การดำเนินการตามมาตรการการป้องกันไฟป่าและหมอกควันประจำปี 2556

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 22, 2013 16:24 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินการตามมาตรการป้องกันไฟป่าและหมอกควันประจำปี 2556 เพิ่มเติม และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่ได้รับมอบหมาย ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ สุรัสวดี) เสนอ เพื่อให้การดำเนินงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันภาคเหนือ 9 จังหวัด ปี 2556 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดการบูรณาการ มีผู้รับผิดชอบ และเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติงานให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ด้วย

ข้อเท็จจริง

1. รองนายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ สุรัสวดี) ตามมติคณะรัฐมนตรีและบัญชาจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้รับผิดชอบการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันปี 2556 ได้จัดประชุม Workshop การป้องกันไฟป่าและหมอกควันประจำปี 2556 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2556 ณ ทำเนียบรัฐบาล กับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้ว่าราชการจังหวัดภาคเหนือ 9 จังหวัด และได้ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประชุมมอบนโยบาย เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2556 ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ผลสรุปได้กำหนดมาตรการและการมอบหมายงานเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ

2. มาตรการที่จะใช้ในการป้องกันไฟป่าและหมอกควันในปี 2556 จะเปลี่ยนจากเดิม “ควบคุมการเผา” เป็น “ไม่มีการเผา” ใช้ระบบ Single Command โดยมีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กบอ.) เป็นผู้รับผิดชอบและใช้ระบบ Area Approach โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนหน้า (Forward Command)

สาระสำคัญของมาตรการ

1. ไม่มีการเผา

2. ใช้แนวทาง Area Approach มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ (Forward Command)

3. ใช้ระบบ Single Command โดยกลไกของกระทรวงมหาดไทย ตาม พรบ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

4. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ สุรัสวดี) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นฝ่ายอำนวยการและควบคุมการสั่งการระดับประเทศ

5. เบื้องต้นครอบคลุมเพียง 9 จังหวัดภาคเหนือ ใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือนครึ่ง (มกราคม-เมษายน 2556)

