ทำเนียบรัฐบาล--21 มิ.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 4 เดือนแรก
(มค. - เมย.) ของปี 2542 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และข้อมูลมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก ใน 5 เดือนแรกของปี 2542
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ภาวะการค้าในระยะ 4 เดือนแรก (ม.ค.-เมย.) ของปี 2542
รูปเงินบาท รูปเงินเหรียญสหรัฐฯ
ล้านบาท % เพิ่ม/ลด ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
การส่งออก 651,000 - 20.3 17,637 - 1.9
การนำเข้า 564,314 - 14.5 15,129 5.1
ดุลการค้า 86,686 - 44.6 2,508 - 30.1
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณ ราคาเฉลี่ย และมูลค่าส่งออก (เงินเหรียญสหรัฐฯ)
% การเปลี่ยนแปลงเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2541
ปริมาณส่งออก ราคาส่งออก มูลค่าส่งออก
มกราคม - 3.4 -1.4 - 4.7
กุมภาพันธ์ - 1.8 -3.9 - 5.6
มีนาคม 2.5 -4.2 - 1.8
เมษายน 11.6 -6.2 4.7
เฉลี่ย (ม.ค. - เม.ย.) 2.2 -3.9 - 1.9
ที่มา : สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน
1.1 ภาวะการส่งออก 1) การส่งออกรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.9
- การส่งออกในเดือนเมษายนคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรก
หลังจากที่ลดลงอย่างต่อเนื่องสิบสามเดือน เป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรและสินค้าอุตสาห
กรรม ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 และ 8.1 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมมูลค่าลดลงร้อยละ 14.8 แต่
ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9
- สินค้าเกษตรกรรมสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว และกุ้งสดแช่แข็ง ซึ่งลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า
ขณะที่ยางพารามูลค่าส่งออกลดลงแต่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า
ร้อยละ 48.3 และ 24.7 ตามลำดับ
- สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำตาลทราย อาหารทะเลแปรรูป ผักและผล
ไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวและข้าวสาลี สำหรับอาหารทะเลกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ยางส่งออกลดลงร้อยละ 0.2
และ 12.4 ตามลำดับ
- สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สี่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ ได้แก่
เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้
เม็ดพลาสติก เครื่องใช้เดินทาง เป็นต้น สินค้าที่ส่งออกลดลงได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูปและผ้าผืน รองเท้าและชิ้นส่วน และ
ผลิตภัณฑ์พลาสติก
- ในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2542 การส่งออกคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 17,637 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2541 ร้อยละ 1.9 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.2 ขณะที่ราคาส่งออก
เฉลี่ยลดลงร้อยละ 3.9 ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของราคาส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่สำคัญ
คือ ยางพารา มันสำปะหลัง อาหารทะเลแช่แข็งและกระป๋อง และน้ำตาลทราย
- มีข้อสังเกตว่าการส่งออกเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในเดือนเมษายน ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.7 และเป็นการเพิ่มขึ้นด้านปริมาณเป็นเดือนที่สอง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่าการส่งออกมีแนวโน้มที่ฟื้นตัวขึ้น โดยเฉพาะ
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม
2) การส่งออกในรูปเงินบาทลดลงร้อยละ 20.3 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
ได้แก่
- การชะลอตัวของความต้องการของประเทศในเอเชีย คือ อาเซียน (สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม)
จีน รวมทั้งตลาดหลักคือ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่ภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลง
- การแข่งขันในตลาดต่างประเทสยังมีความรุนแรง โดยเฉพาะจากประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ จีน มาเลเซีย
