โครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 2 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ข่าวการเมือง Tuesday May 26, 2020 18:50 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอดังนี้

1. อนุมัติให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ดำเนินโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 2 วงเงินลงทุนรวม 77,334 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ในประเทศจำนวน 57,999 ล้านบาท และเงินรายได้ กฟภ. จำนวน 19,335 ล้านบาท

2. เห็นชอบให้ กฟภ. กู้เงินในประเทศ ภายในกรอบวงเงิน 57,999 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินลงทุนของโครงการดังกล่าว โดย กฟภ. จะทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นจนกว่างานจะแล้วเสร็จ

สาระสำคัญของเรื่อง

มท. รายงานว่า

1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 1 (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าและก่อสร้างสถานีไฟฟ้าให้สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ และเพิ่มประสิทธิภาพ ความมั่นคงและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า และลดปัญหาในการปฏิบัติการ และบำรุงรักษา เป็นต้น นั้น โครงการดังกล่าวมีผลความคืบหน้าในภาพรวมของทั้งโครงการ (เดือนธันวาคม 2562) คิดเป็นร้อยละ 13.54 โดยมีวงเงินที่เบิกจ่ายแล้ว 20,226.99 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.27 และวงเงินอยู่ระหว่างดำเนินการ 40,567.66 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64.72 คงเหลือ 1,884.06 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.01 อย่างไรก็ตาม พื้นที่ให้บริการของ กฟภ. มีมากถึงร้อยละ 99 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ประกอบกับการใช้พลังงานไฟฟ้าและจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้ามีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้จำนวนสถานีไฟฟ้ามีไม่เพียงพอ และสายจำหน่ายแต่ละวงจรต้องจ่ายไฟเป็นระยะทางไกลจึงเกิดปัญหาไฟตกไฟดับและหน่วยสูญเสียสูง ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการกระจายกิจการอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาค ทำให้ความต้องการไฟฟ้ามีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น กฟภ. จำเป็นต้องมีการลงทุนก่อสร้างสถานีไฟฟ้า ระบบสายส่ง และระบบจำหน่าย รวมถึงการเพิ่มเสถียรภาพการจ่ายไฟเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถรองรับและตอบสนองต่อแผนการพัฒนาประเทศของรัฐบาลในการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างเหมาะสม เพียงพอ กฟภ. จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 2

2. โครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 2 ของ กฟภ. ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ กฟภ. ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2562 แล้ว มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ / รายละเอียด

วัตถุประสงค์

1. พัฒนาระบบไฟฟ้าและก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแห่งใหม่ ให้เป็นสถานีไฟฟ้าอัตโนมัติ (Substation Automation System) ตามมาตรฐาน International Electrotechnical Commission 61850 (IEC 61850) เพื่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สอดคล้องตามมาตรฐานสากล และรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ

2. เพิ่มประสิทธิภาพความมั่นคงและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ลดปัญหาการปฏิบัติการและบำรุงรักษา และลดหน่วยสูญเสียในระบบจำหน่าย

3. ปรับปรุงและเชื่อมโยงระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ธุรกิจ อุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และพื้นที่สำคัญให้มีขีดความมั่นคงของระบบไฟฟ้าที่สูงขึ้น

เป้าหมาย

ก่อสร้างสถานีไฟฟ้า ระบบสายส่ง 115 เควี ระบบจำหน่ายแรงสูง 22/33 เควี และระบบจำหน่ายแรงต่ำ

พื้นที่ดำเนินการ

ประกอบด้วยพื้นที่รับผิดชอบของ กฟภ. 12 เขต ทั่วประเทศ สรุปได้ ดังนี้

1. ภาคเหนือ 3 การไฟฟ้าเขต ประกอบด้วย กฟภ. เขต 1 จังหวัดเชียงใหม่ กฟภ. เขต 2 จังหวัดพิษณุโลก และ กฟภ. เขต 3 จังหวัดลพบุรี

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 การไฟฟ้าเขต ประกอบด้วย กฟภ. เขต 1 จังหวัดอุดรธานี กฟภ. เขต 2 จังหวัดอุบลราชธานี และ กฟภ. เขต 3 จังหวัดนครราชสีมา

