รายงานแนวโน้มธุรกิจภาคเหนือกุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 16, 2012 11:12 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

โครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจ/ธุรกิจ

ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและนักธุรกิจ

ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ

ธปท. ได้จัดทำ “โครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจ/ธุรกิจระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับนักธุรกิจ” (Economic/Business Information Exchange Program) ขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกับธุรกิจภาคเอกชนเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันทั้งในระดับมหภาคและระดับธุรกิจ รวมถึงการคาดการณ์แนวโน้มทางเศรษฐกิจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบายการเงิน โครงการนี้จึงเป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) เพื่อช่วยเสริมการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) ที่ใช้เครื่องชี้ต่างๆ และแบบจาลองทางเศรษฐมิติในการประมาณการเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารกลางหรือหน่วยงานที่ดูแลเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศก็ได้มีการจัดทำโครงการในลักษณะเดียวกันนี้เช่นกัน อาทิ ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางออสเตรเลีย และกระทรวงการคลังออสเตรเลีย

โครงการนี้เริ่มดำเนินการครั้งแรกในเดือนมกราคม 2547 โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากธุรกิจเอกชนประมาณ 400 ราย และดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นลำดับ โดยการคัดเลือกธุรกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจทั้งธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ทั่วประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมและสะท้อนกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจจริงมากที่สุด โดย ธปท. ได้จัดส่งคณะผู้แทนเข้าพบผู้บริหารของภาคธุรกิจต่างๆ แล้วนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อใช้ประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน และจัดทำ "รายงานแนวโน้มธุรกิจ" เผยแพร่ใน Website ของ ธปท. เป็นประจำทุกไตรมาส

ในส่วนของภาคเหนือ ธปท.สำนักงานภาคเหนือ ได้มีการจัดทำ “รายงานแนวโน้มธุรกิจภาคเหนือ” เป็นประจำทุกไตรมาสเช่นกัน อย่างไรก็ดี เพื่อให้ธุรกิจได้รับข้อมูลที่เร็วขึ้น จึงได้เผยแพร่รายงานเป็นประจำทุกเดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 เป็นต้นมา

------------------------------------------------------------- บทสรุปภาพรวมเศรษฐกิจและธุรกิจภาคเหนือ เดือนพฤศจิกายน 2554 และแนวโน้ม

ไตรมาส 1 ปี 2555 คาดว่าการผลิตและส่งออกภาคอุตสาหกรรม การบริโภคภาคเอกชน ภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาคการลงทุนยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่สำรวจทุกรายมีต้นทุนเพิ่มขึ้น และมีความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 40 รวมทั้งการทยอยปล่อยลอยตัวราคาพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (เบื้องต้นเฉพาะที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม) ประกอบกับราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นมากจากภาวะความตึงเครียดใน ตะวันออกกลาง ที่อาจส่งผลกระทบต่อปัจจัยการผลิตอื่นๆ ทำให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมปรับสูงขึ้นมากและลดความสามารถในการแข่งขัน นอกเหนือจากปัญหาแรงงานขาดแคลน/ตึงตัว/หายาก ที่มีอยู่

ภาคอุตสาหกรรม: อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมผลิตและส่งออกสิ่งทอประเภทชุดชั้นในสตรี ชุดนอน อุตสาหกรรมผลิตสุราพื้นบ้าน คาดว่ายอดจาหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตาม หัตถอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมผลิตและส่งออกเซรามิคมีแนวโน้มทรงตัวหรือยังคาดการณ์ยอดจำหน่ายไม่ได้

การบริโภคภาคเอกชน: ธุรกิจค้าส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลท่องเที่ยวและความต้องการบริโภคที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามพฤติกรรมและค่านิยมของคนในสังคมเมือง

ภาคบริการ: ผลกระทบจากอุทกภัยทาให้ธุรกิจโรงแรมในบางจังหวัดท่องเที่ยวของภาคเหนือมีรายได้ลดลง ทำให้ธุรกิจจัดหาแรงงานได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายแรงงานบางส่วนจากภาคกลางขึ้นมาปฏิบัติงานในภาคเหนือชั่วคราว และมีผลประกอบการต่ากว่าเป้าหมายเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 1 ปี 2555 คาดว่าจะมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวของหลายอุตสาหกรรม

