ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนมีนาคม ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดย ด้านอุปทาน ผลผลิตเกษตรส่วนใหญ่ลดลง ขณะที่ราคาข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันเส้นยังคงสูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน สำหรับภาคอุตสาหกรรมยังขยายตัวโดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำตาล และเครื่องดื่ม ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังชะลอตัว ด้านอุปสงค์ ชะลอตัวต่อเนื่องตามการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนที่ลดลงอย่างชัดเจน ทางด้านมูลค่าการค้าชายแดนไทย - ลาวขยายตัวแต่มูลค่าการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา ลดลงตามการส่งออกเป็นสำคัญ การจัดเก็บภาษีอากรของภาครัฐเพิ่มขึ้นทุกประเภท สำหรับเงินฝากขยายตัวแต่สินเชื่อชะลอตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อย อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.7
ไตรมาสแรกปีนี้ ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชะลอตัวจากไตรมาสก่อน โดย ด้านอุปทาน ผลผลิตเกษตร ได้แก่ ข้าวเปลือกและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง แต่มันสำปะหลังเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่สูงขึ้น ยกเว้นราคาหัวมันสำปะหลังที่ลดลงภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ขยายตัวทั้งอุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง และอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ด้านอุปสงค์ชะลอตัวตามการลงทุนภาคเอกชนและการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังให้ความสนใจลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะด้านพลังงานทดแทน อาทิ โครงการผลิตเอทานอล โครงการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น การจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นด้านมูลค่าการค้าชายแดนไทย - ลาว ยังขยายตัวทั้งการส่งออกและการนำเข้า แต่มูลค่าการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา ลดลงตามการส่งออกเป็นสำคัญ สำหรับเงินฝากยังขยายตัวแต่สินเชื่อชะลอตัวจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.2
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตรกรรม ในเดือนมีนาคม ผลผลิตเกษตรส่วนใหญ่ออกสู่ตลาดลดลงทั้งข้าวเปลือก มันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดู ราคาพืชผลสำคัญส่วนใหญ่สูงขึ้น ในขณะที่ราคาหัวมันสำปะหลังยังลดลง เนื่องจากผลผลิตปีนี้มีมากกว่าปีก่อน ราคาขายส่งข้าวเปลือกหอมมะลิเฉลี่ยเกวียนละ 8,906 บาท สูงขึ้นร้อยละ 9.0 ราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ยเกวียนละ 10,741 บาท สูงขึ้นร้อยละ 58.5 ราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.75 บาท สูงขึ้นร้อยละ 52.0 แต่ราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.18 บาท ลดลงร้อยละ 15.1 อย่างไรก็ตาม ราคามันเส้นยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจาก ความต้องการของโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศมีต่อเนื่อง โดยราคาขายส่งมันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.04 บาท สูงขึ้นร้อยละ 2.4
ไตรมาสแรกปีนี้ ผลผลิตข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง แต่ผลผลิตหัวมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น สำหรับราคา สินค้าเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีตามการเพิ่มขึ้นของความต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยราคาขายส่งข้าวเปลือกหอมมะลิเฉลี่ยเกวียนละ 8,691 บาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.2 ราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ยเกวียนละ 10,555 บาท สูงขึ้นร้อยละ 59.8 ราคาขายส่งมันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.05 บาท เท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้นมาก เนื่องจากผลผลิตมีน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงงานอาหารสัตว์ โดยราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.22 บาท สูงขึ้นถึงร้อยละ 45.3 อย่างไรก็ตาม ราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.16 บาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.9
2. ภาคอุตสาหกรรม ในเดือนมีนาคม การผลิตภาคอุตสาหกรรมสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัวโดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำตาล ซึ่งผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3 เท่าตัว เนื่องจากมีปริมาณอ้อยมากกว่าปีก่อน และมีการตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ในภาคที่จังหวัดสุรินทร์อีก 1 แห่ง และอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ขยายตัวต่อเนื่องตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะ สปป. ลาว และกัมพูชา ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังชะลอตัว เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบลดลงไตรมาสแรกปีนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว โดยอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง และอุตสาหกรรมน้ำตาล ขยายตัวตามปริมาณวัตถุดิบและความต้องการจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน สำหรับอุตสาหกรรม เครื่องดื่มยังขยายตัวดี ตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
3. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ในเดือนมีนาคมการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลง โดยเครื่องชี้ที่สำคัญ คือ การจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ลดลงทุกประเภท กล่าวคือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลจำนวน 2,878 คัน รถบรรทุกส่วนบุคคล 5,439 คัน และรถจักรยานยนต์ 32,416 คัน ลดลงร้อยละ 11.9 ร้อยละ 12.5 และร้อยละ 25.7 ตามลำดับ ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 591.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.9 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8
ไตรมาสแรกปีนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ประชาชน สถาบันการเงินค่อนข้างเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้ยอดการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 9,549 คัน และรถจักรยานยนต์ 95,459 คัน ลดลงร้อยละ 2.8 และร้อยละ 19.4 ส่วนการจดทะเบียนรถบรรทุกส่วนบุคคล 17,966 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เนื่องจากยังเป็น ที่นิยมใช้ในต่างจังหวัด ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,895.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.9
4. การลงทุนภาคเอกชน ในเดือนมีนาคมการลงทุนภาคเอกชนลดลง โดยเครื่องชี้ที่สำคัญ คือ ทุนจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ทั้งบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด 606.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.2 เป็นการลดลงของธุรกิจประเภทก่อสร้างและโรงงานอุตสาหกรรม เงินลงทุนในโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 852.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 42.9 ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็กได้แก่ โรงสีข้าวโครงการผลิตแป้งแปรรูป โครงการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก เป็นต้น อีกทั้ง พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้าง 145,371 ตารางเมตรลดลงร้อยละ 29.5 ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชยกรรมซึ่งลดลงจากปีก่อนกว่าร้อยละ 50 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ในเดือนที่แล้ว
ไตรมาสแรกปีนี้ การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว เนื่องจากนักลงทุนยังรอดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และสถานการณ์การเมืองของประเทศ รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยทุนจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ 1,722.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.8 ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของธุรกิจประเภทก่อสร้างและธุรกิจค้าส่ง - ค้าปลีก พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้าง 433,201 ตารางเมตร ลดลงถึงร้อยละ 41.5 อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการลงทุนในระยะต่อไปของภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีเงินลงทุน 6,006.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าตัว และโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการผลิตเอทานอล โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล และโรงสีข้าวคุณภาพดี เป็นต้น
5. ภาคการคลัง ในเดือนมีนาคมรายได้ของภาครัฐบาลที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น โดยสามารถจัดเก็บได้ 4,047.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 จำแนกได้เป็น ภาษีสรรพากร 2,553.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นเพราะเป็นเดือนสุดท้ายของการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 ภาษีสรรพสามิต 1,483.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของภาษีสุราเป็นสำคัญ ด้านอากรขาเข้าที่จัดเก็บจากด่านศุลกากร 9.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ส่วนใหญ่ เป็นการจัดเก็บจากการนำเข้าสินแร่ทองแดงทางด่านศุลกากรมุกดาหาร ไตรมาสแรกปีนี้ รายได้ของภาครัฐบาลที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น โดยสามารถจัดเก็บได้ 8,902.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.1 จากการจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น โดยภาษีสรรพากร 5,397.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในส่วนภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 3,480.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เป็นการเพิ่มขึ้น ของภาษีสุราเป็นสำคัญ แต่อากรขาเข้าซึ่งเก็บจากด่านศุลกากรในภาครวม 25.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.9
