รายงานการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC Labour Administration Centre)

ข่าวการเมือง Tuesday December 17, 2019 16:12 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอรายงานการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC Labour Administration Centre) ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 ให้ รง. จัดทำฐานข้อมูลแรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันและประมาณการความต้องการแรงงานในสาขาต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (19 มีนาคม และ 25 มิถุนายน 2562) รับทราบรายงานการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์บริหารแรงงาน EEC ด้วยแล้ว ทั้งนี้ รง. ได้ขับเคลื่อนศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1. ผลการดำเนินงานในรอบ 12 เดือน (1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562) และ แผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2563) สรุปได้ดังนี้

ภารกิจ

ผลรอบ 12 เดือน / เป้าหมาย (หน่วย : คน)

ด้านการจัดหางาน

1. จัดหางานให้กลุ่มอุตสาหกรรมปัจจุบัน 28,809

2. แนะแนวอาชีพให้นักเรียน นักศึกษา 41,513

3. ตรวจลงตราและออกใบอนุญาตทำงาน 9,750

4. จัดหางานให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะเปิดรับในอนาคต -

ด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน

1. ฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 7,580

2. ส่งเสริมสถานประกอบการยกระดับทักษะแรงงาน 575,361

ด้านสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

1. ตรวจแรงงานในระบบ - 42,500 คน

  • 1,305 แห่ง

2. ตรวจและกำกับสถานประกอบการตามมาตรฐานกฎหมายความปลอดภัย - 52,700 คน

  • 870 แห่ง

ด้านประกันสังคม

1. แนะนำสิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน 2,393,700

2. ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน 53,589

3. ส่งเสริม e-Service และ e–Payment 32,114

ภารกิจ

ผลรอบ 12 เดือน / ผลการดำเนินการ (หน่วย : คน)

ด้านการจัดหางาน

1. จัดหางานให้กลุ่มอุตสาหกรรมปัจจุบัน 29,262 (ร้อยละ 101.58)

2. แนะแนวอาชีพให้นักเรียน นักศึกษา 43,617 (ร้อยละ 105.07)

3. ตรวจลงตราและออกใบอนุญาตทำงาน 19,928 (ร้อยละ 204.39)

4. จัดหางานให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะเปิดรับในอนาคต -

ด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน

1. ฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 9,244 (ร้อยละ 121.96)

2. ส่งเสริมสถานประกอบการยกระดับทักษะแรงงาน 668,000 (ร้อยละ116.11)

ด้านสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

1. ตรวจแรงงานในระบบ - 81,961 คน (ร้อยละ 192.85)

1,354 แห่ง (ร้อยละ 103.76)

2. ตรวจและกำกับสถานประกอบการตามมาตรฐานกฎหมายความปลอดภัย

146,859 คน(ร้อยละ 279)

891 แห่ง(ร้อยละ 102.42)

ด้านประกันสังคม

1. แนะนำสิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน 2,567,785 (ร้อยละ 107.28)

2. ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน 150,155 (ร้อยละ 280.20)

3. ส่งเสริม e-Service และ e–Payment 50,350

ภารกิจ

แผนปี 63 (เป้าหมาย)

ด้านการจัดหางาน

1. จัดหางานให้กลุ่มอุตสาหกรรมปัจจุบัน 28,000

2. แนะแนวอาชีพให้นักเรียน นักศึกษา 130,800

3. ตรวจลงตราและออกใบอนุญาตทำงาน 10,500

4. จัดหางานให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะเปิดรับในอนาคต 92,618

ด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน

1. ฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 10,000

2. ส่งเสริมสถานประกอบการยกระดับทักษะแรงงาน 600,000

ด้านสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

1. ตรวจแรงงานในระบบ - 43,000 คน

1,400 แห่ง

2. ตรวจและกำกับสถานประกอบการตามมาตรฐานกฎหมายความปลอดภัย - 64,800 คน

900 แห่ง

ด้านประกันสังคม

1. แนะนำสิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน 2,513,000

2. ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน 58,850

3. ส่งเสริม e-Service และ e–Payment 35,300 (ร้อยละ 156.78)

2. รง. โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้จัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562 ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี จังหวัดชลบุรี เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานไทยให้เป็นแรงงานฝีมือชั้นสูงรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ EEC และพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก เพิ่มผลิตภาพแรงงานและลดต้นทุนของผู้ประกอบการในการรองรับการใช้เครื่องจักรกลอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในการผลิตทดแทนการใช้แรงงาน รวมทั้งสร้างผู้ฝึกสอน (Trainer) และครูฝึกต้นแบบด้านเครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation) ที่ทันสมัย โดยมีแผนการดำเนินงาน ดังนี้

แผนระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563)

แนวทางดำเนินการ

  • สร้างหลักสูตร สร้างครูต้นแบบ ฝึกอบรมร่วมกับภาคเอกชนทั้งในและนอกสถานที่
  • เป้าหมายการฝึกอบรมในปี 2563 จำนวน 1,100 คน 5 สาขา ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติ จำนวน 440 คน สาขาหุ่นยนต์อุตสาหกรรม จำนวน 220 คน สาขาการเขียนโปรแกรมด้านการผลิต จำนวน 200 คน สาขาเทคโนโลยีการผลิต จำนวน 140 คน และสาขาการบริหารการผลิต จำนวน 100 คน รวมงบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 3,520,000 บาท

แผนระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565)

แนวทางดำเนินการ

สร้างเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน พัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานเพิ่มเติม

แผนระยะที่ 3 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2567)

แนวทางดำเนินการ

ดำเนินงานเต็มรูปแบบ พัฒนาระบบทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน พัฒนาระบบการฝึกอบรมทั้งแบบ Online และ Offline ร่วมกับหน่วยงานภาคการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 ธันวาคม 2562


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