ทำเนียบรัฐบาล--23 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 9 เดือนแรก
(ม.ค. - ก.ย.) ของปี 2541 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1. ภาวะการค้าในระยะ 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2541
รูปเงินบาท รูปเงินเหรียญสหรัฐฯ
ล้านบาท % เพิ่ม/ลด ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
การส่งออก 1,736,090 44.0 40,643 - 5.6
การนำเข้า 1,378,076 - 1.5 31,869 - 36.3
ดุลการค้า 358,014 - 8,774 -
1.1 ภาวะการส่งออก
1) การส่งออกรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.6
- การส่งออกในเดือนกันยายนคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 4,676 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนเดียวกัน
ของปี 2540 ร้อยละ 9.0 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่เจ็ด เป็นการลดลงในทุกหมวดสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมการ
เกษตร ซึ่งลดลงร้อยละ 20.2 และ 20.0 ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 27.4 และ 26.7 ตามลำดับ ที่สำคัญได้แก่
ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย ผักและผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย โดยลดลง
เพียงร้อยละ 0.8
- การส่งออกของไทยในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2541 คิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 40,643 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2540 ร้อยละ 5.6 - ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกเดือนเฉลี่ยร้อยละ 11.0 แต่ราคาส่งออก
เฉลี่ยของไทยลดลงเฉลี่ยร้อยละ 14.7 โดยเฉพาะสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร เนื่องจากผู้ซื้อต่อรองราคาลง สำหรับสินค้า
อุตสาหกรรมราคามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากต้องแข่งขันด้านราคากับเกาหลีใต้และจีน โดยเฉพาะสินค้า เสื้อผ้าสำเร็จรูปและผ้าผืน รองเท้าและ
ชิ้นส่วน เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก
2) การส่งออกในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.0
- การส่งออกในเดือนกันยายนคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2540 ร้อยละ 5.2
- การส่งออกของไทยในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2541 คิดเป็นเงินบาทเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2540
ร้อยละ 44.0
1.2 ภาวะการนำเข้า
1) การนำเข้ารูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 36.3
- การนำเข้าในเดือนกันยายนคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 3,371 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนเดียวกัน
ของปี 2540 ร้อยละ 31.5 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สิบห้า - การนำเข้าของไทยในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2541 คิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2540 ร้อยละ 36.3 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว ปัญหาการขาดสภาพคล่อง ภาคการผลิต
ลดลงหลายสาขา
- หมวดที่มีการนำเข้าลดลงมาก ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง ลดลงร้อยละ 85.0 รองลงมาได้แก่ หมวดเชื้อ
เพลิงลดลงร้อยละ 43.1 หมวดวัตถุดิบลดลงร้อยละ 33.3 หมวดสินค้าทุนลดลงร้อยละ 32.3
2) การนำเข้ารูปเงินบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5
- การนำเข้าในเดือนกันยายนคิดเป็นเงินบาทลดลงจากเดือนเดียวกันของปี 2540 ร้อยละ 20.8
- การนำเข้าของไทยในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2541 คิดเป็นเงินบาทเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2540 ร้อยละ
1.5
1.3 ดุลการค้าเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่สิบสาม
- เดือนกันยายน ดุลการค้าเกินดุลคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 51,258 ล้านบาท คิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 1,304
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่สิบสาม
- ดุลการค้าในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2541 เกินดุลเป็นเงินบาทมีมูลค่า 358,014 ล้านบาท คิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ
