สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนกันยายน ปี 2557

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday November 4, 2014 13:19 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 19/2557

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนกันยายน 2557 เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว จากแรงกดดันของรายได้เกษตรกรที่ลดลงต่อเนื่องตามราคาสินค้าเกษตรหลัก ขณะเดียวกันการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงตามอุปสงค์ของคู่ค้า ส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนลดลง แม้ว่าการท่องเที่ยวขยายตัวสูงจากเทศกาลกินเจก็ตาม ด้านธนาคารพาณิชย์ทั้งเงินฝากและสินเชื่อชะลอลง สาหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อชะลอลงตามราคาพลังงานเป็นสาคัญ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

เศรษฐกิจโดยรวมยังคงได้รับแรงกดดันจากราคาสินค้าเกษตรที่ยังตกต่ำโดยดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 29.7 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามราคายางที่ลดลงต่าสุดในรอบ 5 ปี จากปัจจัยด้านอุปทานส่วนเกินและความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญมีสัญญาณชะลอลง ขณะเดียวกันดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 9.6 จากผลผลิตกุ้งขาวที่ยังอยู่ในระดับต่ำและผลผลิตยางออกสู่ตลาดน้อยลงเนื่องจากฝนตกชุกและราคาไม่จูงใจให้กรีด นอกจากนี้ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลงหลังจากออกมากในช่วงครึ่งปีแรก ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 36.4 อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนก่อนและเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 เนื่องจากการชะลอซื้อยางของประเทศคู่ค้าหลักทั้งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ส่วนตลาดจีนความต้องการใช้ยางมีแนวโน้มชะลอลง สะท้อนจากยอดการผลิตรถยนต์ในเดือนนี้ขยายตัวต่าสุดในรอบ 19เดือนและภาวะอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว ส่งผลให้การผลิตยางแปรรูปและไม้ยางพาราเพื่อส่งออกชะลอลงด้านการผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปยังคงประสบภาวะวัตถุดิบกุ้งขาวตึงตัว ส่วนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบหดตัวตามปริมาณวัตถุดิบเข้าโรงงานที่ลดลง ขณะที่การผลิตอาหารทะเลบรรจุกระป๋องเพื่อส่งออกยังคงเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำเนื่องจากปัญหาความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลางในปีก่อนและการผลิตถุงมือยางเพิ่มขึ้นจากการขยายไปตลาดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 เป็นผลจากราคายาง ไม้ยาง และอาหารทะเลบรรจุกระป๋องที่ลดลง ส่วนมูลค่าการส่งออกถุงมือยางและสัตว์น้าเพิ่มขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 ตามการนำเข้าสัตว์น้าและผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมเพิ่มขึ้นการใช้จ่ายภาคเอกชนหดตัวจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากรายได้เกษตรกรยังลดลงต่อเนื่องทำให้ครัวเรือนระมัดระวังการใช้จ่าย โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัวจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจขายปลีกขายส่งชะลอลงมากขณะเดียวกันดัชนีลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 5.8 จากเดือนเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้สาคัญลดลงทุกหมวด ทั้งการก่อสร้าง การจำหน่ายปูนซีเมนต์ การจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และมูลค่าการน่าเข้าสินค้าทุน

การท่องเที่ยวขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5 และเมื่อปรับปัจจัยฤดูกาลแล้วจำนวนนักท่องเที่ยวขยายตัวจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 26.2 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐมีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความมั่นใจต่อสถานการณ์ในประเทศและการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าให้แก่นักท่องเที่ยวจีน ประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลกินเจ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในภาคใต้ตอนล่างขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.7 จากนักท่องเที่ยวมาเลเซียและสิงคโปร์ เทียบกับที่หดตัวสูงในเดือนก่อน

การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการลดลงร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนโดยลดลงทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน ขณะที่รายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ตามการจัดเก็บภาษีสุรา เป็นผลจากการที่ผู้ประกอบการเร่งผลิตสินค้า เพื่อชดเชยการผลิตในเดือนตุลาคมเนื่องจากมีแผนที่จะหยุดซ่อมแซมบารุงเครื่องจักรบางส่วน ด้านภาษีน้ามันเพิ่มขึ้นตามการนำเข้าน้ำมันเตาในจังหวัดกระบี่

ณ สิ้นเดือนกันยายน 2557 เงินฝากและเงินให้สินเชื่อชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยสินเชื่อชะลอตัวทั้งสินเชื่อธุรกิจและอุปโภคบริโภค

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 0.8 ในเดือนเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับการจ้างงานที่ลดลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ1.96 ชะลอลงต่อเนื่อง ตามราคาพลังงาน เป็นสำคัญ

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716

E-mail : Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