แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนธันวาคม และทั้งปี 2556

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday February 3, 2014 09:26 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 3/2557

เศรษฐกิจเดือนธันวาคม 2556 โดยรวมชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามภาวะการผลิตภาคอุตสาหกรรรมและการใช้จ่ายภาคเอกชน เนื่องจากภาคธุรกิจและครัวเรือนยังกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจและเหตุการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ ในส่วนของอุปสงค์จากต่างประเทศ ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวชะลอลงจากผลของกฎหมายด้านการท่องเที่ยวของจีนเป็นสาคัญ ขณะที่การส่งออกสินค้าปรับดีขึ้นบ้างตามทิศทาง การฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อชะลอลงตามราคาอาหารสด ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลจาก การเกินดุลการค้า ดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลจากการขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติ และการลงทุน ในตราสารหนี้ต่างประเทศของนักลงทุนไทย โดยรวมดุลการชาระเงินขาดดุลเล็กน้อย

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้

กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรมและ การลงทุน โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 6.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลจากการผลิตที่ลดลงของ 1) ยานยนต์ที่ได้เร่งผลิตไปมากในปีก่อน ประกอบกับคาสั่งซื้อต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นไม่เพียงพอ ที่จะชดเชยคาสั่งซื้อในประเทศที่ลดลง 2) เบียร์ที่ผลิตลดลงตามความต้องการ ส่วนหนึ่งจากราคาที่เพิ่มขึ้นตามการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตในเดือนกันยายน ประกอบกับสต็อกยังอยู่ในระดับสูง และ 3) กุ้งแช่แข็งที่ยังประสบปัญหาโรคระบาด สาหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 8.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่เร่งลงทุนไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับมีผู้ประกอบการบางส่วนเลื่อน การลงทุนออกไปเพื่อรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ทาให้การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัว ในขณะที่การลงทุนก่อสร้างชะลอลง การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนที่หดตัว ทาให้ การนาเข้าสินค้าทุน ยานยนต์และชิ้นส่วน รวมทั้งวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงหดตัว โดย การนาเข้ามีมูลค่า 16,280 ล้านดอลลาร์ สรอ. หดตัวร้อยละ 9.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีทิศทางทรงตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากประชาชนยังระมัดระวัง การใช้จ่าย โดยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 0.2 ตาม การใช้จ่ายในสินค้าคงทนโดยเฉพาะยานยนต์ที่หดตัวจากฐานที่สูงในปีก่อนและความต้องการซื้อยานยนต์ใหม่ ที่น้อยลง ขณะที่การใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนขยายตัวชะลอลงในบางหมวด อาทิ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม

ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวชะลอลงจากการบังคับใช้กฎหมายด้านการท่องเที่ยวของจีนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 รวมถึงได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศ ทาให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศในเดือนนี้มีจานวน 2.6 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 11.9 ในเดือนก่อน

เศรษฐกิจโลกที่ปรับดีขึ้นส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าอย่างช้าๆ โดยการส่งออกสินค้ามีมูลค่า 18,277 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 1.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของการส่งออกสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าวและยางพารา รวมทั้งการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปิโตรเคมีเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าในบางหมวดยังหดตัวเนื่องจากเผชิญข้อจากัดในการผลิต อาทิ สินค้าประมงจากโรคระบาดในกุ้ง และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์จากข้อจากัดในการเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้นเพื่อผลิตสินค้าที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค

รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 6.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากผลด้านราคาเป็นสาคัญ โดยเฉพาะราคาปาล์มน้ามันและมันสาปะหลังปรับสูงขึ้นตามความต้องการในการผลิตพลังงานทดแทน รวมทั้งราคากุ้งและปศุสัตว์ที่ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ อย่างไรก็ดี ราคาข้าวยังคงลดลงตามราคาในตลาดโลกเนื่องจากผลผลิตของประเทศผู้ผลิตสาคัญเพิ่มขึ้น ส่วนราคายางพาราปรับลดลงเนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากจีนซึ่งเป็นผู้นาเข้าหลักยังไม่มากพอที่จะทาให้ราคาปรับขึ้นได้ สาหรับผลผลิตทางการเกษตรขยายตัวตามผลผลิตข้าวที่ปริมาณน้าและภูมิอากาศเอื้ออานวย และผลผลิตยางพาราที่เพิ่มขึ้นตามการขยายพื้นที่เพาะปลูกในช่วงก่อนหน้า

ภาครัฐใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน จากการเร่งโอนเงินให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ สาหรับรายได้นาส่งลดลงตามภาษีสรรพสามิตและภาษีฐานการค้าระหว่างประเทศ สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอลง ประกอบกับได้รับผลของฐานที่สูงในเดือนเดียวกันปีก่อนที่มีการนาส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3G รายจ่ายที่มากกว่ารายได้ทาให้รัฐบาล ขาดดุลเงินสด 118 พันล้านบาท

สาหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 1.67 ตามราคาอาหารสดที่ผลผลิตผักและผลไม้ออกสู่ตลาดมาก ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลจากการเกินดุลการค้า ขณะที่ดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลจากการขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติ และการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศของนักลงทุนไทย ในภาพรวมดุลการชาระเงินขาดดุลเล็กน้อย

สรุปทั้งปี 2556 ภาวะเศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอลง ตามการบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอตัวหลังจากที่เร่งใช้จ่ายไปมากในปีก่อน ประกอบกับผู้ประกอบการบางส่วนชะลอเลื่อนการลงทุนออกไปเพื่อประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ในขณะเดียวกันการส่งออกสินค้าฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ เนื่องจากบางอุตสาหกรรมประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงมีข้อจากัดด้านเทคโนโลยีการผลิตจึงไม่สามารถผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของตลาดโลกที่เปลี่ยนไปได้มากนัก สาหรับภาครัฐมีบทบาทกระตุ้นเศรษฐกิจน้อยลงจากปีก่อนตามการเบิกจ่ายงบลงทุนที่ทาได้ต่ากว่าปกติ ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวสูงและเป็นแรงขับเคลื่อนสาคัญของเศรษฐกิจไทยในปี 2556

เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่า อัตราเงินเฟ้อชะลอลงตามราคาพลังงานและการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ส่วนใหญ่เป็นผลจากการนาเข้าทองคา และการส่งกลับกาไรและเงินปันผลไปต่างประเทศ ส่วนดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายเกินดุลจากการกู้ยืมเงินต่างประเทศของสถาบันรับฝากเงินและการลงทุนโดยตรงของนักลงทุนต่างประเทศ โดยรวมทาให้ดุลการชาระเงินขาดดุล

ธนาคารแห่งประเทศไทย

31 มกราคม 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค

โทร. 0 2283 5647, 0 2283 5648

e-mail: MPGMacroEconomics@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