มีมูลค่า 8,774 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ประเทศคู่ค้าสำคัญที่ไทยมีดุลการค้าเกินดุล คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอาเซียน (ยกเว้นมาเลเซีย) รวมทั้ง
ประเทศอื่นๆ ได้แก่ ฮ่องกง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก
- ประเทศที่ไทยขาดดุลการค้า ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย ไต้หวัน จีน และเกาหลีใต้
2. ภาวะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ
2.1 ตลาดที่ส่งออกลดลง 2.2 ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
ประเทศ ล้านเหรียญสหรัฐฯ % ลด ประเทศ ล้านเหรียญสหรัฐฯ % ลด
ญี่ปุ่น 5,550 - 17.3 สหรัฐฯ 9,064 9.9
อาเซียน (8) 7,192 - 23.3 สหภาพยุโรป (15) 7,171 7.7
ฮ่องกง 2,132 - 17.0 ไต้หวัน 1,263 8.2
จีน 1,268 - 0.2 แอฟริกา 810 17.3
เกาหลีใต้ 472 - 17.2 ออสเตรเลีย 835 6.9
ตะวันออกกลาง 1,434 - 5.2 ยุโรปตะวันออก 247 - 30.8
ข้อสังเกต
- ตลาดส่งออกที่ลดลงเป็นประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งประสบภาวะวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจ คือ ญี่ปุ่น อาเซียน ฮ่องกง
และเกาหลีใต้ รวมทั้งตลาดตะวันออกกลางและยุโรปตะวันออก ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินจากรัสเซีย
- ตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป แอฟริกา และออสเตรเลีย แม้จะยังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราขยายตัวมีแนวโน้มที่
ชะลอตัวลงเป็นลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศเหล่านี้เริ่มได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในเอเซียมากขึ้น เศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้ม
ชะลอตัวลง โดยเฉพาะสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป
- การส่งออกของจีนมีแนวโน้มที่ลดต่ำลงเป็นลำดับ จากที่ส่งออกเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี และกลับมาส่งออกลดลงเล็กน้อย ในระยะ
9 เดือนแรก โดยเป็นการลดลงของการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม ที่สำคัญได้แก่ ยางพารา กุ้งสดแช่แข็ง ข้าว และน้ำตาลทราย
3. ภาวะการส่งออกสินค้าสำคัญ
3.1 การส่งออกรายหมวด
รายหมวด ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
เกษตรกรรม 5,318 - 12.2
อุตสาหกรรมการเกษตร 3,522 - 13.5
อุตสาหกรรม 27,283 - 3.3
อื่นๆ 4,381 - 3.0
- กลุ่มสินค้าเกษตรส่วนใหญ่มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น แต่ราคาส่งออกโดยเฉลี่ยลดลงค่อนข้างมาก ที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นต้น
- กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรหลายชนิดราคามีแนวโน้มดี ปริมาณการส่งออกเริ่มชะลอตัว เช่น อาหารทะเลแปรรูป ผลิตภัณฑ์
ยาง เป็นต้น
- กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมหลายชนิดมีแนวโน้มดีขึ้น แม้ว่าราคาโดยเฉลี่ยจะลดลง ที่สำคัญ ได้แก่ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า
สำเร็จรูป เครื่องใช้สำหรับเดินทาง เป็นต้น
3.2 สินค้าส่งออกสำคัญที่มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นและลดลง
สินค้า ปริมาณ ราคาเฉลี่ย มูลค่า
% เพิ่ม/ลด % เพิ่ม/ลด % เพิ่ม/ลด
ข้าว 28.1 - 19.3 3.4
ยางพารา 9.7 - 36.3 - 30.1
ไก่แช่แข็งและแปรรูป 45.9 - 19.7 17.2
ผลิตภัณฑ์พลาสติก 22.5 -30.0 - 14.2
อาหารทะเลกระป๋อง 13.4 5.7 19.8
เสื้อผ้าสำเร็จรูป 12.2 - 12.5 - 1.9
กุ้งสดแช่แข็ง - 6.5 - 5.2 - 11.4
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง - 22.2 - 5.7 - 26.6
กาแฟดิบ - 24.7 26.9 - 4.5
3.3 การส่งออกรายสินค้า
สินค้าส่งออกสำคัญ 20 รายการแรก ในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่ารวมกันคิดเป็นร้อยละ 56.2 ของมูลค่า ส่งออกรวม
มีสินค้า 14 รายการที่ส่งออกลดลงและมีสินค้า 6 รายการที่ส่งออกเพิ่มขึ้น (มีสินค้าที่กลับมาส่งออกลดลง 1 รายการ คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป)
1) สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ 4,921 12.4 สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ จีน ไต้หวัน
ข้าว 1,399 6.6 อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ โตโก เซเนกัล