3. ภาคกลาง 3 การไฟฟ้าเขต ประกอบด้วย กฟภ. เขต 1 จังหวัดอยุธยา กฟภ. เขต 2 จังหวัดชลบุรี และ กฟภ. เขต 3 จังหวัดนครปฐม

4. ภาคใต้ 3 การไฟฟ้าเขต ประกอบด้วย กฟภ. เขต 1 จังหวัดเพชรบุรี กฟภ. เขต 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช และ กฟภ. เขต 3 จังหวัดยะลา

ปริมาณงาน

ภาคเหนือ

1. ปริมาณงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและระบบสายส่ง 115 เควี

1) ก่อสร้างสถานีไฟฟ้า/ลานไก (สถานีแปลงไฟฟ้า)(แห่ง) 14

2) เพิ่ม/เปลี่ยน หม้อแปลง (เอ็มวีเอ) 325

3) สายส่งรองรับสถานีไฟฟ้า (วงจร-กิโลเมตร) 326

4) ติดตั้ง Capacitor1 115 เควี (ชุด) -

2. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงสถานีไฟฟ้า และระบบไฟฟ้า 115 เควี เพื่อเพิ่มความมั่นคง

1) สายส่งลูปไลน์2 (วงจร-กิโลเมตร) 28

2) ปรับปรุงสถานีไฟฟ้า (แห่ง) -

3) ติดตั้ง Load Break Switch3 115 เควี (ชุด) -

3. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูง 22/33 เควี

1) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูง (วงจร-กิโลเมตร ) 2,556

2) ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน/ตัดตอน (ชุด) 2,995

3) ติดตั้งอุปกรณ์ปรับปรุงแรงดัน (ชุด) 396

4) ติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับการควบคุมระยะไกล (ชุด) 632

4. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงต่ำ

1) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงต่ำ (วงจร-กิโลเมตร) 4,819

2) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูงสายแยกย่อย (วงจร-กิโลเมตร) 2,500

3) ติดตั้ง/ปรับปรุงหม้อแปลงจำหน่าย (เอ็มวีเอ) 668

4) ติดตั้งอุปกรณ์อื่น ๆ (ชุด) 3,998

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

1. ปริมาณงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและระบบสายส่ง 115 เควี

1) ก่อสร้างสถานีไฟฟ้า/ลานไก (สถานีแปลงไฟฟ้า)(แห่ง) 14

2) เพิ่ม/เปลี่ยน หม้อแปลง (เอ็มวีเอ) 50

3) สายส่งรองรับสถานีไฟฟ้า (วงจร-กิโลเมตร) 250

4) ติดตั้งCapacitor1 115 เควี (ชุด) 1

2. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงสถานีไฟฟ้า และระบบไฟฟ้า 115 เควี เพื่อเพิ่มความมั่นคง

1) สายส่งลูปไลน์2 (วงจร-กิโลเมตร) 230

2) ปรับปรุงสถานีไฟฟ้า (แห่ง) 2

3) ติดตั้ง Load Break Switch3 115 เควี (ชุด) 13

3. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูง 22/33 เควี

1) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูง (วงจร-กิโลเมตร ) 2,545

2) ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน/ตัดตอน (ชุด) 618

3) ติดตั้งอุปกรณ์ปรับปรุงแรงดัน (ชุด) 284

4) ติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับการควบคุมระยะไกล (ชุด) 923

4. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงต่ำ

1) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงต่ำ (วงจร-กิโลเมตร) 6,039

2) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูงสายแยกย่อย (วงจร-กิโลเมตร) 2,527

3) ติดตั้ง/ปรับปรุงหม้อแปลงจำหน่าย (เอ็มวีเอ) 839

4) ติดตั้งอุปกรณ์อื่น ๆ (ชุด) 26,597

ภาคกลาง

1. ปริมาณงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและระบบสายส่ง 115 เควี

1) ก่อสร้างสถานีไฟฟ้า/ลานไก (สถานีแปลงไฟฟ้า)(แห่ง) 28

2) เพิ่ม/เปลี่ยน หม้อแปลง (เอ็มวีเอ) 300

3) สายส่งรองรับสถานีไฟฟ้า (วงจร-กิโลเมตร) 370

4) ติดตั้งCapacitor1 115 เควี (ชุด) 2

2. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงสถานีไฟฟ้า และระบบไฟฟ้า 115 เควี เพื่อเพิ่มความมั่นคง