การมอบหมายงาน
      สถานการณ์/ปัญหา                   แนวทางดำเนินการ                             หน่วยงานรับผิดชอบ
1. ที่ผ่านมาหน่วยงานต่างหน่วย          ใช้ระบบสั่งการแบบศูนย์สั่งการ                     1. ให้ ปภ. ร่างคำสั่งการ
ต่างปฏิบัติ ไม่เป็นเอกภาพ              เบ็ดเสร็จ (Single Command)                   แต่งตั้งชุดต่าง ๆ ภายใต้ พรบ.
มีหลายหน่วยงานสั่งการ จึงเป็น          โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่                   ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ปัญหาในทางปฏิบัติ                    1. ระดับชาติ ให้รองนายกรัฐมนตรี                 เสนอภายในวันที่ 19 ม.ค.นี้
                                 (นายปลอดประสพ สุรัสวดี) และ                   2. คำสั่งระดับกระทรวงฯ
                                 รมว. มท. เป็นฝ่ายอำนวยการและ                 ให้เป็นคำสั่งภายในของแต่ละ
                                 ควบคุมการสั่งการ                              กระทรวงฯ
                                 2. ระดับจังหวัด  ผู้ว่าราชการจังหวัด               3. ให้ มท. ทส. และกษ.
                                 เป็นผู้สั่งการ                                  รายงานสรุปสถานการณ์และการ
                                 3. ศูนย์อำนวยการส่วนหน้า                       ปฏิบัติงานทุกวันจันทร์ เพื่อรายงาน
                                 กำหนด 2 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัด                     ครม. ทุกวันอังคาร
                                 เชียงใหม่และแพร่  โดยให้ กรมป่าไม้               4. ให้ ผวจ. เป็นผู้สั่งการ
                                 (ปม.) และกรมอุทยานฯ (อส.)                   5. หน่วยงานปฏิบัติภาคสนามทุกหน่วย
                                 กำหนดตัวผู้อำนวยการศูนย์ ฯ ศูนย์ฯ                 6. ให้ศูนย์อำนวยการส่วนหน้าเป็น
                                 ละ 1 คน                                    7. หน่วยสนับสนุน ศูนย์สั่งการระดับ
                                                                            8. จังหวัดและสั่งการหน่วยงานในการ
                                                                            9. ป้องกันไฟและระงับเหตุ
2. สถานการณ์ปัจจุบันยังมีการเผา             แบ่งพื้นที่รับผิดชอบเป็น 3 ประเภท คือ          1.1 กษ. รับผิดชอบ
กันอยู่ทั้งในเขตเมือง พื้นที่เกษตร              1. พื้นที่เกษตร                           1.2 จัดหาเครื่องจักรกลในการ
และเขตป่า                              - ให้มีการไถกลบวัชพืช                     ช่วยเหลือราษฎร
                                      การเกษตร โดยเครื่องจักร ทั้งของ            1.3 จัดทำงบประมาณ
                                      ภาครัฐและการจ้างเหมา                    ค่าใช้จ่าย
                                                                            1.4 ในพื้นที่อนุรักษ์หรือพื้นที่ป่าไม้
                                                                            ควรเน้นการใช้เครื่องจักรกลของ
                                                                            ราชการเข้าไปดำเนินการ
                                      2. พื้นที่เขตเมือง                         2.1 มอบ อบต.  อบจ.
                                      - ควบคุม ตรวจสอบและป้องกัน               และเทศบาล รับผิดชอบ
                                      ไม่ให้มีการเผาขยะเผาเศษวัชพืชใน            2.2 มอบให้แขวงการทางและทาง
                                      ที่รกร้าง ไม่มีการเผาหญ้าในเขต              หลวงชนบทควบคุมไม่ให้มีการเผา
                                      ไหล่ทาง                                ในเขตไหล่ทาง
                                                                            2.3 ให้ ตำรวจ ทหาร
                                                                            ลาดตระเวนและบังคับใช้กฎหมาย
                                                                            ป้องปราม และกดดัน
                                      3. พื้นที่ป่า                              3.1 ในพื้นที่อนุรักษ์
                                      3.1 ใช้กำลังควบคุมไม่ให้บุคคลเข้า            เขตอุทยานฯ เขตรักษาพันธุ์
                                      ไปเผาป่าโดยตั้งจุดสกัด และ                 สัตว์ป่า ฯลฯ ให้ อส.
                                      ตรวจสอบบุคคลที่เข้าไปในเขตพื้นที่             รับผิดชอบ
                                      ป่าอย่างเข้มงวด                          3.2 ในพื้นที่ ตาม พรบ.
                                                                            ป่าสงวน
                                                                            แห่งชาติ และพื้นที่ป่าไม้ 2484
                                      3.2 จัดให้มีการลาดตระเวนในพื้นที่            ให้ ปม. รับผิดชอบร่วมกับกรม
                                      ล่อแหลม                                ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
                                      3.3 ในพื้นที่เปราะบาง ให้จัด                3.3 อส. ปม. ทหารอากาศ
                                      เจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่                       ทหารบก ตำรวจ และองค์กร
                                                                            ปกครองส่วนท้องถิ่น สนธิกำลังร่วม
                                                                            ปฏิบัติการรวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการ
                                                                            3.4 ให้ ทส.
                                                                            จัดเฮลิคอปเตอร์
                                                                            และจัดหาอุปกรณ์สำหรับสนับสนุน
                                                                            กิจกรรมลาดตระเวนและการดับไฟป่า
3. การบังคับใช้กฎหมายที่ผ่านมา              1. ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่าง             1. ในพื้นที่เมือง มอบจังหวัด
น้อยมาก                                เข้มงวดจากเบาไปหาหนัก                   โดยตำรวจ และกรมปกครองส่วน
                                      2. เนื่องจากเป็นแนวทางที่ถูกใช้              ท้องถิ่น
                                      เป็นปีแรกจึงขอให้ใช้อย่างเหมาะสม            2. ในพื้นที่เกษตร มอบจังหวัดและ
                                      3. ต้องมีมาตรการการลงโทษ                กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                                      สำหรับผู้ฝ่าฝืน รวมทั้ง เจ้าหน้าที่ที่             3.ในพื้นที่ป่ามอบกรมป่าไม้ และ
                                      ปฏิบัติหน้าที่หย่อนยาน                       กรมอุทยานฯ
                                                                            4. แนวถนน มอบให้กระทรวง
                                                                            คมนาคมและทหารบก
4. กรณีเกิดไฟป่าขนาดใหญ่                  1. ให้มีการสนธิกำลังจากทุกหน่วย             1. กบอ.
                                      ภายใต้การอำนวยการของรอง                2. ให้ ผวจ. สั่งการกำลังพลของ
                                      นายกรัฐมนตรี (นายปลอดประสพ              ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการ
                                      สุรัสวดี) และ รมว.มท.  ในฐานะ            ควบคุมไฟป่า
                                      ฝ่ายอำนวยการและควบคุมการสั่ง
                                      การ โดยมีหน่วยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
                                      ทหาร ตำรวจ ปภ. ปม. อส.
                                      กรมปกครองส่วนท้องถิ่นฯ
                                      2. สนธิเครื่องมือ อุปกรณ์ของทุก
                                      หน่วยงาน รวมทั้งอากาศยาน
5. กรณีการเผาป่าของชาวเขา               พิจารณากำหนดแนวทางให้เหมาะสม            - มอบหน่วยงานที่มี
                                                                            ประสบการณ์ คือ อส. ปม.
                                                                            และกำนันผู้ใหญ่บ้าน
6. กรณีการเผาป่าและเกิดควันไฟ             กต. สั่งการให้เอกอัครราชทูตไทย             - มอบ กต.
จากประเทศเพื่อนบ้าน                      ไปหารือทำความเข้าใจกับประเทศ
                                      เพื่อนบ้าน
7. การประชาสัมพันธ์                      ต้องมีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง             - มอบโฆษกรัฐบาล
                                                                            (นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์)
                                                                            โดยขอใช้สื่อของรัฐทุกแขนง
                                                                            และขอให้มีการสัมภาษณ์
                                                                            หัวหน้าหน่วยงานที่มีความสำคัญ
                                                                            - มอบ กษ. ทส. และสธ.
                                                                            ร่วมดำเนินการประชาสัมพันธ์
8. การสนับสนุนงบประมาณ                  รัฐบาลพร้อมสนับสนุนงบประมาณหาก            - ให้ทุกหน่วยเสนอแผนงาน
                                      มีความจำเป็น                            / กิจกรรมและงบประมาณที่
                                                                            มีความจำเป็นที่ต้องขอ
                                                                            เพิ่มเติม โดยให้ระบุจำนวน
                                                                            งบประมาณปกติที่มีอยู่แล้วมาด้วย
9. การวัดผลการดำเนินงา                  จะมีตัวชี้วัดความสำเร็จ                     ใช้ข้อมูลต่อไปนี้เป็นตัวชี้วัด
                                                                            - จำนวน  hot spots
                                                                            ที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียม
                                                                            - ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ (pm10)
                                                                            - จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา
                                                                            - จำนวนโรงเรียนที่ต้องปิด
                                                                            ทำการเนื่องจากได้รับผลกระทบ
                                                                            - อุบัติเหตุที่เกิดจากหมอกควัน
                                                                            - เที่ยวบินที่ต้องหยุดหรือเลื่อน

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 มกราคม 2556--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