อาหารทะเลกระป๋อง 1,037 23.0 สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร
เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ 963 8.0 สหรัฐฯ เยอรมนี ไต้หวัน
รถยนต์และส่วนประกอบ 712 12.7 ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย โปรตุเกส เยอรมนี
ผลิตภัณฑ์ยาง 580 11.7 สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน
2) สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % ลด ตลาดที่ส่งออกลดลง
เสื้อผ้าสำเร็จรูป 2,034 - 0.5 ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส
ซาอุดิอารเบีย สหรัฐอาหรับฯ
แผงวงจรไฟฟ้า 1,477 - 12.6 สหรัฐฯ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง
ยางพารา 932 - 30.2 ญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ มาเลเซีย
อัญมณีและเครื่องประดับ 888 - 23.2 สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิสราเอล เบลเยี่ยม
กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง 874 - 10.5 ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง สหรัฐฯ
รองเท้าและชิ้นส่วน 613 - 21.0 สหรัฐฯ เบลเยี่ยม สหรัฐอาหรับฯ
เครื่องปรับอากาศ 577 - 19.3 ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐฯ
ผ้าผืน 571 - 3.1 สหรัฐอาหรับฯ ฮ่องกง สหราชอาณาจักร
น้ำตาลทราย 545 - 45.0 อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ จีน
ผลิตภัณฑ์พลาสติก 470 - 14.2 ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย
ไดโอด ทรานซิสเตอร์ 468 - 3.9 สิงคโปร์ สหรัฐฯ เกาหลีใต้ เยอรมนี
เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 393 - 20.6 ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย
เครื่องวิดิโอ/ส่วนประกอบ 386 - 18.1 สหรัฐฯ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เยอรมนี
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 360 - 22.5 เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย
สินค้าที่ส่งออกลดลงยังคงประกอบด้วยสินค้ากลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
- สินค้าอุตสาหรรมการเกษตรที่ผลผลิตลดลง เช่น น้ำตาลทราย สับปะรดกระป๋อง กาแฟดิบ ผลไม้สดแช่เย็น ทำให้ปริมาณการ
ส่งออกลดลง
- สินค้าที่ราคาเฉลี่ยส่งออกมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากผู้ซื้อขอต่อรองราคาและบางชนิดตลาดต้องการลดลง โดยเฉพาะสินค้า
เกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น มันอัดเม็ดและมันเส้น ยางพารา กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ผักและผลไม้กระป๋องและแปรรูป
- สินค้าที่ประสบปัญหาการแข่งขันที่รุนแรง ส่วนใหญ่ราคาสินค้าจากไทยสูงกว่าคู่แข่ง รวมทั้งคู่แข่งได้ลดราคาขายอย่างมาก
การส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูปและผ้าผืน รองเท้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้
เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะที่เป็นสินค้าสำเร็จรูป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องวิดิโอ เครื่องเสียง เครื่องปรับอากาศ
มอเตอร์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น
4. ภาวะการนำเข้าสินค้าสำคัญ
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
นำเข้ารวม 31,869 - 36.3
เชื้อเพลิง 2,552 - 43.1
ทุน 15,917 - 32.3
วัตถุดิบ 9,669 - 33.3
อุปโภคบริโภค 2,769 - 34.3
ยานพาหนะ 336 - 85.0
อื่นๆ 626 - 41.3
4.1 การนำเข้าในเดือนกันยายน ลดลงร้อยละ 31.5 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สิบห้า ทำให้การนำเข้าในระยะ 9 เดือน
ลดลงร้อยละ 36.3 เป็นการลดลงต่อเนื่องในทุกหมวดสินค้า ตามอุปสงค์และการลงทุนภายในประเทศซึ่งยังคงชะลอตัวลง ประกอบกับปัญหาการ
ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง
- สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนและวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่นำเข้ามาใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก เช่น เครื่องจักร สิ่งทอ
ผ้าผืน ด้ายและเส้นใย เคมีภัณฑ์ นำมาใช้ในการผลิตสิ่งทอ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ แผงวงจรไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า