1) สายส่งลูปไลน์2 (วงจร-กิโลเมตร) 152

2) ปรับปรุงสถานีไฟฟ้า (แห่ง) 16

3) ติดตั้ง Load Break Switch3 115 เควี (ชุด) 10

3. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูง 22/33 เควี

1) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูง (วงจร-กิโลเมตร ) 3,225

2) ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน/ตัดตอน (ชุด) 1,141

3) ติดตั้งอุปกรณ์ปรับปรุงแรงดัน (ชุด) 31

4) ติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับการควบคุมระยะไกล (ชุด) 2,200

4. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงต่ำ

1) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงต่ำ (วงจร-กิโลเมตร) 3,506

2) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูงสายแยกย่อย (วงจร-กิโลเมตร) 2,084

3) ติดตั้ง/ปรับปรุงหม้อแปลงจำหน่าย (เอ็มวีเอ) 684

4) ติดตั้งอุปกรณ์อื่น ๆ (ชุด) 1,049

ภาคใต้

1. ปริมาณงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและระบบสายส่ง 115 เควี

1) ก่อสร้างสถานีไฟฟ้า/ลานไก (สถานีแปลงไฟฟ้า)(แห่ง) 13

2) เพิ่ม/เปลี่ยน หม้อแปลง (เอ็มวีเอ) 200

3) สายส่งรองรับสถานีไฟฟ้า (วงจร-กิโลเมตร) 288

4) ติดตั้งCapacitor1 115 เควี (ชุด) -

2. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงสถานีไฟฟ้า และระบบไฟฟ้า 115 เควี เพื่อเพิ่มความมั่นคง

1) สายส่งลูปไลน์2 (วงจร-กิโลเมตร) 136

2) ปรับปรุงสถานีไฟฟ้า (แห่ง) 4

3) ติดตั้ง Load Break Switch3 115 เควี (ชุด) 7

3. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูง 22/33 เควี

1) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูง (วงจร-กิโลเมตร ) 2,286

2) ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน/ตัดตอน (ชุด) 902

3) ติดตั้งอุปกรณ์ปรับปรุงแรงดัน (ชุด) 306

4) ติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับการควบคุมระยะไกล (ชุด) 701

4. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงต่ำ

1) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงต่ำ (วงจร-กิโลเมตร) 3,896

2) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูงสายแยกย่อย (วงจร-กิโลเมตร) 2,489

3) ติดตั้ง/ปรับปรุงหม้อแปลงจำหน่าย (เอ็มวีเอ) 729

4) ติดตั้งอุปกรณ์อื่น ๆ (ชุด) 21,511

รวม

1. ปริมาณงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและระบบสายส่ง 115 เควี

1) ก่อสร้างสถานีไฟฟ้า/ลานไก (สถานีแปลงไฟฟ้า)(แห่ง) 69

2) เพิ่ม/เปลี่ยน หม้อแปลง (เอ็มวีเอ) 875

3) สายส่งรองรับสถานีไฟฟ้า (วงจร-กิโลเมตร) 1,234

4) ติดตั้งCapacitor1 115 เควี (ชุด) 3

2. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงสถานีไฟฟ้า และระบบไฟฟ้า 115 เควี เพื่อเพิ่มความมั่นคง

1) สายส่งลูปไลน์2 (วงจร-กิโลเมตร) 546

2) ปรับปรุงสถานีไฟฟ้า (แห่ง) 22

3) ติดตั้ง Load Break Switch3 115 เควี (ชุด) 30

3. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูง 22/33 เควี

1) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูง (วงจร-กิโลเมตร ) 10,612

2) ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน/ตัดตอน (ชุด) 5,656

3) ติดตั้งอุปกรณ์ปรับปรุงแรงดัน (ชุด) 1,017

4) ติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับการควบคุมระยะไกล (ชุด) 4,456

4. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงต่ำ

1) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงต่ำ (วงจร-กิโลเมตร) 18,260

2) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูงสายแยกย่อย (วงจร-กิโลเมตร) 9,600