ภาคอสังหาริมทรัพย์: มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากจำนวนผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่จากภาคกลาง รวมถึงผู้ประกอบการท้องถิ่นหันเข้ามาลงทุนในจังหวัดสำคัญทางภาคเหนือเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอุทกภัยในภาคกลางและการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ที่คาดว่าจะทำให้ความต้องการบ้านพร้อมขาย ทั้งระดับราคา 1 — 3 ล้านบาท และ 3 ล้านบาทขึ้นไปเพิ่มขึ้น

ภาคการลงทุน: ธุรกิจส่วนใหญ่มีแผนขยายการลงทุนต่อเนื่อง เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและทดแทนแรงงานคน อาทิ การเพิ่มจุดจำหน่ายสินค้าการขยายสาขา การซื้อเครื่องจักรและการขยายพื้นที่โรงงาน

ภาคแรงงาน: ธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน และ/หรือแรงงานฝีมือหายาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมสิ่งทอ และภาคอสังหาริมทรัพย์ ผู้ประกอบการหลายรายคาดหวังว่าหลังนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของทางการมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2555 จะมีแรงงานบางส่วนตัดสินใจกลับมาทำงานในท้องถิ่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แนวโน้มค่าแรงที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบกับต้นทุนและความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งธุรกิจขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะปรับตัวโดยลงทุนนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงาน ขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและเล็กปรับตัวได้ยากกว่า เช่น outsource แรงงาน รวมทั้งจ้างเหมาทางานหรือจ่ายค่าจ้างเป็นรายชิ้นเพื่อควบคุมต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพการผลิต

อนึ่ง รายงานฉบับนี้ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทยและไม่ได้สะท้อนความเห็นของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ธนาคารใช้ข้อมูลนี้เพื่อประกอบกับข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ในการวิเคราะห์และประเมินภาวะเศรษฐกิจ

ผลการสำรวจข้อมูลคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งประมวลจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักธุรกิจและสมาคมธุรกิจต่างๆ ในภาคเหนือจำนวน 22 ราย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 สรุปได้ดังนี้

ภาคอุตสาหกรรม
ไตรมาสแรก ปี 2555 ภาวะการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรม เกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก อย่างไรก็ตาม หัตถอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเซรามิคได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่ชะลอตัว ผู้ประกอบการหลายรายปรับตัวโดยกลับมาหาตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น
  • อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป : แนวโน้มปี 2555 ยอดคำสั่งซื้อยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามความต้องการอาหารที่อยู่ในเกณฑ์สูงในช่วง 2 — 3 ปีนี้ ผลจากภาวะอากาศแปรปรวนทำให้ผลผลิตคู่แข่งในต่างประเทศประสบปัญหาภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังได้ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าในเอเชีย อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่า รวมทั้งการทยอยปล่อยลอยตัวราคาพลังงานทั้งน้ามันและก๊าซธรรมชาติ (เบื้องต้นเฉพาะที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม) ที่อาจขยายวงกว้างไปสู่ปัจจัยการผลิตอื่นๆ ส่งผลให้ต้นทุนรวมสูงขึ้นมากและลดความสามารถในการแข่งขัน
  • อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก: คาดว่ายอดจาหน่ายสูงขึ้น ตามปริมาณความต้องการที่ได้รับผลบวกจากงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ รวมถึงจานวนผู้บริโภคที่คานึงถึงสุขภาพ และรับรู้ข้อมูลความสะอาด ความปลอดภัยของบรรจุภัณฑ์น้าดื่มบรรจุขวดใส (ขวด PET : Poly Ethylene Terephthalate ) เพิ่มมากขึ้นทุกปี
  • หัตถอุตสาหกรรม: ประเภทของตกแต่งบ้าน คาดว่ายอดจำหน่ายทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยการผลิตหลักของธุรกิจเกือบทั้งหมดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นมากจากนโยบายของรัฐบาล แต่ราคาสินค้ากลับไม่สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ในช่วงเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักถดถอย จึงจำเป็นต้องตั้งเป้ายอดจาหน่ายทั้งปี 2555 เพิ่มขึ้นเพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น โดยจะหันมาทำ niche market ในประเทศและค้าปลีกมากขึ้น ประเภทเทียนหอม ในปี 2555 คาดว่าจะมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากลูกค้าตลาดเศรษฐีใหม่ในเอเชีย ซึ่งขณะนี้ได้รับคำสั่งซื้อล่วงหน้ามาบ้างแล้ว ประเภทผลิตภัณฑ์กระดาษสา แนวโน้มยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ
  • อุตสาหกรรมผลิตและส่งออกสิ่งทอ: ประเภทชุดชั้นในสตรี คาดว่ายอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น จากการเร่งผลิตตามคาสั่งซื้อล่วงหน้าที่มีในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยมีการขนย้ายเครื่องจักรและแรงงานบางส่วนจากภาคกลางมาผลิตที่ภาคเหนือ เนื่องจากโรงงานผลิตที่เป็นสำนักงานใหญ่ในเขตภาคกลางประสบปัญหาอุทกภัย ประเภทชุดนอน ยอดจำหน่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการขยายตลาดใหม่ในต่างประเทศและเพิ่มการจำหน่ายในประเทศ
  • อุตสาหกรรมผลิตและส่งออกเซรามิก: ยังมีทิศทางและแนวโน้มอุตสาหกรรมที่ถดถอย คาดว่ายอดจำหน่ายลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าต่างประเทศที่ชะลอตัวและคำสั่งซื้อล่วงหน้าในปัจจุบันที่ลดลง
  • อุตสาหกรรมผลิตสุราพื้นบ้าน: คาดว่าจะมียอดผลิตเพิ่มสูงขึ้น จากการขยายตลาดในประเทศ
การบริโภคภาคเอกชน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากฤดูกาลท่องเที่ยวของภาคเหนือและการจัดงานเทศกาลต่างๆ ของจังหวัด
  • ธุรกิจค้าส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ : แนวโน้มยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น จากฤดูกาลท่องเที่ยวของภาคเหนือและคาดว่าจะดีต่อเนื่องถึงเทศกาลสงกรานต์ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศ ซึ่งเคยส่งผลลบต่อบรรยากาศการท่องเที่ยว
ภาคบริการ