เป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- กลุ่มสินค้าทุนที่ลดลงมากเช่นกันคือ เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง หลอดและท่อผลิตภัณฑ์โลหะ อันเนื่องมา
จากภาวะการก่อสร้างภายในประเทศที่ชะลอตัวลดลง
4.2 สินค้าประเภททุน และวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่นำเข้าลดลง
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % ลด
น้ำมันดิบ 2,189 - 37.4
ผลิตภัณฑ์โลหะ 1,499 - 6.7
เครื่องจักรสิ่งทอ 150 - 55.2
ไดโอด ทรานซิสเตอร์ 331 - 10.1
ผงวงจรไฟฟ้า 2,660 - 13.1
เครื่องคอมพิวเตอร์/ส่วนประกอบ 1,485 - 36.9
เพชร พลอย อัญมณี 676 - 33.1
เหล็กและเหล็กกล้า 1,236 - 56.1
เคมีภัณฑ์ 2,762 - 24.5
ผ้าผืน ด้าย และเส้นใย 1,179 - 10.8
ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช 463 - 27.2
4.3 สินค้าอุปโภคบริโภคที่นำเข้าลดลง
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % ลด
ผลิตภัณฑ์นม 210 - 26.6
ผักและผลไม้ 90 - 44.6
เครื่องดื่ม น้ำแร่ น้ำอัดลม สุรา 28 - 75.4
สบู่ ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง 183 - 27.6
เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ 226 - 31.1
เครื่องใช้ไฟฟ้า 624 - 42.5
4.4 สินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม
มอเตอร์ไฟฟ้า 820 54.9
สัตว์น้ำแช่แข็ง (ปลาทูนา กุ้ง) 631 11.1
ส่วนประกอบนาฬิกา 102 10.0
ข้าวสาลีและข้าวเมสลิน 92 4.9
5. การส่งออกของประเทศต่างๆ เปรียบเทียบกับไทย
ประเทศ ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
ไทย (มค.-กย.) 40,643 - 5.6
สหรัฐฯ (มค.-สค.) 446,914 - 0.8
ญี่ปุ่น (มค.-สค.) 252,076 - 8.6
เกาหลีใต้ (มค.-สค.) 87,060 - 1.2
ไต้หวัน (มค.-สค.) 73,046 - 7.4
ฟิลิปปินส์ (มค.-สค.) 19,059 18.9
จีน (มค.-กค.) 103,100 6.9
ฮ่องกง (มค.-กค.) 100,109 - 3.9
สิงคโปร์ (มค.-มิย.) 55,210 - 10.5
มาเลเซีย (มค.-มิย.) 35,388 - 10.2
อินโดนีเซีย (มค.-มิย.) 24,569 - 4.1
- ประเทศในเอเซียส่วนใหญ่การส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มลดลงในอัตราที่สูงขึ้น
- ประเทศที่ยังส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน และฟิลิปปินส์ แต่อัตราการขยายตัวก็มีแนวโน้มชะลอตัวลงเป็นลำดับ
6. การนำเข้าของประเทศต่าง ๆ เปรียบเทียบกับไทย
ประเทศ ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
ไทย (มค.-กย.) 31,869 - 36.3
สหรัฐฯ (มค.-สค.) 596,837 5.7
ญี่ปุ่น (มค.-สค.) 185,820 - 18.6
ไต้หวัน (มค.-สค.) 69,440 - 6.9
เกาหลีใต้ (มค.-สค.) 61,770 - 37.3
ฟิลิปปินส์ (มค.-สค.) 20,351 - 14.4
ฮ่องกง (มค.-กค.) 109,300 - 7.8
จีน (มค.-กค.) 76,387 0.7
สิงคโปร์ (มค.-มิย.) 51,836 - 20.6
มาเลเซีย (มค.-มิย.) 29,743 - 26.5
อินโดนีเซีย (มค.-มิย.) 13,302 - 37.8
* ประเทศในเอเซียส่วนใหญ่การนำเข้าลดลง ยกเว้น จีน ซึ่งนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยอินโดนีเซีย ไทย และเกาหลีใต้ มีอัตราการ
ลดลงของการนำเข้าในเกณฑ์สูง รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการลดลงของการนำเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบ
และสินค้าเชื้อเพลิง
* สินค้าที่จีนนำเข้าเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนและวัตถุดิบ ที่สำคัญได้แก่ เม็ดพลาสติก เหล็ก แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบคอม
พิวเตอร์ ปุ๋ย กระดาษและผลิตภัณฑ์ สินค้าที่นำเข้าลดลงได้แก่ น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป
* มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการนำเข้าของเกาหลีใต้ ไต้หวัน และฟิลิปินส์ กล่าวคือ แม้ว่ามูลค่าการนำเข้ารวมจะลดลง แต่สินค้าสำคัญ
หลายรายการที่นำเข้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าทุน และสินค้าวัตถุดิบ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการผลิตในสาขาดังกล่าวยังอยู่ในเกณฑ์ขยายตัว
- เกาหลีใต้ : แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ ไดโอต ทรานซิสเตอร์ อลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป และ หลอดภาพ
- ไต้หวัน : ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์โทรคมนาคม และเครื่องจักรไฟฟ้า
- ฟิลิปปินส์ : เซมิคอนดักเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องจักรไฟฟ้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤศจิกายน 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 9 เดือนแรก
