Thai External Debt and Private Non-Bank External Debt Survey As at end-December 2010

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 1, 2011 11:42 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

หนี้ต่างประเทศของไทยและผลการสำรวจหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร

ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553

1. บทนำ

ข้อมูลหนี้ต่างประเทศเป็นข้อมูลสำคัญที่ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ใช้ในการติดตามและวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของประเทศ เพื่อใช้ประกอบการวางนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้ความสำคัญในการติดตามดูแลข้อมูลหนี้ต่างประเทศอย่างใกล้ชิดมาตลอด โดยข้อมูลหนี้ต่างประเทศของภาครัฐและธนาคารพาณิชย์สามารถจัดเก็บได้โดยตรงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจากรายงานของสถาบันการเงิน ส่วนหนี้ของภาคธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคาร (Non-bank) ใช้วิธีจัดเก็บโดยการสำรวจ เป็นรายไตรมาสมาตั้งแต่ปี 2543เป็นต้นมา รายงานนี้กล่าวถึงการวิเคราะห์ข้อมูลหนี้ต่างประเทศของไทยและความมีเสถียรภาพทางการเงินในด้านภาพรวมทั้งประเทศ เครื่องชี้วัดระดับหนี้ต่างประเทศ และผลการสำรวจข้อมูลหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร (Non-bank) ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2553 พร้อมตารางประกอบ

2. ภาพรวมหนี้ต่างประเทศของไทย

ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศของไทย ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีจำนวนรวม 96.9 พันล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้น 6.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากสิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 เป็นการเพิ่มขึ้นในทุกภาคเศรษฐกิจ โดยธนาคารพาณิชย์เป็นภาคธุรกิจที่มีหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ 4.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ที่สำคัญเป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ระยะสั้น ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 เป็นต้นมา ธนาคารพาณิชย์ (ส่วนใหญ่เป็นสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ) ได้ก่อหนี้ระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยส่วนใหญ่เป็นการกู้จากธนาคารแม่ในต่างประเทศ เพื่อปิดฐานะเงินตราต่างประเทศที่เกิดจากธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงด้านเงินตราต่างประเทศของผู้ส่งออกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มีหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น 1.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศเข้ามาถือพันธบัตร ธปท. เพิ่มขึ้นทดแทนพันธบัตรและตั๋วเงินคลัง จากการที่กระทรวงการคลังได้ประกาศงดการออกจำหน่ายตั๋วเงินคลังในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2554 สำหรับธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ภาครัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ ในไตรมาสนี้ มีหนี้เพิ่มขึ้นจำนวน 0.4, 0.2 และ 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ

ในด้านสัดส่วนหนี้ต่างประเทศจำแนกตามภาคธุรกิจ พบว่าภาคธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ยังคงเป็นภาคที่มีหนี้ต่างประเทศมากที่สุด โดยมีสัดส่วนร้อยละ 55.1 รองลงมาได้แก่ ภาคธนาคารพาณิชย์รัฐวิสาหกิจ รัฐบาล และธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 21.2, 10.6, 8 และ 5 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาอายุหนี้ต่างประเทศ จำแนกเป็นหนี้ระยะสั้นต่อหนี้ระยะยาว พบว่ามีสัดส่วนร้อยละ 48 : 52 โดยสัดส่วนของหนี้ระยะสั้นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 47 ในไตรมาสก่อนจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ระยะสั้นภาคธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ สัดส่วนของหนี้ระยะสั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2547 จากหนี้ต่างประเทศของไทยและผลการสำรวจหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553 การปรับข้อมูลสินเชื่อการค้า ที่ทำให้สินเชื่อการค้าระยะสั้นมีสัดส่วนต่อหนี้รวมในช่วงปี 2547 — 2553 มีค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 25 โดยที่การเพิ่มขึ้นของข้อมูลสินเชื่อการค้าเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งด้านหนี้สินและด้านสินทรัพย์

ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศของไทยทั้งระบบ หนว่ย : ล้านดอลลาร์ สรอ.

