รายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือนกันยายน 2558

ข่าวหุ้น-การเงิน Friday September 25, 2015 10:06 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 47/2558

นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงรายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือนกันยายน 2558 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดาเนินนโยบายการเงินและ การประเมินภาวะเศรษฐกิจของ กนง. สาระสาคัญสรุปได้ดังนี้

1. ทิศทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ตามการส่งออกและการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ต่ำกว่าคาด ส่วนอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มต่ำลงตามต้นทุนและแรงกดดันจากด้านอุปสงค์ที่ลดลง ทั้งนี้ พัฒนาการสาคัญที่คณะกรรมการฯ ได้นามาประกอบการประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ได้แก่ (1) เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวต่ากว่าที่คาด ตามเศรษฐกิจจีนและเอเชียเป็นสาคัญ (2) นโยบายภาครัฐ ที่มีส่วนช่วยพยุงเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ผ่านการลงทุนและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม (3) ปัญหาภัยแล้งจากฝนที่ตกน้อยกว่าปกติในช่วงกลางปี และ (4) ราคาน้ามันในตลาดโลกที่ต่ากว่าคาด

เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นและตลาดการเงินโลกมีความผันผวนมากขึ้น ส่วนหนึ่งจากความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและประสิทธิผลของมาตรการดูแลตลาดการเงินและกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการจีน ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นมีส่วนทาให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในการประชุมครั้งล่าสุด ทั้งนี้ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศอื่นในเอเชียและประเทศ คู่ค้าที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มขยายตัวต่าลง และทาให้ความต้องการซื้อสินค้าส่งออกไทยลดลง เมื่อรวมกับราคาสินค้าส่งออกบางประเภทที่มีแนวโน้มต่าลงตามราคาน้ามันและการต่อรองราคา ของคู่ค้า มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยจึงมีแนวโน้มหดตัวมากขึ้น รายได้จากการส่งออกที่อยู่ในระดับต่า รวมทั้งผลกระทบเพิ่มเติมจากปัญหาภัยแล้งในช่วงกลางปีทาให้ภาคครัวเรือนเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจึงมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่เคยประเมินไว้ นอกจากนี้ อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่ต่าลงประกอบกับกาลังการผลิตส่วนเกินที่ยังมีอยู่มาก ทาให้ภาคธุรกิจเลื่อนการลงทุนออกไป ส่วนการส่งออกบริการมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องและสูงกว่าที่เคยประเมินไว้ ตามรายรับจากภาคการท่องเที่ยวแม้ในระยะสั้นจะได้รับผลกระทบจากเหตุระเบิดในกรุงเทพฯ บ้าง ภาครัฐมีส่วนช่วยพยุงเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและทาได้ดีกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะจากการใช้จ่ายในโครงการลงทุน รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาเพิ่มเติม แต่ยังไม่สามารถชดเชยแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่อ่อนแรงลงได้ทั้งหมด เศรษฐกิจจึงขยายตัวต่ากว่า ที่คาดไว้เดิมทั้งในปี 2558 และ 2559

อัตราเงินเฟ้อต่ากว่าที่เคยประเมินไว้ จากต้นทุนที่ลดลงตามราคาน้ามันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ในตลาดโลก รวมทั้งแรงกดดันจากด้านอุปสงค์ที่ต่าลงตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ล่าช้า ทาให้ช่วงเวลาที่อัตรา เงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเป็นบวกเลื่อนออกไปจากที่เคยประเมินไว้ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าความเสี่ยงต่อ ภาวะเงินฝืดยังต่า เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ติดลบเป็นผลจากปัจจัยด้านอุปทานโดยเฉพาะราคาน้ามัน ที่ลดลงเป็นสาคัญ และอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเป้าหมายเงินเฟ้อ

2. ประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ

คณะกรรมการฯ ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2558 และ 2559 พร้อมกับประเมินว่าความเสี่ยงต่อประมาณการในด้านต่ามีมากกว่าด้านสูงโดยโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่ากว่ากรณีฐานมาจาก (1) เศรษฐกิจจีนและเอเชียที่อาจชะลอตัวกว่าคาด(2) นักท่องเที่ยวในปี 2558 ที่อาจลดลงมากกว่าคาดจากเหตุระเบิดในกรุงเทพฯ และ (3) การลงทุนภาครัฐที่อาจช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนภาคเอกชนได้น้อยกว่าคาดเนื่องจากความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจยังอยู่ในระดับต่า ขณะที่โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวสูงกว่ากรณีฐานจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่อาจทาได้เร็วและได้ผลมากกว่าคาด และนักท่องเที่ยวในปี 2559 ที่อาจขยายตัวได้ดีกว่าคาด นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ปรับลดประมาณการทั้งอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2558 และ 2559 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2559 และประเมินความเสี่ยงต่อประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั้งสองโน้มไปด้านต่า ตามเศรษฐกิจที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด และราคาน้ามันดิบในตลาดโลกที่อาจต่ากว่าคาด เนื่องจากอุปทานที่อาจเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มกาลังการผลิตของประเทศผู้ส่งออกน้ามัน ทั้งกลุ่มโอเปคและกลุ่มผู้ผลิต Shale Oil

3. การด่าเนินนโยบายการเงิน

นโยบายการเงินยังอยู่ในระดับผ่อนปรนอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจยังเผชิญกับความเสี่ยงด้านลบในระยะต่อไปในการประชุมเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม และ 16 กันยายน 2558 คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่าการดาเนินนโยบายการเงิน ในช่วงที่ผ่านมาช่วยให้ภาวะการเงินผ่อนคลายมากขึ้น สะท้อนจากต้นทุนการระดมทุนของภาคธุรกิจผ่านตลาดการเงินปรับลดลง กอปรกับอัตราแลกเปลี่ยนมีทิศทางที่เอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสาหรับเสถียรภาพการเงิน การคงอัตราดอกเบี้ยเป็นการดูแลเสถียรภาพตลาดการเงินและไม่เพิ่มความไม่แน่นอนและความผันผวนให้กับเศรษฐกิจในช่วงที่ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนมากขึ้นในระยะสั้นและกรรมการส่วนหนึ่งเห็นว่าการคงอัตราดอกเบี้ยจะไม่เพิ่มความไม่สมดุลด้านการเงินในระบบเศรษฐกิจจากภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ามานานทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนยังจาเป็นและพร้อมจะใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพ ทางการเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม: ณฐ์ภัชช์ พงษ์เลื่องธรรม โทร. 0 2283 5629 E-mail: napatp@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