(ม.ค. - ก.ย.) ของปี 2541 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1. ภาวะการค้าในระยะ 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2541
รูปเงินบาท รูปเงินเหรียญสหรัฐฯ
ล้านบาท % เพิ่ม/ลด ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
การส่งออก 1,736,090 44.0 40,643 - 5.6
การนำเข้า 1,378,076 - 1.5 31,869 - 36.3
ดุลการค้า 358,014 - 8,774 -
1.1 ภาวะการส่งออก
1) การส่งออกรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.6
- การส่งออกในเดือนกันยายนคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 4,676 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนเดียวกัน
ของปี 2540 ร้อยละ 9.0 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่เจ็ด เป็นการลดลงในทุกหมวดสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมการ
เกษตร ซึ่งลดลงร้อยละ 20.2 และ 20.0 ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 27.4 และ 26.7 ตามลำดับ ที่สำคัญได้แก่
ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย ผักและผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย โดยลดลง
เพียงร้อยละ 0.8
- การส่งออกของไทยในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2541 คิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 40,643 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2540 ร้อยละ 5.6 - ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกเดือนเฉลี่ยร้อยละ 11.0 แต่ราคาส่งออก
เฉลี่ยของไทยลดลงเฉลี่ยร้อยละ 14.7 โดยเฉพาะสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร เนื่องจากผู้ซื้อต่อรองราคาลง สำหรับสินค้า
อุตสาหกรรมราคามีแนวโน้มลดลง เนื่องจากต้องแข่งขันด้านราคากับเกาหลีใต้และจีน โดยเฉพาะสินค้า เสื้อผ้าสำเร็จรูปและผ้าผืน รองเท้าและ
ชิ้นส่วน เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก
2) การส่งออกในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.0
- การส่งออกในเดือนกันยายนคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี 2540 ร้อยละ 5.2
- การส่งออกของไทยในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2541 คิดเป็นเงินบาทเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2540
ร้อยละ 44.0
1.2 ภาวะการนำเข้า
1) การนำเข้ารูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 36.3
- การนำเข้าในเดือนกันยายนคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 3,371 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนเดียวกัน
ของปี 2540 ร้อยละ 31.5 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สิบห้า - การนำเข้าของไทยในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2541 คิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2540 ร้อยละ 36.3 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว ปัญหาการขาดสภาพคล่อง ภาคการผลิต
ลดลงหลายสาขา
- หมวดที่มีการนำเข้าลดลงมาก ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง ลดลงร้อยละ 85.0 รองลงมาได้แก่ หมวดเชื้อ
เพลิงลดลงร้อยละ 43.1 หมวดวัตถุดิบลดลงร้อยละ 33.3 หมวดสินค้าทุนลดลงร้อยละ 32.3
2) การนำเข้ารูปเงินบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5
- การนำเข้าในเดือนกันยายนคิดเป็นเงินบาทลดลงจากเดือนเดียวกันของปี 2540 ร้อยละ 20.8
- การนำเข้าของไทยในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2541 คิดเป็นเงินบาทเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2540 ร้อยละ
1.5
1.3 ดุลการค้าเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่สิบสาม
- เดือนกันยายน ดุลการค้าเกินดุลคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 51,258 ล้านบาท คิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่า 1,304
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่สิบสาม
- ดุลการค้าในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2541 เกินดุลเป็นเงินบาทมีมูลค่า 358,014 ล้านบาท คิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ
มีมูลค่า 8,774 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ประเทศคู่ค้าสำคัญที่ไทยมีดุลการค้าเกินดุล คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอาเซียน (ยกเว้นมาเลเซีย) รวมทั้ง
ประเทศอื่นๆ ได้แก่ ฮ่องกง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก
- ประเทศที่ไทยขาดดุลการค้า ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย ไต้หวัน จีน และเกาหลีใต้
2. ภาวะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ
2.1 ตลาดที่ส่งออกลดลง 2.2 ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
ประเทศ ล้านเหรียญสหรัฐฯ % ลด ประเทศ ล้านเหรียญสหรัฐฯ % ลด
ญี่ปุ่น 5,550 - 17.3 สหรัฐฯ 9,064 9.9
อาเซียน (8) 7,192 - 23.3 สหภาพยุโรป (15) 7,171 7.7
ฮ่องกง 2,132 - 17.0 ไต้หวัน 1,263 8.2
จีน 1,268 - 0.2 แอฟริกา 810 17.3
เกาหลีใต้ 472 - 17.2 ออสเตรเลีย 835 6.9
ตะวันออกกลาง 1,434 - 5.2 ยุโรปตะวันออก 247 - 30.8
ข้อสังเกต
- ตลาดส่งออกที่ลดลงเป็นประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งประสบภาวะวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจ คือ ญี่ปุ่น อาเซียน ฮ่องกง
และเกาหลีใต้ รวมทั้งตลาดตะวันออกกลางและยุโรปตะวันออก ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินจากรัสเซีย
- ตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป แอฟริกา และออสเตรเลีย แม้จะยังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราขยายตัวมีแนวโน้มที่
ชะลอตัวลงเป็นลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศเหล่านี้เริ่มได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในเอเซียมากขึ้น เศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้ม
ชะลอตัวลง โดยเฉพาะสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป
- การส่งออกของจีนมีแนวโน้มที่ลดต่ำลงเป็นลำดับ จากที่ส่งออกเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี และกลับมาส่งออกลดลงเล็กน้อย ในระยะ
9 เดือนแรก โดยเป็นการลดลงของการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม ที่สำคัญได้แก่ ยางพารา กุ้งสดแช่แข็ง ข้าว และน้ำตาลทราย
3. ภาวะการส่งออกสินค้าสำคัญ
3.1 การส่งออกรายหมวด
รายหมวด ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
เกษตรกรรม 5,318 - 12.2
อุตสาหกรรมการเกษตร 3,522 - 13.5
อุตสาหกรรม 27,283 - 3.3
อื่นๆ 4,381 - 3.0
- กลุ่มสินค้าเกษตรส่วนใหญ่มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น แต่ราคาส่งออกโดยเฉลี่ยลดลงค่อนข้างมาก ที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นต้น
- กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรหลายชนิดราคามีแนวโน้มดี ปริมาณการส่งออกเริ่มชะลอตัว เช่น อาหารทะเลแปรรูป ผลิตภัณฑ์
ยาง เป็นต้น
- กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมหลายชนิดมีแนวโน้มดีขึ้น แม้ว่าราคาโดยเฉลี่ยจะลดลง ที่สำคัญ ได้แก่ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า
สำเร็จรูป เครื่องใช้สำหรับเดินทาง เป็นต้น
3.2 สินค้าส่งออกสำคัญที่มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นและลดลง
สินค้า ปริมาณ ราคาเฉลี่ย มูลค่า
% เพิ่ม/ลด % เพิ่ม/ลด % เพิ่ม/ลด
ข้าว 28.1 - 19.3 3.4
ยางพารา 9.7 - 36.3 - 30.1
ไก่แช่แข็งและแปรรูป 45.9 - 19.7 17.2
ผลิตภัณฑ์พลาสติก 22.5 -30.0 - 14.2
อาหารทะเลกระป๋อง 13.4 5.7 19.8
เสื้อผ้าสำเร็จรูป 12.2 - 12.5 - 1.9
กุ้งสดแช่แข็ง - 6.5 - 5.2 - 11.4
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง - 22.2 - 5.7 - 26.6
กาแฟดิบ - 24.7 26.9 - 4.5
3.3 การส่งออกรายสินค้า
สินค้าส่งออกสำคัญ 20 รายการแรก ในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่ารวมกันคิดเป็นร้อยละ 56.2 ของมูลค่า ส่งออกรวม
มีสินค้า 14 รายการที่ส่งออกลดลงและมีสินค้า 6 รายการที่ส่งออกเพิ่มขึ้น (มีสินค้าที่กลับมาส่งออกลดลง 1 รายการ คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป)
1) สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ 4,921 12.4 สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ จีน ไต้หวัน
ข้าว 1,399 6.6 อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ โตโก เซเนกัล
อาหารทะเลกระป๋อง 1,037 23.0 สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร
เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ 963 8.0 สหรัฐฯ เยอรมนี ไต้หวัน
รถยนต์และส่วนประกอบ 712 12.7 ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย โปรตุเกส เยอรมนี
ผลิตภัณฑ์ยาง 580 11.7 สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน
2) สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % ลด ตลาดที่ส่งออกลดลง
เสื้อผ้าสำเร็จรูป 2,034 - 0.5 ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส
ซาอุดิอารเบีย สหรัฐอาหรับฯ
แผงวงจรไฟฟ้า 1,477 - 12.6 สหรัฐฯ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง
ยางพารา 932 - 30.2 ญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ มาเลเซีย
อัญมณีและเครื่องประดับ 888 - 23.2 สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิสราเอล เบลเยี่ยม
กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง 874 - 10.5 ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง สหรัฐฯ
รองเท้าและชิ้นส่วน 613 - 21.0 สหรัฐฯ เบลเยี่ยม สหรัฐอาหรับฯ
เครื่องปรับอากาศ 577 - 19.3 ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐฯ
ผ้าผืน 571 - 3.1 สหรัฐอาหรับฯ ฮ่องกง สหราชอาณาจักร
น้ำตาลทราย 545 - 45.0 อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ จีน
ผลิตภัณฑ์พลาสติก 470 - 14.2 ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย
ไดโอด ทรานซิสเตอร์ 468 - 3.9 สิงคโปร์ สหรัฐฯ เกาหลีใต้ เยอรมนี
เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 393 - 20.6 ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย
เครื่องวิดิโอ/ส่วนประกอบ 386 - 18.1 สหรัฐฯ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เยอรมนี
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 360 - 22.5 เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย
สินค้าที่ส่งออกลดลงยังคงประกอบด้วยสินค้ากลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
- สินค้าอุตสาหรรมการเกษตรที่ผลผลิตลดลง เช่น น้ำตาลทราย สับปะรดกระป๋อง กาแฟดิบ ผลไม้สดแช่เย็น ทำให้ปริมาณการ
ส่งออกลดลง
- สินค้าที่ราคาเฉลี่ยส่งออกมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากผู้ซื้อขอต่อรองราคาและบางชนิดตลาดต้องการลดลง โดยเฉพาะสินค้า
เกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น มันอัดเม็ดและมันเส้น ยางพารา กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ผักและผลไม้กระป๋องและแปรรูป
- สินค้าที่ประสบปัญหาการแข่งขันที่รุนแรง ส่วนใหญ่ราคาสินค้าจากไทยสูงกว่าคู่แข่ง รวมทั้งคู่แข่งได้ลดราคาขายอย่างมาก
การส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูปและผ้าผืน รองเท้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ไม้
เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะที่เป็นสินค้าสำเร็จรูป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องวิดิโอ เครื่องเสียง เครื่องปรับอากาศ
มอเตอร์ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น
4. ภาวะการนำเข้าสินค้าสำคัญ
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
นำเข้ารวม 31,869 - 36.3
เชื้อเพลิง 2,552 - 43.1
ทุน 15,917 - 32.3
วัตถุดิบ 9,669 - 33.3
อุปโภคบริโภค 2,769 - 34.3
ยานพาหนะ 336 - 85.0
อื่นๆ 626 - 41.3
4.1 การนำเข้าในเดือนกันยายน ลดลงร้อยละ 31.5 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สิบห้า ทำให้การนำเข้าในระยะ 9 เดือน
ลดลงร้อยละ 36.3 เป็นการลดลงต่อเนื่องในทุกหมวดสินค้า ตามอุปสงค์และการลงทุนภายในประเทศซึ่งยังคงชะลอตัวลง ประกอบกับปัญหาการ
ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง
- สินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนและวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่นำเข้ามาใช้ในการผลิตเพื่อส่งออก เช่น เครื่องจักร สิ่งทอ
ผ้าผืน ด้ายและเส้นใย เคมีภัณฑ์ นำมาใช้ในการผลิตสิ่งทอ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ แผงวงจรไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า
เป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- กลุ่มสินค้าทุนที่ลดลงมากเช่นกันคือ เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง หลอดและท่อผลิตภัณฑ์โลหะ อันเนื่องมา
