สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนธันวาคม ปี 2557

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday February 4, 2015 10:17 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 2/2558

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนธันวาคม 2557 โดยรวมหดตัวจากเดือนก่อน ตามการผลิตสินค้าเกษตรหลักทั้งยางและปาล์มน้ามันที่ลดลงรวมทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรมและรายได้จากการส่งออกลดลง อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยวเอเชียเป็นสำคัญ สนับสนุนให้การอุปโภคบริโภคกระเตื้องขึ้นด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อชะลอลงตามราคาอาหารสดและพลังงาน การจ้างงานเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับอัตราการว่างงานที่ลดลง ส่วนเงินฝากและเงินให้สินเชื่อยังคงชะลอลง

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมหดตัวจากเดือนก่อน โดยเฉพาะผลผลิตยางลดลงจากการเกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยในการกรีดและผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลงมาก และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 14.1 และดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 26.6 จากราคายางที่อยู่ในระดับต่ำรวมทั้งกุ้งขาวราคาลดลงจากตลาดหลักญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่ชะลอค้าสั่งซื้อนอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิ์พิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ท้าให้ส่งออกได้น้อยลง ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรลดลงร้อยละ 37.0

ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 3.9 ตามการลดลงของอุตสาหกรรมยางและน้ำมันปาล์มจากวัตถุดิบที่น้อยลง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกมีจำนวน 1,071.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 21.1 โดยการส่งออกยางไปจีนซึ่งเป็นตลาดหลักยังคงหดตัวตามเศรษฐกิจจีนที่ชะลอลง ขณะเดียวกันการส่งออกยางไปยังตลาดมาเลเซีย ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปลดลงเช่นกัน

การท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้จำนวน 865,509 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 จากเดือนเดียวกันปีก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะมาเลเซียและจีน สอดคล้องกับจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับในเดือนเดียวกันปีก่อนการท่องเที่ยวของภาคใต้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองและเหตุเกิดระเบิดที่อำเภอสะเดา ส่วนนักท่องเที่ยวรัสเซียลดลงจากปัญหาเศรษฐกิจและค่าเงินในประเทศ

เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มในหมวดค้าปลีกค้าส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 จากที่ลดลงร้อยละ 2.0 ในเดือนก่อน อย่างไรก็ตามการบริโภคยานยนต์ยังหดตัว ประกอบกับครัวเรือนระมัดระวังการใช้จ่ายเนื่องจากภาระหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นและความเชื่อมั่นที่ปรับลดลง ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.2 ตามการลงทุนในหมวดก่อสร้างที่ลดลงจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งปริมาณการจาหน่ายปูนซีเมนต์และมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ลดลง

การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 จากรายจ่ายลงทุนที่เร่งตัวในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐผ่านงบลงทุนในโครงการต่าง ๆ ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสุรา ภาษีน้ำมันและภาษีเครื่องดื่ม

ส้าหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.71 ต่ำสุดนับจากเดือนกันยายน 2552 ตามราคาอาหารสดและราคาพลังงานที่ปรับลดลง ส่วนการจ้างงานเพิ่มขึ้น สะท้อนได้จากอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.84 และจำนวนแรงงานที่เข้าสู่การประกันตนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9

ด้านภาคการเงินชะลอตัวลงตามสภาวะเศรษฐกิจ โดยเงินให้สินเชื่อขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 ชะลอทั้งสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภค จากการหดตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดย่อมและสินเชื่อเช่าซื้อรถตามลำดับ

ธนาคารแห่งประเทศไทย ส้านักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716

E-mail : Arunyas@bot.or.th

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม : ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน

โทรศัพท์ : 02-283-5828 , 02-283-6837

E-mail : NanoAppFID@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