3) ติดตั้ง/ปรับปรุงหม้อแปลงจำหน่าย (เอ็มวีเอ) 2,920

4) ติดตั้งอุปกรณ์อื่น ๆ (ชุด) 53,155

หมายเหตุ :

1 Capacitor หมายถึง ตัวเก็บประจุ

2 ลูปไลน์ หมายถึง สายส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจำหน่ายไฟฟ้า

3 Load Break Switch หมายถึง อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

ระยะเวลาดำเนินการ

6 ปี (พ.ศ. 2563 - 2568)

แผนการดำเนินการ

1. การจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อใช้ในการบริหารโครงการ : ประกอบด้วยคณะทำงาน 2 ส่วน คือ ส่วนกลางและการไฟฟ้าเขต โดยส่วนกลางจะดูแลรับผิดชอบด้านการจัดหาอุปกรณ์หลัก งบประมาณ และภาพรวมของโครงการ ส่วนการไฟฟ้าเขตจะดูแลรับผิดชอบด้านระบบจำหน่ายทั้งด้านการเบิกจ่ายงบประมาณ และการดำเนินงานให้เป็นไปตามโครงการ

2. การจัดซื้อที่ดิน : จะดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบและวิธีปฏิบัติของ กฟภ. โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ซึ่งในการดำเนินการจัดหาที่ดิน ผู้อำนวยการ กฟภ. เขต จะแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาที่ดินเพื่อดำเนินการจัดหา ตรวจสอบ และสำรวจบริเวณหรือตำแหน่งที่ดินเป้าหมาย สอบถามราคาที่ดิน ประเมินราคาที่ดิน และสรุปข้อมูลจัดหาที่ดินที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า เสนอคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีเฉพาะเจาะจง เพื่อพิจารณานำเสนอขออนุมัติจัดซื้อที่ดินต่อไป โดยเมื่อได้รับอนุมัติให้จัดซื้อที่ดินแล้ว คณะกรรมการตรวจรับที่ดินจะดำเนินการตรวจสอบที่ดิน และโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของ กฟภ. ต่อไป

3. การจัดหาวัสดุอุปกรณ์และจ้างเหมาดำเนินการ : วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างจะเป็นไปตามมาตรฐานของ กฟภ. ซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อจากภายในประเทศเป็นหลัก โดยการจัดหาจะดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

4. การก่อสร้าง : ดำเนินการตามมาตรฐาน กฟภ. และมีวิศวกรของ กฟภ. เป็นผู้ควบคุมดูแลให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาอุปสรรคอย่างใกล้ชิด สำหรับการก่อสร้างระบบจำหน่ายจะดำเนินการโดยหน่วยธุรกิจก่อสร้างของ กฟภ. หรือจ้างเหมาเอกชน ทั้งนี้ จะต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของการไฟฟ้าเขต

5. การติดตามผลการดำเนินการ : สำนักงานโครงการจะติดตามประสานงานกับการไฟฟ้าเขต ฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษา การไฟฟ้าหน้างาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลและสรุปรายงานผลการดำเนินงานตลอดเวลาของการดำเนินโครงการจัดส่งให้กองโครงการ ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า รวบรวมจัดทำรายงานผลความก้าวหน้าของโครงการทุกไตรมาส เพื่อรายงานผู้บริหารระดับสูงของ กฟภ. และจัดส่งให้ สศช. สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กค. และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) โดยรายงานผลความกาวหน้าของโครงการจะประกอบด้วย แผนการดำเนินโครงการ สถานะการจัดซื้อ/จัดจ้าง จัดทำสัญญา ผลการก่อสร้างและการเบิกจ่ายงบประมาณ พร้อมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ ในระหว่างการดำเนินโครงการ กฟภ. จะติดตามและตรวจสอบความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจริงกับที่ได้คาดคะเนไว้ตอนเริ่มจัดทำโครงการตลอดเวลาเพื่อปรับเปลี่ยนแผนดำเนินโครงการ เช่น การออกแบบ การกำหนดแผนการก่อสร้าง การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา

วงเงินลงทุนรวม 77,334 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. เงินกู้ในประเทศ 57,999 ล้านบาท

