สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 กรกฎาคม 2564

ข่าวการเมือง Tuesday July 27, 2021 17:38 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (27 กรกฎาคม 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า                     ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย

                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลศาลาแดง

อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. ?.

                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลแก่งดินสอ

อำเภอนาดี และตำบลบ้านนา ตำบลเมืองเก่า ตำบลกบินทร์ ตำบลบ่อทอง

อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. ?.

                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการ
                                        ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับระบบ                                        การจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. ?.
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดรังสี พ.ศ. ?.
                    5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องกำเนิด                                        รังสี พ.ศ. ?.

เศรษฐกิจ สังคม


                    6.           เรื่อง           แนวทางการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ                                                   Digital ID ด้วยการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัล                                                   (Face Verification Service - FVS)
                    7.           เรื่อง           ขออนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณี                                        ฉุกเฉินหรือจำเป็นในการจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการ                                        เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    8.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็น                                                  สายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง ปี 2563 (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2563)
                    9.           เรื่อง           ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมิถุนายน                                         2564
                    10.           เรื่อง           เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณี                                        สถานการณ์การชุมนุมและเรียกร้องทางการเมืองของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และ                                        ประชาชน
                    11.           เรื่อง           มติคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564
                    12.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการเข้าถึงบริการ                                                  ธุรกรรมทางการเงินของคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และ                                                  กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
                    13.           เรื่อง           รายงานประจำปี 2563 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
          14.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของ                              การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 3/2564
                    15.           เรื่อง           การส่งเสริมการใช้ยาฟ้าทะลายโจรเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ                                        ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
                    16.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม

ครั้งที่ 26/2564

                    17.           เรื่อง           มาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือน                                                  และประชาชน
ต่างประเทศ

                    18.           เรื่อง           กรอบความตกลงว่าด้วยข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียน (ASEAN                                                             Framework Agreement on Mutual Recognition Arrangement :

AFA on MRA) ฉบับปรับปรุงแก้ไข

                    19.            เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ                                        อาเซียน ครั้งที่ 54 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                    20.           เรื่อง           ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง?สหรัฐฯ ครั้งที่ 2
                    21.           เรื่อง            การแต่งตั้งคณะผู้แทนไทยในการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 27
                    22.           เรื่อง           การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของ                                        ของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 15 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญา
                                        รอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมี                                                  อันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่าง                                                  ประเทศ สมัยที่ 10 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษ                                        ที่ตกค้างยาวยาน สมัยที่ 10
แต่งตั้ง

                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ  (กระทรวงพาณิชย์)
                    24.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    25.           เรื่อง           แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเกษตรในคณะกรรมการสำนักงานพิพิธภัณฑ์                                        เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396










กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
                     1. เนื่องจากที่ผ่านมาทางระบายน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างซึ่งเป็นคลองขนาดใหญ่           มีลักษณะเป็นคลองเปิด ระบายน้ำด้วยแรงโน้มถ่วงเพื่อใช้ระบายน้ำหลากจากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก ในช่วงฤดูฝน และได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลทำให้เกิดน้ำเท้อบริเวณปากคลองและปากแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเล ทำให้        การระบายน้ำของคลองออกจากพื้นที่ช้าลง และบางช่วงเวลาระบายน้ำในคลองออกสู่ทะเลไม่ได้ จึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงคลองและปรับปรุงอาคารให้สามารถระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ สำหรับช่วงคลองพระองค์ไชยานุชิต ไม่มีอาคารบริเวณจุดตัดกับคลองนครเนื่องเขต และคลองสำโรง จึงมีความจำเป็นต้องก่อสร้างประตูระบายน้ำกลางคลองพระองค์ไชยานุชิตและประตูระบายน้ำปากคลองด่าน เพื่อเป็นอาคารควบคุมและช่วยในการบริหารจัดการน้ำ
                     2. กรมชลประทานจึงมีแผนงานที่จะก่อสร้างโครงการประตูระบายน้ำกลางคลองพระองค์ไชยานุชิต ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ? 2565) วงเงินค่าก่อสร้าง 412,000,000 บาท ลักษณะของโครงการเป็นการก่อสร้างประตูระบายน้ำและ                    อาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น ซึ่งในการก่อสร้างจะต้องใช้ที่ดินจำนวน 17 แปลง เนื้อที่ประมาณ 13-2-25 ไร่                ค่าทดแทนประมาณ 10,000,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ จะสามารถบริหารจัดการน้ำช่วงคลองพระองค์             ไชยานุชิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำหลากช่วงคลองพระองค์ไชยานุชิต
                     3. ดังนั้น กรมชลประทานจึงมีความจำเป็นจะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างประตูระบายน้ำและอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่นตามโครงการประตูระบายน้ำกลางคลองพระองค์ไชยานุชิต ในท้องที่ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อประโยชน์แก่การชลประทานสำหรับพื้นที่การเกษตร                  การอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย รวมทั้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปสำรวจและเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องได้มาโดยแน่ชัด
                     4. กรมชลประทานได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการดังกล่าวแล้ว ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว
                     5. สำนักงบประมาณพิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้กรมชลประทานใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี โอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ                   พ.ศ. 2562 ในโอกาสแรกก่อน หรือจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
                    โดย กษ. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ด้วยแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                     กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลศาลาแดง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา             เพื่อสร้างประตูระบายน้ำและอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่นตามโครงการประตูระบายน้ำกลางคลองพระองค์            ไชยานุชิต


