สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนมีนาคม ปี 2557

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday May 7, 2014 10:11 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 8/2557

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนมีนาคม 2557 ภาพรวมปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ตามการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น และการท่องเที่ยวที่กลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากรัฐบาลได้ยกเลิกประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัวน้อยลงเป็นผลจากผลผลิตทั้งยางและปาล์มน้ามันเพิ่มขึ้นส่วนราคายางแม้จะยังคงอยู่ในระดับต่ำแต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคขยายตัวเล็กน้อย อย่างไรก็ตามการลงทุนยังคงหดตัว และเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ชะลอลงต่อเนื่อง ส่วนมูลค่าการส่งออกลดลงจากผลด้านราคาเป็นส้าคัญ ขณะเดียวกันการส่งออกสัตว์น้ายังเผชิญกับข้อจ้ากัดด้านวัตถุดิบ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ การว่างงานเพิ่มขึ้น และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นจากหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นส้าคัญ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้
          ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ตามการผลิตน้ามันปาล์มดิบที่เร่งตัวขึ้นจากที่หดตัวต่อเนื่องมา 6 เดือน และการผลิตอาหารทะเลกระป๋องที่เพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ของตลาดหลักที่สั่งซื้อเพิ่มขึ้นเมื่อวัตถุดิบมีราคต่ำลง ส่วนการผลิตยางแปรรูป ไม้ยางพารา และถุงมือยาง ยังขยายตัวตามความต้องการของประเทศคู่ค้า ขณะที่การผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปยังคงลดลงจากวัตถุดิบกุ้งขาวเป็นส้าคัญ          การท่องเที่ยว ปรับตัวดีขึ้นหลังจากได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ท้าให้หดตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยกลับมาขยายตัวร้อยละ 3.1 ในเดือนนี้ จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวเอเชีย โดยเฉพาะจีน และรัสเซีย เป็นส้าคัญ ขณะที่นักท่องเที่ยวมาเลเซียยังคงลดลง ทั้งนี้จ้านวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัว ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ฝั่งอันดามัน ส่งผลให้เที่ยวบินในประเทศและระหว่างประเทศที่ผ่านท่าอากาศยานภูเก็ตขยายตัว

ดัชนีรายได้เกษตรกรปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยลดลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.8 ในเดือนก่อน เนื่องจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงเพียงร้อยละ 0.3 เป็นผลจากผลผลิตปาล์มน้ามันเพิ่มขึ้นมากเป็นส้าคัญ แม้ผลผลิตกุ้งขาวจะยังคงลดลงจากโรคระบาดในช่วงก่อนหน้าด้านดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 1.1 ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน จากราคาปาล์มน้ามันและกุ้งขาวที่ยังคงเพิ่มขึ้น แม้ราคายางพาราจะยังคงได้รับแรงกดดันจากสต็อกยางทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่ในระดับสูงรวมทั้งความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน

จากภาคการผลิตและการท่องเที่ยวที่ขยายตัว ประกอบกับรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น ท้าให้ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากเดือนเดียวกันปีก่อน ขณะที่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 4.7 ตามเครื่องชี้ส้าคัญที่ลดลง ทั้งการก่อสร้าง การจ้าหน่ายปูนซีเมนต์ การจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และมูลค่าการน้าเข้าสินค้าทุน อย่างไรก็ตามความเห็นที่ได้จากโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจ/ธุรกิจ ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและผู้ประกอบการพบว่า ผู้ประกอบการบางส่วนมีแผนขยายการลงทุนในธุรกิจเดิมและธุรกิจอื่นเพิ่มเติม

ด้านการส่งออก มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 22.7 ตามการส่งออกสัตว์น้าที่ลดลง เป็นผลจากผู้ซื้อชะลอการสั่งซื้อเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบกุ้งขาวยังไม่คลี่คลาย ส่งผลให้ราคาสูงไม่จูงใจให้ซื้อและการส่งออกไม้ยางพาราลดลง เนื่องจากฐานสูงในปีก่อน ส่วนการส่งออกยางและถุงมือยางลดลงจากผลด้านราคาเป็นส้าคัญ ขณะที่การส่งออกอาหารบรรจุกระป๋องเพิ่มขึ้น ตามความต้องการของคู่ค้าหลักทั้งตะวันออกกลางและสหรัฐอเมริกา

การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 โดยเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นทั้งรายจ่ายประจ้าและรายจ่ายลงทุน เป็นการเบิกจ่ายในหมวดเงินอุดหนุนเฉพาะกิจของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ขณะที่รายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรลดลงร้อยละ 2.4 ตามภาษีสรรพากรที่จัดเก็บได้ลดลงจากการปรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2556 ท้าให้ผู้มีเงินได้เสียภาษีในอัตราน้อยลง ส่วนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตลดลงเป็นผลจากการชะลอการผลิตสุรา เนื่องจากสต็อกสูงจากที่มีการเร่งผลิตในช่วงก่อนปรับโครงสร้างภาษี

ส้าหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ.17 ตามหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ที่เร่งตัวตามต้นทุนวัตถุดิบรวมทั้งราคาก๊าซหุงต้มในครัวเรือน และส่งผ่านไปยังราคาอาหารส้าเร็จรูปทั้งในบ้านและนอกบ้าน เป็นส้าคัญ ส้าหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.24 ส่วนใหญ่เป็นการว่างงานในภาคเกษตร

เงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 ขยายตัวร้อยละ 8.6 ชะลอตัวต่อเนื่อง เนื่องจากครัวเรือนยังไม่มีความมั่นใจต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ ท้าให้มีการระมัดระวังการใช้จ่ายและการก่อหนี้เพิ่มขึ้นและธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้น ส่วนเงินฝากขยายตัวร้อยละ 5.5 ชะลอจากที่ขยายตัวร้อยละ 8.0 ในเดือนก่อน

ธนาคารแห่งประเทศไทย ส้านักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716

E-mail : Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