ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เศรษฐกิจภาคเหนือเดือน พ.ย.50 เติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือ
ในเดือน พ.ย.50 ว่า ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นสูง ขณะที่ภาคบริการขยายตัวดี
เนื่องจากเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา 421,000 คน มากกว่าเดือนก่อนหน้าที่มีเดินทางเข้ามา 363,300 คน แต่เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 3.3 เนื่องจากช่วงนั้นมีงานพืชสวนโลกทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาสูงกว่าปกติ สำหรับ
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงเช่นกัน โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก
การจัดเก็บภาษีหมวดอุตสาหกรรมลดลงมาก แต่หมวดค้าส่งค้าปลีกยังเพิ่มขึ้น ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะปริมาณ
การจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง (เดลินิวส์)
2. แนวโน้มการแข่งขันของ ธ.พาณิชย์ในปี 51 จะไม่รุนแรงเนื่องจากเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากปี 50 นายบัณลือศักดิ์ ปุสสะรังษี
ผช.กก.ผจก.ใหญ่ ดูแลสายงานสำนักวิจัย ธ.ไทยธนาคาร กล่าวถึงแนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจ ธ.พาณิชย์ในปี 51 ว่าจะไม่รุนแรงมากนัก
เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงที่ค่อย ๆ ฟื้นตัวจากปี 50 ประกอบกับช่วงต้นปี 51 ยังอยู่ในช่วงเตรียมการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ดังนั้น
ธ.พาณิชย์จึงไม่เร่งการแข่งขันเพื่อแย่งชิงลูกค้ากันมากนักเพราะอาจจะเกิดเป็นหนี้เสียได้ ด้านสินเชื่อทั้งระบบคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 50
ประมาณร้อยละ 6 — 7 เพราะคาดว่าการลงทุนภายในประเทศน่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 — 6 ถึงแม้ว่าจะขยายตัวในระดับที่ไม่สูงมากนัก
แต่จะเป็นตัวที่ไปกระตุ้นให้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารเพิ่มขึ้นได้ สำหรับแนวโน้มของเอ็นพีแอลโดยรวมคาดว่าในระยะสั้นอาจจะมีการปรับตัว
เพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย ส่วนในระยะยาวขึ้นอยู่กับว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ เพราะหากเศรษฐกิจดีในระดับหนึ่งก็จะส่งผลให้จำนวนเอ็นพีแอลอยู่ในระดับ
ที่ทรงตัวหรือลดลงมาบ้าง แต่หากเศรษฐกิจไม่ดีก็อาจทำให้หนี้เสียดังกล่าวขยายตัวสูงกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยง
ที่ต้องระวังและจับตาดูกันต่อไปคือ การส่งออกของไทยไปยัง สรอ. ที่ยังคงมีการชะลอตัวลง เพราะเศรษฐกิจ สรอ. เริ่มส่งสัญญาณว่ากำลัง
มีปัญหาอย่างหนักจากวิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพ โดยดูได้จากยอดขายปลีกไตรมาส 4 ปี 50 ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.3 และคาดว่าปัญหาดังกล่าว
จะยังคงอยู่ต่อไปอย่างน้อยอีก 3 ไตรมาส จึงจะฟื้นตัวได้ ความเสี่ยงเรื่องที่สองคือ ราคาน้ำมันที่มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีก ซึ่งจะส่งผลให้
อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงตามไปด้วย และความเสี่ยงเรื่องสุดท้ายคือ ปัญหาทางการเมืองของไทยที่ยังไม่นิ่งเท่าที่ควร หรืออาจจะเกิดการขัดแย้ง
ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นมาอีกครั้ง (แนวหน้า)
3. คาดว่าเงินบาทในสัปดาห์นี้จะแข็งค่าต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดแนวโน้มเงินบาทในประเทศสัปดาห์นี้อาจมีกรอบการ
เคลื่อนไหวที่ 33.20 — 33.50 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. โดยปัจจัยที่ควรจับตา ได้แก่ แรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออก การเคลื่อนไหว
ของเงินทุนต่างชาติ สัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดของ ธปท. และความคืบหน้าทางการเมือง ตลอดจนทิศทางของเงินดอลลาร์ สรอ.
สำหรับในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทในประเทศแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. โดยได้รับแรงหนุน
อย่างต่อเนื่องจากแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออก และมุมมองเชิงบวกที่ว่าการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่จะนำไปสู่การใช้นโยบายที่เอื้อ
ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทยังเป็นไปตามทิศทางการแข็งค่าของสกุลเงินในภูมิภาค โดยเงินดอลลาร์
สิงคโปร์และเงินริงกิตแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี (ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังเร่งเบิกจ่าย งปม. เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง กล่าวว่า ในปี 51 ก.คลังยังคง
ทำหน้าที่กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการเร่งรัดการเบิกจ่าย งปม. ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจอย่างเต็มที่จนกว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่
เข้ามาบริหารประเทศและวางกรอบยุทธศาสตร์การเบิกจ่าย งปม. ในปีต่อไป ทั้งนี้ ในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลจะเห็นว่าภาคเอกชนเริ่มชะลอ
การลงทุน ภาครัฐจึงต้องเร่งรัดการเบิกจ่าย งปม. เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีภาคอุตสาหกรรมโดยรวมโลกเดือน ธ.ค.50 ลดลงต่ำสุดตั้งแต่เดือน พ.ย.46 ที่ระดับ 53.5 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 4 ม.ค.51 JP Morgan ร่วมกับ The Research and Supply Management Organisations เปิดเผยว่า ดัชนีภาคอุตสาหกรรม
โดยรวมโลกในเดือน ธ.ค.50 ลดลงอยู่ที่ระดับ 53.5 จากระดับ 54.0 ในเดือน พ.ย.50 แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ที่เป็นเส้นแบ่งระหว่าง
การขยายตัวและหดตัว และอยู่ระหว่างระดับ 53.8-54.2 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน พ.ย.46 อันมีสาเหตุสำคัญจากการ
ชะลอตัวของดัชนีภาคบริการใน สรอ. ที่อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน นอกจากนี้ ดัชนีที่ชะลอตัวสวนทางกับความกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่
ในระดับสูง โดยดัชนีราคานำเข้าชะลอตัวอยู่ที่ระดับ 68.5 ลดลงจากระดับ 70.4 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ที่ระดับ 52.6 จากระดับ 52.5 ในเดือน พ.ย.50 เช่นเดียวกับดัชนีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.3 จากระดับ 51.7 แต่ยังคงต่ำกว่า
ระดับอัตราเฉลี่ยของปี 50 อนึ่ง ดัชนีภาคอุตสาหกรรมโดยรวมโลกได้จากการสำรวจข้อมูลจากหลายประเทศ รวมถึง ประเทศ สรอ. ญี่ปุ่น
เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน และรัสเซีย (รอยเตอร์)
2. เดือน ธ.ค.50 ดัชนี ISM ของ สรอ.ขยายตัวชะลอลงที่ระดับ 53.9 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 4 ม.ค.51 The Institute
for Supply Management เปิดเผยว่า ดัชนี ISM ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการเติบโตของภาคบริการ สรอ. ลดลงที่ระดับ 53.9 ในเดือน ธ.ค.50
จากระดับ 54.1 ในเดือนก่อนหน้า ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือนนับตั้งแต่เดือน มี.ค.50 ซึ่งดัชนีอยู่ที่ระดับ 52.4 แต่สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์
คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 53.5 อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงสะท้อนการเติบโตของภาคบริการ เนื่องจากอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้การขยายตัว
นอกจากนี้ ดัชนีที่เป็นส่วนประกอบของ ISM หลายดัชนี อยู่ในทิศทางที่ดี ได้แก่ New Orders Index เพิ่มขึ้นที่ระดับ 53.5 จากระดับ 51.1
ขณะที่ Prices Paid Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดภาวะเงินเฟ้อชะลอลงที่ระดับ 72.7 จากระดับ 76.5 และ Employment Index เพิ่มขึ้น
ที่ระดับ 52.1 จากระดับ 50.8 อนึ่ง ภาคบริการของ สรอ. มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 80 ของระบบเศรษฐกิจ สรอ. ครอบคลุมธุรกิจหลักต่างๆ
อาทิเช่น สถาบันการเงิน ธุรกิจการบิน โรงแรมและร้านอาหาร (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน ธ.ค.50 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ต่อปีเท่ากับเดือนก่อนรายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ
4 ม.ค.51 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานประมาณการเบื้องต้นอัตราเงินเฟ้อของ Euro zone เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ต่อปี