2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี และ              ตำบลบ้านนา ตำบลเมืองเก่า ตำบลกบินทร์ ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. ?.
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี และตำบลบ้านนา ตำบลเมืองเก่า ตำบลกบินทร์ ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
                     ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
                     1. กรมชลประทานได้ดำเนินการตามโครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นโครงการชลประทานประเภทอ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำห้วยพระปรงและลุ่มน้ำห้วยโสมง อันเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำปราจีนบุรี เพื่อประโยชน์แก่การชลประทานในการก่อสร้างระบบส่งน้ำและระบบระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบตามโครงการดังกล่าว
                     2. ต่อมาได้ประกาศใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี และตำบลบ้านนา ตำบลเมืองเก่า ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. 2559 เพื่อก่อสร้างระบบส่งน้ำและระบบระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบตามโครงการดังกล่าว โดยสิ้นสุดระยะเวลาการใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2563 กรมชลประทานพิจารณาแล้ว เห็นว่าโครงการดังกล่าวมีความจำเป็นต้องได้มา             ซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการเวนคืน จำนวนเนื้อที่ประมาณ 1,021-1-97.10 ไร่ เพื่อให้การก่อสร้างระบบส่งน้ำและระบบระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบตามโครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นไปตามแผนการที่กำหนดไว้ และเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปสำรวจและ                 เพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องได้มาโดยแน่ชัด ทั้งนี้ เมื่อโครงการดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จ              จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำและการส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทาน โดยมีพื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์จากการส่งน้ำบริเวณพื้นที่ชลประทานฝั่งซ้ายและฝั่งขวา จำนวน 111,300 ไร่
                     3. กรมชลประทานได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว
                     4. สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาแล้ว แจ้งว่าสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ให้กรมชลประทาน              ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ได้รับจัดสรรไว้แล้ว และส่วนที่เหลือเห็นควรให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอน               ซึ่ง สงป. จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้ว
                     โดย กษ. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว
                     สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                     กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี และตำบลบ้านนา ตำบลเมืองเก่า ตำบลกบินทร์ ตำบลบ่อทอง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อประโยชน์แก่การชลประทานในการก่อสร้างระบบส่งน้ำและระบบระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบตามโครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ                 จังหวัดปราจีนบุรี

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย                    อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน                พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงพลังงาน และกระทรวงสาธารณสุขไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ รง. เสนอว่า ได้มีพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม                  ในการทำงาน พ.ศ. 2554 เป็นกฎหมายเฉพาะ สำหรับการกำหนดมาตรฐานการควบคุม กำกับ ดูแล และบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งเป็นการนำความในหมวด 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยบทเฉพาะกาล มาตรา 74 บัญญัติให้ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ให้นำกฎกระทรวงที่ออกตามความในหมวด 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
                     ปัจจุบันการกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย                        อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน ยังคงเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ออกตามความในหมวด 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานเป็นไปตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. ?. เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     1. กำหนดคำนิยามคำว่า ?ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน?
                     2. กำหนดให้ใช้บังคับแก่ประเภทของสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปตามบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวงนี้ โดยให้นายจ้างต้องจัดให้มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานนับตั้งแต่วันที่มีลูกจ้างครบ 50 คน และดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
                     3. กำหนดให้นายจ้างจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัย                  ในการทำงาน และพร้อมให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ
                     4. กำหนดรายละเอียดของนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม                ในการทำงาน โครงสร้างการบริหารระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน แผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและการนำไปปฏิบัติ การประเมินผลและการทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการดำเนินการปรับปรุงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดรังสี พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดรังสี พ.ศ. ?.                     ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดบทนิยาม คำว่า ?ใบอนุญาต?
                     2. กำหนดให้ผู้ใดประสงค์จะทำเครื่องกำเนิดรังสี มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี นำเข้าหรือส่งออกเครื่องกำเนิดรังสี ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอรับใบอนุญาต
                     3. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาตกรณีที่เอกสารถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตและเสนอต่อเลขาธิการเพื่อพิจารณาอนุญาต โดยให้แจ้งคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตไปยังผู้ขอรับใบอนุญาตภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาต
                     4. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตต่อเลขาธิการ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานภายในเก้าสิบวันแต่ไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ กรณีใบอนุญาตชำรุดในสาระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย ให้ยื่นขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเลขาธิการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับ       ถึงการชำรุดในสาระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย
                     5. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี รายงานผลการตรวจสอบความปลอดภัย พร้อมด้วยสำเนาเอกสารแสดงผลการตรวจสอบความปลอดภัยจากหน่วยงานที่เลขาธิการกำหนด      ตามประเภทของเครื่องกำเนิดรังสีที่ต้องขอรับใบอนุญาต และต้องเก็บรักษาเครื่องกำเนิดรังสีไว้ ณ สถานที่ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
                     6. กำหนดให้การยื่นคำขอรับใบอนุญาต คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต คำขอต่ออายุใบอนุญาต คำขอรับใบแทนใบอนุญาต คำขอปรับปรุงสถานที่ทำ ครอบครองหรือใช้ เครื่องกำเนิดรังสี คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาตรการหรือวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอันตรายจากรังสี คำขอยกเลิกมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี คำขอชำระค่าธรรมเนียม รายงานผลการตรวจสอบความปลอดภัย และใบแจ้งเครื่องกำเนิดรังสี             สูญหาย ให้ยื่น ณ สำนักงาน หรือยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามวิธีการที่เลขาธิการประกาศกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดรังสี พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดรังสี พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ อว. เสนอ เป็นการกำหนดศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดรังสี เพื่อให้ผู้ขอรับใบอนุญาตดังกล่าวมีศักยภาพทางเทคนิคที่เพียงพอในการดูแลความปลอดภัยของเครื่องกำเนิดรังสีที่ได้รับอนุญาต
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการกำหนดศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดรังสี โดยได้กำหนดศักยภาพทางเทคนิคในเรื่องดังต่อไปนี้
                     1. กำหนดให้สถานที่จัดเก็บหรือสถานที่ประกอบกิจการของผู้ขอรับใบอนุญาต ต้องมีโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรงซึ่งสามารถรับน้ำหนักของเครื่องกำเนิดรังสีและส่วนประกอบทั้งหมดได้ รวมทั้งต้องมีผนังและเพดานที่สามารถป้องกันระดับรังสีให้มีความปลอดภัยทางรังสี โดยมีปริมาณรังสีไม่เกินกว่าปริมาณที่กำหนด
                     2. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ที่เหมาะสมกับชนิดของรังสีที่เกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องกำเนิดรังสี เช่น เครื่องเฝ้าระวังปริมาณรังสีในพื้นที่หรือเครื่องสำรวจรังสี อุปกรณ์                วัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสี สัญลักษณ์ทางรังสีพร้อมข้อความเตือนภัยที่เหมาะสมแสดงให้เห็นได้ชัดเจน ไฟหรือสัญญาณเสียงแสดงสถานะการใช้งานรังสีที่ชัดเจน เป็นต้น
                     3. กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีตามประเภทและ              การใช้งานของเครื่องกำเนิดรังสีที่ได้รับอนุญาต
                     4. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีแผนป้องกันอันตรายจากรังสี ที่เหมาะสมสำหรับ                การปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เช่น แผนผังสายการบังคับบัญชาด้านความปลอดภัยทางรังสีที่ระบุบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน การจัดแบ่งพื้นที่                 การปฏิบัติงานและมีมาตรการควบคุมการเข้าออกพื้นที่อย่างชัดเจน แผนการตรวจวัดทางรังสีในบริเวณปฏิบัติงาน              ทางรังสีและบริเวณพื้นที่สาธารณะ โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการที่แน่นอน เป็นต้น

