แผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และการเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษ (ทุนเสมอภาค)

ข่าวการเมือง Tuesday January 12, 2021 19:38 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เสนอดังนี้

1. เห็นชอบแผนการใช้เงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของ กสศ. ตามที่คณะกรรมการบริหาร กสศ. เห็นชอบแล้ว เงินรวมทั้งสิ้น 7,635.67 ล้านบาท

2. เห็นชอบการเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข (ทุนเสมอภาค) ตามที่คณะกรรมการบริหาร กสศ. เห็นชอบแล้ว เพื่อ กสศ. จะได้จัดทำรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เสนอสำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

กสศ. รายงานว่า คณะกรรมการบริหาร กสศ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบแผนการใช้เงินและแผนการดำเนินงานของ กสศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และการขอเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข (ทุนเสมอภาค) สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

1. กสศ. ได้จัดทำแผนการใช้เงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ภายใต้กรอบวงเงินรวมทั้งสิ้น 7,635.67 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดแผนงาน โครงการและกิจกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำแนกเป็น 9 แผนงาน สรุปได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

แผนงาน 1 นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประกอบด้วย

งบประมาณปี 2565 / 364.00

งบประมาณปี 2564 / 287.00

เพิ่ม/(ลด) / 77.00

  • นวัตกรรมระบบเทคโนโลยีและระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เช่น พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายของ กสศ. (เด็กยากจนเด็กนอกระบบ เด็กพิการ เด็กกำพร้า แม่วัยรุ่น)

งบประมาณปี 2565 / 169.00

งบประมาณปี 2564 / 80.50

เพิ่ม/(ลด) / 88.50

  • วิจัยเชิงระบบและการประเมินผล เช่น วิจัยเพื่อขยายผลนวัตกรรมต้นแบบการแก้ไขและป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษาของผู้ด้อยโอกาสซ้ำซ้อน

งบประมาณปี 2565 / 143.00

งบประมาณปี 2564 / 124.50

เพิ่ม/(ลด) / 18.50

  • พัฒนาเครือข่ายการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เช่น สัมมนาวิชาการระดับชาติ -นานาชาติ การพัฒนาเครือข่ายนักวิจัย/องค์กรวิชาการ ระดับชาติ - นานาชาติ

งบประมาณปี 2565 / 52.00

งบประมาณปี 2564 / 82.00

เพิ่ม/(ลด) / (30.00)

แผนงาน 2 ส่งเสริมโอกาสและพัฒนาคุณภาพนักเรียน ประกอบด้วย

งบประมาณปี 2565 / 4,847.52

งบประมาณปี 2564 / 3,882.50

เพิ่ม/(ลด) / 965.02

  • ส่งเสริมโอกาสและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่น การจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข (นร. ทุนเสมอภาค) ให้แก่ นักเรียนระดับอนุบาล - ม.3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนพระปริยัติธรรม และกลุ่มโรงเรียนเอกชน เฉพาะโรงเรียนการกุศลที่ขาดแคลนทุนทรัพย์/ด้อยโอกาส โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือจะต้องมาเรียนสูงกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในภาคเรียนนั้น ๆ เพื่อป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษา

งบประมาณปี 2565 / 4,847.52

งบประมาณปี 2564 / 3,882.50

เพิ่ม/(ลด) / 965.02

แผนงาน 3 สร้างนวัตกรรมการพัฒนาครูและสถานศึกษา ประกอบด้วย

งบประมาณปี 2565 / 459.15

งบประมาณปี 2564 / 424.78

เพิ่ม/(ลด) / 34.37

  • พัฒนาครูทั้งในและนอกระบบการศึกษา เช่น สร้างต้นแบบการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ ผ่านโครงการพัฒนาตนเอง โดยทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียนในพื้นที่ เพื่อเรียนรู้ร่วมกันผ่านปฏิบัติการจริงที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น

