สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนเมษายน 2549

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 31, 2006 16:44 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          เดือนเมษายน 2549 ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ราคาข้าวเปลือกและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคามันสำปะหลังปรับตัวลดลง การใช้จ่ายภาคเอกชนยังขยายตัว การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว การจัดเก็บภาษีอากรเพมขึ้น อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 6.3 การค้าชายแดนทั้งด้านลาว และกัมพูชายังขยายตัว ส่วนการผลิตของอุตสาหกรรมสำคัญในภาคฯ และภาคการก่อสร้างลดลง
1. ภาคการเกษตร
ในเดือนนี้ความเคลื่อนไหวราคาสินค้าเกษตรอยู่ในเกณฑ์ดีทั้งข้าวเปลือก และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยกเว้นราคา มันสำปะหลัง ซึ่งราคาลดลงตามภาวะการผลิต
ข้าว ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากผลของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก และผลผลิตยังไม่ได้ระบาย ออกสู่ตลาด ในขณะที่ความต้องการยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ข้าวเปลือกมีราคาสูงขึ้น โดยราคาขายส่งข้าวเปลือกเจ้า 5% เฉลี่ยเกวียนละ 8,240 บาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนราคาเกวียนละ 7,843 บาท และเทียบกับเดือนก่อนราคาเกวียนละ 8,167 บาท สูงขึ้นร้อยละ 5.1 และร้อยละ 0.9 ตามลำดับ ราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ยเกวียนละ 7,094 บาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 5,966 บาท และเดือนก่อนราคาเกวียนละ 6,776 บาท สูงขึ้นร้อยละ 18.9 และร้อยละ 4.7 ตามลำดับ
มันสำปะหลัง ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก เนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวมากขึ้น โดยราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.23 บาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 1.51 บาท และเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.39 บาท ลดลงร้อยละ 18.5 และร้อยละ 11.5 ตามลำดับ ส่วนราคาขายส่งมันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.94 บาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนราคากิโลกรัมละ 2.92 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนราคากิโลกรัมละ 2.97 บาท ลดลงร้อยละ 2.0
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผู้ส่งออกและโรงงานอาหารสัตว์มีความต้องการเพื่อสต็อกมากขึ้น ทำให้ราคาขายเคลื่อนไหว สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.36 บาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนราคากิโลกรัมละ 5.11 บาท และเดือนก่อนราคากิโลกรัมละ 5.10 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และร้อยละ 5.1 ตามลำดับ ขยายตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน เห็นได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 644.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.7 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 481.7 ล้านบาท เป็นผลจากการที่โรงงานเบียร์ โรงงานชิ้นส่วน ยานยนต์ โรงงานชิ้นส่วนวิทยุโทรทัศน์ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง โรงงานน้ำตาล และสาขาห้างสรรพสนค้าขนาดใหญ่ จากส่วนกลางยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในท้องถิ่นมากขึ้น
ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์แข่งขันกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และเสนอเงื่อนไขการเช่าซื้อรถยนต์ที่น่าสนใจ ทำให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 4,807 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ส่วนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 2,433 คัน ลดลงร้อยละ 11.0
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้ซื้อระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น ปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ 33,782 คัน ลดลงร้อยละ 8.9 เนื่องจากบริษัทเอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์มากขึ้น ประกอบกับผู้ซื้อมีกำลังซื้อลดลง ตามภาระค่าครองชีพและภาระหนี้ที่สูงขึ้น ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในที่อยู่อาศัย 375.0 ล้านหน่วย ลดลงร้อยละ 1.5 ผลจากการรณรงค์ประหยัดพลังงาน
3. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนเริ่มชะลอตัว ดูจากการลงทุนในภาคการค้าและภาคอุตสาหกรรม ที่มีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อเศรษฐกิจหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมัน ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และปัญหาทางการเมือง
เดือนนี้ มีกิจการที่ได้รับอนุมัติสงเสริมการลงทุนจำนวน 8 โครงการ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 33.3 แต่ใช้เงินลงทุน 588.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.0 โครงการในเดือนนี้ส่วนใหญ่เป็นโครงการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป นอกจากนี้ยังมีโครงการทำเหมืองและแต่งแร่เหล็ก โครงการผลิตรถจักรยานไฟฟ้า โรงสีข้าว และโครงการผลิตฟาร์มไก่เนื้อ
