การฝึกซ้อมการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติและการมอบนโยบายของรองนายกรัฐมนตรี

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 19, 2011 17:12 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบการฝึกซ้อมการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติและการมอบนโยบายของรองนายกรัฐมนตรี และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) รายงานว่า

1. สมช. ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย (มท.) (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.) กระทรวงคมนาคม (คค.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และกรมประชาสัมพันธ์ได้จัดการฝึกซ้อมการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติประจำปี 2554 (Crisis Management Exercise 2011 — C- MEX 11) ระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2554 โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบให้รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เป็นประธานพิธีเปิดและมอบนโยบาย การฝึกซ้อมในครั้งนี้เป็นการฝึกการแก้ปัญหาบนโต๊ะ (Tabletop Exercise) โดยมีผู้เข้าร่วมรับการฝึกจากหน่วยงานระดับกระทรวง กรม จังหวัด รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคม มูลนิธิ รวมประมาณ 250 คน การฝึกซ้อมในครั้งนี้มีความเป็นมาตามมติคณะรัฐมนตรี (20 สิงหาคม 2548, 6 พฤศจิกายน 2550, 17 พฤศจิกายน 2552) และมีวัตถุประสงค์สำคัญ ดังนี้

1.1 เพื่อทดสอบนโยบาย แผน แนวทาง มาตรการ ของหน่วยงานในการป้องกันและบรรเทาภัยในกรอบแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กระบวนการป้องกันและบรรเทาภัยความมั่นคง) แผนปฏิบัติการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการระดับกระทรวง

1.2 เพื่อทดสอบระบบบัญชาการเหตุการณ์ในระดับนโยบาย [การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณภัย (ศปฉ.ปภ.) ที่ใช้เป็นศูนย์กลางการบัญชาการของนายกรัฐมนตรี] และระดับจังหวัด (การจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดสุรินทร์) ที่ใช้เป็นศูนย์กลางการบัญชาการของผู้ว่าราชการจังหวัด

1.3 เพื่อพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติในกรอบนโยบายของรัฐบาล

2. การฝึกซ้อมในครั้งนี้ บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยสามารถประมวลผลการฝึกซ้อมในภาพรวมทั้งจากการให้นโยบายในการเปิดการฝึกซ้อมของรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) การเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิในการบรรยายและการปฏิบัติการฝึกซ้อมที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสมควรดำเนินการต่อไป เพื่อพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

ลำดับที่       ข้อเสนอแนะ/แนวทางปฏิบัติ                                        การดำเนินการ
1           การกำหนด แผน งบประมาณ ในแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานทั้ง           ให้ สมช. และ มท. เป็นหน่วย
            ส่วนกลาง ภูมิภาค และจังหวัดเพื่อพัฒนาระบบเตรียมความพร้อมของชาติ        อำนวยการและประสานการ
            เพื่อให้สามารถวางแผนในเชิงป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและภัย           ดำเนินงานในเรื่องนี้

ความมั่นคง โดยการจัดเตรียมทรัพยากร เครื่องมือ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

กับระบบการแจ้งเตือน การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การกู้ภัย การ

ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย การขนส่ง การรักษาพยาบาล การพิสูจน์

เอกลักษณ์บุคคล

2           การพัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัย โดยกำหนดแนวทางการแจ้งเตือนแก่          ให้กรมป้องกันและบรรเทาสา
            ประชาชนในพื้นที่ที่คาดว่าจะประสบภัยให้มีความชัดเจน และให้การแจ้ง         ธารณภัย ทก. และกรม
            เตือนภัยเป็นไปอย่างมีเอกภาพ                                      ประชาสัมพันธ์กำหนดแนวทาง

เรื่องนี้

3           การพัฒนาระบบคลังข้อมูลเพื่อใช้สนับสนุนการบริหารจัดการงานสาธารณ

ภัยเพื่อเตรียมความพร้อมในการนำข้อมูลทรัพยากรมาใช้ในการปฏิบัติงาน

ขณะเกิดสถานการณ์ทุกห้วงเวลา รวมทั้งให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล

ระหว่างหน่วยงานเพื่อให้การบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤตได้อย่างมี

ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

4           การให้ความสำคัญกับแผนปฏิบัติการการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย          ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
            แบบบูรณาการระดับกระทรวง 17 ด้าน                                ดำเนินการวางแผนขับเคลื่อน

แผนปฏิบัติการฯ ให้บังเกิดผล

อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป โดยมี

กรมป้องกันและบรรเทา

สาธารณภัยเป็นหน่วยประสาน

และบูรณาการในเรื่องนี้

5           การจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการเตรียมพร้อม” ประจำจังหวัด ตั้งแต่ในยาม          ให้กรมป้องกันและบรรเทา
            ปกติ และเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นศูนย์ดังกล่าวสามารถแปรสภาพเป็นศูนย์         สาธารณภัยเป็นหน่วยงานกลาง
            อำนวยการเฉพาะกิจจังหวัดได้ทันที เพื่อให้ทุกหน่วยงานได้เตรียม             ประสานการดำเนินงานเรื่องนี้
            ทรัพยากรการประสานและบูรณาการการทำงานร่วมกับจังหวัด รวมทั้ง          โดยให้ทุกหน่วยงานสนับสนุนการ
            กำหนดให้มีผู้สั่งการที่ชัดเจนในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีภารกิจนอกพื้นที่        ทำงานของกรมป้องกันและ
            จังหวัด                                                       บรรเทาสาธารณภัย
6           การฝึกซ้อมสถานการณ์จำลองในการบริหารวิกฤตการณ์                     ให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญใน

การฝึกอบรมให้ความรู้ความ

เข้าใจและได้มีการซักซ้อม

สถานการณ์จำลองแต่ละประเภท

ภัยอย่างสม่ำเสมอ

7           การประเมินผลการฝึกซ้อม                                         ให้หน่วยงานที่ร่วมจัดการฝึกและ

หน่วยงานที่มีผู้แทนเข้ารับการฝึก

ได้ประเมินผลการปฏิบัติของ

หน่วยเสนอคณะกรรมการ

เตรียมพร้อมแห่งชาติเพื่อจัดทำ

เป็นบทเรียนและนำไปพัฒนา

ระบบการฝึกซ้อมของหน่วยงาน

ในระยะต่อไป

ทั้งนี้ สมช. ได้มอบให้คณะนักวิชาการเป็นผู้ประเมินผลภาพรวมการฝึกซ้อมในครั้งนี้ด้วยแล้ว

3. ผลการฝึกซ้อมดังกล่าวมีความสำคัญที่มุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานส่วนกลาง ภูมิภาค และจังหวัด เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดเตรียมแผนแนวทางปฏิบัติ รวมถึงทรัพยากรด้านต่าง ๆ ให้พร้อมเผชิญกับภัยที่เกิดขึ้นในเชิงป้องกันและบรรเทาภัยเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาลในกรอบนโยบายความมั่นคงของรัฐ

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 ตุลาคม 2554--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