ผลกระทบจากอุทกภัยครั้งร้ายแรงของประเทศ ส่งผลให้ภาคบริการในบางจังหวัดท่องเที่ยวของภาคเหนือมีรายได้ลดลงคาดว่าจะต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกปีนี้ ขณะที่ธุรกิจจัดหาบุคลากร ได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายแรงงานบางส่วนจากภาคกลางมาปฏิบัติงานชั่วคราวในภาคเหนือช่วงเกิดอุทกภัย ส่งผลให้รายได้จากการประกอบการต่ำกว่าเป้าที่วางไว้

  • ธุรกิจโรงแรม: ในบางจังหวัดท่องเที่ยวภาคเหนือ มีจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงผลกระทบจากอุทกภัยในภาคกลาง ประกอบกับขาดประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องของภาครัฐและภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นนับจากช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวปลายปีก่อนและคงต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกนี้
  • ธุรกิจจัดหาบุคลากร: ผลประกอบการปรับตัวดีขึ้น จากความต้องการบุคลากร/แรงงาน outsource ในภาคเหนือของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น เพื่อลดปัญหาแรงงานขาดแคลนหรือหายาก รวมทั้งควบคุมต้นทุนบางส่วน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ภาคอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง

ไตรมาส 1 ปี 2555 ภาคอสังหาริมทรัพยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุทกภัยในภาคกลาง ที่มีแผนงานซ่อมสร้างสาธารณูปโภคที่เสียหาย ประกอบกับนโยบายการปรับขึ้นเงินเดือนราชการในระดับปริญญาตรี และการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ในประเทศเพื่อนบ้าน

  • ธุรกิจบ้านจัดสรร: ยอดจำหน่ายบ้านระดับราคา 3 ล้านบาทขึ้นไปเพิ่มขึ้น จากความต้องการของผู้บริโภคที่ประสบอุทกภัยในภาคกลาง ทั้งนี้ผู้ประกอบการท้องถิ่นหันมาลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้คาดว่าการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการเป็น 15,000 บาท จะส่งผลให้ยอดจำหน่ายบ้านระดับราคา 1-3 ล้านบาทเพิ่มขึ้น
  • ธุรกิจก่อสร้าง: คาดว่าผลประกอบการเพิ่มขึ้นจากงบประมาณภาครัฐที่ลงทุนในระบบบริหารน้าและป้องกันอุทกภัย รวมทั้งงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ในประเทศเพื่อนบ้านที่มีอย่างต่อเนื่อง
  • ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง: ในปี 2555 คาดว่ายอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างจะขยายตัว จากทำเลที่ตั้งใกล้กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวซึ่งกำลังมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่อง
ภาคการลงทุน