ภาคการค้า มีการจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่จำนวน 176 ราย เงินทุน 265.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.0 และร้อยละ 36.8 ตามลำดับ ประเภทของธุรกิจที่สำคัญในเดือนนี้ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจค้าปลีก- ค้าส่ง ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจจำหน่ายสินค้าทางด้านเกษตร ส่วนทางด้านโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ ฟาร์มเลี้ยงไก่ และโรงงานตัดเย็บ เสื้อผ้าสำเร็จรูป
การใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม 470.0 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.2
4. ภาคการก่อสร้าง
เดือนนี้มีพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร 128,947 ตารางเมตร เทียบกับเดือนก่อน 206,175 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 37.5 และเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 165,853 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 22.3 แบ่งเป็นพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.9 ของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างทั้งภาคฯ อาคารพาณิชย์สัดส่วนร้อยละ 19.3 เพื่อการบริการสัดส่วนร้อยละ 11.6 และอื่น ๆ สัดส่วนร้อยละ 1.2
จังหวัดอุดรธานีมีการขออนุญาตก่อสร้างมากที่สุดในภาคฯ 19,918 ตารางเมตร ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย และหอพัก รองลงมาเป็นจังหวัดขอนแก่น 19,024 ตารางเมตร และนครราชสีมา 18,348 ตารางเมตร เนื่องจากการขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ยโสธร 10,505 ตารางเมตร เป็นที่น่าสังเกตว่าเดือนนี้มีพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากการขอสร้างโรงแรมและโรงเรียนเป็นสำคัญ อุบลราชธานี 9,904 ตารางเมตร จากการขอรับอนุญาตก่อสร้างหอพักเป็นหลัก
5. การผลิตภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมทสำคัญของภาคฯ เดือนนี้ลดลงทั้งโรงงานน้ำตาล และโรงงานแปรรูปมันสำปะหลัง
ในเดือนนี้เหลือโรงงานน้ำตาลทำการผลิตเพียง 7 แห่ง และได้ทำการปิดหีบทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2549 ทำให้โรงงานน้ำตาลในภาคฯ ผลิตน้ำตาลในปีนี้ 1.6 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 20.7 เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ
การผลิตของโรงงานแปรรูปมันสำปะหลังผลิตได้ลดลง เนื่องจากโรงงานมีสต็อกสินค้าอยู่มาก จึงได้ชะลอการรับซื้อหัวมันสำปะหลัง ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ส่งผลกระทบทำให้การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังชะลอตัว
6. ภาคการจ้างงาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผู้สมัครงานและตำแหน่งงานว่างในภาคฯ ลดลง
แต่การบรรจุเข้าทำงานและคนไทยในภาคฯ ขออนุญาตเพื่อไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้น
จากข้อมูลของศูนย์ข่าวสารตลาดแรงงานภาคฯ ปรากฏว่าเดือนนี้ความต้องการแรงงานและผู้สมัครงานลดลงแต่การบรรจุเข้าทำงานเพิ่มขึ้น
1) เดือนนี้มีผู้สมัครงาน 7,797 คน เทียบกับเดือนก่อน ผู้สมัครงาน 8,381 คน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนผู้สมัครงาน 8,120 คน ลดลงร้อยละ 7.0 และลดลงร้อยละ 4.0 ตามลำดับ
ผู้สมัครงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา 1,473 คน หนองคาย 768 คนและกาฬสินธุ์ 715 คน อายุระหว่าง 18—24 ปี วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย สนใจอาชีพงานพื้นฐาน เช่น ผู้ช่วยงานบ้าน และพนักงานทำความสะอาด
2) ตำแหน่งงานว่าง 13,645 อัตรา เทียบกับเดือนก่อน ตำแหน่งงานว่าง 7,273 อัตรา เพิ่มขึ้นร้อยละ 87.6 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนตำแหน่งงานว่าง 13,941 อัตรา ลดลงร้อยละ 2.1
ตำแหน่งงานว่างส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอำนาจเจริญ 5,083 อัตรา หนองบัวลำภู 3,906 อัตรา และกาฬสินธุ์ 1,104 อัตรา ต้องการผู้มีอายุระหว่าง 18—24 ปี วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ซึ่งเป็นตำแหน่งงานใน ภาคการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์มากที่สุด 8,533 อัตรา รองลงมาเป็นตำแหน่งงานในภาคการผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม 3,411 อัตรา
3) ผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 2,664 คน เทียบกับเดือนก่อนมีผู้ได้รับบรรจุเข้าทำงาน 2,710 คน ลดลง ร้อยละ 1.7 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 2,331 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3
จังหวัดนครราชสีมามีผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานมากที่สุดในภาคฯ 580 คน รองลงมาเป็นหนองคาย 375 คน และชัยภูมิ 232 คน อายุระหว่าง 18—24 ปี วุฒิการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ส่วนใหญ่เป็นงานในโรงงานผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม 1, 257 คน การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ 440 คน
อัตราส่วนการบรรจุเข้าทำงานต่อผู้สมัครงานคิดเป็นร้อยละ 34.2 และต่อตำแหน่งงานว่างคิดเป็นร้อยละ 19.5