เศรษฐกิจ สังคม


6. เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID ด้วยการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัล (Face Verification Service - FVS)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอดังนี้
                    1. รับทราบแนวทางการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID ด้วยการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัล (Face Verification Service - FVS)
                    2. อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ดำเนินการพัฒนาและจัดให้มีระบบ FVS และดำเนินการให้บริการกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน
                    3. ให้ ดศ. เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ระบบ FVS ที่ มท. พัฒนา            มีความมั่นคงปลอดภัย มีความน่าเชื่อถือ ตลอดจนสอดคล้องตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
                    4. ให้สำนักงบประมาณ (สงป.) ให้การสนับสนุนงบประมาณให้กับ มท. เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย                 ในการพัฒนาและจัดทำระบบ FVS โดยครอบคลุมการพัฒนาและติดตั้งซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) การจัดหาอุปกรณ์และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำหรับการให้บริการ และการทดสอบประสิทธิภาพและความมั่นคงปลอดภัยของระบบ ตลอดจนการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐาน และข้อตกลงการให้บริการของระบบ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นใดเพื่อ            การบริหารงานและการให้บริการ
                    5. ให้ มท. หรือ ดศ. แล้วแต่กรณี รายงานการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน            ด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) ในส่วนของการพัฒนาระบบ Digital ID ให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ดศ. รายงานว่า
                    1. ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการใช้งานระบบการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศ ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน ที่ประชุมได้มีมติมอบหมายสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และ สพร. สนับสนุน            การดำเนินงานของกรมการปกครองในการพัฒนาระบบ Digital ID สำหรับประชาชนต่อไป
                    2. นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้ ดศ. พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure) ซึ่งรวมถึงการพัฒนาระบบ Digital ID เพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมที่ต้องมีการพิสูจน์และยืนยันตัวตน และเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐและภาคธุรกิจได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ซึ่งปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานมีความพร้อมแล้ว แต่ยังติดขัดในประเด็นข้อกฎหมาย จึงเห็นควรมอบหมายให้ ดศ. และ มท. (กรมการปกครอง) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อยุติและแนวทางข้อกฎหมายเพื่อพัฒนาระบบ Digital ID ต่อไป [ตามหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ นร 0403 (กน)/596 ลงวันที่ 15 มกราคม 2564 เรื่อง ข้อเสนอแนะของคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี]
                    3. เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 ดศ. และ มท. ได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาระบบ FVS โดย มท. เห็นชอบที่จะดำเนินการพัฒนาและจัดให้มีระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัล (FVS) โดยมี ดศ. เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ มท. จะเป็นผู้พิจารณาค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้พิจารณาผลการหารือดังกล่าวแล้วมีบัญชาเห็นชอบในการนำเรื่องแนวทางการพัฒนาระบU Digital ID ด้วยการพัฒนาระบบ FVS เสนอคณะรัฐมนตรี [ตามหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ นร 0403 (กน)/6481 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2564 เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี] โดยผลการหารือดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              3.1 ระบบ FVS ที่ มท. จะพัฒนาขึ้นเป็นระบบที่จะใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Digital ID) ของผู้รับบริการระบบหนึ่ง โดยมีกลไกการทำงานที่ใช้เทคโนโลยีในการระบุตัวบุคคลด้วย การเปรียบเทียบภาพใบหน้าที่ผู้รับบริการถ่ายส่งเข้าระบบกับฐานข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือที่ดูแลโดย มท. ซึ่งได้แปลงเป็นแม่แบบชีวมิติ (Biometric template) ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีความแม่นยำตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และแจ้งผลในรูปแบบของร้อยละของความถูกต้องของภาพถ่ายกับฐานข้อมูลภาพใบหน้า ทั้งนี้ ควรมอบหมายให้ มท. เป็นผู้ดำเนินการพัฒนาระบบ FVS และกำหนดมาตรการในการดูแลข้อมูลด้วยระดับความมั่นคงปลอดภัยขั้นสูง ซึ่งหน่วยงานของรัฐและเอกชนสามารถใช้บริการระบบ FVS ได้ โดยต้องมีมาตรฐานการทำงานตามที่ มท. กำหนด หรือได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งระบบดังกล่าว หากพัฒนาตามมาตรฐานได้สำเร็จจะช่วยลดต้นทุนด้านการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของหน่วยงานภาครัฐและธุรกิจเอกชน และยกระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ตัวตนดิจิทัลให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ทุกภาคส่วนในการทำธุรกรรม
                    3.2 บทบาทเบื้องต้นของ มท. และ ดศ. ในการดำเนินการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัลจากการหารือดังกล่าว มีดังนี้
หน่วยงาน          บทบาท
มท.          - ดำเนินการพัฒนาและจัดให้มีระบบ FVS
- ดำเนินการให้บริการกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน
- พิจารณาค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ดศ.          - เป็นที่ปรึกษาให้กับ มท. ให้คำแนะนำในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ระบบดังกล่าวที่ มท. จะจัดทำขึ้นมีความมั่นคง ปลอดภัยน่าเชื่อถือ รวมถึงสอดคล้องตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