ในเดือน ธ.ค.50 เท่ากับเดือนก่อน เป็นไปตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ จากผลกระทบของราคาอาหารและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยอยู่ในระดับ
สูงกว่าที่ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ตั้งเป้าไว้ว่าจะพยายามรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่า ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบันต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
ทั้งนี้ ECB ยังไม่ได้แจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับประมาณการอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวจนกว่าจะถึงวันที่ 16 ม.ค.51 นี้ (รอยเตอร์)
4. เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้น รายงานจากโซล เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 51
ก.พาณิชย์เกาหลีใต้เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้วเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment - FDI) ของ
เกาหลีใต้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 และคาดว่าในปีนี้ FDI จะยังคงไหลเข้ามาลงทุนในเกาหลีใต้ เนื่องจากการควบรวม
กิจการทั่วโลกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว FDI เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าร้อยละ 12.6 อยู่ที่ระดับ
4.19 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 เมื่อไตรมาสที่ 3 ปี 50 ทั้งนี้นาย Lee Myun — Bak ประธานาธิบดีให้คำมั่นสัญญาว่า
จะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศให้มากขึ้นกว่านี้ อย่างไรก็ตามตลอดทั้งปีที่แล้ว FDI ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
ร้อยละ 6.5 อยู่ที่ระดับ 10.5 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ขณะที่ทางการเกาหลีใต้คาดว่าในปีนี้จะมี FDI มากกว่า
10 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7 ม.ค. 51 4 ม.ค. 51 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.458 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.2400/33.5778 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.33859 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 821.71/22.43 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,400/13,500 13,500/13,600 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 92.06 92.39 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.29*/29.74* 33.29*/29.74* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เศรษฐกิจภาคเหนือเดือน พ.ย.50 เติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือ
ในเดือน พ.ย.50 ว่า ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นสูง ขณะที่ภาคบริการขยายตัวดี
เนื่องจากเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา 421,000 คน มากกว่าเดือนก่อนหน้าที่มีเดินทางเข้ามา 363,300 คน แต่เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 3.3 เนื่องจากช่วงนั้นมีงานพืชสวนโลกทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาสูงกว่าปกติ สำหรับ
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงเช่นกัน โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก
การจัดเก็บภาษีหมวดอุตสาหกรรมลดลงมาก แต่หมวดค้าส่งค้าปลีกยังเพิ่มขึ้น ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะปริมาณ
การจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง (เดลินิวส์)
2. แนวโน้มการแข่งขันของ ธ.พาณิชย์ในปี 51 จะไม่รุนแรงเนื่องจากเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากปี 50 นายบัณลือศักดิ์ ปุสสะรังษี
ผช.กก.ผจก.ใหญ่ ดูแลสายงานสำนักวิจัย ธ.ไทยธนาคาร กล่าวถึงแนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจ ธ.พาณิชย์ในปี 51 ว่าจะไม่รุนแรงมากนัก
เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในช่วงที่ค่อย ๆ ฟื้นตัวจากปี 50 ประกอบกับช่วงต้นปี 51 ยังอยู่ในช่วงเตรียมการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ดังนั้น
ธ.พาณิชย์จึงไม่เร่งการแข่งขันเพื่อแย่งชิงลูกค้ากันมากนักเพราะอาจจะเกิดเป็นหนี้เสียได้ ด้านสินเชื่อทั้งระบบคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 50
ประมาณร้อยละ 6 — 7 เพราะคาดว่าการลงทุนภายในประเทศน่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 — 6 ถึงแม้ว่าจะขยายตัวในระดับที่ไม่สูงมากนัก
