สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนมีนาคม 2549

ข่าวเศรษฐกิจ Saturday April 29, 2006 17:34 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          เดือนมีนาคม 2549 ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงขยายตัว เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคามันสำปะหลังและราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวลดลง การผลิตของอุตสาหกรรมสำคัญในภาคฯ เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายภาคเอกชนยังขยายตัว สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชน ภาคการก่อสร้างขยายตัว การจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 6.2 การค้าชายแดนขยายตัวทั้งด้านไทย-ลาวและไทย-กัมพูชา
1. ภาคการเกษตร
ในเดือนนี้ผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดลดลงจากผลของการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ส่งผลให้ราคาปรับตัว สูงขึ้น ขณะที่หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ราคาปรับตัวลดลง ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความต้องการของพ่อค้าคนกลาง ลดลง ทำให้ราคาปรับตัวลดลงเล็กน้อย
ข้าว ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง เนื่องจากชาวนาจำนำผลผลิตกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือก กอปรกับโรงสี มีความต้องการสต็อกข้าวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำฯ ส่งผลให้ข้าวเปลือกราคาสูงขึ้น โดยราคาขายส่งข้าวเปลือกเจ้า 5% เฉลี่ยเกวียนละ 8,167 บาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนราคาเกวียนละ 7,829 บาท และเทียบกับเดือนก่อนราคาเกวียนละ 7,915 บาท สูงขึ้นร้อยละ 4.3 และร้อยละ 3.2 ตามลำดับ ราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนยว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ย เกวียนละ 6,776 บาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 5,829 บาท และเดือนก่อนราคาเกวียนละ 6,652 บาท สูงขึ้น ร้อยละ 16.3 และร้อยละ 1.9 ตามลำดับ
มันสำปะหลัง เกษตรกรเร่งขุดผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น เพื่อเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกในฤดูการผลิตหน้า เนื่องจากราคายังจูงใจ ขณะที่ความต้องการของโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังชะลอลง ส่งผลราคาขายส่งหัวมันสำปะหลัง เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.39 บาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 1.49 บาท และเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.45 บาท ลดลง ร้อยละ 6.7 และร้อยละ 4.1 ตามลำดับ ส่วนราคาขายส่งมันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.97 บาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน กิโลกรัมละ 3.03 บาท และเดือนก่อนกิโลกรัมละ 3.05 บาท ลดลงร้อยละ 2.0 และร้อยละ 2.6 ตามลำดับ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความต้องการของตลาดยังอยู่ในเกณฑ์สูง ส่งผลให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น จากเดือนก่อน โดยราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.10 บาท เทียบกับเดือนก่อนกิโลกรัมละ 4.96 บาท สูงขึ้น ร้อยละ 2.8 และราคาใกล้เคียงกับเดือนเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 5.12 บาท
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนยังขยายตัว เห็นได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 586.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 36.6 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 429.1 ล้านบาท โดยเฉพาะในจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และสกลนครยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น กิจการสำคัญที่ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ โรงงานเบียร์ โรงงานชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ โรงงานอาหารสัตว์ โรงงานผลิตชิ้นส่วนวิทยุโทรทัศน์ ตัวแทนจำหน่ายสุรา-เบียร์ และธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัย 340.0 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 336.3 ล้านหน่วย ผลจากสภาพอากาศร้อนจัด
ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์แข่งขันกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และเสนอเงื่อนไขการเช่าซื้อรถยนต์ที่น่าสนใจ ทำให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 6,214 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ส่วนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลใหม่ 3,265 คัน ลดลง ร้อยละ 1.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้ซื้อระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น ปริมาณการจดทะเบียน
รถจักรยานยนต์ 43,633 คัน ลดลงร้อยละ 2.7 เนื่องจากบริษัทเอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ รถจักรยานยนต์มากขึ้น ประกอบกับผู้ซื้อมีกำลังซื้อลดลง ตามภาระค่าครองชีพและภาระหนี้ที่สูงขึ้น
3. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนในเดือนนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
เดือนนี้ มีกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 7 โครงการ ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.2 แต่ใช้เงินลงทุน 1,491.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ใช้เงินทุน 1,375.0 ล้านบาท โครงการในเดือนนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ได้แก่ โครงการผลิตชิ้นส่วนโลหะ โครงการผลิตชุดหุ้มเบาะรถยนต์ และ โครงการผลิตอุปกรณ์เครื่องจักรอุตสาหกรรม อุปกรณ์สำหรับงานตัด ในหมวดอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ โครงการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โครงการผลิตเอทานอล โครงการผลิตไก่เนื้อ และโครงการผลิตผงแม่เหล็ก
ภาคการค้า มีการจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่จำนวน 277 ราย เงินทุน 779.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.5 และร้อยละ 21.8 ตามลำดับ ประเภทของธุรกิจที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจรับเหมา ก่อสร้าง ธุรกิจจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า และธุรกิจให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ในส่วนโรงงานอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนนิติบุคคล ได้แก่ โรงสีข้าว โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และโรงงานผลิตน้ำมันพืช ฯลฯ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า เพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม 452.0 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 439.1 ล้านหน่วย
4. ภาคการก่อสร้าง