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ เม็กซิโก และยุโรปตะวันออก มีการลดราคาสินค้าและขายสินค้าตัดราคากัน ส่งผลให้ราคา
สินค้ามีแนวโน้มที่ลดลง
- ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของผู้ผลิตและผู้ส่งออกในประเทศโดยเฉพาะรายกลางและรายเล็ก
เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังเข้มงวดค่อนข้างมากในการปล่อยสินเชื่อ
1.2 ภาวะการนำเข้า
1) การนำเข้ารูปเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1
- ในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2542 คิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ 15,129 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
จากระยะเดียวกันของปี 2541 ร้อยละ 5.1 เป็นการเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า ยกเว้นสินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าอุปโภคบริโภค
2) การนำเข้าในรูปเงินบาท ลดลงร้อยละ 14.5
- ในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2542 การนำเข้าคิดเป็นเงินบาท มีมูลค่าทั้งสิ้น 564,314 ล้านบาท
ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2541 ร้อยละ 14.5
1.3 ดุลการค้าเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ยี่สิบ
- ในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2542 ดุลการค้าของไทยเกินดุลคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 86,686 ล้านบาท
คิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 2,508 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2541 ร้อยละ 30.1
- มีข้อสังเกตว่า มูลค่าการเกินดุลการค้ามีแนวโน้มที่เกินดุลลดลงเป็นลำดับจากที่เกินดุลการค้าประมาณเดือน
ละกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี 2541 เหลือเพียงเดือนละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงต้นปี 2542
- ประเทศคู่ค้าสำคัญที่ไทยมีดุลการค้าเกินดุล คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอาเซียน(ยกเว้นมาเลเซีย)
รวมทั้งประเทศอื่นๆ ได้แก่ ฮ่องกง แอฟริกา และออสเตรเลีย
- ประเทศที่ไทยขาดดุลการค้า ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ตะวันออกกลาง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และจีน
2. ภาวะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ (ม.ค. - เมย.42)
2.1 ตลาดที่ส่งออกลดลง 2.2 ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
ประเทศ ล้านเหรียญ % ลด ประเทศ ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม
สหรัฐฯ
สหรัฐฯ 3,645 -2.0 ญี่ปุ่น 2,570 3.3
สหภาพยุโรป (15) 3,112 -4.2 ไต้หวัน 631 18.9
อาเซียน (9) 3,154 -8.9 เกาหลีใต้ 263 17.0
ฮ่องกง 914 -6.6 ตะวันออกกลาง 631 4.4
จีน 557 -6.7 ออสเตรเลีย 438 20.1
แอฟริกา 344 -11.5 ยุโรปตะวันออก 131 9.6
- การส่งออกไปยังตลาดต่างๆ ทั้งในตลาดหลักและตลาดอื่นๆ ยังลดลงตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ
ของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ สหภาพยุโรป (การตัด GSP ของสหภาพยุโรปทำให้การส่งออกลดลงค่อนข้างมาก โดย
เฉพาะสินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป) รวมทั้งประเทศในแถบเอเชีย ได้แก่ อาเซียน (สิงคโปร์ อินโดนีเซีย
เวียดนาม) จีน และแอฟริกา- การส่งออกไปยังประเทศในเอเชียกลับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะญี่ปุ่น มาเลเซีย และเกาหลีใต้ โดย
ญี่ปุ่น เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้ายานพาหนะและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก
ไก่สดแช่แข็ง เนื้อปลาสดแช่แข็ง ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มาเลเซีย เป็นการเพิ่มขึ้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
และ เกาหลีใต้ เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และกุ้งสดแช่แข็ง - การส่งออกไปไต้หวัน ออสเตรเลีย และ
ฟิลิปปินส์ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2541 โดยไต้หวันและฟิลิปปินส์เป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ออสเตรเลีย สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋อง
3. ภาวะการส่งออกสินค้าสำคัญ (ม.ค. - เมย.42)
