การจัดตั้งศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราว (The Temporary Data Collection Centre)

ข่าวการเมือง Tuesday March 5, 2019 16:28 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ การจัดตั้งศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราวของทางการเมียนมา ณ จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความสัมพันธ์อันดีด้านแรงงานระหว่างไทย - เมียนมา และประโยชน์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน ตลอดจนผลประโยชน์โดยรวมของนายจ้าง สถานประกอบการ แรงงานต่างด้าว รวมทั้งเป็นการเพิ่มผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล

สาระสำคัญของเรื่อง

รง. รายงานว่า

1. ในระหว่างการเยือนเมียนมาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2561 ฝ่ายเมียนมาได้แจ้งความประสงค์เรื่องการย้ายศูนย์ออกหนังสือเดินทางไปยังจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งต่อมาฝ่ายเมียนมาได้มีหนังสือเพื่อร้องขอให้รัฐบาลไทยพิจารณาสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราว เพื่ออำนวยความสะดวกและบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานให้กับนายจ้าง/สถานประกอบการ เนื่องจากทางการเมียนมาสามารถจัดเก็บข้อมูลของแรงงานเมียนมาที่ประสงค์จะขอมีหนังสือเดินทางได้ในเบื้องต้นก่อนที่หน่วยงานที่อำนาจหน้าที่จะพิจารณาออกหนังสือเดินทางให้แก่แรงงานโดยที่แรงงานยังไม่ต้องเดินทางกลับไปประเทศต้นทาง นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนให้แก่แรงงานเมียนมา ซึ่งรายละเอียดการจัดตั้งศูนย์จัดเก็บข้อมูลฯ สรุปได้ ดังนี้

ประเด็น / สาระสำคัญ

             สถานที่ตั้งศูนย์          ?

ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (บริเวณตลาดทะเลไทย)

             กลุ่มเป้าหมาย          ?

เป็นการดำเนินการเฉพาะกลุ่มแรงงานเมียนมาเท่านั้น ไม่รวมคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่อยู่ในประเทศไทยด้วยวัตถุประสงค์อื่นๆ

ให้บริการแรงงานใน 2 กลุ่ม คือ

1. แรงงานเมียนมาที่ต้องการเปลี่ยนเอกสารประจำตัวเป็นหนังสือเดินทาง[แรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติหรือจัดทำทะเบียนประวัติในประเทศไทยที่ถือหนังสือเดินทาง (PP) หนังสือเดินทางชั่วคราว (TP) หรือเอกสารรับรองบุคคล (CI)] โดยทางการเมียนมาใช้คำว่า กลุ่มคน Function A

2. แรงงานเมียนมาที่เข้ามาทำงานตาม MOU ที่วาระการจ้างงานใกล้ครบกำหนด 4 ปีที่ต้องการจัดทำเป็นหนังสือเดินทางฉบับใหม่ และมีความประสงค์จะกลับเข้ามาทำงานตาม MOU เมื่อวาระการจ้างงานครบ 4 ปี แล้ว โดยทางการ เมียนมาใช้คำว่า กลุ่มคน Function B

             เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน          ?

ปฏิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จำนวน 13 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ 1 คน จากกระทรวงมหาดไทย และเจ้าหน้าที่ 12 คน จากกระทรวงแรงงาน ตรวจคนเข้าเมือง และประชากร

2. รง. พิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดตั้งศูนย์เพื่อเก็บข้อมูลฯ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนายจ้าง/สถานประกอบการ และภาพลักษณ์ของประเทศเนื่องจาก

2.1 วาระการจ้างงานสำหรับแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยตาม MOU จะครบกำหนด 4 ปี ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 140,256 คน (ตัวเลขประมาณการจากการจากการออกใบอนุญาตทำงานที่ออกให้กับแรงงานเมียนมาเมื่อปี พ.ศ. 2558) โดยหากแรงงานกลุ่มนี้ประสงค์จะทำงานในประเทศไทย จะต้องเดินทางกลับประเทศและเว้นระยะเวลา 30 วันจึงจะสามารถกลับเข้ามาทำงานตาม MOU ได้ใหม่ ซึ่งในระหว่างการเว้นระยะเวลาดังกล่าว จะเป็นช่วงเวลาที่ทางการเมียนมาจะต้องจัดเตรียมเอกสารและตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ของแรงงาน เพื่อนำไปใช้สำหรับการพิจารณาตรวจสอบการออกหนังสือเดินทาง ดังนั้น การจัดตั้งศูนย์เพื่อจัดเก็บข้อมูล ฯ จะเป็นการอำนวยความสะดวกและบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานให้แก่นายจ้าง/สถานประกอบการ และจะส่งผลให้นายจ้างสามารถจ้างงานแรงงานต่างด้าวโดยถูกต้องตามกฎหมายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการบริหารราชการของรัฐบาลที่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว

2.2 แรงงานต่างด้าวได้รับการคุ้มครองและมีสิทธิประโยชน์ สวัสดิการการคุ้มครองตามสิทธิที่พึงได้รับ

2.3 ระบบเศรษฐกิจโดยรวมมีความเข้มแข็งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และความเติบโตอย่างต่อเนื่องให้กับประเทศ ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีด้านแรงงานของประเทศไทยในระดับสากล

2.4 ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีด้านแรงงานระหว่างไทย – เมียนมา

3. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 [รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการจัดตั้งศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราวของทางการเมียนมา ณ จังหวัดสมุทรสาคร และมอบหมายให้ รง. นำเรื่องดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา

เจ้าหน้าที่ของ รง. (กรมการจัดหางาน) เป็นผู้ประสานงาน

             ระยะเวลาดำเนินการ          ?

เปิดดำเนินการชั่วคราวเป็นระยะเวลา 1 ปี

เปิดทำการวันจันทร์ – วันเสาร์ (เว้นวันอาทิตย์และวันหยุดราชการไทย)

             ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและสถานที่รับหนังสือเดินทาง          ?

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ยกเว้นเมื่อไปรับหนังสือเดินทาง ณ จุดที่กำหนดต้องเสียค่าใช้จ่าย จำนวน 1,050 บาท โดยสามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส

การพิจารณาออกหนังสือเดินทางจะดำเนินการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบของทางการเมียนมา ซึ่งไม่ใช่ศูนย์ฯ และเมื่อผ่านการพิจารณาแล้ว แรงงานเมียนมาสามารถไปรับหนังสือเดินทางได้ที่สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมาประจำประเทศไทย หรือศูนย์ออกหนังสือเดินทาง (1) บริเวณชายแดนฝั่งท่าขี้เหล็ก (ตรงข้ามอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย) (2) ฝั่งเมียวดี (ตรงข้ามอำเภอ แม่สอด จังหวัดตาก) และ (3) ฝั่งเกาะสอง (ตรงข้ามอำเภอเมือง จังหวัดระนอง)

             ประเด็นอื่น ๆ           ?

ไม่มีการขอเอกสารสิทธิ์คุ้มครองทางการทูต

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 มีนาคม 2562--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