7. เรื่อง ขออนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น        ในการจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำปีงบประมาณ                   พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในการจ่ายเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (โครงการฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 3,493,191,100 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ที่จะได้รับเงินต่อเนื่อง 3 เดือน (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564) จำนวน 2,227,029 คน ตามที่ พม. เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พม. รายงานว่า
                    1. โครงการฯ เป็นนโยบายสำคัญระดับชาติ มุ่งเน้นให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ และ     มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย เพื่อเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพในอนาคต การได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยง          ดูเด็กแรกเกิดอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อยได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และ             มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย ถือเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลส่งผ่านบิดา มารดา หรือผู้ปกครองไปยังเด็ก            แรกเกิด โดยให้เงินอุดหนุนเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน ซึ่งหากไม่ได้รับเงินอุดหนุนอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ครอบครัวของเด็กแรกเกิดได้รับความเดือดร้อน พร้อมทั้งส่งผลให้เด็กไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพและเหมาะสมตามวัย
                    2. พม. ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบอุดหนุนเฉพาะกิจ (เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด) เพื่อเบิกจ่ายให้กับผู้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด                  จำนวน 1,966,093 คน สรุปได้ ดังนี้
ประเภทงบประมาณ          วงเงิน (บาท)
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบอุดหนุนเฉพาะกิจ (เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด)          13,074,410,100
เงินกันเหลื่อมปีประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของโครงการฯ           235,200
ชดใช้เงินยืมทดรองราชการกรมบัญชีกลาง          (297,469,200)
คงเหลือ          12,777,176,100
โดยเมื่อเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้มีสิทธิตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - มิถุนายน 2564 จำนวน 12,020,397,400 บาท ทำให้ พม. มีงบประมาณคงเหลือภายหลังจากเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้มีสิทธิตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - มิถุนายน 2564 จำนวน 756,778,700 บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเบิกจ่ายให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุน             เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ในรอบเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 จำนวน 2,378,156 คน ดังนั้น พม.                  (กรมกิจการเด็กและเยาวชน) จึงเสนอ สงป. เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ              พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 4,148,876,700 บาท
                    3. สงป. ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้ พม. (กรมกิจการเด็กและเยาวชน) ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 3,493,191,100 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดที่จะได้รับเงินต่อเนื่อง 3 เดือน (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564) จำนวน 2,227,029 คน และให้ พม. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (3) ด้วย

8. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของ                 การไฟฟ้านครหลวง ปี 2563 (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2563)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอรายงานผลการดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ปี 2563 (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2563) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (31 มกราคม 2560) ที่กำหนดให้ มท. รายงานผลการดำเนินการตามแผนงานฯ ให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ] สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. สาระสำคัญของแผนงานฯ
                        กฟน. มีแผนดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่ที่ กฟน. ดูแลและรับผิดชอบระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และสมุทรปราการ ระยะทางรวม 236.1 กิโลเมตร มีกรอบระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่ปี 2527 - 2567 รวม 8 แผน ได้ดำเนินการ             แล้วเสร็จ 48.6 กิโลเมตร
รายการ          ระยะทาง (กิโลเมตร)
1) แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 5 (ระยะที่ 2) ฉบับที่ 7 (ฉบับปรับปรุง) และฉบับที่ 8 (ฉบับปรับปรุง) (โครงการถนนสีลม ปทุมวัน และจิตรลดา)          16.2
2) แผนปรับปรุงและขยายระบบจำหน่ายไฟฟ้า ฉบับที่ 9 (ระยะที่ 2) (พ.ศ. 2547 ? 2550) (โครงการพหลโยธิน พญาไท และสุขุมวิท)          24.4
3) แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ปี 2551 ? 2556                  (ฉบับปรับปรุง) [โครงการปทุมวัน จิตรลดา พญาไท (เพิ่มเติม) และบางส่วนของโครงการนนทรี]          8
                    2. ผลการดำเนินการตามแผนงานฯ (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2563) สรุปได้ ดังนี้
                        2.1 แผนงาน/โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ระยะทาง 187.5 กิโลเมตร
                              2.1.1 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ปี 2551-2556                (ฉบับปรับปรุง) รวมระยะทาง 25.2 กิโลเมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ 17.2 กิโลเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จ ปี 2565 ได้แก่
แผนงาน/โครงการ          เป้าหมายระยะทาง (กิโลเมตร)          สถานะ/ผลการดำเนินการ
1) โครงการนนทรี          6.3          อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 64.51              (จากแผนงานฯ ร้อยละ 68.38) (ช้ากว่าแผนร้อยละ 3.87)
2) โครงการพระราม 3          10.9
                              2.1.2 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินรัชดาภิเษก                    รวมระยะทาง 22.5 กิโลเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จ ปี 2565 ประกอบด้วย
แผนงาน/โครงการ          เป้าหมายระยะทาง (กิโลเมตร)          สถานะ/ผลการดำเนินการ
1) โครงการรัชดาภิเษก - อโศก          8.2          อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 26.28              (จากแผนงานฯ ร้อยละ 29.46) (ช้ากว่าแผนร้อยละ 3.18)
2) โครงการรัชดาภิเษก - พระราม 9          14.3
                              2.1.3 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อรองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน รวมระยะทาง 127.3 กิโลเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จปี 2565 อยู่ระหว่างจัดหาผู้รับจ้างและ              การก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 26.03 (จากแผนงานฯ ร้อยละ 33.57) (ช้ากว่าแผนร้อยละ 7.54) ได้แก่
แผนงาน/โครงการ          เป้าหมาย
ระยะทาง
(กิโลเมตร)          สถานะ/ผลการดำเนินการ          ระยะทาง
(กิโลเมตร)
1) โครงการพื้นที่เมืองชั้นใน เช่น ถนนวิทยุ (2.1 กิโลเมตร) ถนนพระราม 4 (2.3 กิโลเมตร) และ                 ถนนอังรีดูนังต์ (1.8 กิโลเมตร)          12.6          อยู่ระหว่างการก่อสร้าง          12.6
2) โครงการในพื้นที่เชื่อมโยงระบบส่งระหว่างสถานีไฟฟ้าต้นทาง เช่น ถนนเจริญราษฎร์ (3.8 กิโลเมตร) และ               ถนนเพชรบุรี (1.0 กิโลเมตร)          7.4          อยู่ระหว่างการก่อสร้าง          7.4
3) โครงการในพื้นที่ก่อสร้างร่วมกับหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่น ได้แก่ โครงการในพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า (87.1 กิโลเมตร) โครงการในพื้นที่ร่วมกรุงเทพมหานคร (13.1 กิโลเมตร) และโครงการในพื้นที่การประปานครหลวง (7.1 กิโลเมตร)          107.3          อยู่ระหว่างการก่อสร้าง/จัดหาผู้รับจ้าง          86.8
20.5
                              2.1.4 แผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินฉบับปฏิบัติการเร่งรัด รวมระยะทาง 20.5 กิโลเมตร มีกำหนดการแล้วเสร็จ ปี 2566 ได้แก่
แผนงาน/โครงการ          เป้าหมายระยะทาง (กิโลเมตร)          สถานะ/ผลการดำเนินการ
1) โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง             ถนนรัตนาธิเบศร์ (ถนนราชพฤกษ์ - ถนนกาญจนาภิเษก)          4.4          อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 20.00 (จากแผนงานฯ ร้อยละ 22.40) (ช้ากว่าแผนร้อยละ 2.40)
2) โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วง            ถนนกรุงเทพ - นนทบุรี ถึง ถนนติวานนท์          10.6
3) โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว                 ถนนสุขุมวิท (ซอยสุขุมวิท 81 - ซอยสุขุมวิท 107)          5.5
                    2.2 การเบิกจ่ายงบประมาณ กฟน. ได้วางแผนการเบิกจ่ายเงินในปี 2563 จำนวนเงิน 3,866.121 ล้านบาท โดย ณ เดือนธันวาคม 2563 ได้มีการเบิกจ่ายเงินรวม 2,312.608 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59.82 ของแผนการเบิกจ่ายฯ และจะเร่งดำเนินการเบิกจ่ายในส่วนที่เหลือโดยเร็วที่สุด ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
แผนงาน          งบประมาณลงทุน          การเบิกจ่ายเงิน ปี 2563
                    แผนการเบิกจ่าย          ผลการจ่าย
1) แผนงานฯ ปี 2551 ? 2556 (ฉบับปรับปรุง)           9,088.80          739.997          796.896
2) แผนงานฯ รัชดาภิเษก          8,899.58          329.597          128.371
3) แผนงานฯ รองรับการเป็นมหานคร             แห่งอาเซียน          48,717.20          2,538.251          1,060.804
4) แผนงานฯ ฉบับปฏิบัติการเร่งรัด          3,673.40          258.276          326.537
รวม          70,378.98          3,866.121
(ร้อยละ 100)          2,312.608
(ร้อยละ 59.82)
                    3. แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป
                        กฟน. ติดตามเร่งรัดการดำเนินการตามแผนงานฯ ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายและ                      กรอบระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง พบอุปสรรคในการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินที่จำเป็นต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบ เช่น การเพิ่มระดับความลึกของบ่อพักและ              ท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อหลบอุปสรรค ทำให้ส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนด               ซึ่ง กฟน. ได้พิจารณาปรับแผนการดำเนินการโดยเน้นให้เร่งรัดระยะเวลาในการก่อสร้างให้เร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผนงานฯ ที่กำหนด

9. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมิถุนายน 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เสนอความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ             ณ เดือนมิถุนายน 2564 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
1.1 ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติ และการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

? การจัดทำโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อขับเคลื่อน               การบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
     (1) ทบทวนและเพิ่มเติมหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่าที่มีส่วนร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายของแผนแม่บทย่อยแต่ละเป้าหมายให้มีความครบถ้วนและครอบคลุม             เพื่อนำไปใช้ประกอบการจัดทำโครงการ/การดำเนินงานที่สอดคล้องกับแนวทาง            การพัฒนาและสถานการณ์ปัจจุบัน
      (2) ทบทวนห่วงโซ่คุณค่าของเป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน และบรรจุในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานต่อไป
? ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจน และ             การพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 มีการจัดตั้งและนำคำสั่ง ศจพ. ในระดับต่าง ๆ เข้าสู่ระบบบางส่วนแล้ว ซึ่ง สศช. จะเร่งรัดการดำเนินการดังกล่าวต่อไปและ              จะพิจารณากำหนดแนวทางในการจัดตั้ง ศจพ. ระดับอำเภอและทีมปฏิบัติการในระดับพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสะดวกต่อการทำงานของทีมปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ที่มีบริบทแตกต่างกัน
1.2 ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ          ? อยู่ระหว่างจัดทำรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูป
ประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2564)
? แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลเข้าระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เพื่อเร่งรัดกำกับ ติดตามการดำเนินโครงการ/การดำเนินงานให้เป็น             ไปตามที่กำหนดไว้ในแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ต่อไป
1.3 ผลการดำเนินการอื่น ๆ          ? แจ้งทุกหน่วยงานของรัฐนำข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เข้าระบบ eMENSCR โดยด่วน เพื่อนำไปวิเคราะห์ ประเมินผลการดำเนินงานที่สามารถส่งผลต่อการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ และประกอบการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ และรายงานสรุปผลการปฏิรูปประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อเสนอ              ต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมี                ข้อสั่งการให้ปรับรูปแบบการนำเสนอในระบบ eMENSCR ให้เข้าใจง่าย
? สร้างการตระหนักรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ ต่อ            การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ เช่น จัดทำเพจ Facebook ?คบเด็กสร้างชาติ - สร้างพลังบวก? เพื่อเผยแพร่เนื้อหาสาระของคนรุ่นใหม่และการแบ่งปันเรื่องราวที่ดีผ่านสื่อสังคมออนไลน์
2. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ : การพัฒนาการเรียนรู้          โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการเรียนรู้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นโครงการปกติที่ไม่ได้มุ่งเน้นการวางรากฐานการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาพหุปัญญา
อย่างแท้จริง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องดำเนินงานอย่างจริงจังตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงระดับปฏิบัติ โดยต้องกำหนดแนวนโยบายที่ชัดเจนสำหรับ             การพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญา รวมทั้งการบูรณาการการทำงานร่วมกัน เช่น ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องพหุปัญญา การมีระบบข้อมูลที่มุ่งเน้นการบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลด้านพหุปัญญาระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง                   การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาด้านพหุปัญญา

