แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนกรกฎาคม ปี 2558

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday August 31, 2015 09:57 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 45/2558

ในเดือนกรกฎาคม 2558 กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมยังอ่อนแอ โดยมีเพียงภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของภาครัฐที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกสินค้าโดยรวมยังคงซบเซาจากความต้องการสินค้าจากประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว ส่วนการบริโภคภาคเอกชนลดลงสอดคล้องกับรายได้ที่ยังไม่ดีและ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ต่ำลง อุปสงค์ที่อ่อนแอทั้งในและต่างประเทศกระทบความเชื่อมั่นของธุรกิจและส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำ

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงติดลบตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ในระดับต่ำ ส่วนอัตราการว่างงานทรงตัวจากเดือนก่อน โดยมีแรงงานภาคเกษตรย้ายออกไปท่างานนอกภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลตามการน่าเข้าที่ลดลง

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้

การส่งออกสินค้ายังคงซบเซาตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและอาเซียนซึ่งท่าให้การส่งออกสินค้าหลายหมวดหดตัว และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ และปิโตรเคมีที่ราคาลดลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและปริมาณชะลอลงตามอุปสงค์ประเทศคู่ค้า นอกจากนี้ การส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ลดลงในเกือบทุกตลาด เนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนรสนิยมไปใช้สินค้าไฮเทคมากขึ้น ขณะที่ การส่งออกสินค้าประมงและอาหารทะเลแปรรูปประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนนี้จึงหดตัวร้อยละ 3.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 แม้การส่งออกสินค้าบางหมวดจะปรับดีขึ้นบ้าง อาทิ การส่งออกรถยนต์โดยเฉพาะที่ส่งออกไปตลาดยุโรป ตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย รวมทั้งการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าไปตลาดตะวันออกกลางตามภาวะอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มประเทศดังกล่าวที่ปรับดีขึ้น

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนปรับลดลงหลังจากที่เร่งขึ้นในเดือนก่อน ตามการใช้จ่ายใน หมวดสินค้าคงทน หมวดสินค้ากึ่งคงทน และหมวดบริการด้านการขนส่งที่ต่ำลง รวมทั้งการใช้จ่ายใน หมวดสินค้าไม่คงทนที่ชะลอลงจากเดือนก่อน สะท้อนความระมัดระวังในการใช้จ่ายของครัวเรือน เนื่องจากรายได้เกษตรกรหดตัวมากขึ้นจากทั้งผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรที่ลดลง ขณะที่รายได้ของครัวเรือนนอกภาคเกษตรทรงตัวต่อเนื่อง ประกอบกับผู้บริโภคมีความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสถานการณ์ภัยแล้ง

อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่อ่อนแอท่าให้ความเชื่อมั่นของธุรกิจปรับลดลง และการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ แม้จะปรับดีขึ้นบ้างจากเดือนก่อนจากผลของปัจจัยชั่วคราวตาม (1) การผลิตรถยนต์หลังผู้ผลิตรายใหญ่เสร็จสิ้นการปรับเปลี่ยนสายการผลิต (2) การผลิตเบียร์ที่ผู้ประกอบการเร่งผลิตผลิตภัณฑ์เดิมก่อนออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และ (3) การผลิตเคมีภัณฑ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นเพื่อสะสมสินค้าคงคลัง นอกจากนี้ เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยการลงทุน ด้านก่อสร้างต่ำลงตามภาวะอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัว ซึ่งถูกชดเชยด้วยการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ในส่วนของรถยนต์เชิงพาณิชย์รุ่นใหม่ อย่างไรก็ดี การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกลุ่มอื่นๆ ยังมีไม่มากโดยเฉพาะการลงทุนเพื่อขยายก่าลังการผลิต ส่าหรับการนาเข้าสินค้าสะท้อนถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ โดยมูลค่าการน่าเข้าสินค้าหดตัวร้อยละ 10.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน และเป็นการหดตัวในทุกหมวด

ภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาครัฐมีส่วนช่วยพยุงเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยจ่านวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 2.6 ล้านคน ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามการเข้ามาของนักท่องเที่ยวยุโรป และเอเชียที่ไม่รวมจีน รวมถึงนักท่องเที่ยวรัสเซียที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่จ่านวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงบ้างหลังจากที่ขยายตัวสูงในช่วงก่อนหน้า ส่าหรับการเบิกจ่ายภาครัฐท่าได้ดีต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยการซื้อสินค้าและบริการสูงขึ้นโดยเฉพาะจากหน่วยงานด้านการศึกษา ขณะที่การใช้จ่ายลงทุนทั้งในและนอกงบประมาณ ยังมีอยู่ต่อเนื่อง แม้แผ่วลงบ้างหลังจากที่เร่งเบิกจ่ายไปมากในช่วงก่อนหน้า โดยการลงทุนส่วนใหญ่ในเดือนนี้ยังคงเป็นโครงการด้านคมนาคม ขนส่ง และชลประทาน ด้านรายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเป็นหลัก อย่างไรก็ดี การจัดเก็บภาษีที่สะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีฐานการค้าระหว่างประเทศหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.05 ซึ่งเป็นผลจากราคน้ำมันในตลาดโลกที่อยู่ในระดับต่ำ แม้ราคาอาหารสดโดยเฉพาะราคาผักและผลไม้ปรับสูงขึ้นบ้าง เพราะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ส่วนอัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.9 หลังปรับฤดูกาล โดยแรงงานในภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและภาวะภัยแล้งเคลื่อนย้ายไปท่างานนอกภาคเกษตรโดยเฉพาะภาคบริการในสาขาที่มีผลตอบแทนไม่สูงนัก ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการน่าเข้าสินค้าที่ลดลง ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย ขาดดุล 2.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการช่าระคืนเงินกู้ระยะสั้นของสถาบันรับฝากเงิน และการขายหลักทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติสอดคล้องกับภูมิภาค ท่าให้โดยรวมแล้วดุลการช่าระเงินขาดดุล

ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค

โทร. 0 2283 5647, 0 2283 5648

e-mail: MPGMacroEconomics@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