6. การค้าชายแดน ในเดือนมีนาคมการค้าชายแดนไทย - ลาว ยังขยายตัวดี ทั้งการส่งออกและการนำเข้า โดยมีมูลค่าการค้า 4,928.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 จำแนกเป็นมูลค่าการส่งออก 3,679.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าทุนที่ทางลาวนำไปก่อสร้างเขื่อน และโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ที่เหลือเป็นการส่งออกรถยนต์นั่งใหม่ และรถยนต์ใช้งานประเภทอื่น ๆ น้ำมันปิโตรเลียมและวัสดุก่อสร้าง สำหรับมูลค่าการนำเข้า 1,248.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.1 ส่วนใหญ่ยังเป็นการนำเข้าสินแร่ทองแดงเป็นสำคัญ ด้านการค้าไทย - กัมพูชา ลดลง โดยมีมูลค่าการค้า 3,348.3 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 10.7 เป็นการส่งออก 3,236.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.2 อย่างไรก็ตาม การนำเข้ายังเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า วัสดุใช้แล้ว (เหล็ก อลูมิเนียม กระดาษ) และผลิตภัณฑ์ไม้ มูลค่าการนำเข้า 112.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9
ไตรมาสแรกปีนี้ การค้าชายแดนไทย - ลาว ยังขยายตัวดี เนื่องจากทางลาวมีความต้องการสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปก่อสร้างเขื่อนและสาธารณูปโภคพื้นฐานหลายโครงการ มูลค่าการค้า 12,871.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.5 จำแนกเป็นมูลค่าการส่งออก 10,040.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกน้ำมันปิโตรเลียม และ รถยนต์นั่งใหม่ และรถเพื่อใช้งานด้านการเกษตร เป็นต้น ส่วนมูลค่าการนำเข้า 2,831.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ได้แก่ สินแร่ทองแดง ยานพาหนะและอุปกรณ์ส่วนประกอบ ข้าวโพด เป็นต้น ด้านการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา ลดลง มีมูลค่าการค้า 8,881.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.9 เป็นการลดลงของการส่งออกซึ่งมีมูลค่า 8,603.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.2 สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ยานพาหนะและส่วนประกอบ วัสดุก่อสร้าง น้ำมันปิโตรเลียมและน้ำตาล แต่การนำเข้ายังเพิ่มขึ้น มูลค่า 278.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ได้แก่ วัสดุที่ใช้แล้ว เช่น เหล็ก อลูมิเนียม กระดาษ ผลิตภัณฑ์ไม้
7. ระดับราคา ในเดือนมีนาคมอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.7 เป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 5.8 โดยราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ได้แก่ ข้าวสารเหนียว ผักและผลไม้ และน้ำอัดลม ส่วนราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.8 เนื่องจากค่าโดยสารสาธารณะและค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ไตรมาสแรกปีนี้ อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากไตรมาสแรกของปีก่อนร้อยละ 3.2 เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 7.6 โดยเฉพาะสินค้าประเภทผักและผลไม้ และข้าวสารเหนียว ส่วนหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.6 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
8. ภาคการจ้างงาน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ภาวะการทำงานของประชากรในภาคมีกำลังแรงงานรวม 11.2 ล้านคน เป็นผู้ว่างงาน 0.2 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.8 และเป็นผู้มีงานทำ 10.8 ล้านคน โดยเป็นแรงงานในภาคเกษตร 4.8 ล้านคน และเป็นแรงงานนอกภาคเกษตร 6.0 ล้านคน ส่วนใหญ่ทำงานในสาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน
ในเดือนมีนาคม ภาวะการจงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีตำแหน่งงานว่าง 7,050 อัตรา ลดลง ร้อยละ 3.1โดยมีผู้สมัครงาน 8,833 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 2,927 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 อัตราส่วน การบรรจุเข้าทำงานต่อผู้สมัครงานเป็นร้อยละ 33.1 และต่อตำแหน่งงานว่าง ร้อยละ 41.5 สำหรับคนไทยในภาคที่เดินทางไปทำงาน ยังต่างประเทศจำนวน 6,525 คน ลดลงร้อยละ 25.7 ไตรมาสแรกปีนี้ ภาวะการจ้างงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี ตำแหน่งงานว่าง 14,175 อัตรา ลดลงร้อยละ 36.8 มีผู้สมัครงาน 21,413 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 และมีผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน เพียง 5,596 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 อาชีพส่วนใหญ่ อยู่ในงานพื้นฐาน เช่น ผู้ช่วยงานบ้าน และพนักงานทำความสะอาด สำหรับคนไทยในภาคที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศมีจำนวน 22,422 คน ลดลงร้อยละ 15.1
9. ภาคการเงิน ณ สิ้นกุมภาพันธ์ 2550 ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินฝากคงค้าง 341,110 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ส่วนสินเชื่อคงค้าง 315,227 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 สินเชื่อที่ขยายตัวได้แก่ สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเช่าซื้อของธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเป็นร้อยละ 92.4
ไตรมาสแรกปีนี้ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคงค้างชะลอตัวในช่วงต้นไตรมาส และได้เพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากมีการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการโดยการโอนเงินผ่านธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ทางด้านสินเชื่อขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากธนาคารเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ส่วนใหญ่จะปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสแรกนี้ ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ประเภทสินเชื่ออุปโภคบริโภคโดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : นายโรจน์ลักษณ์ ปรีชา โทร. 0-4333-3000 ต่อ 3421 e-mail: [email protected]