เดือนนี้มีพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร 206,639 ตารางเมตร เทียบกับเดือนก่อน 357,658 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 42.2 แต่เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 200,251 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2
จังหวัดขอนแก่นมีการขออนุญาตก่อสร้างมากที่สุดในภาคฯ 44,189 ตารางเมตร รองลงมาจังหวัดอุดรธานี 40,823 ตารางเมตร อุบลราชธานี 15,005 ตารางเมตร และนครราชสีมา 14,881 ตารางเมตร
พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.8 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอุดรธานี อาคารพาณิชย์ สัดส่วนร้อยละ 34.3 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดขอนแก่นและเพื่อการบริการ สัดส่วนร้อยละ 9.5 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดขอนแก่นและชัยภูมิ
5. การผลิตภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญของภาคฯ เดือนนี้เพิ่มขึ้นทั้งโรงงานน้ำตาล โรงงานแปรรูปมันสำปะหลัง
โรงงานน้ำตาลผลิตน้ำตาลได้ 84,219 ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 83.3 เนื่องจากฐานการผลิตในช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อนต่ำ โดยเป็นเดือนที่ปิดหีบ
การผลิตของโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังยังผลิตได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีหัวมันสำปะหลังออกสู่ท้องตลาดมาก แต่ในเดือนนี้คำสั่งซื้อจากประเทศจีนชะลอลง เนื่องจากมีสต็อคสินค้าในตลาดจีนเป็นจำนวนมาก
6. ภาคการจ้างงาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ตำแหน่งงานว่างในภาคฯ ลดลง สวนทางกับผู้สมัครงานคนที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงานและคนไทยในภาคฯ ขออนุญาตเพื่อไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้น
จากข้อมูลของศูนย์ข่าวสารตลาดแรงงานภาคฯ ผู้สมัครงานและผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานเพิ่มขึ้น แต่ตำแหน่งงานว่างผ่านหน่วยงานจัดหางานของรัฐลดลง
1) เดือนนี้มีผู้สมัครงาน 8,381 คน เทียบกับเดือนก่อน ผู้สมัครงาน 5,523 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.7 แต่เมื่อ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนผู้สมัครงาน 4,803 คน ลดลงร้อยละ 15.3
ผู้สมัครงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ 753 คน บุรีรัมย์ 751 คนและร้อยเอ็ด 666 คน ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 18—24 ปี วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย สนใจอาชีพงานพื้นฐาน เช่น ผู้ช่วยงานบ้าน และพนักงาน ทำความสะอาด
2) ตำแหน่งงานว่าง 7,273 อัตรา เทียบกับเดือนก่อน ตำแหน่งงานว่าง 8,248 อัตรา และเมื่อเทียบกับเดือน เดียวกันของปีก่อนตำแหน่งงานว่าง 15,091 อัตรา ลดลงร้อยละ 11.8 และร้อยละ 51.8 ตามลำดับ
ตำแหน่งงานว่างส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี 924 อัตรา สกลนคร855 อัตรา และสุรินทร์ 599 อัตรา ส่วนใหญ่ต้องการผู้มีอายุระหว่าง 18 — 24 ปี วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ส่วนใหญ่เป็นงานใน อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม 3,265 อัตรา ขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ 1,280 อัตรา
3) ผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 2,710 คน มากกว่าเดือนก่อนมีผู้ได้รับบรรจุเข้าทำงาน 1,352 คน มากกว่าเท่าตัว และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 2,459 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2
ผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ 430 คน อุบลราชธานี 337 คน และร้อยเอ็ด 298 คน อายุระหว่าง 18 — 24 ปี วุฒการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ส่วนใหญ่เป็นงานในโรงงานผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม 1,143 คน การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ 698 คน
อัตราส่วนการบรรจุเข้าทำงานต่อผู้สมัครงานคิดเป็นร้อยละ 32.3 และต่อตำแหน่งงานว่างคิดเป็นร้อยละ 37.3
จากข้อมูลของสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ พบว่าเดือนนี้ คนไทยในภาคตะวันออก เฉียงเหนือขออนุญาตเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ 8,784 คน เพื่อไปทำงานใน 69 ประเทศ จากคนไทยทั้งประเทศที่เดินทางไปทำงานใน 85 ประเทศ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63.0 ของคนไทยที่ขออนุญาตจากทั้งประเทศ 13,942 คน) เทียบกับเดือนก่อน 9,396 คน ลดลงร้อยละ 6.5 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 5,439 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.5
จังหวัดอุดรธานีมีคนไทยขออนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดในภาคฯ 1,789 คน รองลงมาคือ นครราชสีมา 1,264 คน ขอนแก่น 807 คน บุรีรัมย์ 720 คน หนองคาย 681 คน และชัยภูมิ 574 คน
ไต้หวันเป็นประเทศที่คนไทยในภาคฯ เดินทางไปทำงานมากที่สุด 4,484 คน รองลงมาเป็นเกาหลีใต้ 1,185 คน สิงคโปร์ 945 คน บรูไน 365 คน กาตาร์ 364 คน และฮ่องกง 166 คน รวมจำนวนคนงานไทยที่ขออนุญาตไปทำงานใน 6 ประเทศจำนวน 7,509 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85.5 ของคนไทยในภาคฯที่ขออนุญาตเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ
เดือนนี้ คนไทยในภาคฯ เดินทางโดยให้บริษัทจัดหางานเป็นผู้ส่งมากที่สุด 3,866 คน รองลงมาเป็นแบบ RE-ENTRY 3,111 คน สำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคฯ จัดส่ง 918 คน เดินทางด้วยตนเอง 593 คน นายจ้างพาไปทำงาน 170 คน และนายจ้างพาไปฝึกงาน 126 คน
คนไทยที่ขออนุญาตไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้ ร้อยละ 53.5 จบวุฒิการศึกษาประโยคประถมศึกษา รองลงมาจบประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 21.5 และประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 11.8
7. การค้าชายแดน
7.1 การค้าชายแดนไทย-ลาว มีมูลค่าการค้า 3,003.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน ของปีก่อนที่มีมูลค่าการค้า 2,137.0 ล้านบาท โดยเป็นการส่งออก 2,360.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.9 และการนำเข้า 642.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.1
การส่งออก เพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน (ผงชูรส ผงซักฟอก น้ำปลา ฯลฯ) 376.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 302.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.7 น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่นๆ 288.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.6 วัสดุก่อสร้าง 264.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.0 เครื่องใช้ไฟฟ้า 152.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 เหล็กและเหล็กกล้า 74.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 87.4 คอมพิวเตอร์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ 29.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.6