Q4/2551 Q1/2552 Q2/2552 Q3/2552 Q4/2552 Q1/2553 Q2/2553 Q3/2553 Q4/2553

รัฐบาล 2,872 3,614 2,908 3,692 3,883 4,743 5,277 7,596 7,783 ระยะสั้น 4 53 11 244 364 234 99 352 195 ระยะยาว 2,868 3,561 2,897 3,448 3,519 4,509 5,177 7,245 7,588 ธนาคารแห่งประเทศไทย 543 412 344 2,108 2,048 2,611 2,607 3,562 4,880 ระยะสั้น 322 181 31 300 419 835 1,017 1,692 2,574 ระยะยาว 220 231 312 1,808 1,629 1,776 1,590 1,870 2,305 ธนาคาร 7,194 7,233 6,907 7,674 10,344 11,631 13,167 15,807 20,525 ระยะสั้น 4,462 4,465 4,600 5,647 8,541 9,578 10,897 13,456 16,655 ระยะยาว 2,732 2,769 2,306 2,027 1,803 2,053 2,271 2,351 3,870 ภาคอื่น ๆ 65,495 59,312 60,490 61,689 59,032 60,106 60,012 63,101 63,726 รัฐวิสาหกิจ 11,391 10,067 10,342 10,171 9,498 9,444 9,705 10,106 10,287 ระยะสั้น 1,748 1,489 1,514 1,218 370 643 742 688 953 ระยะยาว 9,643 8,579 8,828 8,954 9,127 8,801 8,963 9,417 9,334 ธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร 54,104 49,245 50,148 51,517 49,534 50,662 50,306 52,995 53,438 ระยะสั้น 27,068 22,035 22,579 24,348 23,434 24,382 24,404 25,909 26,369 ระยะยาว 27,036 27,210 27,569 27,170 26,101 26,280 25,902 27,086 27,070 หนี้ต่างประเทศรวม 76,104 70,571 70,648 75,162 75,307 79,091 81,063 90,066 96,913 ระยะสั้น 33,605 28,222 28,735 31,757 33,128 35,671 37,159 42,097 46,746 ระยะยาว 42,499 42,349 41,913 43,406 42,179 43,420 43,904 47,969 50,167 สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อ GDP (%) 31.4 28.6 28.1 29.4 28.8 29.5 29.6 32.3 34.0 สัดส่วนเงินสำรองต่อหนี้ระยะสั้น (%) 330.3 411.8 420.4 414.9 417.8 404.0 395.0 387.8 368.2 สัดส่วนภาระหนี้ฯ ต่อรายได้ (%) 7.7 7.6 8.7 6.9 7.2 5.7 5.0 4.0 3.5 ภาคทางการ 0.6 0.8 0.7 0.8 0.6 0.8 0.9 0.8 0.6 ภาคเอกชน 7.0 6.8 8.0 6.1 6.7 4.9 4.1 3.2 2.8 ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศของไทยทั้งระบบ หน่วย : ล้านดอลลาร์สรอ. หนี้ต่างประเทศของไทยและผลการสำรวจหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553 3. เครื่องชี้วัดภาระหนี้ต่างประเทศของไทย

แม้ว่าระดับของหนี้ต่างประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2552 เป็นต้นมา แต่เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับเงินสำรองระหว่างประเทศและรายได้ของประเทศแล้ว ระดับหนี้ต่างประเทศของไทยยังนับว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณาเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของธนาคารโลกแล้ว เครื่องชี้ดังกล่าวยังคงสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้ 3.1 เงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้น (Reserve/Short-term Debt) เป็นเครื่องชี้วัดสภาพคล่องระยะสั้นของประเทศ สำหรับประเทศไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 อยู่ที่ระดับร้อยละ 368 หรือ3.68 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่ดีเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ธนาคารโลกใช้คือ ควรสูงกว่า 1.5 เท่าหรือร้อยละ 150 3.2 หนี้ต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Debt/GDP) แสดงถึงขนาดของหนี้ต่างประเทศเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ตามเกณฑ์มาตรฐานของธนาคารโลก ซึ่งกำหนดว่าไม่ควรสูงกว่าร้อยละ 80 สำหรับประเทศไทยมีสัดส่วนดังกล่าวในไตรมาสนี้อยู่ในระดับร้อยละ 34 สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย แต่ยังนับว่าอยู่ในเกณฑ์ดีหนี้ต่างประเทศของไทยและผลการสำรวจหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553 3.3 ภาระหนี้ต่างประเทศต่อรายได้ (Debt Service Ratio) เป็นตัววัดระดับความสามารถในการชำระหนี้เงินกู้ เทียบกับรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ในไตรมาสนี้ประเทศไทยมีสัดส่วนร้อยละ 3.5 ซึ่งถือว่าเป็นระดับความสามารถในการชำระหนี้ที่ดี ตามเกณฑ์มาตรฐานของธนาคารโลกที่กำหนดว่าไม่ควรสูงกว่าร้อยละ 20

4. การสำรวจหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553
4.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรที่สำรวจ ได้แก่ ธุรกิจเอกชนหรือบุคคล ที่มีการก่อหนี้ต่างประเทศทุกราย จำนวนรวม 5,942 ราย ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ส่งแบบสำรวจ มีจำนวนรวม 481 ราย มีคุ้มรวมของยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศประมาณร้อยละ 80 ของหนี้ต่างประเทศรวม ประกอบด้วย
  • กลุ่มที่มีการกู้ยืม หรือให้กู้ยืม กับต่างประเทศ ที่มียอดคงค้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2553 ตั้งแต่ 20 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขึ้นไป จำนวน 273 ราย
  • กลุ่มตัวอย่างที่สุ่มจากประชากรที่มียอดคงค้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2553 ระหว่าง 3.5 — 19.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จำนวน 50 ราย เพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลรายเล็กที่ไม่ได้ส่งสำรวจ
  • กลุ่มที่มียอดคงค้างหนี้ต่างประเทศประเภทอื่นๆ จำนวน 80 รายหนี้ต่างประเทศของไทยและผลการสำรวจหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553
  • กลุ่มรายใหม่ ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีชื่ออยู่ในกลุ่มประชากรในการสำรวจงวดก่อน แต่มีการทำธุรกรรมการคืนเงินกู้/รับคืนเงินกู้/จ่าย/รับดอกเบี้ยเงินกู้ จากข้อมูลที่สถาบันการเงินรายงานในไตรมาสก่อนจำนวน 78 ราย

ธปท. ได้ส่งแบบสำรวจไปยังกลุ่มตัวอย่างจำนวน 481 ราย เป็นการส่งแบบสำรวจทางไปรษณีย์ 164 ราย ส่งทาง Email 317 ราย ได้รับตอบกลับรวม 461 ราย คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 95.6

4.2 การตรวจสอบคุณภาพและประมาณการข้อมูล

แบบสำรวจที่ได้รับการตอบกลับจะนำมาตรวจสอบคุณภาพกับข้อมูลการโอนเงินเข้าออกระหว่างประเทศ จากการทำธุรกรรมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและข้อมูลการฝาก/ถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident Baht Account) ที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกู้ยืม โดยนำยอดคงค้างที่ได้จากการตอบกลับแบบสำรวจมาเปรียบเทียบกับ ยอดคงค้างที่คำนวณได้จากสูตรด้านล่าง หากพบว่าข้อมูลไม่สอดคล้องกันก็จะสอบถามกลับไปยังผู้ให้ข้อมูลเป็นรายธุรกรรม แล้วแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป

Stock สิ้นเดือน ก.ย. 53 + Inflow — Outflow ไตรมาสที่ 4 ปี 2553 = Stock สิ้นเดือน ธ.ค. 53

สำหรับประชากรส่วนที่ไม่ได้ส่งแบบสำรวจ และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้ตอบแบบสำรวจ ก็จะประมาณการยอดคงค้างโดยใช้สูตรคำนวณดังกล่าวข้างต้นเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ ธปท. ได้มีการทดสอบค่าทางสถิติในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 ราย ที่สุ่มจากกลุ่มธุรกิจรายเล็กที่ส่งสำรวจ เพื่อทดสอบว่าข้อมูลรายเล็กที่ใช้จากระบบการรายงานธุรกรรมระหว่างประเทศผ่านธนาคารพาณิชย์ของ ธปท. (International Transaction Reporting System : ITRS) สามารถเป็นตัวแทนที่ดีได้โดยทำการทดสอบด้วยวิธีการทางสถิติแบบ Paired T-test ซึ่งผลการทดสอบให้ค่า Paired T-test ที่มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันในระดับความเชื่อมั่นที่ 95% คือค่า P(T


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