2. เงินรายได้ กฟภ. 19,335 ล้านบาท

ทั้งนี้ การดำเนินการโครงการฯ ไม่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณ หรือภาระทางการคลังในอนาคต ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 27

ผลตอบแทนของโครงการ

1. ผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ สรุปได้ ดังนี้

ผลตอบแทน / อัตราผลตอบแทน (ร้อยละ)

ทางการเงิน (FIRR) 9.55

ทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) 17.18

ผลตอบแทน / อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อเงินลงทุน (B/C Ratio)

ทางการเงิน (FIRR) 1.03

ทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) 17.18

ผลตอบแทน / มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) (ล้านบาท)

ทางการเงิน (FIRR) 16,993

ทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) 35,252

2. ผลตอบแทนของโครงการแยกตามภาคต่าง ๆ ได้ ดังนี้

ผลตอบแทนทางการเงิน

ภาค / FIRR (ร้อยละ)

เหนือ 6.05

ตะวันออกเฉียงเหนือ 9.25

กลาง 13.12

ใต้ 5.84

รวม 9.55

ภาค / B/C Ratio

เหนือ 0.99

ตะวันออกเฉียงเหนือ 1.02

กลาง 1.07

ใต้ 0.98

รวม 1.03

ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์

EIRR(ร้อยละ)

ภาค

เหนือ 10.35

ตะวันออกเฉียงเหนือ 15.99

กลาง 23.30

ใต้ 10.83

รวม 17.18

B/C Ratio

ภาค

เหนือ 1.00

ตะวันออกเฉียงเหนือ 1.05

กลาง 1.18

ใต้ 1.01

รวม 1.09

ประโยชน์ของโครงการ

1. รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจาก 21,354 เมกะวัตต์ ในปี 2561 เป็น 26,466 เมกะวัตต์ ในปี 2568 หรือคิดเป็นอัตราเพิ่มเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 3.11

2. การให้บริการ คาดว่าจะมีผู้ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 19.52 ล้านราย ในปี 2561 เป็น 23.09 ล้านราย ในปี 2568 หรือคิดเป็นอัตราเพิ่มเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 2.43

3. ระบบไฟฟ้ามีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ไฟฟ้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

4. ลดปัญหาไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ และหน่วยสูญเสียในระบบไฟฟ้า

5. ลดปัญหาในด้านการปฏิบัติ และการซ่อมบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า

6. สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทางภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ที่กระจายไปสู่ส่วนภูมิภาคตามนโยบายของรัฐบาล

ฯลฯ

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

การก่อสร้างสถานีไฟฟ้าเป็นการก่อสร้างในพื้นที่ของ กฟภ. ไม่มีการดำเนินงานที่จะขัดต่อระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อห้ามทางกฎหมาย รวมทั้งไม่มีการดำเนินการที่จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมหรือพื้นที่ข้างเคียง และการก่อสร้างสายส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้าดำเนินการในพื้นที่ริมถนนทางหลวง (Right of Way) โดยการก่อสร้างดังกล่าวเป็นการดำเนินการในพื้นที่ที่จำกัดและระยะเวลาสั้น ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อพื้นที่ข้างเคียงที่สามารถเห็นได้ชัดเจน ได้แก่ ผลกระทบในเรื่องเสียง ฝุ่น และของเสียในช่วงระยะเวลาก่อสร้างที่จะมีปริมาณมากกว่าในช่วงเวลาปกติเล็กน้อยและไม่ส่งผลกระทบกับชุมชนในช่วงเวลากลางคืนซึ่งเป็นช่วงเวลาพักผ่อนของผู้คน อย่างไรก็ตาม กฟภ. มีมาตรการดูแลให้การก่อสร้างดำเนินไปอย่างปลอดภัย มีอาชีวอนามัยและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและพื้นที่ใกล้เคียงให้น้อยที่สุดในช่วงระยะเวลาการจ่ายไฟและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบเนื่องจากเกิดการรั่วซึมของน้ำมันหม้อแปลงที่ปนเปื้อนสู่ดินและแหล่งน้ำ หรือเกิดก๊าซซึ่งก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก ทั้งนี้ กฟภ. มีการวางแผนงานติดตามเฝ้าระวังและตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สถานีไฟฟ้าเป็นประจำเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 พฤษภาคม 2563


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