3.1 การส่งออกรายหมวด
รายหมวด ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
เกษตรกรรม 2,073 -18.5
อุตสาหกรรมการเกษตร 1,635 - 1.1
อุตสาหกรรม 12,120 3.5
อื่นๆ 1,810 -12.2
3.2 สินค้าส่งออกสำคัญที่มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นและลดลง
สินค้า ปริมาณ ราคาเฉลี่ย มูลค่า
% เพิ่ม/ลด % เพิ่ม/ลด % เพิ่ม/ลด
ข้าว -22.8 1.4 -21.8
ยางพารา -16.4 -14.5 -28.5
กุ้งสดแช่แข็ง -15.4 -16.3 -29.2
ไก่แช่แข็งและแปรรูป - 9.7 - 2.0 -11.5
กาแฟดิบ -62.9 - 7.4 -65.6
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 19.7 - 9.8 8.1
ผัก ผลไม้แช่แข็ง กระป๋อง
แปรรูป 31.9 4.3 37.6
อาหารทะเลกระป๋อง 24.1 -27.4 - 9.9
น้ำตาลทราย 11.4 -31.9 -24.2
ผลิตภัณฑ์พลาสติก - 0.8 - 2.1 - 2.9
เม็ดพลาสติก 13.5 - 8.3 4.1
3.3 การส่งออกรายสินค้า (รูปเงินเหรียญสหรัฐฯ) สินค้าส่งออกสำคัญ 20 รายการแรก ในระยะ 4
เดือนแรกของปี 2542 มีมูลค่ารวมกันคิดเป็นร้อยละ 54.7 ของมูลค่าส่งออกรวม มีสินค้า 12 รายการที่ส่งออกลดลงและ
มีสินค้า 8 รายการที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
1) สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ 2,506 3.3 สิงคโปร์ ไต้หวัน สหราชอาณาจักร ฟิลิปปินส์
แผงวงจรไฟฟ้า 804 8.5 สหรัฐฯ ไต้หวัน มาเลเซีย ฮ่องกง เกาหลีใต้
รถยนต์และส่วนประกอบ 511 59.7 ออสเตรเลีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น โปรตุเกส ตุรกี
อัญมณีและเครื่องประดับ 465 1.8 สหรัฐฯ อิสราเอล เบลเยี่ยม สวิตฯ
เครื่องปรับอากาศ 363 9.9 สเปน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อิตาลี เบลเยี่ยม
ผลิตภัณฑ์มันลำปะหลัง 225 8.0 เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น จีน สเปน
เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 225 20.8 ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส
ไดโอด ทรานซิสเตอร์ 224 0.1 ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย เกาหลีใต้ สหรัฐฯ
2) สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % ลด ตลาดที่ส่งออกลดลง
เสื้อผ้าสำเร็จรูป 801 -10.3 ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เยอรมนี ซาอุดิอารเบีย สหรัฐ-
อาหรับฯ โปแลนด์ ฮ่องกง
ข้าว 575 -21.8 ฮ่องกง อินโดนีเซีย จีน มาเลเซีย ซาอุดิอารเบีย
โตโก แคนาดา
อาหารทะเลกระป่อง 434 - 9.9 สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สิงคโปร์
ยางพารา 365 -28.5 ญี่ปุ่น สหรัฐฯ มาเลเซีย จีน เกาหลีใต้
กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง 332 -29.2 สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ ออสเตรเลีย
เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ 326 -26.8 ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ไต้หวัน
รองเท้าและชิ้นส่วน 316 - 3.3 สหรัฐฯ สหรัฐอาหรับฯ แคนาดา เยอรมนี
น้ำตาลทราย 285 -24.2 อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย
ผลิตภัณฑ์ยาง 274 - 2.1 สหรัฐฯ เยอรมนี อิตาลี ฮ่องกง ไต้หวัน
ผ้าผืน 240 -15.6 สหรัฐฯ สหรัฐอาหรับฯ ฮ่องกง สิงคโปร์
ผลิตภัณฑ์พลาสติก 224 - 2.9 ฮ่องกง สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย จีน
เครื่องวิดิโอ/ส่วนประกอบ 149 -16.7 สหรัฐฯ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สิงคโปร์
4. ภาวะการนำเข้าสินค้าสำคัญ
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
นำเข้ารวม 15,129 5.1
เชื้อเพลิง 1,094 -1.1
ทุน 7,795 5.1
วัตถุดิบ 4,420 5.2
อุปโภคบริโภค 1,237 -1.2
ยานพาหนะ 290 106.2
อื่นๆ 293 7.4
4.1 การนำเข้าในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่ ทำให้การนำเข้าในระยะ 4 เดือนแรกของปี
2542 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 แสดงให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะสินค้าที่
นำเข้าเพิ่มขึ้นคือ สินค้า ยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง สินค้าทุนและสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้ใน
การผลิตสินค้าเพื่อส่งออกที่สำคัญได้แก่ ส่วนประกอบ อุปกรณ์โครงรถและตัวถัง เหล็กและเหล็กกล้า นำมาใช้ในการผลิตรถยนต์