แต่จะเป็นตัวที่ไปกระตุ้นให้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารเพิ่มขึ้นได้ สำหรับแนวโน้มของเอ็นพีแอลโดยรวมคาดว่าในระยะสั้นอาจจะมีการปรับตัว
เพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย ส่วนในระยะยาวขึ้นอยู่กับว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ เพราะหากเศรษฐกิจดีในระดับหนึ่งก็จะส่งผลให้จำนวนเอ็นพีแอลอยู่ในระดับ
ที่ทรงตัวหรือลดลงมาบ้าง แต่หากเศรษฐกิจไม่ดีก็อาจทำให้หนี้เสียดังกล่าวขยายตัวสูงกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยง
ที่ต้องระวังและจับตาดูกันต่อไปคือ การส่งออกของไทยไปยัง สรอ. ที่ยังคงมีการชะลอตัวลง เพราะเศรษฐกิจ สรอ. เริ่มส่งสัญญาณว่ากำลัง
มีปัญหาอย่างหนักจากวิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพ โดยดูได้จากยอดขายปลีกไตรมาส 4 ปี 50 ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.3 และคาดว่าปัญหาดังกล่าว
จะยังคงอยู่ต่อไปอย่างน้อยอีก 3 ไตรมาส จึงจะฟื้นตัวได้ ความเสี่ยงเรื่องที่สองคือ ราคาน้ำมันที่มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีก ซึ่งจะส่งผลให้
อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงตามไปด้วย และความเสี่ยงเรื่องสุดท้ายคือ ปัญหาทางการเมืองของไทยที่ยังไม่นิ่งเท่าที่ควร หรืออาจจะเกิดการขัดแย้ง
ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นมาอีกครั้ง (แนวหน้า)
3. คาดว่าเงินบาทในสัปดาห์นี้จะแข็งค่าต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดแนวโน้มเงินบาทในประเทศสัปดาห์นี้อาจมีกรอบการ
เคลื่อนไหวที่ 33.20 — 33.50 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. โดยปัจจัยที่ควรจับตา ได้แก่ แรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออก การเคลื่อนไหว
ของเงินทุนต่างชาติ สัญญาณการเข้าแทรกแซงตลาดของ ธปท. และความคืบหน้าทางการเมือง ตลอดจนทิศทางของเงินดอลลาร์ สรอ.
สำหรับในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทในประเทศแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. โดยได้รับแรงหนุน
อย่างต่อเนื่องจากแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออก และมุมมองเชิงบวกที่ว่าการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่จะนำไปสู่การใช้นโยบายที่เอื้อ
ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การแข็งค่าของเงินบาทยังเป็นไปตามทิศทางการแข็งค่าของสกุลเงินในภูมิภาค โดยเงินดอลลาร์
สิงคโปร์และเงินริงกิตแข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี (ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังเร่งเบิกจ่าย งปม. เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง กล่าวว่า ในปี 51 ก.คลังยังคง
ทำหน้าที่กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการเร่งรัดการเบิกจ่าย งปม. ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจอย่างเต็มที่จนกว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่
เข้ามาบริหารประเทศและวางกรอบยุทธศาสตร์การเบิกจ่าย งปม. ในปีต่อไป ทั้งนี้ ในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลจะเห็นว่าภาคเอกชนเริ่มชะลอ
การลงทุน ภาครัฐจึงต้องเร่งรัดการเบิกจ่าย งปม. เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีภาคอุตสาหกรรมโดยรวมโลกเดือน ธ.ค.50 ลดลงต่ำสุดตั้งแต่เดือน พ.ย.46 ที่ระดับ 53.5 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 4 ม.ค.51 JP Morgan ร่วมกับ The Research and Supply Management Organisations เปิดเผยว่า ดัชนีภาคอุตสาหกรรม
โดยรวมโลกในเดือน ธ.ค.50 ลดลงอยู่ที่ระดับ 53.5 จากระดับ 54.0 ในเดือน พ.ย.50 แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ที่เป็นเส้นแบ่งระหว่าง
การขยายตัวและหดตัว และอยู่ระหว่างระดับ 53.8-54.2 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน พ.ย.46 อันมีสาเหตุสำคัญจากการ
ชะลอตัวของดัชนีภาคบริการใน สรอ. ที่อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน นอกจากนี้ ดัชนีที่ชะลอตัวสวนทางกับความกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังอยู่
ในระดับสูง โดยดัชนีราคานำเข้าชะลอตัวอยู่ที่ระดับ 68.5 ลดลงจากระดับ 70.4 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ที่ระดับ 52.6 จากระดับ 52.5 ในเดือน พ.ย.50 เช่นเดียวกับดัชนีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.3 จากระดับ 51.7 แต่ยังคงต่ำกว่า
ระดับอัตราเฉลี่ยของปี 50 อนึ่ง ดัชนีภาคอุตสาหกรรมโดยรวมโลกได้จากการสำรวจข้อมูลจากหลายประเทศ รวมถึง ประเทศ สรอ. ญี่ปุ่น
เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ จีน และรัสเซีย (รอยเตอร์)
2. เดือน ธ.ค.50 ดัชนี ISM ของ สรอ.ขยายตัวชะลอลงที่ระดับ 53.9 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 4 ม.ค.51 The Institute
for Supply Management เปิดเผยว่า ดัชนี ISM ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการเติบโตของภาคบริการ สรอ. ลดลงที่ระดับ 53.9 ในเดือน ธ.ค.50
จากระดับ 54.1 ในเดือนก่อนหน้า ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือนนับตั้งแต่เดือน มี.ค.50 ซึ่งดัชนีอยู่ที่ระดับ 52.4 แต่สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์
คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 53.5 อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงสะท้อนการเติบโตของภาคบริการ เนื่องจากอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้การขยายตัว
นอกจากนี้ ดัชนีที่เป็นส่วนประกอบของ ISM หลายดัชนี อยู่ในทิศทางที่ดี ได้แก่ New Orders Index เพิ่มขึ้นที่ระดับ 53.5 จากระดับ 51.1
ขณะที่ Prices Paid Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดภาวะเงินเฟ้อชะลอลงที่ระดับ 72.7 จากระดับ 76.5 และ Employment Index เพิ่มขึ้น
ที่ระดับ 52.1 จากระดับ 50.8 อนึ่ง ภาคบริการของ สรอ. มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 80 ของระบบเศรษฐกิจ สรอ. ครอบคลุมธุรกิจหลักต่างๆ
อาทิเช่น สถาบันการเงิน ธุรกิจการบิน โรงแรมและร้านอาหาร (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน ธ.ค.50 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ต่อปีเท่ากับเดือนก่อนรายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ
4 ม.ค.51 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานประมาณการเบื้องต้นอัตราเงินเฟ้อของ Euro zone เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ต่อปี
ในเดือน ธ.ค.50 เท่ากับเดือนก่อน เป็นไปตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ จากผลกระทบของราคาอาหารและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยอยู่ในระดับ
สูงกว่าที่ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ตั้งเป้าไว้ว่าจะพยายามรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่า ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบันต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
ทั้งนี้ ECB ยังไม่ได้แจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับประมาณการอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวจนกว่าจะถึงวันที่ 16 ม.ค.51 นี้ (รอยเตอร์)
4. เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้น รายงานจากโซล เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 51
ก.พาณิชย์เกาหลีใต้เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้วเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment - FDI) ของ
เกาหลีใต้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 และคาดว่าในปีนี้ FDI จะยังคงไหลเข้ามาลงทุนในเกาหลีใต้ เนื่องจากการควบรวม
กิจการทั่วโลกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว FDI เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าร้อยละ 12.6 อยู่ที่ระดับ
4.19 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 เมื่อไตรมาสที่ 3 ปี 50 ทั้งนี้นาย Lee Myun — Bak ประธานาธิบดีให้คำมั่นสัญญาว่า
จะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศให้มากขึ้นกว่านี้ อย่างไรก็ตามตลอดทั้งปีที่แล้ว FDI ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
ร้อยละ 6.5 อยู่ที่ระดับ 10.5 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ขณะที่ทางการเกาหลีใต้คาดว่าในปีนี้จะมี FDI มากกว่า
10 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7 ม.ค. 51 4 ม.ค. 51 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.458 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.2400/33.5778 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.33859 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 821.71/22.43 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,400/13,500 13,500/13,600 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 92.06 92.39 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.29*/29.74* 33.29*/29.74* 26.49/23.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ม.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--