จากข้อมูลของสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ พบว่าเดือนนี้คนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขออนุญาตเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ 7,858 คน เพื่อไปทำงานใน 70 ประเทศ จากคนไทยทั้งประเทศที่เดินทางไปทำงานใน 86 ประเทศ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63.2 ของคนไทยที่ขออนุญาตจากทั้งประเทศ 12,435 คน) เทียบกับเดือนก่อน 8,784 คน ลดลงร้อยละ 10.5 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 6,132 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1
จังหวัดอุดรธานีมีคนไทยขออนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดในภาคฯ 1,570 คน รองลงมาเป็น นครราชสีมา 1,145 คน ขอนแก่น 746 คน หนองคาย 589 คน ชัยภูมิ 566 คน และบุรีรัมย์ 549 คน
ไต้หวันเป็นประเทศที่คนไทยในภาคฯ เดินทางไปทำงานมากที่สุด 3,716 คน รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 999 คน เกาหลีใต้ 560 คน กาตาร์ 476 คน บรูไน 333 คน และฮ่องกง 285 คน รวมจำนวนคนงานไทยที่ขออนุญาตไปทำงานใน 6 ประเทศจำนวน 6,369 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 81.1 ของคนไทยในภาคฯที่ขออนุญาตเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ
เดือนนี้คนไทยในภาคฯ เดินทางโดยวิธี RE-ENTRY มากที่สุด 3,339 คนรองลงมาเป็นวิธีการเดินทางโดยบริษัทฯ จัดส่ง 3,208 คน เดินทางด้วยตนเอง 624 คน สำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคฯ จัดส่ง 404 คน นายจ้างพาไปทำงาน 195 คน และนายจ้างพาไปฝึกงาน 88 คน
คนไทยที่ขออนุญาตไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้ ร้อยละ 54.2 จบวุฒิการศึกษาประโยคประถมศึกษา รองลงมาจบประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 21.3 และประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 12.0
7. การค้าชายแดน
7.1 การค้าชายแดนไทย-ลาว มีมูลค่าการค้า 2,570.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าการค้า 2,045.8 ล้านบาท โดยเป็นการส่งออก 1,872.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 และการนำเข้า 697.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.8 การส่งออก เพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า ยกเว้นหมวดน้ำมันปิโตรเลียม เชื้อเพลิงอื่น ๆ และสารหล่อลื่น สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ พืชไร่ 15.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 9 เท่า เป็นการส่งออกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ซึ่งส่งออกผ่านทางด่านศุลกากรท่าลี่ เหล็กและเหล็กกล้า 59.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.1วัสดุก่อสร้าง 164.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.9 เนื่องจากอยู่ในระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้า และสะพานใน สปป.ลาว เครื่องใช้ไฟฟ้า 152.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.9 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 63.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.4 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 204.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 อาหารสัตว์ 18.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ส่วนน้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 271.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.1 เนื่องจากผู้นำเข้าชะลอการนำเข้า เพราะการเข้มงวดของ สปป.ลาวในการควบคุมราคาน้ำมัน
การนำเข้า สินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินแร่ 383.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่าตัว โดยนำเข้าสินแร่ทองแดงผ่านทางด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร 262.9 ล้านบาท และด่านศุลกากรมุกดาหาร 109.1 ล้านบาท พืชไร่ 59.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 69.0 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าข้าวโพดทางด่านศุลกากรท่าลี่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ 8.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.9 เท่า เป็น การนำเข้าเครื่องจักรเก่าที่นำไปใช้งานแล้ว ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 228.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ส่วนสินค้าที่นำเข้าลดลง ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ 7.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 80.5 และของป่า 0.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 81.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีการนำเข้าถึง 37.3 ล้านบาท และ 2.7 ล้านบาท ตามลำดับ
7.2 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา เดือนนี้มีมูลค่าการค้า 2,669.6 ลานบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.9 โดยเป็นการส่งออก 2,577.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวด สินค้าอื่น ๆ ซึ่งเป็นสินค้าที่มิได้จำแนก และนำเข้า 92.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.1