และส่วนประกอบ เหล็กและเหล็กกล้า นำมาใช้ในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องเพชร พลอยและอัญมณี นำ
มาใช้ในการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ ไม้ซุงและไม้แปรรูป นำมาใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ ด้ายทอผ้าและด้าย
เส้นเล็ก ใช้ในการผลิตสิ่งทอ เป็นต้น
4.2 สินค้าประเภททุน และวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่นำเข้าเพิ่มขึ้น
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม
ผลิตภัณฑ์โลหะ 801 38.2
เพชร พลอย อัญมณี 348 24.0
เหล็กและเหล็กกล้า 699 34.2
ส่วนประกอบ อุปกรณ์โครงรถและตัวถัง 177 91.3
หลอดและท่อโลหะ 93 19.3
กระดาษและผลิตภัณฑ์ 129 15.5
หนังดิบและหนังฟอก 118 13.5
ไม้ซุง ไม้แปรรูปและอื่นๆ 87 28.3
ด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก 83 6.0
4.3 สินค้าสำคัญที่นำเข้าลดลง
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % ลด
น้ำมันดิบ 894 - 4.5
เคมีภัณฑ์ 1,170 - 5.2
แผงวงจรไฟฟ้า 1,214 - 0.4
เครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบ 720 - 5.1
ผ้าผืน 247 - 0.7
เส้นใยใช้ในการทอ 156 -17.4
ปลาทูนาสด แช่แข็ง 145 - 7.1
เครื่องใช้ไฟฟ้า 256 -11.2
ผลิตภัณฑ์นม 73 -25.9
5. การส่งออกของประเทศต่างๆ เปรียบเทียบกับไทย
ประเทศ ปี ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
ไทย (มค.-เมย.) 2542 17.6 -1.9
ญี่ปุ่น (มค.-เมย.) 2542 131.7 0.6
จีน (มค.-เมย.) 2542 52.0 -7.8
เกาหลีใต้ (มค.-เมย.) 2542 41.9 -5.4
ไต้หวัน (มค.-เมย.) 2542 36.9 2.7
มาเลเซีย (มค.-เมย.) 2542 25.1 4.2
สหรัฐฯ (มค.-มีค.) 2542 165.9 -3.8
เยอรมนี (มค.-มีค.) 2542 131.0 1.5
แคนาดา (มค.-มีค.) 2542 51.9 -0.6
ฮ่องกง (มค.-มีค.) 2542 36.3 -9.0
สิงคโปร์ (มค.-มีค.) 2542 29.8 -4.4
ออสเตรเลีย (มค.-มีค.) 2542 19.9 -2.1
ฟิลิปปินส์ (มค.-มีค.) 2542 7.8 15.2
เวียดนาม (มค.-มีค.) 2542 2.2 -1.1
- ประเทศในเอเซียส่วนใหญ่การส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ
ยกเว้น ไต้หวัน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของการส่งออกเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
ที่สำคัญได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ และตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
- สำหรับจีนการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้นและเริ่มติดลบในปี 2542 เนื่องจากสินค้าสำคัญ
หลายรายการส่งออกลดลง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า ของเล่น ผลิตภัณฑ์
พลาสติก เครื่องหนังและเครื่องใช้เดินทาง สำหรับสินค้าที่ยังส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์เหล็ก
และเหล็กกล้า เป็นต้น
6. การนำเข้าของประเทศต่าง ๆ เปรียบเทียบกับไทยในปี 2542
ประเทศ ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
ไทย (มค.-เมย.) 15.4 7.3
ญี่ปุ่น (มค.-เมย.) 79.0 -1.9
จีน (มค.-เมย.) 46.8 13.6
เกาหลีใต้ (มค.-เมย.) 34.7 8.8
ไต้หวัน (มค.-เมย.) 33.3 -7.0
มาเลเซีย (มค.-เมย.) 19.3 -7.0
สหรัฐฯ (มค.-มีค.) 230.1 5.7
เยอรมนี (มค.-มีค.) 113.0 0.7
แคนาดา (มค.มีค.) 51.0 0.5
ฮ่องกง (มค.-มีค.) 37.9 -13.8
ออสเตรเลีย (มค.-มีค.) 23.1 9.7
ฟิลิปปินส์ (มค.-มีค.) 7.3 -12.1
เวียดนาม (มค.-มีค.) 2.4 7.4
- ประเทศในเอเซียส่วนใหญ่การนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทย เกาหลีใต้และจีน สินค้าที่นำ
เข้าเพิ่มขึ้น ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและส่วนประกอบ ผ้าผืนและเส้นใยสังเคราะห์ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่อง
คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน ปุ๋ย วัสดุ พลาสติก เคมีภัณฑ์
7. มูลค่าการนำเข้า - ส่งออก ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2542
สกุลเงินบาท สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ปี 2542 ปี 2541 เพิ่ม/ลด (%) ปี 2542 ปี 2541 เพิ่ม/ลด (%)
ปริมาณการนำเข้า 695,447 791,620 -12.15 18,649 17,758 5.02
ปริมาณการส่งออก 825,021 983,449 -16.11 22,330 22,307 0.10
ดุลการค้า 129,574 191,829 -32.45 3,681 4,549 -19.08
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มิถุนายน 2542--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 4 เดือนแรก