งบประมาณปี 2565 / 82.65

งบประมาณปี 2564 / 74.78

เพิ่ม/(ลด) / 7.87

  • พัฒนาโรงเรียนและสถานศึกษา เช่น ศึกษาวิจัยองค์ความรู้และถอดบทเรียนโครงการพัฒนาครูและโรงเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

งบประมาณปี 2565 / 376.50

งบประมาณปี 2564 / 350.00

เพิ่ม/(ลด) / 26.50

แผนงาน 4 พัฒนากลไกจังหวัดและระบบช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่ยากจนและเด็กนอกระบบการศึกษา เช่น พัฒนากลไกจังหวัด โดยคณะทำงานจังหวัดจัดเวทีเพื่อสร้างภาคีความร่วมมือระดับพื้นที่และจังหวัด/จัดประชุมเพื่อจัดตั้งกลไกระดับพื้นที่ (อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน)

งบประมาณปี 2565 / 386.00

งบประมาณปี 2564 / 374.29

เพิ่ม/(ลด) / 11.71

แผนงาน 5 สร้างต้นแบบระบบการผลิตและพัฒนาครู ประกอบด้วย

งบประมาณปี 2565 / 298.73

งบประมาณปี 2564 / 139.69

เพิ่ม/(ลด) / 159.04

  • สร้างครูรุ่นใหม่สำหรับพื้นที่ห่างไกล เช่น สนับสนุนงบประมาณสำหรับนักศึกษาผู้รับทุน จำนวน 328 คน ผ่านสถาบันผลิตและพัฒนาครูในโครงการครูรักษ์ถิ่น

งบประมาณปี 2565 / 298.73

งบประมาณปี 2564 / 139.69

เพิ่ม/(ลด) / 159.04

แผนงาน 6 สร้างนวัตกรรมสายอาชีพสร้างโอกาสนักเรียนอัจฉริยะที่มีฐานะยากจนหรือด้อยโอกาสได้เรียนต่อระดับสูง และพัฒนาประชากรวัยแรงงานด้อยโอกาส ประกอบด้วย

งบประมาณปี 2565 / 856.44

งบประมาณปี 2564 / 686.36

เพิ่ม/(ลด) / 170.08

  • สร้างนวัตกรสายอาชีพและสร้างโอกาสนักเรียนอัจฉริยะที่มีฐานะยากจนหรือด้อยโอกาสได้เรียนต่อระดับสูง (ป.ตรี ? ป.เอก) ?ทุนพระกนิษฐาสัมมาชีพ? เช่น ส่งเสริมการสร้างโอกาสทางการศึกษาด้านสายอาชีพ ปวส./อนุปริญญา มีทุนใหม่ (รุ่น 4) จำนวน 2,500 ทุน

งบประมาณปี 2565 / 727.94

งบประมาณปี 2564 / 566.09

เพิ่ม/(ลด) / 161.85

  • พัฒนาประชากรวัยแรงงานด้อยโอกาส เช่น โครงการพัฒนาทักษะอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน/พัฒนานวัตกรรมโมเดลทางธุรกิจระดับชุมชน กลุ่มเป้าหมาย 10,000 คน

งบประมาณปี 2565 / 128.50

งบประมาณปี 2564 / 120.27

เพิ่ม/(ลด) / 8.23

แผนงาน 7 สร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติและวิเทศสัมพันธ์ เช่น จัดประชุมเครือข่ายองค์กรนานาชาติ/จัดการความรู้และขับเคลื่อนความรู้ด้านต่างประเทศ

งบประมาณปี 2565 / 39.20

งบประมาณปี 2564 / 28.22

เพิ่ม/(ลด) / 10.98

แผนงาน 8 งานรณรงค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย และระดมความร่วมมือทางสังคม เช่น พัฒนาและสร้างเครือข่ายจังหวัดสื่อสารรณรงค์ขับเคลื่อนวาระความเสมอภาคทางการศึกษา/พัฒนาเครือข่ายครู อาสาสมัครทางการศึกษา

