เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง แผนปฏิบัติการและงบประมาณ ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2554 — 2556)
ภายใต้แผนแม่บทป้องกัน และบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิ พ.ศ.2552 — 2556
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง แผนปฏิบัติการและงบประมาณ ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2554 — 2556) ภายใต้แผนแม่บทป้องกัน และบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิ พ.ศ.2552 — 2556 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ประสานติดตามความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว ซึ่งกระทรวงมหาดไทย รายงานว่าได้ดำเนินการเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการและงบประมาณ ฯ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
1. ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการและงบประมาณฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของหน่วยงานที่ร่วมบูรณาการทั้ง 81 หน่วยงาน ทั้งนี้ มีหน่วยงานแจ้งผลการดำเนินงาน 34 หน่วยงาน พบว่ามีโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการและงบประมาณ ฯ ได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินการ 18 โครงการจากจำนวนทั้งสิ้น 211 โครงการ และได้รับ งบประมาณเป็นเงิน 144.73 ล้านบาท จากงบประมาณที่ตั้งไว้ทั้งสิ้น 2,019.40 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.17 โดยจำแนกตามยุทธศาสตร์ดังนี้
ยุทธศาสตร์ จำนวนแผนงาน/โครงการ งบประมาณ (ล้านบาท) ร้อยละของ ที่ตั้งไว้ ที่ได้รับ ที่ตั้งไว้ ที่ได้รับ งบประมาณ (81 หน่วยงาน) (34 หน่วยงาน) (81 หน่วยงาน) (34 หน่วยงาน) ที่ตั้งไว้ 1 ด้านการป้องกันและลดผลกระทบ 136 16 1,715.68 128 7.48 2 ด้านการเตรียมพร้อมรับภัย 14 1 203.931 5 2.45 3 ด้านการจัดการในภาวะฉุกเฉิน 19 - 99.7892 - 0 4 ด้านการจัดการหลังเกิดภัย 42 1 - 11.5 0 รวม 211 18 2,019.40 145 7.17กรณีแผนงาน / โครงการที่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในปีพ.ศ.2554 หน่วยงานต่างๆ มีการดำเนินการดังนี้ 1) ปรับเป็นงบประมาณปี 2555 จำนวน 9 โครงการ งบประมาณ 332.57 ล้านบาท 2) ขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณอื่น 13 โครงการ งบประมาณ 249.17 ล้านบาท และ 3) ดำเนินการตามงบปกติ 1 โครงการ งบประมาณ 5 ล้านบาท
2. มื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ในช่วงการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ ณ ประเทศญี่ปุ่น กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้แจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย รวม 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส และผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต รวม 5 เขต ได้แก่ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 3 ปราจีนบุรี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 สงขลา และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 17 จันทบุรี ให้จัดตั้ง “ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจเฝ้าระวังคลื่นสึนามิ” พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การจัดการในภาวะฉุกเฉินของแผนแม่บทป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิ พ.ศ.2552 — 2556 และแผนปฏิบัติการและงบประมาณฯ ภายใต้แผนแม่บทดังกล่าว ซึ่งอยู่ภายใต้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2553 — 2557
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 พฤษภาคม 2554--จบ--