(มค. - เมย.) ของปี 2542 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และข้อมูลมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก ใน 5 เดือนแรกของปี 2542
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ภาวะการค้าในระยะ 4 เดือนแรก (ม.ค.-เมย.) ของปี 2542
รูปเงินบาท รูปเงินเหรียญสหรัฐฯ
ล้านบาท % เพิ่ม/ลด ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
การส่งออก 651,000 - 20.3 17,637 - 1.9
การนำเข้า 564,314 - 14.5 15,129 5.1
ดุลการค้า 86,686 - 44.6 2,508 - 30.1
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณ ราคาเฉลี่ย และมูลค่าส่งออก (เงินเหรียญสหรัฐฯ)
% การเปลี่ยนแปลงเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2541
ปริมาณส่งออก ราคาส่งออก มูลค่าส่งออก
มกราคม - 3.4 -1.4 - 4.7
กุมภาพันธ์ - 1.8 -3.9 - 5.6
มีนาคม 2.5 -4.2 - 1.8
เมษายน 11.6 -6.2 4.7
เฉลี่ย (ม.ค. - เม.ย.) 2.2 -3.9 - 1.9
ที่มา : สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน
1.1 ภาวะการส่งออก 1) การส่งออกรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.9
- การส่งออกในเดือนเมษายนคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรก
หลังจากที่ลดลงอย่างต่อเนื่องสิบสามเดือน เป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรและสินค้าอุตสาห
กรรม ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 และ 8.1 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมมูลค่าลดลงร้อยละ 14.8 แต่
ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9
- สินค้าเกษตรกรรมสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว และกุ้งสดแช่แข็ง ซึ่งลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า
ขณะที่ยางพารามูลค่าส่งออกลดลงแต่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า
ร้อยละ 48.3 และ 24.7 ตามลำดับ
- สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำตาลทราย อาหารทะเลแปรรูป ผักและผล
ไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวและข้าวสาลี สำหรับอาหารทะเลกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ยางส่งออกลดลงร้อยละ 0.2
และ 12.4 ตามลำดับ
- สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สี่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 สินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ ได้แก่
เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้
เม็ดพลาสติก เครื่องใช้เดินทาง เป็นต้น สินค้าที่ส่งออกลดลงได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูปและผ้าผืน รองเท้าและชิ้นส่วน และ
ผลิตภัณฑ์พลาสติก
- ในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2542 การส่งออกคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 17,637 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2541 ร้อยละ 1.9 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.2 ขณะที่ราคาส่งออก
เฉลี่ยลดลงร้อยละ 3.9 ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของราคาส่งออกสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่สำคัญ
คือ ยางพารา มันสำปะหลัง อาหารทะเลแช่แข็งและกระป๋อง และน้ำตาลทราย
- มีข้อสังเกตว่าการส่งออกเริ่มมีการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในเดือนเมษายน ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.7 และเป็นการเพิ่มขึ้นด้านปริมาณเป็นเดือนที่สอง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่าการส่งออกมีแนวโน้มที่ฟื้นตัวขึ้น โดยเฉพาะ
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม
2) การส่งออกในรูปเงินบาทลดลงร้อยละ 20.3 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
ได้แก่
- การชะลอตัวของความต้องการของประเทศในเอเชีย คือ อาเซียน (สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม)
จีน รวมทั้งตลาดหลักคือ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่ภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลง
- การแข่งขันในตลาดต่างประเทสยังมีความรุนแรง โดยเฉพาะจากประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ จีน มาเลเซีย
