สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนธันวาคม และไตรมาส 4 ปี 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 6, 2012 13:41 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 3/2555

เศรษฐกิจภาคใต้เดือนธันวาคมโดยรวมขยายตัวชะลอลง ตามการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจโลกทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมีการเร่งผลิตเพื่อส่งออกไปแล้วในช่วงก่อนหน้าในอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูป อาหารทะเล และถุงมือยาง ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวชะลอลงจากนักท่องเที่ยวมาเลเซียลดลงเป็นสาคัญ เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน ประกอบกับรายได้ของเกษตรกรชะลอลงตามราคาสินค้าเกษตร แม้ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นก็ตาม ส่งผลให้การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว สอดคล้องกับสินเชื่อที่ชะลอลงเช่นกัน สาหรับอัตราเงินเฟ้อชะลอลงตามราคาอาหารและน้ามันเชื้อเพลิงเป็นสาคัญ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

ภาคการผลิต ผลผลิตภาคเกษตรขยายตัว โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 61.4 ตามผลผลิตปาล์มน้ามันและยางพาราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 176.0 และ 34.6 ตามลาดับ เนื่องจากผลผลิตในเดือนเดียวกันในปีก่อนลดลงมากจากผลกระทบภัยแล้งช่วงต้นปีและอุทกภัยในช่วงปลายปี ขณะที่ราคาพืชผลเกษตรลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.7 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ลดลงร้อยละ 21.0 ตามราคาปาล์มน้ามันและยางพาราซึ่งลดลงร้อยละ 27.2 และ 31.5 ตามลาดับ เนื่องจากปาล์มน้ามันปีก่อนราคาสูงจากประสบปัญหาผลผลิต ขาดแคลน ขณะเดียวกันความต้องการยางพาราชะลอตัวจากปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป รวมทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคกลางยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ด้านผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.0 ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 ในเดือนก่อน ตามการผลิต ไม้ยางพาราแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง และถุงมือยางที่ลดลง เนื่องจากได้มีการเร่งผลิต เพื่อส่งออกในเดือนก่อนหน้า ขณะที่การผลิตน้ามันปาล์มและยางพาราเพิ่มขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น

ภาคการท่องเที่ยว ขยายตัวชะลอลง โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ในเดือนก่อนตามการลดลงของนักท่องเที่ยวมาเลเซียที่เป็นนักท่องเที่ยวหลัก เนื่องจากเกิดฝนตกหนักทั้งในมาเลเซียและภาคใต้ ทาให้นักท่องเที่ยวกังวลเกี่ยวกับการเกิดอุทกภัย อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ รัสเซีย จีน และสิงคโปร์ จากรายได้ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวที่ชะลอลง ประกอบกับการผลิตยานยนต์ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคกลาง ทาให้การใช้จ่ายของคนในท้องถิ่นชะลอลงตามไปด้วย โดยดัชนี การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.7 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ในเดือนก่อนตามปริมาณการจดทะเบียนรถที่ลดลงต่อเนื่อง

การลงทุน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามพื้นที่ก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.4 จากการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์ในจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช และนราธิวาส ขณะเดียวกันทุนจดทะเบียนนิติบุคคลรายใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.7

การส่งออก ขยายตัว มีมูลค่า 1,506.6 ล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.0 ชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามมูลค่าส่งออกยางพาราที่ชะลอตัว ขณะเดียวกันมูลค่าส่งออก สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ลดลง อย่างไรก็ตามสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ถุงมือยาง และอาหารกระป๋อง

ส่วนการนาเข้ามีมูลค่า 641.7 ล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1 ตามมูลค่าการนาเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสาคัญ

ทางด้านเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 11.9 ชะลอตัวต่อเนื่องตามราคายางพาราที่ปรับตัวลดลง และส่วนหนึ่งธนาคารรัฐออกผลิตภัณฑ์เงินออมในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ให้ผลตอบแทนจูงใจ ทาให้ผู้ฝากมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันสินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.0 ชะลอตัวตามความต้องการเงินทุนหมุนเวียนในภาคธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ลดลงเช่นกัน ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.21 ชะลอลงจากร้อยละ 4.56 ในเดือนก่อนตามราคาสินค้าอาหารและน้ามันเชื้อเพลิงที่ลดลงเป็นสาคัญ โดยราคาอาหาร อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้ ลดลง เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออานวยต่อการผลิต ทาให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันต้นทุนการขนส่งลดลงจากการลดลงของราคาน้ามันเชื้อเพลิง

เศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาสที่ 4

ภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ไตรมาสที่ 4 โดยรวมขยายตัว ตามการผลิตภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม ทาให้การส่งออกขยายตัว โดยเฉพาะตลาดจีนที่ยังมีความต้องการต่อเนื่องสะท้อนได้จากการส่งออกยางแปรรูปที่ขยายตัว แม้ว่านักท่องเที่ยวจะชะลอลงจากไตรมาสก่อนก็ตาม ส่งผลให้การใช้จ่ายของภาคเอกชนยังขยายตัวในเกณฑ์ดี สาหรับอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเป็นสาคัญ

ภาคการผลิต ผลผลิตเกษตรเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.6 เร่งตัวตามผลผลิตปาล์มน้ามันและยางพาราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 155.9 และ 17.9 ตามลาดับ เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกในช่วงก่อนหน้าให้ผลผลิตเต็มที่ ประกอบกับในไตรมาสเดียวกันปีก่อนได้รับผลกระทบจากภัยแล้งช่วงต้นปีและอุทกภัยในช่วงปลายปี ด้านผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ตามการผลิตน้ามันปาล์มที่ผลผลิตเข้าสู่โรงงานและการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลผลิตยางพาราแปรรูป ถุงมือยาง และไม้ยางพาราแปรรูป จากความต้องการซื้อในตลาดหลักยังมีต่อเนื่อง ขณะที่อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋อง ผลผลิตลดลงจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาทาให้ความต้องการซื้อลดลง

ภาคบริการท่องเที่ยวขยายตัวชะลอลง โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.5 จากนักท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งอันดามัน และภาคใต้ชายแดน ที่ชะลอตัว เนื่องจากเกิดฝนตกหนัก ทาให้นักท่องเที่ยวกังวลถึงการเกิดอุทกภัย และเหตุความไม่สงบในเขตชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวมาเลเซียที่เป็นนักท่องเที่ยวหลักภาคใต้ชายแดนชะลอลง ขณะที่นักท่องเที่ยวฝั่งอ่าวไทยเพิ่มขึ้นจากการส่งเสริมการขายของภาครัฐและเอกชน

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 7.6 ตามการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และปริมาณการ จดทะเบียนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นจากรายได้เกษตรกรยังอยู่ในเกณฑ์ดีโดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.7 เป็นสาคัญ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงตามพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง และการนาเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ชะลอตัว แต่อย่างไรก็ตามทุนการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.9

ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและการนาเข้าในรูปเงินดอลลาร์สรอ. ขยายตัวชะลอลง โดยมีมูลค่าการส่งออก 4,801.2 ล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 54.1 ตามมูลค่าการส่งออกยางพารา และไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ ส่วนการส่งออกถุงมือยางขยายตัวในอัตราสูง มูลค่าการนาเข้า 1,981.7 ล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ชะลอลงมากตามการนาเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงเป็นสาคัญ

เงินฝากและสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเงินฝากขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 11.9 และสินเชื่อขยายตัวร้อยละ 16.0 เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงทั้งสินเชื่อธุรกิจและการบริโภคส่วนบุคคล เนื่องจากราคายางปรับตัวลดลงจากอุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคกลาง

ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงจากร้อยละ 4.93 ในไตรมาสก่อนหน้าเป็นร้อยละ 4.46 ตามราคาน้ามันเชื้อเพลิงที่ลดลงเป็นสาคัญ ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ผักและผลไม้ ปลาและสัตว์น้า ไข่และผลิตภัณฑ์นม และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากภาวะอุทกภัยใน ภาคกลางทาให้แหล่งผลิตสินค้าได้รับความเสียหาย

ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทร. 0-7427-2000 ต่อ 4713 e-mail : somtawis@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