จากภาวะการก่อสร้างภายในประเทศที่ชะลอตัวลดลง
4.2 สินค้าประเภททุน และวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่นำเข้าลดลง
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % ลด
น้ำมันดิบ 2,189 - 37.4
ผลิตภัณฑ์โลหะ 1,499 - 6.7
เครื่องจักรสิ่งทอ 150 - 55.2
ไดโอด ทรานซิสเตอร์ 331 - 10.1
ผงวงจรไฟฟ้า 2,660 - 13.1
เครื่องคอมพิวเตอร์/ส่วนประกอบ 1,485 - 36.9
เพชร พลอย อัญมณี 676 - 33.1
เหล็กและเหล็กกล้า 1,236 - 56.1
เคมีภัณฑ์ 2,762 - 24.5
ผ้าผืน ด้าย และเส้นใย 1,179 - 10.8
ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช 463 - 27.2
4.3 สินค้าอุปโภคบริโภคที่นำเข้าลดลง
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % ลด
ผลิตภัณฑ์นม 210 - 26.6
ผักและผลไม้ 90 - 44.6
เครื่องดื่ม น้ำแร่ น้ำอัดลม สุรา 28 - 75.4
สบู่ ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง 183 - 27.6
เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ 226 - 31.1
เครื่องใช้ไฟฟ้า 624 - 42.5
4.4 สินค้าที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
สินค้า ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม
มอเตอร์ไฟฟ้า 820 54.9
สัตว์น้ำแช่แข็ง (ปลาทูนา กุ้ง) 631 11.1
ส่วนประกอบนาฬิกา 102 10.0
ข้าวสาลีและข้าวเมสลิน 92 4.9
5. การส่งออกของประเทศต่างๆ เปรียบเทียบกับไทย
ประเทศ ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
ไทย (มค.-กย.) 40,643 - 5.6
สหรัฐฯ (มค.-สค.) 446,914 - 0.8
ญี่ปุ่น (มค.-สค.) 252,076 - 8.6
เกาหลีใต้ (มค.-สค.) 87,060 - 1.2
ไต้หวัน (มค.-สค.) 73,046 - 7.4
ฟิลิปปินส์ (มค.-สค.) 19,059 18.9
จีน (มค.-กค.) 103,100 6.9
ฮ่องกง (มค.-กค.) 100,109 - 3.9
สิงคโปร์ (มค.-มิย.) 55,210 - 10.5
มาเลเซีย (มค.-มิย.) 35,388 - 10.2
อินโดนีเซีย (มค.-มิย.) 24,569 - 4.1
- ประเทศในเอเซียส่วนใหญ่การส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มลดลงในอัตราที่สูงขึ้น
- ประเทศที่ยังส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน และฟิลิปปินส์ แต่อัตราการขยายตัวก็มีแนวโน้มชะลอตัวลงเป็นลำดับ
6. การนำเข้าของประเทศต่าง ๆ เปรียบเทียบกับไทย
ประเทศ ล้านเหรียญสหรัฐฯ % เพิ่ม/ลด
ไทย (มค.-กย.) 31,869 - 36.3
สหรัฐฯ (มค.-สค.) 596,837 5.7
ญี่ปุ่น (มค.-สค.) 185,820 - 18.6
ไต้หวัน (มค.-สค.) 69,440 - 6.9
เกาหลีใต้ (มค.-สค.) 61,770 - 37.3
ฟิลิปปินส์ (มค.-สค.) 20,351 - 14.4
ฮ่องกง (มค.-กค.) 109,300 - 7.8
จีน (มค.-กค.) 76,387 0.7
สิงคโปร์ (มค.-มิย.) 51,836 - 20.6
มาเลเซีย (มค.-มิย.) 29,743 - 26.5
อินโดนีเซีย (มค.-มิย.) 13,302 - 37.8
* ประเทศในเอเซียส่วนใหญ่การนำเข้าลดลง ยกเว้น จีน ซึ่งนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยอินโดนีเซีย ไทย และเกาหลีใต้ มีอัตราการ
ลดลงของการนำเข้าในเกณฑ์สูง รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการลดลงของการนำเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบ
และสินค้าเชื้อเพลิง
* สินค้าที่จีนนำเข้าเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุนและวัตถุดิบ ที่สำคัญได้แก่ เม็ดพลาสติก เหล็ก แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบคอม
พิวเตอร์ ปุ๋ย กระดาษและผลิตภัณฑ์ สินค้าที่นำเข้าลดลงได้แก่ น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป
* มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการนำเข้าของเกาหลีใต้ ไต้หวัน และฟิลิปินส์ กล่าวคือ แม้ว่ามูลค่าการนำเข้ารวมจะลดลง แต่สินค้าสำคัญ
หลายรายการที่นำเข้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าทุน และสินค้าวัตถุดิบ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการผลิตในสาขาดังกล่าวยังอยู่ในเกณฑ์ขยายตัว
- เกาหลีใต้ : แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ ไดโอต ทรานซิสเตอร์ อลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป และ หลอดภาพ
- ไต้หวัน : ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์โทรคมนาคม และเครื่องจักรไฟฟ้า
- ฟิลิปปินส์ : เซมิคอนดักเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องจักรไฟฟ้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤศจิกายน 2541--