สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนกรกฎาคม ปี 2558

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday August 31, 2015 10:59 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 19/2558

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนกรกฎาคม 2558 ภาพรวมชะลอลงจากเดือนก่อน แต่ยังมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการท่องเที่ยว และการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่กระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ เนื่องจากห้างสรรพสินค้ามีการส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการจ้างงานในภาคการค้าและบริการเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมปรับลดลงจากเดือนก่อน รวมทั้งราคาสินค้าเกษตรสำคัญยังคงอยู่ในระดับต่า ทาให้รายได้เกษตรกรและรายได้จากการส่งออกลดลง ซึ่งยังเป็นปัจจัยลบต่อการลงทุน และทาให้การจ้างงานในสาขาเกษตรและสาขานอกเกษตรที่ไม่ใช่ภาคการค้าและบริการชะลอลง ด้านอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานใกล้เคียงกับเดือนก่อน

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

การท่องเที่ยวยังคงเติบโตและเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทั้งฝั่งอันดามัน อ่าวไทยและภาคใต้ตอนล่าง จากนักท่องเที่ยวเอเชียเป็นสำคัญ โดยเฉพาะมาเลเซีย เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลฮารีรายอ ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวจีนยังคงเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับนานาชาติที่จังหวัดภูเก็ต ส่งผลให้จำนวนเที่ยวบินในภาคใต้เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ เนื่องจากผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายมากขึ้นกว่าปีก่อนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งที่พักแรมและร้านอาหารที่ได้รับแรงหนุนจากรายได้จากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดี อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในสินค้าจาเป็นเท่านั้น ขณะที่การใช้จ่ายในสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ยังคงหดตัวสูง จากการระมัดระวังการใช้จ่าย

ด้านรายได้เกษตรกรลดลงตามราคาสินค้าเกษตรที่หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนทั้งยาง ปาล์มน้ำมันและกุ้งขาว เป็นผลจากอุปสงค์ยางยังคงซบเซาตามภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่เป็นผู้ซื้อรายใหญ่ชะลอตัวชัดเจน ประกอบกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำกดดันราคายางและปาล์มน้ามันอ่อนตัวลง ขณะเดียวกันราคากุ้งขาวได้รับแรงกดดันจากประเทศคู่แข่งมีราคาต่ำกว่าและความต้องการจากตลาดหลักมีแนวโน้มชะลอลง ส่งผลให้เกษตรกรชะลอการเลี้ยงเพราะไม่มั่นใจต่อสถานการณ์ด้านราคา ส่วนผลผลิตเกษตรของภาคใต้ลดลงจากเดือนก่อนโดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน

การผลิตภาคอุตสาหกรรมซึ่งส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการส่งออกยังมีความผันผวน เนื่องจากปัจจัยรุมเร้าต่าง ๆ ทั้งจากอุปสงค์คู่ค้าที่ชะลอลงการถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) และการขาดแคลนวัตถุดิบปลาและหมึกจากปัญหาการประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง ทั้งอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง และไม้ยางพารา มีเพียงการผลิตยางเพิ่มขึ้นตามคาสั่งซื้อจากผู้ซื้อรายใหญ่ทั้งจีนและมาเลเซีย แต่หากปรับฤดูกาลแล้วการผลิตยางลดลงจากเดือนก่อน ขณะเดียวกันการส่งออกลดลงทั้งจากผลด้านปริมาณและราคา ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่ยังรอความชัดเจนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่จึงลงทุนเพียงเพื่อซ่อมแซมและปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิต การลงทุนโครงการใหม่ยังมีน้อย ขณะที่การลงทุนด้านก่อสร้างยังซบเซา

การเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐลดลงเป็นเดือนแรก หลังจากที่เร่งเบิกจ่ายไปแล้วในช่วงก่อนหน้า เนื่องจากเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ ประกอบกับโครงการลงทุนต่างๆ ทยอยสิ้นสุดลง และรองบลงทุนในปีงบประมาณหน้า สำหรับรายได้ภาครัฐลดลงตามการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และหมวดสุราเป็นสาคัญเนื่องจากได้เร่งผลิตในช่วงต้นปี ก่อนมีการปรับภาษีเพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2558 ส่วนภาษี เงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราการว่างงานหากปรับฤดูกาลอยู่ที่ร้อยละ 1.12 ใกล้เคียงกับร้อยละ 1.13 ในเดือนก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงติดลบที่ร้อยละ 1.48 ตามการลดลงของราคาพลังงานเป็นสาคัญ ขณะที่ราคาอาหารสดขยับขึ้นตามราคาปลาและสัตว์น้า เนื่องจากวัตถุดิบลดลงจากความเข้มงวดในการควบคุมการทาประมงผิดกฎหมาย และราคาผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากจากผลกระทบของภัยแล้ง

ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2558 เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากกระแสรายวัน ขณะที่บัตรเงินฝากหดตัว ด้านเงินให้สินเชื่อหดตัวร้อยละ 5.2 ตามการหดตัวของสินเชื่ออุปโภคบริโภค ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงการบันทึกบัญชีไปยังสำนักงานใหญ่ของสถาบันการเงินบางแห่ง สาหรับสินเชื่อภาคธุรกิจขยายตัวจากสินเชื่อการผลิตและการก่อสร้าง

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716

E-mail : Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