แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนเมษายน 2557

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday June 3, 2014 10:11 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 5/2557

ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ เดือนเมษายน 2557 โดยรวมหดตัวจากเดือนก่อน จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อและมีความไม่แน่นอน ประกอบกับรายได้เกษตรกร และการใช้จ่ายภาครัฐลดลงมาก ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ทาให้ภาคครัวเรือนระมัดระวังการใช้จ่าย ส่วนการลงทุนภาคเอกชน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวน้อยลง ขณะที่การท่องเที่ยว และการส่งออกขยายตัวในอัตราชะลอลง สาหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ อัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ด้านธนาคารพาณิชย์ เงินฝากและสินเชื่อชะลอลงมาก

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือมี ดังนี้

ภาคอุปสงค์หดตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย แต่ยังลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.0 ตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ สถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อ และภาระหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ประกอบกับรายได้เกษตรกรลดลงมาก ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับลดลงต่อเนื่อง ทาให้ระมัดระวังการใช้จ่าย อย่างไรก็ดี ยอดจาหน่ายสินค้าที่จาเป็นต่อการอุปโภคบริโภคยังขยายตัว ด้านการเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดมีจานวน 14,054.1 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 29.3 และ 25.3 จากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ตามรายจ่ายประจาหลังจากเร่งจ่ายเงินโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และส่วนราชการในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี เงินเดือน ค่าตอบแทน และค่าใช้สอย ยังเบิกจ่ายได้ตามปกติ ขณะที่รายจ่ายลงทุนทาได้เพียงบางส่วนจากการก่อสร้าง ปรับปรุง และซ่อมแซมในโครงการต่อเนื่องที่ได้เริ่มดาเนินการไปก่อนหน้าแล้ว

ขณะที่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 3.7 ปรับดีขึ้นจากลดลงร้อยละ 5.0 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากเครื่องชี้สาคัญเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณการจาหน่ายวัสดุก่อสร้างตามการก่อสร้างโครงการต่อเนื่องของภาครัฐ และมูลค่าการนาเข้าเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ อย่างไรก็ตาม พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล และยอดการจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ยังคงหดตัว

การส่งออกมีมูลค่า 382.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.5 จากความต้องการชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์จากต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ประกอบกับการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคไปเมียนมาร์ ด้านการนาเข้ามีมูลค่า 130.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 ตามการนาเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพื่อใช้ผลิตสินค้าส่งออก เช่น แผงวงจรรวม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แผ่นแก้วสาหรับทาเลนส์ และเพชรยังไม่เจียระไน

ภาคอุปทานหดตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.9 และ 16.5 ตามผลผลิตอ้อยโรงงาน กระเทียม ข้าวโพด และข้าวนาปรัง เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งที่รุนแรงและขยายวงกว้าง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.4 ซึ่งลดลงต่อเนื่อง ตามราคาตลาดโลกทั้งข้าวเปลือกเจ้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อยโรงงานเนื่องจากผลผลิตในตลาดยังมีมาก แม้ราคาสับปะรด และปศุสัตว์อยู่ในเกณฑ์ดีแต่ไม่สามารถชดเชยได้ ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงมากถึงร้อยละ 29.9 ด้านดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.1 เนื่องจากการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก เช่น เลนส์สาหรับใช้ในอุปกรณ์สื่อสารขยายตัวดีต่อเนื่อง ประกอบกับการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ เซรามิกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร สิ่งทอ และเครื่องประดับ ยังเพิ่มขึ้น จากความต้องการของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น และการผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้น จากการผลิตวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นตามการก่อสร้างโครงการต่อเนื่องของภาครัฐ ขณะที่การผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แม้หดตัวแต่ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน

ด้านดัชนีค้าปลีกหดตัวร้อยละ 1.2 และ 12.5 จากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ในสินค้ากลุ่มยานยนต์และเกี่ยวเนื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงสว่าง เฟอร์นิเจอร์ อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สาหรับภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวจากเดือนก่อนแต่ยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน จากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวจูงใจในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีนยังนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว ทั้งนี้ แนวโน้มนักท่องเที่ยวจีนอาจลดลงในช่วงครึ่งแรกของปี เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองส่งผลต่อบรรยากาศการท่องเที่ยว

เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยเป็นร้อยละ 2.64 ตามราคาอาหารสดทั้งเนื้อสัตว์ ปลา สัตว์น้า และผัก เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดและภาวะภัยแล้ง ทาให้สินค้าออกสู่ตลาดลดลง อีกทั้งราคาก๊าซหุงต้มปรับเพิ่มขึ้น ทาให้มีการส่งผ่านต้นทุนไปยังอาหารสาเร็จรูป อัตราการว่างงานปรับสูงขึ้นจากเดือนก่อนเป็นร้อยละ 0.7 ด้านจานวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมยังเพิ่มขึ้น

ภาคการเงินขยายตัวชะลอลงมาก โดยเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 มียอดคงค้าง 593,419 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.1 ชะลอลงจากเดือนก่อน จากการถอนเงินของส่วนราชการและสถาบันการศึกษา เพื่อนาไปใช้ในโครงการของภาครัฐ และส่วนหนึ่งไหลกลับไปยังสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ด้านเงินให้สินเชื่อ มีจานวน 571,756 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.5 ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 เนื่องจากผลของฐานสูงปีก่อนหมดไป ทั้งการรับโอนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากส่วนกลาง และสินเชื่อเช่าซื้อตามโครงการรถยนต์คันแรกของรัฐบาล นอกนั้นเป็นผลจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ การระมัดระวังการพิจารณาสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และระดับหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น

ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคเหนือ

ข้อมูลเพิ่มเติม : กุศล จันทร์แสงศรี

โทร. 0 5393 1164

e-mail : Kusolc@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