การนำเข้า สินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 292.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 สินแร่ 242.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7 เท่าตัว โดยนำเข้าสินแร่ทองแดงผ่านทางด่านศุลกากรพิบูลมังสาหารถึง 240.0 ล้านบาท พืชไร่ 56.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.0 แต่มีสินค้าที่นำเข้าลดลง ได้แก่ ยานพาหนะอุปกรณ์ และส่วนประกอบ 25.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.7 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 7.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 59.5 และของป่า 6.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.3
7.2 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา เดือนนี้มีมูลค่าการค้า 3,747.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36.4 โดยเป็นการส่งออก 3,642.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.8 และนำเข้า 105.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 34.8
การส่งออกสินค้าเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวดสินค้าทุนเพิ่มขึ้น สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะ และ ส่วนประกอบ 686.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว น้ำตาล 370.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว วัสดุก่อสร้าง 265.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.6 เครื่องดื่ม 262.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 เครื่องแต่งกายและรองเท้า 227.7 ล้านบาท ขณะที่เดือนเดียวกันของปีก่อน มีการส่งออกเพียง 10.0 ล้านบาท น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 193.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 และสิ่งทอ 167.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.8 ส่วนสินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ 3.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 61.3 และเครื่องจักรกล การเกษตร 0.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 98.5
การนำเข้า สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าเก่า/ผ้าห่มเก่า 20.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 56.0 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (รวมหวาย) 1.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 96.8 ส่วนพืชไร่ 13.2 ล้านบาท ขณะที่เดือนเดียวกันของปีก่อนไม่มีการนำเข้า
8. ภาคการเงิน
ธนาคารพาณิชย์
ณ สิ้นมีนาคม 2549 มีสาขาธนาคารพาณิชย์เปิดดำเนินการในภาคทั้งสิ้น 531 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 75 สำนักงาน)
จากข้อมูลเบื้องต้นธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มีเงินฝากคงค้าง 320,233 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 จากปีก่อน ที่มีเงินฝากคงค้าง 292,092 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อน ที่มีเงินฝากคงค้าง 318,039 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย เงินฝากเพิ่มขึ้นมีส่วนจูงใจผู้ฝากเงิน ด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 281,522 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 จากปีก่อนที่มีสินเชื่อคงค้าง 243,620 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากเดือนก่อน สนเชื่อคงค้าง 274,991 ล้านบาท
อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเดือนนี้ สูงขึ้นจากร้อยละ 83.4 ในเดือนมีนาคมปีก่อนเป็นร้อยละ 87.9 ในเดือนนี้
สินเชื่ออุตสาหกรรมอาหารและยาสูบขยายตัวมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ สินเชื่ออุตสาหกรรมยานพาหนะ สินเชื่อเพื่อการค้าส่งและค้าปลีก สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ส่วนสินเชื่อที่มียอดคงค้างลดลง ได้แก่ สินเชื่อการธนาคารและธุรกิจ การเงิน สินเชื่อเพื่อการบริการ สินเชื่ออุตสาหกรรมธัญพืช ซึ่งเป็นการลดลงของผลผลิตตามฤดูกาล ฯลฯ
เดือนนี้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเกือบทุกประเภทเห็นได้จาก
ด้านเงินฝาก สูงขึ้นทุกประเภท ยกเว้นเงินฝากออมทรัพย์เท่ากับเดือนก่อน
- เงินฝากออมทรัพย์ ร้อยละ 0.75 ต่อปี (เท่ากับเดือนก่อน)
- เงินฝากประเภท 3 เดือน ร้อยละ 3.00-4.50 ต่อปี
(เดือนก่อนร้อยละ 2.50-4.00 ต่อปี)
- เงินฝากประเภท 6 เดือนร้อยละ 3.00-4.75 ต่อปี
(เดือนก่อนร้อยละ 2.75-4.25 ต่อปี)
- เงินฝากประเภท 12 เดือนร้อยละ 3.25-5.00 ต่อปี
(เดือนก่อนร้อยละ 3.00-4.50 ต่อปี)
ด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้นทุกประเภท
- MLR ร้อยละ 7.25-7.80 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 6.75-7.30 ต่อปี)
- MOR ร้อยละ 7.50-8.25 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 7.00-7.75 ต่อปี)
- MRR ร้อยละ 7.70-8.75 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 7.25-8.00 ต่อปี)
ปริมาณการใช้เช็ค
เดือนนี้ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ 330,592 ฉบับ ลดลงร้อยละ 2.6 จากเดือนเดียวกันของ ปีก่อนที่มีการใช้เช็ค 339,520 ฉบับ ในขณะที่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คทั้งสิ้น 49,483.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 จาก เดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีการสั่งจ่าย 44,875.9 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเช็คสั่งจ่ายฉบับละ 149,681 บาท เทียบกับเดือน เดียวกันของปีก่อนเฉลี่ยฉบับละ 132,175 บาท
สำหรับปริมาณเช็คคืนทั้งสิ้น 6,503 ฉบับ ลดลงร้อยละ 4.8 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณเช็คคืน 6,830 ฉบับ แต่จำนวนเงินที่สั่งจ่าย 1,610.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 59.0 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนเงินที่สั่งจ่าย 1,012.5 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนจำนวนเงินตามเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บจากร้อยละ 2.3 ในเดือนเดียวกันของปีก่อนเป็น ร้อยละ 3.3 ในเดือนนี้
ในขณะที่เช็คคืนเพราะไม่มีเงินมีทั้งสิ้น 4,094 ฉบับ ลดลงร้อยละ 3.7 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่มีเช็คคืน เพราะไม่มีเงิน 4,250 ฉบับ แต่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คดังกล่าวมีทั้งสิ้น 963.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 189.6 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีการสั่งจ่าย 332.6 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนจำนวนเงินเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บจากร้อยละ 0.7 ในเดือน เดียวกันของปีก่อน เป็นร้อยละ 1.9 ในเดือนนี้ โดยจังหวัดนครพนมมีอัตราส่วนเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บสูงสุดร้อยละ 4.3 รองลงมาคือ อุดรธานี ร้อยละ 4.0 และนครราชสีมาร้อยละ 3.8
