รายงานผลการดำเนินการของสำนักงาน ก.พ. เรื่อง การพัฒนาระบบการสอบวัดความรู้ ความสามารถทั่วไปให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท

ข่าวการเมือง Tuesday October 29, 2019 18:00 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ดังนี้

1. รับทราบการพัฒนาระบบการสอบวัดความรู้ความสามารถทั่วไปให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภทตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ

2. ให้ สำนักงาน ก.พ. หารือร่วมกับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้กำกับของฝ่ายบริหาร ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติถึงความจำเป็น เหมาะสม และความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามประเด็นต่าง ๆ ให้ได้ข้อยุติก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปในประเด็น ดังนี้ (1) การนำหลักสูตรการสอบและเกณฑ์การตัดสินการสอบผ่านการสอบภาค ก. ตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ. ไปปรับใช้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการสอบและการตัดสินการสอบผ่านฯ ของหน่วยงานตนเอง เพื่อให้แนวทางในการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการเป็นมาตรฐานเดียวกัน และ (2) การนำหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการสอบภาค ก. ของสำนักงาน ก.พ. ไปใช้แทนผลการสอบผ่านการสอบภาค ก. ของหน่วยงานตนเองได้ ทั้งนี้ ให้นำความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาร่วมด้วย

สาระสำคัญของเรื่อง

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการของสำนักงาน ก.พ. เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (การสอบภาค ก.) ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท ทั้งนี้ สามารถสรุปผลการดำเนินการ รวมทั้งหลักสูตรและเกณฑ์การตัดสินการสอบผ่านการสอบภาค ก. ของสำนักงาน ก.พ. ได้ดังนี้

หัวข้อ

รูปแบบการดำเนินการจัดการสอบภาค ก.

รายละเอียด

  • การดำเนินการสอบภาค ก. ประจำปีงบประมาณ จะเปิดรับสมัครสอบช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือเดือนมีนาคมและดำเนินการจัดสอบในเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคมตามศูนย์สอบทั่วประเทศทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
  • การดำเนินการสอบภาค ก. ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะเปิดรับสมัครสอบเฉพาะระดับปริญญาตรีและปริญญาโทตลอดทั้งปี โดยที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – 2561 มีจำนวนผู้สมัครสอบรวมทั้งสิ้น 3,840 คน มีผู้มาสอบ 3,059 คน มีผู้สอบผ่าน จำนวน 367 คน คิดเป็นร้อยละ 12 ของผู้เข้าสอบ
  • การดำเนินการสอบภาค ก. สำหรับส่วนราชการ เป็นการจัดสอบภาค ก. ให้แก่ผู้สอบที่สอบผ่านการสอบภาค ข. หรือการสอบภาค ค. เพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการของส่วนราชการต่าง ๆ
  • หลักสูตรและเกณฑ์การตัดสินการสอบผ่านการสอบภาค ก.

หลักสูตรการสอบภาค ก.

  • วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ได้แก่

(1) การวิเคราะห์เชิงภาษา เช่น การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย

เกณฑ์การตัดสินการสอบผ่านการสอบภาค ก.

  • ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรีและไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 ในระดับปริญญาโท

(2) การวิเคราะห์เชิงนามธรรม เช่น การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ การหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ และ (3) การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ เช่น การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น

  • วิชาภาษาอังกฤษ

เกณฑ์การตัดสินการสอบผ่านการสอบภาค ก.

ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ในทุกระดับ/ใช้ผลคะแนนภาษาอังกฤษอื่นแทนได้

  • วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี

เกณฑ์การตัดสินการสอบผ่านการสอบภาค ก.

ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ในทุกระดับ

หัวข้อ

สถิติจำนวนผู้สมัครสอบและผู้สอบผ่าน

รายละเอียด

การดำเนินการสอบภาค ก. ที่สำนักงาน ก.พ. เป็นผู้ดำเนินการจัดสอบทั้งหมดในแต่ละปีจะมีผู้สมัครสอบจำนวนประมาณ 500,000 – 600,000 คน โดยจากข้อมูลสถิติผู้สอบผ่านการสอบภาค ก. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 - 2561 พบว่า มีผู้มีที่ได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่านทั้งหมด จำนวน 572,860 คน แบ่งเป็น

  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 16,852 คน
  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) / ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)/อนุปริญญา จำนวน 86,842 คน
  • ระดับปริญญาตรี จำนวน 446,666 คน
  • ระดับปริญญาโท จำนวน 22,500 คน

นอกจากนี้ ปัจจุบันมีหน่วยงานรัฐหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงสำนักงาน ก.ก. ได้ทำความตกลงร่วมกับสำนักงาน ก.พ. ในการนำหนังสือรับรองผลการสอบผ่านการสอบภาค ก. ของสำนักงาน ก.พ. ไปใช้ในการสมัครสอบภาค ข. ของหน่วยงานด้วยแล้ว

หัวข้อ

แนวทางการใช้หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน การสอบภาค ก.

รายละเอียด

ผู้ที่สอบผ่านการสอบภาค ก. จะได้รับหนังสือรับรองผลการสอบผ่าน โดยผู้สอบผ่านสามารถนำหนังสือรับรองผลฯ ไปใช้ในขั้นตอนของการสอบภาค ข. และการสอบภาค ค. ซึ่งดำเนินการโดยส่วนราชการต่อไป

หัวข้อ

ประโยชน์

รายละเอียด

การนำหนังสือรับรองผลฯ ไปใช้กับหน่วยงานรัฐประเภทอื่นจะสามารถทำให้ประหยัดงบประมาณในการดำเนินการสอบ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่ไม่ต้องสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปหลายครั้ง

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 ตุลาคม 2562


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