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ เม็กซิโก และยุโรปตะวันออก มีการลดราคาสินค้าและขายสินค้าตัดราคากัน ส่งผลให้ราคา
สินค้ามีแนวโน้มที่ลดลง
- ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของผู้ผลิตและผู้ส่งออกในประเทศโดยเฉพาะรายกลางและรายเล็ก
เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังเข้มงวดค่อนข้างมากในการปล่อยสินเชื่อ
1.2 ภาวะการนำเข้า
1) การนำเข้ารูปเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1
- ในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2542 คิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ 15,129 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
จากระยะเดียวกันของปี 2541 ร้อยละ 5.1 เป็นการเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า ยกเว้นสินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าอุปโภคบริโภค
2) การนำเข้าในรูปเงินบาท ลดลงร้อยละ 14.5
- ในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2542 การนำเข้าคิดเป็นเงินบาท มีมูลค่าทั้งสิ้น 564,314 ล้านบาท
ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2541 ร้อยละ 14.5
1.3 ดุลการค้าเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ยี่สิบ
- ในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2542 ดุลการค้าของไทยเกินดุลคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 86,686 ล้านบาท
คิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 2,508 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2541 ร้อยละ 30.1
- มีข้อสังเกตว่า มูลค่าการเกินดุลการค้ามีแนวโน้มที่เกินดุลลดลงเป็นลำดับจากที่เกินดุลการค้าประมาณเดือน
ละกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี 2541 เหลือเพียงเดือนละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงต้นปี 2542
- ประเทศคู่ค้าสำคัญที่ไทยมีดุลการค้าเกินดุล คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอาเซียน(ยกเว้นมาเลเซีย)
รวมทั้งประเทศอื่นๆ ได้แก่ ฮ่องกง แอฟริกา และออสเตรเลีย
- ประเทศที่ไทยขาดดุลการค้า ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ตะวันออกกลาง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และจีน
2. ภาวะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ (ม.ค. - เมย.42)
2.1 ตลาดที่ส่งออกลดลง 2.2 ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
ประเทศ ล้านเหรียญ % ลด ประเทศ ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม
สหรัฐฯ
สหรัฐฯ 3,645 -2.0 ญี่ปุ่น 2,570 3.3
สหภาพยุโรป (15) 3,112 -4.2 ไต้หวัน 631 18.9
อาเซียน (9) 3,154 -8.9 เกาหลีใต้ 263 17.0
ฮ่องกง 914 -6.6 ตะวันออกกลาง 631 4.4
จีน 557 -6.7 ออสเตรเลีย 438 20.1
แอฟริกา 344 -11.5 ยุโรปตะวันออก 131 9.6
- การส่งออกไปยังตลาดต่างๆ ทั้งในตลาดหลักและตลาดอื่นๆ ยังลดลงตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ
ของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ สหภาพยุโรป (การตัด GSP ของสหภาพยุโรปทำให้การส่งออกลดลงค่อนข้างมาก โดย
เฉพาะสินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป) รวมทั้งประเทศในแถบเอเชีย ได้แก่ อาเซียน (สิงคโปร์ อินโดนีเซีย
เวียดนาม) จีน และแอฟริกา- การส่งออกไปยังประเทศในเอเชียกลับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะญี่ปุ่น มาเลเซีย และเกาหลีใต้ โดย
ญี่ปุ่น เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้ายานพาหนะและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก
ไก่สดแช่แข็ง เนื้อปลาสดแช่แข็ง ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มาเลเซีย เป็นการเพิ่มขึ้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
และ เกาหลีใต้ เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และกุ้งสดแช่แข็ง - การส่งออกไปไต้หวัน ออสเตรเลีย และ
ฟิลิปปินส์ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2541 โดยไต้หวันและฟิลิปปินส์เป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ออสเตรเลีย สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋อง
3. ภาวะการส่งออกสินค้าสำคัญ (ม.ค. - เมย.42)
