนต่อวัน และ 2 ล้านคนต่อปี[3] วันปอดบวมโลก (2 พฤศจิกายนนี้) เป็นวันที่ทั่วโลกจะแสดงความระลึกถึงหลายล้านชีวิตที่สูญเสียไปเพราะโรคปอดบวม และกระตุ้นให้พ่อแม่ผู้ปกครองทั่วโลกช่วยกันต่อสู้เพื่อเอาชนะโรคร้ายที่สามารถป้องกันได้นี้ สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตจากโรคปอดบวมคือการติดเชื้อนิวโมคอคคัส (pneumococcal disease)[4] นอกจากนั้นการติดเชื้อนิวโมคอคคัสยังทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคโลหิตเป็นพิษด้วย[4] ซึ่งการฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่สามารถป้องกันเด็กๆ จากโรคร้ายนี้ สมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Confederation of Meningitis Organisations: CoMO) เป็นกระบอกเสียงให้กับกลุ่มองค์กรและผู้ป่วยจากทั่วโลกที่ต้องการให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคโลหิตเป็นพิษ และเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าว เนื่องจากโรคปอดบวมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นโรคร้ายที่คุกคามชีวิตเด็กๆ สมาชิกของสมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจึงทำงานอย่างหนักเพื่อให้คนในชุมชนรู้ถึงสัญญาณเบื้องต้นและอาการของโรค นอกจากนั้นยังกระตุ้นให้มีการตรวจรักษาโรคแต่เนิ่นๆ และสนับสนุนให้มีการป้องกันโรคผ่านโครงการฉีดวัคซีนทั่วประเทศ มีการประมาณการว่าในแต่ละปีเด็กๆ กว่า 1 ล้านคนทั่วโลกจะรอดพ้นจากโรคร้ายดังกล่าว หากเด็กเหล่านั้นได้รับการป้องกันและรักษาโรคอย่างเหมาะสม[5] องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) แนะนำว่าควรมีการบรรจุวัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัส 7 ชนิด (PCV7) เข้าไปในโครงการให้วัคซีนเด็กทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2550[6] “นับตั้งแต่มีการบรรจุวัคซีน PCV7 เข้าเป็นหนึ่งในรายการฉีดวัคซีนสำหรับทารกในสหรัฐอเมริกา จำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีที่ป่วยเป็นโรคปอดบวมจากเชื้อนิวโมคอคคัสจนต้องเขารับการรักษาในโรงพยาบาลก็ลดลงถึง 65%[7]” ศจ.ลูลู่ บราโว จากองค์กรเพื่อการฉีดวัคซีนแห่งฟิลิปปินส์ (Philippine Foundation for Vaccination) และเป็นสมาชิกของสมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งเข้าร่วมสุดยอดการประชุมวันปอดบวมโลกในนิวยอร์ก กล่าว “แม้ฉีดวัคซีนแล้วพ่อแม่ผู้ปกครองก็ควรสังเกตเมื่อบุตรหลานมีอาการเหมือนเป็นไข้ เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายอย่างปอดบวมและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ขณะเดียวกันสมาชิกในครอบครัวต้องรักษาสุขภาพให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (H1N1)” ศจ.บราโว กล่าว “การพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอและดื่มน้ำมากๆ เป็นพฤติกรรมสำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยรุนแรง” ศจ.บราโว่ แนะนำ ทางด้านคุณบรูซ แลงกูแลนท์ ประธานสมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล่าวย้ำว่า “พ่อแม่ผู้ปกครองต้องทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อให้เด็กๆ และคนในครอบครัวเจ็บป่วยน้อยที่สุด” รายการด้านล่างนี้คือสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรทำเพื่อป้องกันมิให้บุตรหลานติดเชื้ออย่างรุนแรง[8] ? ให้เด็กดื่มน้ำอย่างเพียงพอเพื่อลดน้ำมูกและเสมหะและป้องกันการขาดน้ำ อย่าลืมให้น้ำทารกระหว่างป้อนอาหารด้วย ? เวลาสั่งน้ำมูก ไอ และจาม ให้ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษชำระ และทิ้งกระดาษที่ใช้แล้วอย่างระมัดระวัง ? ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนทำอาหาร ทานอาหาร และหลังสั่งน้ำมูก ? ล้างของเล่นเด็กบ่อยๆ ? หลีกเลี่ยงการใช้ช้อน ส้อม และภาชนะร่วมกันในการทานอาหารและดื่มน้ำ ? ทานอาหารที่มีประโยชน์และครบทุกหมู่ ? ไม่ให้เด็กสูดควันบุหรี่ เนื่องจากอาจทำให้เจ็บป่วยหนักกว่าเดิม พ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถปรึกษาแพทย์ของท่านได้ ทั้งนี้ ท่านสามารถสัมภาษณ์คุณบรูซ แลงกูแลนท์ ประธานสมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ ดร.ลูลู่ บราโว จากองค์กรเพื่อการฉีดวัคซีนแห่งฟิลิปปินส์ได้ โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แอนเดรีย เบรดี้ ที่อีเมล andreabrady01@gmail.com หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ +64 212 545 324 เกี่ยวกับ สมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (CoMO) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2547 เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับกลุ่มองค์กรและผู้ป่วยจากทั่วโลกที่ต้องการให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคโลหิตเป็นพิษ และเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าว ปัจจุบันสมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบประกอบด้วยองค์กรด้านสุขภาพเด็กและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 26 องค์กร และผู้ให้การสนับสนุน 7 รายจากทั่วโลก และกำลังพยายามสร้างความแข็งแกร่งให้กับเครือข่ายครอบครัวและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ที่ www.comoonline.org สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: www.comoonline.org อ้างอิง [1] Rudan l, Boschi-Pinto C, Biloglav Z, Mulholland K & Campbell H. Epidemiology and etiology of childhood pneumonia. Bulletin of the World Health Organization 2008; 86:408-416. Accessed 16 October 2209 http://www.who.int/bulletin/volumes/86/5/07-048769.pdf [2] World Health Organization, Pneumonia: the forgotten killer of children, 2006. Accessed 13 August 2009 http://www.who.int/child_adolescent_health/documents/9280640489/en/ [3] PneumoADIP, Child Death and Disability: Pneumococcal disease and pneumonia, Child Morbidity and Mortality, 2009. Accessed 16 October 2009 http://www.preventpneumo.org/diseases/child_morbidity_and_mortality/index.cfm [4] PneumoADIP, Serious pneumococcal infections are a major global health problem and are vaccine preventable, Fact Sheet: Pneumococcal Disease, 2009. Accessed 16 October 2009 http://www.pneumoadip.org/resources/factsheets/pneumococcal.cfm [5] Unicef, Pneumonia, Pneumonia kills more children worldwide than any other single cause, 6 May 2008. Accessed 15 October 2009 http://www.unicef.org/health/index_43828.html [6] World Health Organization. Pneumococcal conjugate vaccine for childhood immunization, March 2007- WHO position paper. Wkly Epidemiol Record 2007;12: 93-104 Accessed 13 October 2009 http://www.who.int/immunization/wer8212pneumococcus_child_Mar07_position_paper. pdf [7] Grijalva, CG MD. Effectiveness of PCV7 in Pneumonia: The United States xperience. Vanderbilt University School of Medicine, Nashville, Tennessee, USA, 2009. [8] Pharmaceutical Society of Australia, Pharmacy Self Care Health Information, Colds and Flu, 2009. แหล่งข่าว: สมาพันธ์องค์การโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ -- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