การซื้อ-ขายหลักทรัพย์
เดือนนี้สำนักงานบริการด้านหลักทรัพย์เปิดดำเนินการในภาคฯ 46 สำนักงาน เพิ่มขึ้น 7 สำนักงานจากเดือน เดียวกันของปีก่อน การซื้อหลักทรัพย์ในเดือนนี้มีทั้งสิ้น 3,837.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 39.3 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มี การซื้อหลักทรัพย์ 6,320.6 ล้านบาท ในด้านการขายหลักทรัพย์เดือนนี้มีทั้งสิ้น 3,727.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 34.2 จากเดือนเดียวกัน ของปีก่อน ที่มีการขายหลักทรัพย์ 5,667.4 ล้านบาท ปริมาณซื้อมากกว่าปริมาณขาย 110.9 ล้านบาท
ธนาคารออมสิน เดือนนี้สาขาธนาคารออมสิน 137 สำนักงาน รับฝากเงิน 13,408.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 13.3 มีเงินถอนทั้งสิ้น 16,230.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ทำให้มีเงินฝากคงค้าง 53,555.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีสาขาในภาคฯ ทั้งสิ้น 179 สำนักงาน สินเชื่อเดือนนี้ มีการจ่ายเงินกู้ไปทั้งสิ้น 20,695.0 ลานบาท ลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่ยอดรับชำระเงินคืนทั้งสิ้น 23,759.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.9 ทำให้มีสินเชื่อคงค้างทั้งสิ้น 139,293.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบกับเดือน เดียวกันของปีก่อน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เดือนนี้มีเงินฝากคงค้าง 5,016.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับมีนาคมของปีก่อนที่มียอดเงินฝาก 4,454.1 ล้านบาท ด้านสินเชื่อมียอดคงค้างคงค้าง 63,932.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 เมื่อเทียบกับมีนาคมของปีก่อนที่มียอดสินเชื่อคงค้าง 51,940.4 ล้านบาท
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เดือนนี้มีการอนุมัติสินเชื่อทั้งสิ้น 52 ราย ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีการอนุมัติ 68 ราย แต่จำนวนเงินที่อนุมัติ 366.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 146.5 ส่วนใหญ่เป็นการอนุมัติให้แก่ธุรกิจอาหารและเกษตรอุตสาหกรรม ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจยานยนต์ ยานพาหนะและชิ้นส่วน ธุรกิจการบริการ ฯลฯ
9. การคลังรัฐบาล เดือนนี้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ และด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถจัดเก็บภาษีอากรรวมทั้งสิ้น 3,354.8 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 2,560.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31.0
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ในภาคฯ จัดเก็บภาษีอากรรวม 2,079.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 1,625.1 ล้านบาท เนื่องจากเป็นเดือนสุดท้ายของการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 ทำให้มีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1,084.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.5 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 864.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บภาษีเงินได้จากเงินเดือน และเงินค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานในภาคเอกชนเพิ่มขึ้น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 586.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 36.6 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนจัดเก็บได้ 429.1 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดรธานีเพิ่มขึ้น กิจการสำคัญที่ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ขนาดใหญ่ โรงงานเบียร์ โรงงานชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ โรงงานอาหารสัตว์ โรงงานผลิตชิ้นส่วนวิทยุโทรทัศน์ โรงงานน้ำตาล ตัวแทนจำหน่ายสุรา-เบียร์ กิจการวัสดุก่อสร้าง ภาษีเงินได้นิติบุคคล 180.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 142.5 ล้านบาท ภาคธุรกิจมีผลประกอบการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนวิทยุโทรทัศน์ อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง และอุตสาหกรรมอุปกรณ์ประกอบยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 128.6 ล้านบาท
การคืนภาษี 134.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เนื่องจาก การคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 13.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 112.1 และการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 114.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ส่วนการคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล 5.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 52.2
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ในภาคฯ จัดเก็บภาษีอากรรวม 1,266.8 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 928.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 36.5 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสุรา 1,246.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 38.4 และภาษียาสูบจัดเก็บได้ 2.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.4 แต่ภาษีเครื่องดื่มจัดเก็บได้ 11.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 42.2
ด่านศุลกากรในภาคฯ จัดเก็บอากรขาเข้ารวม 8.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 7.0 ล้านบาท ด่านศุลกากรที่จัดเก็บอากรขาเข้าได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร 3.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 139.4 ด่านศุลกากรเขมราฐ 0.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7 เท่า ด่านศุลกากรท่าลี่ 0.9 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.1 ด่านศุลกากรบึงกาฬ 0.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3 ส่วนด่านศุลกากรหนองคาย 1.7 ล้านบาท ด่านศุลกากรนครพนม 0.8 ล้านบาท และด่านศุลกากร มุกดาหาร 0.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.8 ร้อยละ 54.6 และร้อยละ 59.3 ตามลำดับ
10. ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯ เดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.3 และสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.2