3.1 การส่งออกรายหมวด
รายหมวด ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
เกษตรกรรม 2,073 -18.5
อุตสาหกรรมการเกษตร 1,635 - 1.1
อุตสาหกรรม 12,120 3.5
อื่นๆ 1,810 -12.2
3.2 สินค้าส่งออกสำคัญที่มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นและลดลง
สินค้า ปริมาณ ราคาเฉลี่ย มูลค่า
% เพิ่ม/ลด % เพิ่ม/ลด % เพิ่ม/ลด
ข้าว -22.8 1.4 -21.8
ยางพารา -16.4 -14.5 -28.5
กุ้งสดแช่แข็ง -15.4 -16.3 -29.2
ไก่แช่แข็งและแปรรูป - 9.7 - 2.0 -11.5
กาแฟดิบ -62.9 - 7.4 -65.6
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 19.7 - 9.8 8.1
ผัก ผลไม้แช่แข็ง กระป๋อง
แปรรูป 31.9 4.3 37.6
อาหารทะเลกระป๋อง 24.1 -27.4 - 9.9
น้ำตาลทราย 11.4 -31.9 -24.2
ผลิตภัณฑ์พลาสติก - 0.8 - 2.1 - 2.9
เม็ดพลาสติก 13.5 - 8.3 4.1
3.3 การส่งออกรายสินค้า (รูปเงินเหรียญสหรัฐฯ) สินค้าส่งออกสำคัญ 20 รายการแรก ในระยะ 4
เดือนแรกของปี 2542 มีมูลค่ารวมกันคิดเป็นร้อยละ 54.7 ของมูลค่าส่งออกรวม มีสินค้า 12 รายการที่ส่งออกลดลงและ
มีสินค้า 8 รายการที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
1) สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ 2,506 3.3 สิงคโปร์ ไต้หวัน สหราชอาณาจักร ฟิลิปปินส์
แผงวงจรไฟฟ้า 804 8.5 สหรัฐฯ ไต้หวัน มาเลเซีย ฮ่องกง เกาหลีใต้
รถยนต์และส่วนประกอบ 511 59.7 ออสเตรเลีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น โปรตุเกส ตุรกี
อัญมณีและเครื่องประดับ 465 1.8 สหรัฐฯ อิสราเอล เบลเยี่ยม สวิตฯ
เครื่องปรับอากาศ 363 9.9 สเปน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อิตาลี เบลเยี่ยม
ผลิตภัณฑ์มันลำปะหลัง 225 8.0 เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น จีน สเปน
เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 225 20.8 ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส
ไดโอด ทรานซิสเตอร์ 224 0.1 ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย เกาหลีใต้ สหรัฐฯ
2) สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % ลด ตลาดที่ส่งออกลดลง
เสื้อผ้าสำเร็จรูป 801 -10.3 ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เยอรมนี ซาอุดิอารเบีย สหรัฐ-
อาหรับฯ โปแลนด์ ฮ่องกง
ข้าว 575 -21.8 ฮ่องกง อินโดนีเซีย จีน มาเลเซีย ซาอุดิอารเบีย
โตโก แคนาดา
อาหารทะเลกระป่อง 434 - 9.9 สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สิงคโปร์
ยางพารา 365 -28.5 ญี่ปุ่น สหรัฐฯ มาเลเซีย จีน เกาหลีใต้
กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง 332 -29.2 สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ ออสเตรเลีย
เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ 326 -26.8 ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ไต้หวัน
รองเท้าและชิ้นส่วน 316 - 3.3 สหรัฐฯ สหรัฐอาหรับฯ แคนาดา เยอรมนี
น้ำตาลทราย 285 -24.2 อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย
ผลิตภัณฑ์ยาง 274 - 2.1 สหรัฐฯ เยอรมนี อิตาลี ฮ่องกง ไต้หวัน
ผ้าผืน 240 -15.6 สหรัฐฯ สหรัฐอาหรับฯ ฮ่องกง สิงคโปร์
ผลิตภัณฑ์พลาสติก 224 - 2.9 ฮ่องกง สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย จีน
เครื่องวิดิโอ/ส่วนประกอบ 149 -16.7 สหรัฐฯ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สิงคโปร์
4. ภาวะการนำเข้าสินค้าสำคัญ
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
นำเข้ารวม 15,129 5.1
เชื้อเพลิง 1,094 -1.1
ทุน 7,795 5.1
วัตถุดิบ 4,420 5.2
อุปโภคบริโภค 1,237 -1.2
ยานพาหนะ 290 106.2
อื่นๆ 293 7.4
4.1 การนำเข้าในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่ ทำให้การนำเข้าในระยะ 4 เดือนแรกของปี
2542 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 แสดงให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจและการส่งออกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะสินค้าที่
นำเข้าเพิ่มขึ้นคือ สินค้า ยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง สินค้าทุนและสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้ใน
การผลิตสินค้าเพื่อส่งออกที่สำคัญได้แก่ ส่วนประกอบ อุปกรณ์โครงรถและตัวถัง เหล็กและเหล็กกล้า นำมาใช้ในการผลิตรถยนต์
