แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนไตรมาสที่ 4 ปี 2558

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday February 2, 2016 16:56 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 02/2559

ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาสที่ 4 ปี 2558 ขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของ ปีก่อน และไตรมาสที่ 3 ปี 2558 โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นเล็กน้อย ตามการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน โดยเฉพาะรถยนต์ที่เร่งขึ้นก่อนการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตรถยนต์ แต่เป็นเพียงปจจัยชั่วคราว ส่วนการใช้จ่ายสินค้าจำเป็นยังทรงตัว จากการบริโภคของประชาชนที่ฟนตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่รายได้เกษตรกรยังหดตัว จากผลทั้งด้านราคาและผลผลิต ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคแม้ว่าจะปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจยังมีปจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายงบลงทุนของภาครัฐ ที่ขยายตัวสูง โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการขนาดเล็ก ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวต่อเนื่อง สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยอัตราเงินเฟอติดลบน้อยลง และอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.4 โดยปรับดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ทั้งนี้ มีปจจัยบวกชั่วคราวจากการเร่งซื้อรถยนต์ของภาคครัวเรือนก่อนการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตรถยนต์ในเดือนมกราคม 2559 สะท้อนจากยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและยอดขายรถยนต์ที่เร่งขึ้นสูงจากไตรมาสก่อน ขณะที่การใช้จ่ายในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค และยอดขายในห้างสรรพสินค้ายังทรงตัว จากการบริโภคของประชาชนที่ฟนตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม กำลังซื้อจากรายได้เกษตรยังลดลง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคแม้จะปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำ จากภาระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้งสถาบันการเงินยังระมัดระวังในการให้สินเชื่อด้านภาคบริการ รายได้ภาคบริการสาขาโรงแรมและภัตตาคารลดลง ตามหมวดโรงแรมและรีสอร์ท เกสต์เฮาส์ และลานตั้งค่ายพักแรมฯ ขณะที่หมวดภัตตาคารและร้านอาหารชะลอลง สำหรับอัตราการเข้าพักโรงแรมใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 41.0

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจยังมีปจจัยสนับสนุนจาการใช้จ่ายงบลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 34.8 และเร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยการเบิกจ่ายงบลงทุนหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างในส่วนงบกลางที่ขยายตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนขนาดเล็ก นอกจากนี้ ยังมีเม็ดเงินนอกงบประมาณในส่วนของเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนนที่มีการเบิกจ่ายจำนวน 8,586.1 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่มีการเบิกจ่ายจำนวน 4,969.6 ล้านบาท ซึ่งมาจากการเบิกจ่ายของกรมทางหลวงชนบท กรมทางหลวง และกรมชลประทาน เป็นสำคัญ

การลงทุนภาคเอกชน ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.6 โดยหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ตามพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลที่หดตัวร้อยละ 16.3 จากการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอาคารสูงที่ลดลง ส่วนการก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์ชะลอลง สอดคล้องกับยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่ชะลอลง ขณะที่ยอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ปรับดีขึ้น

ด้านเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมที่อนุญาตให้เปิดดำเนินการหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนจากเงินลงทุนที่ลดลงของทั้งโรงงานขนาดใหญ่และขนาดเล็ก สำหรับเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ลดลงจากเกือบทุกหมวด ส่วนหนึ่งเนื่องจากภาคธุรกิจบางส่วนชะลอการลงทุนออกไปก่อนเพื่อรอความชัดเจนของการฟนตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ อย่างไรก็ดี นักลงทุนบางส่วนยังให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในภาค โดยเฉพาะธุรกิจที่ใช้วัตถุดิบด้านการเกษตรและหมวดบริการสาธารณูปโภค

การผลิตภาคเกษตรกรรม ดัชนีมูลค่าผลผลิตพืชสำคัญ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.5 และหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน จากผลของทั้งด้านผลผลิตและราคาพืชผลสำคัญ โดยผลผลิตพืชสำคัญหดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลผลิตข้าวเป็นสำคัญ สำหรับราคาพืชผลสำคัญส่วนใหญ่ปรับลดลง โดยราคาข้าวเปลือกหอมมะลิหดตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ชะลอลง ราคาอ้อยโรงงานหดตัวตามราคาน้ำตาลโลกที่อยู่ในระดับต่ำ ราคามันสำปะหลังและยางพาราหดตัวเนื่องจากประเทศจีนชะลอคำสั่งซื้อ อย่างไรก็ดี ราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวยังเพิ่มขึ้น ตามความต้องการของตลาดในประเทศเป็นสำคัญ ส่วนราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังอยู่ในเกณฑ์ดี

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.3 จากที่ขยายตัวไปมากแล้วในไตรมาสก่อน ตามการผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่ลดลงจากความต้องการของผู้ค้าส่ง ที่ยังมีสต็อกสินค้าอยู่ในระดับสูง ประกอบกับโรงงานบางแห่งมีการปรับปรุงสายการผลิตบางสาย นอกจากนี้ การผลิตในอุตสาหกรรมน้ำตาลยังหดตัว จากการละลายน้ำตาลทรายดิบเพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำตาลทรายขาวไปมากแล้วในไตรมาสก่อน สำหรับการผลิตเพื่อการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่ม Hard Disk Drive (HDD) ยังคงหดตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ตามความต้องการจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ยในไตรมาสนี้ปรับสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟอทั่วไปติดลบร้อยละ 0.75 แต่ติดลบน้อยลงจากไตรมาสก่อนตามราคาอาหารสด และอาหารสำเร็จรูปบริโภคในบ้านที่มีราคาสูงขึ้น รวมทั้งราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่หดตัวน้อยลง ส่วนอัตราเงินเฟอพื้นฐาน อยู่ที่ร้อยละ 1.10 สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนสำหรับอัตราการว่างงาน ยังอยู่ในระดับต่ำและลดลงจากร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อนเป็นร้อยละ 0.5

ภาคการเงินธนาคารพาณิชย์ เงินฝากคงค้างเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.7 แต่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน จากเงินฝากประจำและเงินฝากกระแสรายวัน ด้านสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.3 แต่ชะลอลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ทั้งสินเชื่อที่ให้แก่ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ โดยสินเชื่อภาคครัวเรือนชะลอลงในสินเชื่อที่อยู่อาศัย และการบริโภคส่วนบุคคลอื่นๆ ขณะที่สินเชื่อเพื่อซื้อรถยนต์หดตัวน้อยลง ส่วนสินเชื่อภาคธุรกิจชะลอลงในหลายธุรกิจ โดยมีเพียงสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจด้านบริการ และการเกษตร ที่ขยายตัว

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทร. 04333 3000 ต่อ 3415 E-mail: PornnipT@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