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.9 และสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.2 สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมาก ได้แก่ ผักสดสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.3 เนื่องจากสภาพอากาศร้อนเร็วกว่าปกติ ทำให้ราคาผักสดสูงขึ้นมาก เช่น มะนาว ผักคะน้า ผลไม้สดโดยเฉพาะส้มเขียวหวานราคาสูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาล ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงเทศกาลไหว้บรรพบุรุษของชาวจีนในเดือนมีนาคมถึง 5 เมษายน 2549 นอกจากนี้ จากการปรับราคาควบคุมน้ำตาลทรายสูงขึ้นอีก 3 บาทต่อกิโลกรัมเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2549 ส่วนสินค้าที่มีราคาลดลงมาก ได้แก่ ไข่ ลดลงร้อยละ12.6
หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.4 และสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.1 สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมาก คือ สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.2 ได้แก่ ค่าโดยสารสาธารณะในภาคฯ และน้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้น ร้อยละ 9.1 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยาสูบ สินค้าในหมวดเคหสถานสูงขึ้นร้อยละ 2.3 โดยเฉพาะค่ากระแสไฟฟ้าในซึ่งมีฐานค่าเอฟทีสูงขึ้น 19.01 สตางค์ต่อหน่วยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2549
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ในภาคฯเดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1 และสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 2.4
ไตรมาสแรกของ ปี 2549
ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือขยายตัว ราคาพืชผลหลักในภาคฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น ยกเว้นราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวลดลงเล็กน้อย การผลิตของอุตสาหกรรมสำคัญและการใช้จ่ายภาคเอกชนยังขยายตัว เห็นได้โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีอากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม ยอดจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น การลงทุนภาคเอกชนและการก่อสร้างขยายตัว อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 6.1 ภาวะการค้าชายแดนคึกคักขึ้นทั้งด้านไทย-ลาวและไทย-กัมพูชา
1. ภาคการเกษตร
ผลผลิตพืชผลสำคัญโดยเฉพาะข้าวและมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น ส่วนผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ทำให้โรงสีในภาคฯ เกือบจะซอข้าวเปลือกไม่ได้เลย ราคามันสำปะหลังสูงขึ้นตามความต้องการของโรงงานแป้งมันยังอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงตามความต้องการของตลาด
ข้าว ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ออกสู่ตลาดลดลง เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก กอปรกับโรงสีมีความต้องการสต็อกข้าวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรงสีที่เข้าร่วมโครงการฯ ที่ต้องสต็อกข้าวเปลือกให้ครบตามเกณฑ์ ทำให้มีการแข่งขันรับซื้อข้าวเปลือกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มราคาข้าวเปลือกมีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาขายส่งข้าวเปลือกเจ้า 5% เฉลี่ยเกวียนละ 7,886 บาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนราคาเกวียนละ 7,819 บาท และเทียบกับไตรมาสก่อนราคาเกวียนละ 7,732 บาท สูงขึ้นร้อยละ 0.9 และร้อยละ 2.0 ตามลำดับ ราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ยเกวียนละ 6,603 บาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 5,798 บาท และไตรมาสก่อนราคาเกวียนละ 5,743 บาท สูงขึ้นร้อยละ 13.9 และ ร้อยละ 15.0 ตามลำดับ
มันสำปะหลัง ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการของโรงงานแป้งมันอยู่ในเกณฑ์สูงโดยเฉพาะในช่วงสองเดือน ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.43 บาท เทียบกบไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อนกิโลกรัมละ 1.41 บาท และไตรมาสก่อนกิโลกรัมละ 1.34 บาท สูงขึ้นร้อยละ 1.4 และสูงขึ้นร้อยละ 6.7 ตามลำดับ ราคาขายส่งมันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.05 บาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 2.93 บาท สูงขึ้นร้อยละ 4.1 แต่เทียบกบ ไตรมาสก่อนกิโลกรัมละ 3.34 บาท ลดลงร้อยละ 8.7
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พื้นที่เพาะปลูกลดลง ขณะที่ความต้องการของตลาดในท้องถิ่นลดลงตามความต้องการของ โรงงานอาหารสัตว์ ทำให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย โดยราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.97 บาท เทียบกับไตรมาสเดียวกนของปีก่อนกิโลกรัมละ 4.99 บาท ลดลงร้อยละ 0.4 แต่เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนกิโลกรัมละ 4.96 บาท สูงขึ้นร้อยละ 0.2
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน รใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พิจารณาจาก ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 1,877.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 51.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,239.4 ล้านบาท เนื่องจาก ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมเบียร์ สุรา ชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ อาหารสัตว์ ชิ้นส่วนวิทยุโทรทัศน์ น้ำตาล และตัวแทนจำหน่ายสุรา/เบียร์/วัสดุก่อสร้างยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในภาคมากขึ้น ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัย 938.2 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 924.8 ล้านหน่วย
การจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลใหม่ 9,821 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 17,312 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เนื่องจากการแข่งขันกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้จำหน่ายรถที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น มีการนำรถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดในเดือนมกราคม และรถจักรยานยนต์ 118,376 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ตามการแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ รถจักรยานยนต์ของบริษัทเอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) อย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคมบริษัทฯ ระมัดระวังการปล่อย สินเชื่อมากขึ้น ทำให้ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ในเดือนดังกล่าวเริ่มลดลง
3. การลงทุนภาคเอกชน
ภาวะการลงทุนในช่วงนี้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ทั้งการลงทุนทางด้านภาคอุตสาหกรรม และ ภาคการค้า ถึงแม้ว่าจะมีปัจจัยที่ไม่เอื้อต่อบรรยากาศการลงทุนหลายอย่าง โดยเฉพาะผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม เป็นต้นมา การขาดแคลนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร ฯลฯ
ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้มี โครงการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน 50 โครงการ เงินลงทุน 14,158 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน 15,369 คน สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนรวม 23 โครงการ ลดลงร้อยละ 4.2 แต่ใช้ เงินลงทุน 3,078 ล้านบาท การจ้างงาน 6,158 คน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 24.4 และร้อยละ 176.5 ตามลำดับ
โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลทางการเกษตร 7 โครงการ ได้แก่ โครงการเลี้ยงไก่เนื้อ โครงการผลิตเอทานอล โครงการผลิตก๊าซชีวภาพและโครงการผลิตไก่แช่แข็ง รองลงมาได้แก่ หมวดอุตสาหกรรมเบา 6 โครงการ ได้แก่ โครงการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โครงการผลิตพรม หมวดอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภคหมวดละ 3 โครงการ และอื่นๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตผงแม่เหล็ก ผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ ผลิตกระสอบพลาสติกสาน และผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ภาคการค้า มีการจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ 834 ราย เงินทุน 1,791 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.5 และร้อยละ 14.1 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจรับจ้างขนส่ง ธุรกิจ นำเข้าส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคในจังหวัดตามแนวชายแดน ธุรกิจจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรและฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ทางด้านโรงงาน อุตสาหกรรม ได้แก่ โรงสีข้าว ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม 1,280.9 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน 1,214.6 ล้านหน่วย
4. ภาคการก่อสร้าง
พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครภาคฯ 740,945 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 515,932 ตารางเมตร ส่วนใหญ่เป็นการขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์สัดส่วนร้อยละ 48.5 (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 172.9) เพื่อที่อยู่อาศัยสัดส่วนร้อยละ 45.4 (ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.0) เพื่อบริการสัดส่วนร้อยละ 5.4 (เพิ่มขึ้นปีก่อนร้อยละ 13.4) เทศบาลนครนครราชสีมามีพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างมากที่สุด รองลงมา อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี ตามลำดับ
5. การผลิตภาคอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ขยายตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง ยกเว้นโรงงานน้ำตาลมีปัญหาวัตถุดิบไม่เพียงพอ
โรงงานแปรรูปมันสำปะหลัง โดยเฉพาะแป้งมัน และมันเส้น ผลิตได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวัตถุดิบออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ขณะที่ความต้องการของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาทางด้านการเมือง ค่าขนส่ง ค่าประกันภัยที่เพิ่มขึ้น ก็ตาม
โรงงานน้ำตาลทำการผลิตน้ำตาลได้ 1,334,300 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.0 เนื่องจากวัตถุดิบที่ลดลง
6. ภาคการจ้างงาน
การจ้างงาน เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปีก่อน ผู้ประกอบการในภาคฯ มีตำแหน่งงานว่างและผู้สมัครงานในภาคฯลดลง แต่มีการบรรจุงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้คนไทยในภาคฯ ขออนุญาตเพื่อไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มจำนวนมาก
จากข้อมูลของศูนย์ข่าวสารตลาดแรงงานภาคฯ ปรากฎว่า
1) ผู้สมัครงาน 17,500 คน เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนผู้สมัครงาน 18,968 คน ลดลงร้อยละ 7.7
ผู้สมัครงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา 1,871 คน ชัยภูมิ 1,671 คนและขอนแก่น 1,250 คน ซึ่งมีอายุส่วนใหญ่ระหว่าง 18 — 24 ปี วุฒิการศึกษาส่วนใหญ่ระดับมัธยมศึกษา อาชีพส่วนใหญ่เป็นงานพื้นฐาน เช่น ผู้ช่วยงานบ้าน และพนักงานทำความสะอาด
2) ตำแหน่งงานว่าง 22,436 อัตรา เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตำแหน่งงานว่าง 40,120 อัตรา ลดลง ร้อยละ 44.1
ตำแหน่งงานว่างส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ 2,498 อัตรา อุบลราชธานี 2,465 อัตราและหนองบัวลำภู 2,173 อัตรา ซึ่งมีอายุส่วนใหญ่ระหว่าง 18 — 24 ปี วุฒิการศึกษาส่วนใหญ่ระดับมัธยมศึกษา อาชีพส่วนใหญ่เป็นงานพื้นฐาน เช่น ผู้ช่วยงานบ้าน และพนักงานทำความสะอาด ตำแหน่งงานว่างในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นการผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม 8,659 อัตรา ขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ 6,071 อัตรา
3) ผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 5,427 คน เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 5,133 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7
ผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ 775 คน บุรีรัมย์ 515 คน ร้อยเอ็ด 513 คน อุบลราชธานี 506 คน และนครราชสีมา 505 คน ซึ่งมีอายุส่วนใหญ่ระหว่าง18 — 24 ปี วุฒิการศึกษาส่วนใหญ่มัธยมศึกษา อาชีพ ส่วนใหญ่เป็นงานพื้นฐาน เช่น ผู้ช่วยงานบ้าน และพนักงานทำความสะอาด ผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานในอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ เป็นการผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม 2,346 คน การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ 1,531 คน
ไตรมาสแรกปี 2549 อัตราส่วนการบรรจุเข้าทำงานต่อผู้สมัครงานคิดเป็นร้อยละ 31.0 และต่อตำแหน่งงานว่างคิดเป็นร้อยละ 24.2
ข้อมูลของสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ คนไทยในภาคฯขออนุญาตเดินทางไปทำงาน ต่างประเทศ 26,420 คน เทียบกับไตรมาสแรกของปีก่อน 19,160 คนเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.9
อุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีคนไทยขออนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดในภาคฯ 5,366 คน รองลงมานครราชสีมา 3,781 คน ขอนแก่น 2,457 คน บุรีรัมย์ 2,113 คน หนองคาย 1,966 คน และชัยภูมิ 1,817 คน
ประเทศที่คนไทยในภาคฯขออนุญาต เดินทางไปทำงานมากที่สุด คอ ไต้หวัน 13,325 คน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.4) รองลงมาเป็นเกาหลีใต้ 3,958 คน สิงคโปร์ 2,920 คน กาตาร์ 1,258 คน บรูไน 1,000 คน และฮ่องกง 542 คน โดยที่ทั้ง 6 ประเทศ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 87.1 ของคนไทยในภาคฯ ที่ขออนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศ
คนไทยที่ขออนุญาตไปทำงานในต่างประเทศไตรมาสแรกปี 2549 ร้อยละ 54.0 จบวุฒการศึกษาประโยคประถมศึกษา รองลงมาจบประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 21.0 และประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 11.4
7. การค้าชายแดน
7.1 การค้าชายแดนไทย-ลาว มีมูลค่าการค้า 8,443.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.2 โดยการส่งออก 6,363.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.9 และการนำเข้า 2,079.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.7
การส่งออก เพิ่มขึ้นทุกหมวด โดยเฉพาะน้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 1,042.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.6 สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน 916.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 879.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.3 วัสดุก่อสร้าง 619.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.1 และเครื่องใช้ไฟฟ้า 380.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7
การนำเข้า เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะสินแร่ 982.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 28 เท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นสินแร่ทองแดง ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 760.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 และของป่า 115.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าตัว
ทั้งนี้ สินค้าที่นำเข้าลดลง ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ 47.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 58.7 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 31.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 42.7 และสินค้าอุปโภคบริโภค(เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง เครื่องแต่งกายฯลฯ) 25.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 52.0
7.2 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา มูลค่าการค้าชายแดนไทย—กัมพูชา 9,147.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.1 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการค้า 7,031.7 ล้านบาท เป็นการส่งออก 8,890.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 แต่นำเข้า 257.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.7
การส่งออก สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยานพาหนะ และส่วนประกอบ 1,696.3ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว น้ำตาล 802.8 ล้านบาท วัสดุก่อสร้าง 664.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 เครื่องแต่งกายและรองเท้า 656.6 ล้านบาท (ระยะเดียวกันของปีก่อนมีการส่งออกเพียง 30.2 ล้านบาท) น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 652.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.6 เครื่องดื่ม 649.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.3 และสิ่งทอ 408.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.6 อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าที่มิได้จำแนกหมวดลดลง
การนำเข้า สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ เสื้อผ้าเก่า/ผ้าห่มเก่า 60.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.5 ไม้และ ผลิตภัณฑ์ไม้ (รวมหวาย) 4.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 96.0 ส่วนพืชไร่ 20.3 ล้านบาท (ระยะเดียวกันของปีก่อนไม่มีการนำเข้า)
8. ภาคการเงิน
ธนาคารพาณิชย์ เงินฝากคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้นมีส่วนจูงใจผู้ฝากเงิน ในขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์สามารถขยายสนเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากไตรมาสก่อน
อัตราดอกเบี้ยในไตรมาสแรก ปี 2549 ด้านเงินฝากปรับสูงขึ้นทุกประเภท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ยกเว้น
เงินฝากออมทรัพย์
- เงินฝากออมทรัพย์ ร้อยละ 0.75 ต่อปี
- เงินฝากประเภท 3 เดือน ร้อยละ 2.50-4.50 ต่อปี
(ไตรมาสก่อนร้อยละ 1.25-3.50 ต่อปี)
- เงินฝากประเภท 6 เดือนร้อยละ 2.75-4.75 ต่อปี
(ไตรมาสก่อนร้อยละ 1.75-3.75 ต่อปี)
- เงินฝากประเภท 12 เดือนร้อยละ 3.00-5.00 ต่อปี
(ไตรมาสก่อนร้อยละ 2.25-4.00 ต่อปี)
ด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้นทุกประเภท
- MLR ร้อยละ 6.75-7.80 ต่อปี (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.25-7.00 ต่อปี)
- MOR ร้อยละ 7.00-8.25 ต่อปี (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.50-7.50 ต่อปี)
- MRR ร้อยละ 7.25-8.75 ต่อปี (เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.75-7.75 ต่อปี)
ปริมาณการใช้เช็ค
ไตรมาสแรก ปี 2549 มีปริมาณการใช้เช็คในภาคทั้งสิ้น 883,359 ฉบับ ลดลงร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนที่มีการใช้เช็ค 895,763 ฉบับ เนื่องจากธนาคารสมาชิกมีการเปลี่ยนวิธีการเรียกเก็บไปใช้ระบบเรียกเก็บที่ส่วนกลางแทน การส่งไปเรียกเก็บที่สำนักหักบัญชีในตางจังหวัดเพิ่มขึ้น แต่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คทั้งสิ้น 137,618.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีการสั่งจ่าย 123,961.4 ล้านบาท ทั้งนี้จำนวนฉบับที่ลดลง เนื่องจากคู่ค้ารายใหญ่มี การสั่งจ่ายเช็คเพิ่มขึ้น
ปริมาณเช็คคืนทั้งสิ้น 17,294 ฉบับ ลดลงร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายมีทั้งสิ้น 3,977.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 46.4
เช็คคืนเพราะไม่มีเงินมีทั้งสิ้น 10,919 ฉบับ ลดลงร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน 2,028.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 129.8 จังหวัดนครราชสีมามีอัตราส่วนจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็คคืน เพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บสูงสุด ร้อยละ 2.8 รองลงมาได้แก่ อุดรธานี ร้อยละ 2.3 และนครพนม ร้อยละ 2.2
การซื้อ-ขายหลักทรัพย์ ปริมาณการซื้อหลักทรัพย์ในภาคฯ ไตรมาสแรกของปีนี้ 17,699.9 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 12.9 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณซื้อหลักทรัพย์ 20,303.8 ล้านบาท แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนที่มีปริมาณซื้อหลักทรัพย์ 12,939.8 ล้านบาท
ด้านปริมาณการขายหลักทรัพย์ทั้งสิ้น 19,653.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณขายหลักทรัพย์ทั้งสิ้น 21,291.8 ล้านบาท แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่มียอดขายหลักทรัพย์ 12,579.7 ล้านบาท ปริมาณขายมากกว่าปริมาณซื้อ 1,953.3 ล้านบาท