และส่วนประกอบ เหล็กและเหล็กกล้า นำมาใช้ในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องเพชร พลอยและอัญมณี นำ
มาใช้ในการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ ไม้ซุงและไม้แปรรูป นำมาใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ ด้ายทอผ้าและด้าย
เส้นเล็ก ใช้ในการผลิตสิ่งทอ เป็นต้น
4.2 สินค้าประเภททุน และวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่นำเข้าเพิ่มขึ้น
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม
ผลิตภัณฑ์โลหะ 801 38.2
เพชร พลอย อัญมณี 348 24.0
เหล็กและเหล็กกล้า 699 34.2
ส่วนประกอบ อุปกรณ์โครงรถและตัวถัง 177 91.3
หลอดและท่อโลหะ 93 19.3
กระดาษและผลิตภัณฑ์ 129 15.5
หนังดิบและหนังฟอก 118 13.5
ไม้ซุง ไม้แปรรูปและอื่นๆ 87 28.3
ด้ายทอผ้าและด้ายเส้นเล็ก 83 6.0
4.3 สินค้าสำคัญที่นำเข้าลดลง
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % ลด
น้ำมันดิบ 894 - 4.5
เคมีภัณฑ์ 1,170 - 5.2
แผงวงจรไฟฟ้า 1,214 - 0.4
เครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบ 720 - 5.1
ผ้าผืน 247 - 0.7
เส้นใยใช้ในการทอ 156 -17.4
ปลาทูนาสด แช่แข็ง 145 - 7.1
เครื่องใช้ไฟฟ้า 256 -11.2
ผลิตภัณฑ์นม 73 -25.9
5. การส่งออกของประเทศต่างๆ เปรียบเทียบกับไทย
ประเทศ ปี ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
ไทย (มค.-เมย.) 2542 17.6 -1.9
ญี่ปุ่น (มค.-เมย.) 2542 131.7 0.6
จีน (มค.-เมย.) 2542 52.0 -7.8
เกาหลีใต้ (มค.-เมย.) 2542 41.9 -5.4
ไต้หวัน (มค.-เมย.) 2542 36.9 2.7
มาเลเซีย (มค.-เมย.) 2542 25.1 4.2
สหรัฐฯ (มค.-มีค.) 2542 165.9 -3.8
เยอรมนี (มค.-มีค.) 2542 131.0 1.5
แคนาดา (มค.-มีค.) 2542 51.9 -0.6
ฮ่องกง (มค.-มีค.) 2542 36.3 -9.0
สิงคโปร์ (มค.-มีค.) 2542 29.8 -4.4
ออสเตรเลีย (มค.-มีค.) 2542 19.9 -2.1
ฟิลิปปินส์ (มค.-มีค.) 2542 7.8 15.2
เวียดนาม (มค.-มีค.) 2542 2.2 -1.1
- ประเทศในเอเซียส่วนใหญ่การส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ
ยกเว้น ไต้หวัน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของการส่งออกเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
ที่สำคัญได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ และตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
- สำหรับจีนการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้นและเริ่มติดลบในปี 2542 เนื่องจากสินค้าสำคัญ
หลายรายการส่งออกลดลง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า ของเล่น ผลิตภัณฑ์
พลาสติก เครื่องหนังและเครื่องใช้เดินทาง สำหรับสินค้าที่ยังส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์เหล็ก
และเหล็กกล้า เป็นต้น
6. การนำเข้าของประเทศต่าง ๆ เปรียบเทียบกับไทยในปี 2542
ประเทศ ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
ไทย (มค.-เมย.) 15.4 7.3
ญี่ปุ่น (มค.-เมย.) 79.0 -1.9
จีน (มค.-เมย.) 46.8 13.6
เกาหลีใต้ (มค.-เมย.) 34.7 8.8
ไต้หวัน (มค.-เมย.) 33.3 -7.0
มาเลเซีย (มค.-เมย.) 19.3 -7.0
สหรัฐฯ (มค.-มีค.) 230.1 5.7
เยอรมนี (มค.-มีค.) 113.0 0.7
แคนาดา (มค.มีค.) 51.0 0.5
ฮ่องกง (มค.-มีค.) 37.9 -13.8
ออสเตรเลีย (มค.-มีค.) 23.1 9.7
ฟิลิปปินส์ (มค.-มีค.) 7.3 -12.1
เวียดนาม (มค.-มีค.) 2.4 7.4
- ประเทศในเอเซียส่วนใหญ่การนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทย เกาหลีใต้และจีน สินค้าที่นำ
เข้าเพิ่มขึ้น ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและส่วนประกอบ ผ้าผืนและเส้นใยสังเคราะห์ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่อง
คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน ปุ๋ย วัสดุ พลาสติก เคมีภัณฑ์
7. มูลค่าการนำเข้า - ส่งออก ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2542
สกุลเงินบาท สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ปี 2542 ปี 2541 เพิ่ม/ลด (%) ปี 2542 ปี 2541 เพิ่ม/ลด (%)
ปริมาณการนำเข้า 695,447 791,620 -12.15 18,649 17,758 5.02
ปริมาณการส่งออก 825,021 983,449 -16.11 22,330 22,307 0.10
ดุลการค้า 129,574 191,829 -32.45 3,681 4,549 -19.08
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มิถุนายน 2542--