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ไตรมาสแรกปีนี้ ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชะลอตัวจากไตรมาสก่อน โดย ด้านอุปทาน ผลผลิตเกษตร ได้แก่ ข้าวเปลือกและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง แต่มันสำปะหลังเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่สูงขึ้น ยกเว้นราคาหัวมันสำปะหลังที่ลดลงภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ขยายตัวทั้งอุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง และอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ด้านอุปสงค์ชะลอตัวตามการลงทุนภาคเอกชนและการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังให้ความสนใจลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะด้านพลังงานทดแทน อาทิ โครงการผลิตเอทานอล โครงการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น การจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นด้านมูลค่าการค้าชายแดนไทย - ลาว ยังขยายตัวทั้งการส่งออกและการนำเข้า แต่มูลค่าการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา ลดลงตามการส่งออกเป็นสำคัญ สำหรับเงินฝากยังขยายตัวแต่สินเชื่อชะลอตัวจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.2
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตรกรรม ในเดือนมีนาคม ผลผลิตเกษตรส่วนใหญ่ออกสู่ตลาดลดลงทั้งข้าวเปลือก มันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดู ราคาพืชผลสำคัญส่วนใหญ่สูงขึ้น ในขณะที่ราคาหัวมันสำปะหลังยังลดลง เนื่องจากผลผลิตปีนี้มีมากกว่าปีก่อน ราคาขายส่งข้าวเปลือกหอมมะลิเฉลี่ยเกวียนละ 8,906 บาท สูงขึ้นร้อยละ 9.0 ราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ยเกวียนละ 10,741 บาท สูงขึ้นร้อยละ 58.5 ราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.75 บาท สูงขึ้นร้อยละ 52.0 แต่ราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.18 บาท ลดลงร้อยละ 15.1 อย่างไรก็ตาม ราคามันเส้นยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจาก ความต้องการของโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศมีต่อเนื่อง โดยราคาขายส่งมันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.04 บาท สูงขึ้นร้อยละ 2.4
ไตรมาสแรกปีนี้ ผลผลิตข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง แต่ผลผลิตหัวมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น สำหรับราคา สินค้าเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีตามการเพิ่มขึ้นของความต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยราคาขายส่งข้าวเปลือกหอมมะลิเฉลี่ยเกวียนละ 8,691 บาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.2 ราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ยเกวียนละ 10,555 บาท สูงขึ้นร้อยละ 59.8 ราคาขายส่งมันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.05 บาท เท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้นมาก เนื่องจากผลผลิตมีน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงงานอาหารสัตว์ โดยราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.22 บาท สูงขึ้นถึงร้อยละ 45.3 อย่างไรก็ตาม ราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.16 บาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.9
2. ภาคอุตสาหกรรม ในเดือนมีนาคม การผลิตภาคอุตสาหกรรมสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัวโดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำตาล ซึ่งผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3 เท่าตัว เนื่องจากมีปริมาณอ้อยมากกว่าปีก่อน และมีการตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ในภาคที่จังหวัดสุรินทร์อีก 1 แห่ง และอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ขยายตัวต่อเนื่องตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะ สปป. ลาว และกัมพูชา ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังชะลอตัว เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบลดลงไตรมาสแรกปีนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว โดยอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง และอุตสาหกรรมน้ำตาล ขยายตัวตามปริมาณวัตถุดิบและความต้องการจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน สำหรับอุตสาหกรรม เครื่องดื่มยังขยายตัวดี ตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
3. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ในเดือนมีนาคมการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลง โดยเครื่องชี้ที่สำคัญ คือ การจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ลดลงทุกประเภท กล่าวคือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลจำนวน 2,878 คัน รถบรรทุกส่วนบุคคล 5,439 คัน และรถจักรยานยนต์ 32,416 คัน ลดลงร้อยละ 11.9 ร้อยละ 12.5 และร้อยละ 25.7 ตามลำดับ ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 591.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.9 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8
ไตรมาสแรกปีนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ประชาชน สถาบันการเงินค่อนข้างเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้ยอดการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 9,549 คัน และรถจักรยานยนต์ 95,459 คัน ลดลงร้อยละ 2.8 และร้อยละ 19.4 ส่วนการจดทะเบียนรถบรรทุกส่วนบุคคล 17,966 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เนื่องจากยังเป็น ที่นิยมใช้ในต่างจังหวัด ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,895.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.9
4. การลงทุนภาคเอกชน ในเดือนมีนาคมการลงทุนภาคเอกชนลดลง โดยเครื่องชี้ที่สำคัญ คือ ทุนจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ทั้งบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด 606.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.2 เป็นการลดลงของธุรกิจประเภทก่อสร้างและโรงงานอุตสาหกรรม เงินลงทุนในโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 852.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 42.9 ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็กได้แก่ โรงสีข้าวโครงการผลิตแป้งแปรรูป โครงการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก เป็นต้น อีกทั้ง พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้าง 145,371 ตารางเมตรลดลงร้อยละ 29.5 ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการพาณิชยกรรมซึ่งลดลงจากปีก่อนกว่าร้อยละ 50 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ในเดือนที่แล้ว
ไตรมาสแรกปีนี้ การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว เนื่องจากนักลงทุนยังรอดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และสถานการณ์การเมืองของประเทศ รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยทุนจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ 1,722.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.8 ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของธุรกิจประเภทก่อสร้างและธุรกิจค้าส่ง - ค้าปลีก พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้าง 433,201 ตารางเมตร ลดลงถึงร้อยละ 41.5 อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการลงทุนในระยะต่อไปของภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีเงินลงทุน 6,006.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าตัว และโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการผลิตเอทานอล โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล และโรงสีข้าวคุณภาพดี เป็นต้น
5. ภาคการคลัง ในเดือนมีนาคมรายได้ของภาครัฐบาลที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น โดยสามารถจัดเก็บได้ 4,047.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 จำแนกได้เป็น ภาษีสรรพากร 2,553.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นเพราะเป็นเดือนสุดท้ายของการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 ภาษีสรรพสามิต 1,483.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของภาษีสุราเป็นสำคัญ ด้านอากรขาเข้าที่จัดเก็บจากด่านศุลกากร 9.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ส่วนใหญ่ เป็นการจัดเก็บจากการนำเข้าสินแร่ทองแดงทางด่านศุลกากรมุกดาหาร ไตรมาสแรกปีนี้ รายได้ของภาครัฐบาลที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น โดยสามารถจัดเก็บได้ 8,902.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.1 จากการจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น โดยภาษีสรรพากร 5,397.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในส่วนภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 3,480.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เป็นการเพิ่มขึ้น ของภาษีสุราเป็นสำคัญ แต่อากรขาเข้าซึ่งเก็บจากด่านศุลกากรในภาครวม 25.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.9
6. การค้าชายแดน ในเดือนมีนาคมการค้าชายแดนไทย - ลาว ยังขยายตัวดี ทั้งการส่งออกและการนำเข้า โดยมีมูลค่าการค้า 4,928.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 จำแนกเป็นมูลค่าการส่งออก 3,679.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าทุนที่ทางลาวนำไปก่อสร้างเขื่อน และโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง ที่เหลือเป็นการส่งออกรถยนต์นั่งใหม่ และรถยนต์ใช้งานประเภทอื่น ๆ น้ำมันปิโตรเลียมและวัสดุก่อสร้าง สำหรับมูลค่าการนำเข้า 1,248.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.1 ส่วนใหญ่ยังเป็นการนำเข้าสินแร่ทองแดงเป็นสำคัญ ด้านการค้าไทย - กัมพูชา ลดลง โดยมีมูลค่าการค้า 3,348.3 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 10.7 เป็นการส่งออก 3,236.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.2 อย่างไรก็ตาม การนำเข้ายังเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า วัสดุใช้แล้ว (เหล็ก อลูมิเนียม กระดาษ) และผลิตภัณฑ์ไม้ มูลค่าการนำเข้า 112.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9
