แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ปี 2558

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday July 31, 2015 15:27 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 36/2558

ในเดือนมิถุนายน 2558 เศรษฐกิจยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามแรงขับเคลื่อนจากภาค การท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐ รวมทั้งการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวเล็กน้อยโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าจาเป็นและหมวดบริการ สะท้อนกำลังซื้อของผู้บริโภคระดับกลางและบนที่ยังมีอยู่แต่ถูกหน่วงด้วยความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ยังไม่ดีนัก ขณะเดียวกันเศรษฐกิจโดยรวมได้รับผลกระทบจากการส่งออกสินค้าที่หดตัวตาม การชะลอตัวของความต้องการจากจีนและอาเซียน เมื่อผนวกกับอุปสงค์ในประเทศที่ไม่เข้มแข็งจึงส่งผลให้ ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจปรับลดลง การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัว และการลงทุนภาคเอกชนทรงตัว อยู่ในระดับต่ำ

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลงจากราคาน้ำมันและราคาอาหารสดที่เริ่มขยับสูงขึ้นจากปัจจัยด้านอุปทาน อย่างไรก็ดี ยังไม่มีแรงกดดันเงินเฟ้อจากด้านอุปสงค์ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง โดยแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งได้โยกย้ายออกจากภาคเกษตรเข้าสู่ภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับค่าจ้างไม่สูงนัก สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายเกินดุล ส่งผลให้ดุลการชำระเงินเกินดุลต่อเนื่อง

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้

ภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวดี สะท้อนจากจานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สูงถึง 2.3 ล้านคน ตามการ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของชาวจีนและมาเลเซีย รวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง สำหรับ การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนจากการซื้อสินค้าและบริการ รวมทั้งการใช้จ่ายลงทุนในโครงการ ขนาดเล็กด้านคมนาคม ขนส่ง และชลประทาน ส่วนรายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นมากจากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ไม่ได้สะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีเพราะเป็นผลจากการเหลื่อมส่งภาษีเงินได้ปิโตรเลียมและภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นหลัก

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นจากเดือนที่แล้ว โดยเฉพาะในหมวดสินค้าไม่คงทนที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันและหมวดบริการ อาทิ ค่าใช้จ่ายด้านโทรคมนาคม แต่การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนยังอยู่ ในระดับต่ำ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่อ่อนแอจากผลผลิตที่น้อยลงและราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ และ แม้รายได้ของครัวเรือนนอกภาคเกษตรค่อนข้างทรงตัว แต่การตัดสินใจซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูงถูกเลื่อนออกไป เพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคถูกบั่นทอนจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า รวมถึงข่าวสถานการณ์ภัยแล้ง นอกจากนี้ สถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อแก่ครัวเรือนมากขึ้น หลังคุณภาพสินเชื่อหมวดดังกล่าวด้อยลงในช่วงที่ผ่านมา

การส่งออกสินค้าลดลงตามการชะลอตัวของภาวะการค้าในภูมิภาค โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินค้าหลายหมวด อาทิ เคมีภัณฑ์ และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ นอกจากนี้ ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกลดลง และการส่งออกรถยนต์ (ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมด) ลดลงต่อเนื่องโดยเฉพาะในส่วนที่ส่งออกไปตลาดตะวันออกกลาง

เนื่องจากผู้บริโภครอซื้อรถยนต์เชิงพาณิชย์รุ่นใหม่ที่อยู่ระหว่างการผลิต เมื่อประกอบกับราคาสินค้าส่งออกบางรายการที่ยังอยู่ในระดับต่าตามราคาน้ามันดิบ มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนนี้จึงหดตัวสูงถึงร้อยละ 8.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน และทาให้มูลค่าการส่งออกสินค้าในช่วง 6 เดือนแรกของปีหดตัวร้อยละ 4.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน

อุปสงค์ที่ไม่เข้มแข็งส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงทั้งในกลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อขายในประเทศและส่งออก โดยผู้ประกอบการบางส่วนใช้การระบายสินค้าคงคลังเพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่ยังเข้ามาไม่มาก ในขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ แม้ยอดจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศเพิ่มขึ้นแต่การนำเข้าสินค้าทุนจากต่างประเทศมีจากัด และเครื่องชี้การลงทุนด้านก่อสร้างลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนสะท้อนว่าธุรกิจส่วนใหญ่ลงทุนเพียงเพื่อซ่อมแซมและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ขณะที่การลงทุนโครงการใหม่ยังมีน้อย เนื่องจากธุรกิจมีกำลังการผลิตเหลือเพียงพอกับการรองรับอุปสงค์ในอนาคต รวมทั้งธุรกิจยังรอความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐ

การนำเข้าสินค้าโดยรวมปรับสูงขึ้นจากการนาเข้าน้ำมันดิบเพื่อผลิตสำหรับการส่งออกไปเวียดนามรวมทั้งมีการนาเข้าเครื่องบินในเดือนนี้ อย่างไรก็ดี การนาเข้าสินค้าอื่นๆ ค่อนข้างทรงตัว ทั้งวัตถุดิบที่ไม่รวมน้ำมันดิบ สินค้าทุนที่ไม่รวมหมวดเครื่องบิน และสินค้าอุปโภคบริโภค สอดคล้องกับการผลิตและอุปสงค์ที่อยู่ในระดับต่ำ

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ เพราะแม้การจ้างงานในภาคเกษตรลดลงในช่วงที่ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและมีความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ภัยแล้ง แต่แรงงานสามารถเคลื่อนย้ายไปทางานในภาคการผลิตและภาคบริการแทน อย่างไรก็ดี สาขาที่แรงงานย้ายเข้าไปเป็นสาขาที่ได้รับค่าจ้างไม่สูงนักและมีจำนวนชั่วโมงการทางานน้อยกว่าปกติ จึงช่วยพยุงกาลังซื้อของครัวเรือนได้เพียงบางส่วน สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปหดตัวน้อยลงเพราะราคาอาหารสดและราคาพลังงานปรับเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีแรงกดดันเงินเฟ้อจาก ด้านอุปสงค์ ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 0.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าสินค้าที่อยู่ในระดับต่ำขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายเกินดุล 1.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการกู้ยืมสินเชื่อระยะสั้นเพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศของสถาบันรับฝากเงิน และการถอนเงินฝากจากต่างประเทศของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศที่ครบกำหนด รวมทั้งการเข้ามาลงทุนโดยตรงของนักลงทุนต่างชาติ โดยรวมแล้วดุลการชาระเงินจึงเกินดุล

เศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ฟื้นตัวอย่างช้าๆ ตามแรงขับเคลื่อนจากภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายลงทุนภาครัฐ ขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงอ่อนแอ และการส่งออกสินค้ายังซบเซาจากทั้งปัจจัยเชิงโครงสร้างด้านการผลิตของไทยและการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะจีนและอาเซียน ทั้งนี้เสถียรภาพเศรษฐกิจในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบแต่มีแนวโน้มที่จะพ้นระดับต่าสุดในไตรมาสนี้ก่อนปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง และเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นอยู่ในเกณฑ์มั่นคง

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค

โทร. 0 2283 5647, 0 2283 5648

e-mail: MPGMacroEconomics@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