ธุรกิจที่ทำการสำรวจยังคงมีแผนการลงทุนอย่างต่อเนื่อง อาทิ อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร มีแผนลงทุนทาห้องเย็น ขยายพื้นที่โรงงานและซื้อเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและทดแทนแรงงานคน อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก มีแผนลงทุนซื้อเครื่องจักรและขยายโรงงานเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าและเพิ่มมาตรฐานในการผลิต หัตถอุตสาหกรรมประเภทเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ มีแผนลงทุนในเครื่องจักรและขยายสาขา อุตสาหกรรมสิ่งทอและธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง มีแผนขยายสถานที่จำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมผลิตสุราพื้นบ้าน มีแผนการลงทุนเครื่องจักร ธุรกิจโรงแรม ลงทุนสร้างห้องประชุมและจัดเลี้ยงเพื่อเสริมรายได้ให้กับธุรกิจ และ ธุรกิจจัดหาบุคลากร มีแผนขยายสาขาและจุดให้บริการเพิ่มขึ้น

ต้นทุนและการปรับราคาขาย

ธุรกิจที่สำรวจทุกรายมีต้นทุนสูงขึ้น มีเพียงธุรกิจที่เป็นผู้ผลิตสินค้าน้อยราย สินค้ามีคุณภาพและมีความต้องการระดับสูง สามารถปรับราคาได้ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและไม่สามารถปรับราคาได้ในขณะนี้ ผู้ประกอบการปรับตัวโดยจ้าง Outsource เพื่อควบคุมต้นทุนบางส่วนและลดปัญหาแรงงานฝีมือขาดแคลน ลงทุนซื้อเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และบริหารจัดการต้นทุนด้านต่างๆ

แรงงาน

อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก อุตสาหกรรมสิ่งทอ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ซึ่งผู้ประกอบการหลายรายคาดว่าหลังทางการประกาศใช้นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำร้อยละ 40 ในเดือนเมษายน 2555 แรงงานที่ไปทำงานต่างถิ่นจะเลือกตัดสินใจกลับมาทำงานในท้องถิ่นมากขึ้น ขณะนี้ผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวโดยนาเทคโนโลยีการผลิตวัสดุก่อสร้างสาเร็จรูปมาใช้ จ้างเหมาช่วงและจ้างแรงงานระดับวิชาชีพจากต่างประเทศ เพื่อทดแทนแรงงานที่ขาดแคลนและหายาก อีกทั้งใช้แรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้น

ด้านแนวโน้มค่าแรงที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็ก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นแต่ไม่สามารถปรับค่าแรงได้มากนัก เนื่องจากภาวะการแข่งขันสูงและแรงงานยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร จึงอยากให้ภาครัฐทบทวนนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการปรับตัวโดยการจ้างเหมาเป็นรายชิ้น การจ้าง Outsource การใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงานคน การจ่ายโบนัสเพิ่มหากพนักงานทางานได้เสร็จก่อนกำหนด การพัฒนาพนักงานให้สามารถทางานหลากหลายหน้าที่ (Multi Skill) และการจ้างแรงงานรายวันเป็นครั้งคราว

ส่วนเศรษฐกิจภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ

ข้อมูลเพิ่มเติม: โทร. 0-5393-1165, 1158

ข้อมูลเพิ่มเติม

ดำรงค์ ฐิติธนภัค ผู้บริหารทีม E-mail address : Damrongd@bot.or.th

เกษณี หล่อตระกูลงาม เศรษฐกรอาวุโส KasaneeL@bot.or.th

บูชิตา พรหมมานุวัติ เลิศพูนวิไลกุล เศรษฐกรอาวุโส Buchitap@bot.or.th

ณวรา สกุล ณ มรรคา เศรษฐกรอาวุโส Nawaras@bot.or.th

ศิริพร ศิริปัญญวัฒน์ เศรษฐกรอาวุโส Siriposi@bot.or.th

นภมาศ เลิศเกษมกุล เศรษฐกรอาวุโส Nopphaml@bot.or.th

พงศกร ทวีสุข เศรษฐกรอาวุโส PongsakT@bot.or.th

พรทิพย์ ติ๊บศรี เศรษฐกร Pornthth@bot.or.th

ส่วนเศรษฐกิจภาค
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
โทรศัพท์ 0-5393-1165, 1156
โทรสาร 0-5322-4168
เว็บไซต์ธนาคาร www.bot.or.th

รายงานแนวโน้มธุรกิจภาคเหนือจัดทำขึ้นจากการรวบรวมข้อมูลภาวะธุรกิจและเศรษฐกิจที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักธุรกิจสาขาต่างๆ ในภาคเหนือกุมภาพันธ์ 2555

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