ธนาคารออมสิน มีเงินรับฝากทั้งสิ้น 47,880.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และมีเงินถอนทั้งสิ้น 50,475.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จ่ายเงินกู้ไปทั้งสิ้น 63,290.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 จากไตรมาสเดียวกันของปีกอน จ่ายเงินกู้ไป 56,383.5 ล้านบาท และยอดรับชำระเงินคืนทั้งสิ้น 54,477.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.6
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ไตรมาสนี้มีเงินฝากคงค้าง 5,016.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 เมื่อ เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่มียอดเงินฝาก 4,454.1 ล้านบาทด้านสินเชื่อมียอดคงค้างคงค้าง 63,932.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มียอดสินเชื่อคงค้าง 51,940.4 ล้านบาท แนวโน้มสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยปีนี้
คาดว่ายังคงเพิ่มขึ้นเนื่องจากลูกค้าจองบ้านเอื้ออาทรจำนวนมาก ซึ่งจะสร้างเสร็จพร้อมโอนได้ภายในสิ้นปีนี้ รวมถึงโครงการบ้าน ธอส.-กบข. โครงการบ้าน สปส.-ธอส. โครงการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยแก่พนักงานของหน่วยงานเอกชน และการให้สินเชื่อที่ดินเปล่า แก่ข้าราชการ
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ในภาคฯ มีการอนุมัติสินเชื่อ ทั้งสิ้น 129 ราย ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 143 ราย เป็นเงิน 622.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 455.8 ล้านบาท
9. การคลัง สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ และด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จัดเก็บภาษีอากรได้ 8,012.4 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 5,770.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 38.8
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ในภาคฯ จัดเก็บภาษีอากรรวม 4,703.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3,621.6 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,877.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 51.5 จาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจัดเก็บได้ 1,239.4 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ โรงงานเบียร์ โรงงานสุรา โรงงานผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ โรงงานน้ำตาล โรงงานอาหารสัตว์ โรงงานผลิตชิ้นส่วนวิทยุโทรทัศน์ ตัวแทนจำหน่ายสุรา-เบียร์เพิ่มขึ้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1,739.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1,463.6 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บภาษีเงินได้จากเงินเดือน และเงินค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานในภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ได้แก่ โรงงานชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ และโรงงานอาหารสัตว์ และภาษีเงินได้นิติบุคคล 449.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 ผลจากอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนวิทยุโทรทัศน์ และอุตสาหกรรมผลิต แป้งมันสำปะหลังมีผลประกอบการดีขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 470.5 ล้านบาท
การคืนภาษี 353.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 24.8 เนื่องจากการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 305.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.0 และการคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล 27.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.6 ส่วนการคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 20.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ในภาคฯ จัดเก็บภาษีอากรรวม 3,280.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 54.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2,127.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทุกหมวด โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีสุรา 3,208.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 55.7 ภาษียาสูบจัดเก็บได้ 8.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 และภาษีเครื่องดื่มจัดเก็บได้ 43.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7
ด่านศุลกากรในภาคฯ จัดเก็บอากรขาเข้ารวม 28.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 21.9 ล้านบาท เนื่องจากด่านศุลกากรพิบูลมังสาหารจัดเก็บได้ 9.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 113.6 ด่านศุลกากรเขมราฐ 2.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7 เท่า ด่านศุลกากรมุกดาหาร 5.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 ด่านศุลกากรท่าลี่ 2.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8 แต่ด่านศุลกากรหนองคาย 4.9 ล้านบาท และด่านศุลกากรนครพนม 2.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.8 และร้อยละ 15.4 ตามลำดับ
10. ระดับราคา
อัตราเงินเฟ้อวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯ ไตรมาสแรกของปีนี้สูงขึ้นร้อยละ 6.1 ต่อปี เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 5.3 และราคาสินค้าในหมวดอนๆที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 6.6 โดยมีรายละเอียดดังนี้
หมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 5.3 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น คือ ผักสด จากสภาพอากาศร้อนและ แห้งแล้งพืชผักเจริญเติบช้า เป็นผลให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค ไข่ราคาลดลง
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 6.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าสำคัญที่มี ราคาสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ13.6 โดยเฉพาะราคาน้ำมันเบนซินราคาน้ำมันดีเซล หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 9.2 หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 2.1 โดยเฉพาะค่ากระแสไฟฟ้า ที่ปรับค่าเอฟทีขึ้น 19.01 สตางค์ต่อหน่วยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2549 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้น ร้อยละ 1.7 โดยเฉพาะค่าตรวจรักษาพยาบาลคนไข้นอก หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าสูงขึ้นร้อยละ 0.6 หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษาสูงขึ้นร้อยละ 0.3 โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมการศึกษาระดับมัธยมศึกษาสายสามัญ
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 2.4 ต่อปี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