งบประมาณปี 2565 / 68.50

งบประมาณปี 2564 / 57.86

เพิ่ม/(ลด) / 10.64

แผนงาน 9 บริหารและพัฒนาระบบงาน ประกอบด้วย

งบประมาณปี 2565 / 316.13

งบประมาณปี 2564 / 204.06

เพิ่ม/(ลด) / 112.07

  • สร้างเสริมระบบหุ้นส่วนธรรมาภิบาลกับภาคี เช่น การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลและการป้องกันการทุจริต (เช่น จัดทำ/ปรับปรุงโครงสร้าง กฎระเบียบ เครื่องมือ คู่มือ จรรยาบรรณ และแนวทางปฏิบัติ ที่เหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาลฯ พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อบริหารหรือสนับสนุนการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลฯ)

งบประมาณปี 2565 / 49.20

งบประมาณปี 2564 / 44.00

เพิ่ม/(ลด) / 5.20

  • บริหารและพัฒนาระบบงาน เช่น งานบุคลากร/สวัสดิการ/การพัฒนาความรู้และการฝึกอบรมต่อเนื่อง งานอำนวยการ ค่าใช้สอยสำนักงาน

งบประมาณปี 2565 / 175.25

งบประมาณปี 2564 / 130.06

เพิ่ม/(ลด) / 45.19

  • พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น งานบุคลากร/สวัสดิการ/การพัฒนาความรู้และการฝึกอบรมต่อเนื่อง งานอำนวยการ ค่าใช้สอยสำนักงาน

งบประมาณปี 2565 / 91.68

งบประมาณปี 2564 / 30.00

เพิ่ม/(ลด) / 61.68

รวม

งบประมาณปี 2565 / 7,635.67

งบประมาณปี 2564 / 6,084.76

เพิ่ม/(ลด) / 1,550.91

2. การเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข (ทุนเสมอภาค) เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลให้ครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษ*ฯ มีรายได้ลดลงและเกิดการว่างงาน ประกอบกับผลวิเคราะห์จากโครงการวิจัยพัฒนาระบบบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ ซึ่ง กสศ. ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีข้อเสนอว่าอัตราเงินทุนเสมอภาคในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับครัวเรือนของนักเรียนยากจนพิเศษ ดังนั้น เพื่อให้เป็นมาตรการที่สอดคล้องและตอบสนองต่อแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด ? 19 พ.ศ. 2564 - 2565 (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563) กสศ. จึงเห็นควรเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข (ทุนเสมอภาค) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างนักเรียนจากครอบครัวที่มีรายได้แตกต่างกัน และป้องกันความเสี่ยงในการหลุดออกจากระบบการศึกษาของประชากรกลุ่มนี้ในระยะยาว โดยมีรายละเอียด สรุปได้ ดังนี้

ระดับการศึกษา / อัตราเดิม (บาท/ปี)

อนุบาล 4,000

ประถมศึกษา 3,000

มัธยมศึกษาตอนต้น 3,000

มัธยมศึกษาตอนปลาย/อาชีวศึกษา 3,000

ระดับการศึกษา / อัตราใหม่ (บาท/ปี)

อนุบาล 4,000

ประถมศึกษา 5,100

มัธยมศึกษาตอนต้น 4,500

มัธยมศึกษาตอนปลาย/อาชีวศึกษา 9,100

ระดับการศึกษา / เพิ่มขึ้น (บาท/ปี)

อนุบาล เท่าเดิม

ประถมศึกษา 2,100

มัธยมศึกษาตอนต้น 1,500

มัธยมศึกษาตอนปลาย/อาชีวศึกษา 6,100

  • นักเรียนยากจนพิเศษ หมายถึง นักเรียนยากจนที่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ด้วยวิธีการวัดรายได้ทางอ้อมแบบ Proxy Means Test: PMT จากระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอยู่ในกลุ่มที่ค่าคะแนนความยากจนอยู่ในเกณฑ์ยากจนพิเศษหรือครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ย 1,200 บาท/คน/เดือน

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 มกราคม 2564


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