การส่งออก สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำตาล 272.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.4 น้ำมันปิโตรเลียม และเชื้อเพลิงอื่น ๆ 212.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.8 เครื่องดื่ม 178.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.0 สิ่งทอ 161.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 ยานพาหนะ และส่วนประกอบ 321.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 และเป็นที่น่าสังเกตว่าการส่งออกเครื่องแต่งกายและรองเท้าเพิ่มขึ้นมากถึง 170.5 ล้านบาท ขณะที่เดือนเดียวกันของปีก่อนมีการส่งออกเพียง 6.2 ล้านบาท ส่วนสินค้าส่งออกที่ลดลงได้แก่ เคมีภัณฑ์ 39.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 34.1 เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 62.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 25.8 และวัสดุก่อสร้าง 182.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.6
การนำเข้า สินค้าสำคัญได้แก่ เสื้อผ้าเก่า/ผ้าห่มเก่า 17.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 41.3 พืชไร่ (เมล็ดถั่วเหลืองและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) 11.7 ล้านบาท ขณะที่เดือนเดียวกันของปีก่อนไม่มีการนำเข้า ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (รวมหวาย) ส่วนใหญ่ เป็นไม้แปรรูป 4.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 78.1
8. ภาคการเงิน
ธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเมษายน 2549 มีสาขาธนาคารพาณิชย์เปิดดำเนินการในภาคทั้งสิ้น 533 สำนักงาน เพิ่มขึ้น 1 สำนักงานจากเดือนก่อน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
จากข้อมูลเบื้องต้น มีเงินฝากคงค้าง 330,973 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มี เงินฝากคงค้าง 298,344 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากเดือนก่อน ที่มีเงินฝากคงค้าง 320,826 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็น การฝากประจำของผู้ฝากรายย่อย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเพิ่มขึ้นจูงใจผู้ฝากเงิน สินเชอมียอดคงค้าง 277,579 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีสินเชื่อคงค้าง 244,428 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน ที่มีสินเชื่อคงค้าง 276,717 ล้านบาท ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเดือนนี้ สูงขึ้นจากร้อยละ 81.9 ในเดือนเมษายน ปีก่อนเป็นร้อยละ 83.9 ในเดือนนี้ สินเชื่อที่มีการขยายตัว ได้แก่สินเชื่อการธนาคารและธุรกิจการเงิน สินเชื่ออุตสาหกรรมยานพาหนะและอุปกรณ์ สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
เดือนนี้ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นทั้งด้านเงินฝากและด้านสินเชื่อ
ด้านเงินฝาก สูงขึ้นทุกประเภท ยกเว้นเงินฝากออมทรัพย์เท่ากับเดือนก่อน
- เงินฝากออมทรัพย์ ร้อยละ 0.75 ต่อปี
- เงินฝากประเภท 3 เดือน ร้อยละ 3.00-5.125 ต่อปี
(เดือนก่อนร้อยละ 3.00-4.50 ต่อปี)
- เงินฝากประเภท 6 เดือนร้อยละ 3.25-5.125 ต่อปี
(เดือนก่อนร้อยละ 3.00-4.75 ต่อปี)
- เงินฝากประเภท 12 เดือนร้อยละ 3.50-5.25 ต่อปี
(เดือนก่อนร้อยละ 3.25-5.00 ต่อปี)
ด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้นทุกประเภท
- MLR ร้อยละ 7.50-8.25 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 7.25-7.80 ต่อปี)
ร้อยละ 7.75-8.50 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 7.50-8.25 ต่อปี) - MOR
- MRR ร้อยละ 8.00-9.00 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 7.70-8.75 ต่อปี)
ปริมาณการใช้เช็ค
เดือนนี้ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ 240,498 ฉบับ ลดลงร้อยละ 8.3 จากเดือนเดียวกัน ของปีก่อนที่มีการใช้เช็ค 262,205 ฉบับ ในขณะที่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คทั้งสิ้น 40,709.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีการสั่งจ่าย 36,989.8 ล้านบาท
ส่วนปริมาณเช็คคืนทั้งสิ้น 5,595 ฉบับ ลดลงรอยละ 2.3 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณเช็คคืน 5,728 ฉบับ แต่จำนวนเงินที่สั่งจ่าย 1,079.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนเงินที่สั่งจ่าย 856.7 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนจำนวนเงินตามเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บจากร้อยละ 2.3 ในเดือนเดียวกันของปีก่อนเป็น ร้อยละ 2.7 ในเดือนนี้
เช็คคืนเพราะไม่มีเงินมีทั้งสิ้น 3,755 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่มีเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน 3,589 ฉบับ แต่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คดังกล่าวมีทั้งสิ้น 555.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 76.8 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่มีการสั่งจ่าย 313.9 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนจำนวนเงินเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บจากร้อยละ 0.8 ในเดอนเดียวกัน ของปีก่อน เป็นร้อยละ 1.4 ในเดือนนี้ โดยจังหวัดนครราชสีมามีอัตราส่วนเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บสูงสุดร้อยละ 2.2 รองลงมาคือ อุดรธานี ร้อยละ 2.1 และยโสธรร้อยละ 1.8