ไตรมาสแรกปีนี้ การค้าชายแดนไทย - ลาว ยังขยายตัวดี เนื่องจากทางลาวมีความต้องการสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปก่อสร้างเขื่อนและสาธารณูปโภคพื้นฐานหลายโครงการ มูลค่าการค้า 12,871.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.5 จำแนกเป็นมูลค่าการส่งออก 10,040.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกน้ำมันปิโตรเลียม และ รถยนต์นั่งใหม่ และรถเพื่อใช้งานด้านการเกษตร เป็นต้น ส่วนมูลค่าการนำเข้า 2,831.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 ได้แก่ สินแร่ทองแดง ยานพาหนะและอุปกรณ์ส่วนประกอบ ข้าวโพด เป็นต้น ด้านการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา ลดลง มีมูลค่าการค้า 8,881.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.9 เป็นการลดลงของการส่งออกซึ่งมีมูลค่า 8,603.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.2 สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ยานพาหนะและส่วนประกอบ วัสดุก่อสร้าง น้ำมันปิโตรเลียมและน้ำตาล แต่การนำเข้ายังเพิ่มขึ้น มูลค่า 278.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ได้แก่ วัสดุที่ใช้แล้ว เช่น เหล็ก อลูมิเนียม กระดาษ ผลิตภัณฑ์ไม้
7. ระดับราคา ในเดือนมีนาคมอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.7 เป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 5.8 โดยราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ได้แก่ ข้าวสารเหนียว ผักและผลไม้ และน้ำอัดลม ส่วนราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.8 เนื่องจากค่าโดยสารสาธารณะและค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้น สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ไตรมาสแรกปีนี้ อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากไตรมาสแรกของปีก่อนร้อยละ 3.2 เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 7.6 โดยเฉพาะสินค้าประเภทผักและผลไม้ และข้าวสารเหนียว ส่วนหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.6 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
8. ภาคการจ้างงาน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ภาวะการทำงานของประชากรในภาคมีกำลังแรงงานรวม 11.2 ล้านคน เป็นผู้ว่างงาน 0.2 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.8 และเป็นผู้มีงานทำ 10.8 ล้านคน โดยเป็นแรงงานในภาคเกษตร 4.8 ล้านคน และเป็นแรงงานนอกภาคเกษตร 6.0 ล้านคน ส่วนใหญ่ทำงานในสาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน
ในเดือนมีนาคม ภาวะการจงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีตำแหน่งงานว่าง 7,050 อัตรา ลดลง ร้อยละ 3.1โดยมีผู้สมัครงาน 8,833 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 2,927 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 อัตราส่วน การบรรจุเข้าทำงานต่อผู้สมัครงานเป็นร้อยละ 33.1 และต่อตำแหน่งงานว่าง ร้อยละ 41.5 สำหรับคนไทยในภาคที่เดินทางไปทำงาน ยังต่างประเทศจำนวน 6,525 คน ลดลงร้อยละ 25.7 ไตรมาสแรกปีนี้ ภาวะการจ้างงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี ตำแหน่งงานว่าง 14,175 อัตรา ลดลงร้อยละ 36.8 มีผู้สมัครงาน 21,413 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 และมีผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน เพียง 5,596 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 อาชีพส่วนใหญ่ อยู่ในงานพื้นฐาน เช่น ผู้ช่วยงานบ้าน และพนักงานทำความสะอาด สำหรับคนไทยในภาคที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศมีจำนวน 22,422 คน ลดลงร้อยละ 15.1
9. ภาคการเงิน ณ สิ้นกุมภาพันธ์ 2550 ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินฝากคงค้าง 341,110 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ส่วนสินเชื่อคงค้าง 315,227 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 สินเชื่อที่ขยายตัวได้แก่ สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเช่าซื้อของธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเป็นร้อยละ 92.4
ไตรมาสแรกปีนี้ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคงค้างชะลอตัวในช่วงต้นไตรมาส และได้เพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากมีการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการโดยการโอนเงินผ่านธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ทางด้านสินเชื่อขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากธนาคารเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ส่วนใหญ่จะปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสแรกนี้ ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ประเภทสินเชื่ออุปโภคบริโภคโดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
ข้อมูลเพิ่มเติม : นายโรจน์ลักษณ์ ปรีชา โทร. 0-4333-3000 ต่อ 3421 e-mail: [email protected]
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--