9. การคลัง เดือนนี้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ และด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สามารถจัดเก็บภาษีอากรรวมทั้งสิ้น 2,237.8 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 1,793.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ในภาคฯ จัดเก็บภาษีอากรรวม 1,390.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.1 เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน 1,093.9 ล้านบาท เนื่องจากมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 644.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33.7 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนจัดเก็บได้ 481.7 ล้านบาท เนื่องจากโรงงานเบียร์ โรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ โรงงานชิ้นส่วนวิทยุโทรทัศน์ โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำตาล และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 336.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.6 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 257.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บภาษีเงินได้จากเงินเดือน ค่าจ้างและเงินค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น และภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 90.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 73.4 ล้านบาท เป็นผลจากการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 121.7 ล้านบาท การคืนภาษี 68.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 44.1 เนื่องจาก
การคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 7.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 53.6 และการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 56.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 46.1 แต่การคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล 4.0 ล้านบาท ซึ่งเดือนเดียวกันของปีก่อนคืนภาษีเพียง 0.2 ล้านบาท
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ในภาคฯ จัดเก็บภาษีอากรรวม 839.8 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน693.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสุรา 816.5 ล้านบาท ภาษีเครื่องดื่ม 14.9 ล้านบาท และภาษีสถานบริการ 3.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 ร้อยละ 70.6 และร้อยละ 31.6 ตามลำดับ ส่วนภาษียาสูบ 1.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.5 และภาษีรถยนต์ 16,767 บาท ลดลงร้อยละ 68.0 ด่านศุลกากรในภาคฯ จัดเก็บอากรขาเข้ารวม 7.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 6.4 ล้านบาท
ด่านศุลกากรที่จัดเก็บอากรขาเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร 3.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 109.8ด่านมุกดาหาร 1.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.6 ด่านศุลกากรบึงกาฬ 1.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 116.1 ด่านศุลกากรท่าลี่ 0.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 ด่านศุลกากรเขมราฐ 0.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 219.1 และด่านศุลกากรเชียงคาน 0.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 ส่วนด่านศุลกากรหนองคาย 1.3 ล้านบาท และด่านศุลกากรนครพนม 0.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.5 และ ร้อยละ 76.6 ตามลำดับ
10. ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯ เดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.4 และสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.3
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 2.3 และสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.8 สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมาก ได้แก่ ผักสดและผลไม้สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 31.7 เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ประกอบกับต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น ส่วนสินค้าที่มีราคาลดลงมากได้แก่ ไข่ ลดลงร้อยละ11.8 จากปริมาณไข่ที่เริ่มเข้าสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องจากต้นปีนี้ เป็นผลให้ราคาไข่ในตลาดเริ่มลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8 และสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.0 สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมาก คือ สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร (ค่าโดยสารสาธารณะในภาคฯ และ น้ำมันเชื้อเพลิง) สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.4 สินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.2 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยาสูบ
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ในภาคฯเดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 และสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.4

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