10. เรื่อง เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีสถานการณ์                 การชุมนุมและเรียกร้องทางการเมืองของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีสถานการณ์             การชุมนุมและเรียกร้องทางการเมืองของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแนวทางฯ ดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามหน้าที่และอำนาจให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และเหมาะสมกับสถานการณ์และข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี โดยให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย เพื่อคงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคมและประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติในภาพรวม โดยให้รับความเห็นของกระทรวง             การต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงกลาโหมไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. กสม. รายงานว่า ได้ติดตามสถานการณ์การชุมนุมและเรียกร้องทางการเมืองของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นมา และมีความห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์           การชุมนุมทางการเมืองในปัจจุบันว่า การใช้เสรีภาพในการชุมนุม การแสดงความคิดเห็นและการเคลื่อนไหวทางการเมืองในมุมมองที่แตกต่างกัน อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมอย่างกว้างขวาง และสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงและส่งผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการรับรองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีการชุมนุม การเดินขบวนเพื่อเรียกร้องทางการเมืองหลายครั้งที่เกิดเหตุการณ์บานปลายและมีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม
                    2. กสม. ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบและจัดทำรายงานในกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองตั้งแต่ปี 2550 แล้วพบว่า กรณีดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนหลายประการ อันเนื่องมาจากการกระทำของทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น การปิดถนน ปิดล้อมอาคารสาธารณะและขัดขวางไม่ให้บุคคลเข้าออก กล่าวโจมตีบุคคลด้วยถ้อยคำรุนแรง ก้าวร้าว การขว้างปาสิ่งของ การเผาทำลายอาคาร ทำให้ทรัพย์สินของทางราชการ ธุรกิจเอกชน และประชาชนในบริเวณใกล้เคียงได้รับความเสียหาย รวมถึงการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ และเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ใช้กำลังและอาวุธเข้าสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บซึ่งในช่วงนั้นรัฐบาลได้ใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้เสียหาย ท้ายที่สุดย่อมส่งผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม
                    3. กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์                การโฆษณา และการสื่อความหมายด้วยวิธีอื่น เสรีภาพทางวิชาการ เสรีภาพในการเสนอข่าวสาร และเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ได้รับรองไว้อย่างชัดแจ้งตามรัฐธรรมนูญ                แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 34 มาตรา 35 และมาตรา 44 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง ข้อ 19 และข้อ 21 ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม
                    อย่างไรก็ตาม เสรีภาพดังกล่าวมิใช่เป็นเสรีภาพที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองอย่างบริบูรณ์ อาจถูกจำกัดได้ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ คุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น รักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน แต่ต้องเป็นการตีความอย่างเคร่งครัดและได้สัดส่วนกับความจำเป็นแห่งสถานการณ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องย่อม                มีหน้าที่ต้องบังคับใช้กฎหมายที่อาจเป็นการจำกัดเสรีภาพบางประการของกลุ่มผู้ชุมนุม
                    4. การดำเนินการของรัฐบาลที่ผ่านมาได้แสดงถึงความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชนและการใช้ความระมัดระวังในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่เกี่ยวข้องรวมถึงประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดนโยบายและแนวทางดำเนินการของรัฐบาล รวมทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการบังคับใช้กฎหมายภายใต้สถานการณ์การชุมนุมและเรียกร้องทางการเมืองของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน กสม. จึงเห็นควรเสนอแนะแนวทางใน              การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีสถานการณ์การชุมนุมและเรียกร้องทางการเมืองของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                              4.1 คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรแสดงออกที่ชัดเจนถึงการเคารพเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพนี้ต้องอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น และควรคำนึงถึงหลักความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ                 แห่งราชอาณาจักรไทยที่ถือว่า ?การมีสิทธิเสรีภาพเป็นหลัก การจำกัดตัดสิทธิเสรีภาพเป็นข้อยกเว้น? อย่างเคร่งครัด การบังคับใช้กฎหมายหรือการปฏิบัติการใด ๆ จึงควรเป็นไปในแนวทางการเปิดโอกาสให้มีการใช้สิทธิและเสรีภาพเป็นหลัก ทั้งนี้ อาจนำหลักการสำคัญสำหรับการบริหารจัดการการชุมนุมอย่างเหมาะสม 10 ประการ ซึ่งจัดทำโดยผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและการรวมกลุ่มอย่างสันติ มาเป็นแนวทางให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลได้ตามความเหมาะสมแก่กรณี นอกจากนี้ การใช้กำลังจัดการกับการชุมนุมทั้งที่ชอบด้วยกฎหมายและโดยสงบ รวมถึงการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง ต้องกระทำเท่าที่จำเป็นและอย่างจำกัด
                              4.2 คณะรัฐมนตรีควรมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณาการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้จัดการชุมนุม ผู้ชุมนุม ระหว่างการชุมนุมและที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งให้ความคุ้มครองเสรีภาพ โดยอาจบังคับใช้กฎหมายเฉพาะว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะเป็นหลักแทนการใช้กฎหมายอื่น ๆ เช่น กฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก กฎหมายว่าด้วย             การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ฯลฯ อันอาจทำให้มีการนำไปใช้เป็นข้อกล่าวหาว่าเป็นการขัดขวางสร้างอุปสรรคและจำกัดการใช้เสรีภาพดังกล่าว รวมถึงควรทบทวนการบังคับใช้กฎหมายที่อาจเป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล และเสรีภาพของสื่อมวลชนในการเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นและการเสนอข่าวที่แตกต่างจากความเห็นทางการเมืองของรัฐบาล
                              4.3 คณะรัฐมนตรีควรดำเนินการให้สังคมโดยรวมเชื่อมั่นว่าความคิดเห็นและข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาของผู้ชุมนุมจะได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังและไม่ล่าช้า รวมทั้งจัดให้มีพื้นที่และช่องทางในการรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างรอบด้าน ทั้งจากผู้ชุมนุมกลุ่มต่าง ๆ สื่อมวลชน นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป ตลอดจนสนับสนุนฝ่ายนิติบัญญัติในการเป็นกลไกการคลี่คลายปัญหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                              4.4 กสม. ขอสนับสนุนแนวทางการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มีการสื่อสารต่อสาธารณะให้รับทราบและเข้าใจอย่างชัดแจ้งและต่อเนื่องเกี่ยวกับการดำเนินการดูแลความปลอดภัย และความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมที่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน โดยควรให้ความสำคัญกับการชี้แจงโดยระบุเหตุผลความจำเป็น และความได้สัดส่วนที่ต้องจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม และขอสนับสนุนให้มีคณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์ทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มในทุกพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาด้วยการพูดคุย รับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างทั่วถึง โดยมีคนกลางที่ได้รับการยอมรับทำหน้าที่เป็นผู้ประสานการรับฟังเพื่อเป็นหลักประกันว่า ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมและทุกฝ่ายจะได้รับการรับฟังและร่วมกันพิจารณาหาทางออกที่จะนำไปสู่การยุติความขัดแย้งอย่างสันติวิธีโดยเร็ว

11. เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่                12 พฤษภาคม 2564 ตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอ และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการบริหารจัดการทรัพย์สินหลังสิ้นสุดสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศตามข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 12) ในเรื่องเสร็จที่ 509/64 ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี              (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน ที่ประชุมฯ ได้รับทราบและพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. เรื่องเพื่อทราบ (จำนวน 4 เรื่อง) คณะกรรมการฯ ได้มีมติรับทราบเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
                    1.1 การรายงานผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศตามมติที่ประชุมฯ ครั้งที่ 4/2563 ได้แก่
                              1) รายงานความก้าวหน้า/ผลการดำเนินงานของดาวเทียม THEOS สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) ได้ดำเนินโครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา (THEOS-2) ซึ่งจะได้รับการปล่อยขึ้นสู่วงโคจรในช่วงต้นปี 2565 และปลายปี 2565รวมทั้งพัฒนาแพลตฟอร์ม Actionable Intelligence Policy ซึ่งเป็นระบบที่จะนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมมาเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ใน 6 มิติ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ สังคมและความมั่นคง การจัดการเมืองและเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ การจัดการน้ำแบบองค์รวม การจัดการภัยพิบัติ และการจัดการเกษตร
                              2) แนวทางการใช้เทคโนโลยีทางด้านภูมิสารสนเทศในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศ ใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ (1) เกษตรเชิงพื้นที่และอาหาร (2) สุขภาพและคุณภาพชีวิต (3) พลังงานทดแทน และ (4) การท่องเที่ยว
                              3) ความก้าวหน้าในการจัดหาดาวเทียม NAPA-1 กองทัพอากาศได้จัดส่งดาวเทียม NAPA-1 ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 และดำเนินการฝึกเจ้าหน้าที่ควบคุมดาวเทียมให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และมีขีดความสามารถในการควบคุมสั่งการใช้ประโยชน์จากดาวเทียม เช่น การถ่ายภาพบริเวณไฟไหม้ จังหวัดเชียงใหม่
                    1.2 การดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอวกาศใหม่ในประเทศไทย โดย สทอภ. ได้พัฒนาผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมในประเทศภายใต้โครงการ THEOS-2 และมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้วิทยาศาสตร์แนวหน้าด้านระบบโลกและอวกาศ
                    1.3 การใช้งานระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมของกระทรวงกลาโหม เนื่องจากดาวเทียมไทยคม 5 เกิดขัดข้องและปิดการทำงานลงเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) จึงได้ย้ายช่องสัญญาณดาวเทียมสื่อสารของหน่วยงานราชการไปยังดาวเทียมไทยคม 7 ซึ่งเป็นดาวเทียมที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงหารือร่วมกับผู้บริหารของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) กรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน (วันที่ 10 กันยายน 2564) ว่า หน่วยงานภาครัฐ             ยังสามารถใช้งานระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมจำนวน 1 Transponder โดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ โดยคาดว่าจะทราบผลการหารือใน 2 สัปดาห์
                    1.4 ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการเพื่อจัดทำนโยบายและแผนการดำเนินการเฝ้าระวังและบริหารจัดการการจราจรทางอวกาศ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างจัดทำนโยบายฯ ฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานต่อคณะกรรมการฯ ต่อไป
                    2. เรื่องเพื่อพิจารณา (จำนวน 3 เรื่อง) คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
                              2.1 การแก้ไขคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อจัดทำนโยบายและแผนการดำเนินการเฝ้าระวังและบริหารจัดการการจราจรทางอวกาศ ลำดับที่ 12 จากเดิม ?ผู้แทนกองข้อมูลข่าวสารการบิน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย? เป็น ?ผู้แทนสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย? เพื่อความถูกต้องและสอดคล้องกับหน่วยงานอื่น
                              2.2 แนวทางการบริหารจัดการทรัพย์สินหลังสิ้นสุดสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (สัญญาสิ้นสุดในวันที่ 10 กันยายน 2564) โดยคณะกรรมการฯ เห็นชอบให้บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บริหารจัดการทรัพย์สินหลังสิ้นสุดสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ จนสิ้นสุดอายุทางวิศวกรรมของดาวเทียม และให้เสนอคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาก่อนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ดศ.) ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
                              2.3 การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการฯ โดยที่ประชุมฯ เห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามที่หน่วยงานต่าง ๆ เสนอ และเสนอประธานกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติให้ความเห็นชอบก่อนนำเรียนนายกรัฐมนตรีลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง               ตามขั้นตอนต่อไป

12. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินของคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินของคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินของคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ                  คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) รัฐบาลควรดำเนินการ 1.1) กำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมการเข้าถึงโดยสะดวกถ้วนหน้า (Accessibility for All) ของคนทุกกลุ่มรวมถึงคนพิการ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ และ 1.2) กำหนดให้มาตรการส่งเสริมการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนโดยสะดวกถ้วนหน้า เป็นมาตรการหนึ่งในการปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการอนุวัติการตามหลักการชี้แนะเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Right : UNGP) 2) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทยและสถาบันการเงินเร่งกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำด้านการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนโดยสะดวกถ้วนหน้า เพื่อเป็นหลักประกันให้ธนาคารและสถาบันการเงินมี                  แนวทางการให้บริการคนพิการที่ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และ 3) ธนาคาร สถาบันการเงิน และสมาคมธนาคารไทยควรดำเนินการ 3.1) กำหนดแนวปฏิบัติและจัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยทุก 6 เดือน เพื่อให้มีเจตคติและความรู้ที่ถูกต้องและสร้างสรรค์เกี่ยวกับคนพิการ 3.2) พัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ที่เอื้อต่อการเข้าถึงโดยสะดวกของคนทุกกลุ่มรวมถึงคนพิการ โดยนำหลักการออกแบบที่เป็นสากล และเป็นธรรมเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design : UD) มาใช้ออกแบบระบบการให้บริการของธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ 3.3) กำหนดให้มีหน่วยงานกลางที่สามารถติดต่อเพื่อให้คำปรึกษาและชี้แนะต่อเจ้าหน้าที่ประจำสาขาของธนาคารและสถาบันการเงินในการให้บริการพื้นฐานต่อคนพิการทุกประเภท 3.4) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ควรกำกับดูแลข้อมูลบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้คนพิการเข้าถึงได้โดยสะดวก และ 3.5) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทาง ออกระเบียบ ประกาศ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ของธนาคารและสถาบันการเงิน
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ พม. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ธปท. ก.ล.ต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าวและสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    พม. เสนอว่าได้ดำเนินการพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กค. อว. ดศ. ธปท. และ ก.ล.ต. โดยพิจารณาข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ตามข้อ 1 แล้ว สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ          ผลการพิจารณาศึกษา
1. รัฐบาลควรดำเนินการ
          1.1 กำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมการเข้าถึงโดยสะดวกถ้วนหน้า (Accessibility for All) ของคนทุกกลุ่มรวมถึงคนพิการ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ
          - กค. ได้ขอความร่วมมือไปยัง ธปท. และ ก.ล.ต. เพื่อขอให้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควร เพื่อช่วยลดอุปสรรค ผลักดัน และปรับปรุงการให้บริการทางการเงินแก่คนพิการให้มีความเป็นรูปธรรม
- อว. และ ดศ. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่ารัฐบาลควรกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดทำมาตรฐานการเข้าถึงและให้มีกระบวนการตรวจสอบการเข้าถึง เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโดยสะดวกถ้วนหน้ารวมถึงกลุ่มคนพิการ
- พม. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าเนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมักมีผู้พิการร่วมด้วย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุที่คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้
          1.2 กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนโดยสะดวกถ้วนหน้า เป็นมาตรการหนึ่งในการปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการอนุวัติการตามหลักการชี้แนะเรื่องธรุกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights : UNGP)          - อว. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้หน่วยงานภาครัฐพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับคนพิการในเรื่อง ATM ให้ครอบคลุมกลุ่มคนพิการทางการเคลื่อนไหว กลุ่มคนพิการทางการเห็น และกลุ่มคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
- ดศ. เห็นควรมีการจัดทำแอปพลิเคชันในการให้บริการทางการเงินที่คำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยและเป็นไปตามหลักการออกแบบที่เป็นสากล และเป็นธรรม เพื่อคนทั้งมวล (UD)
- พม. เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการให้บริการพื้นฐานต่อคนพิการทุกประเภทโดยไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ และสนับสนุนการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิดการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียม
2. ธปท. ควรร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทยและสถาบันการเงิน เร่งกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำด้านการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนโดยสะดวกถ้วนหน้า เพื่อเป็นหลักประกันให้ธนาคารและสถาบันการเงินมีแนวทางการให้บริการคนพิการที่ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน          - อว. เห็นควรกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำด้านการเงินและการลงทุนโดยถ้วนหน้าให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ
- ดศ. เห็นควรมีการประชาสัมพันธ์แนวทางการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินของคนพิการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
- พม. เห็นควรให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะคนพิการซึ่งเป็นผู้รับบริการโดยตรง เพื่อให้การบริการสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของคนพิการได้อย่างครอบคลุม
3. ธนาคาร สถาบันการเงิน และสมาคมธนาคารไทยควรดำเนินการ
          3.1 กำหนดแนวปฏิบัติและจัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุก 6 เดือน เพื่อให้มีเจตคติและความรู้ที่ถูกต้องและสร้างสรรค์เกี่ยวกับคนพิการ          - อว. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้สมาคมคนพิการได้มีส่วนสร้างหลักสูตรและร่วมเป็นวิทยากร เพื่อสามารถสร้างความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติงาน
- ธปท. ดำเนินการผลักดันให้สมาคมธนาคารไทยทบทวนแนวทางปฏิบัติในการให้บริการกับคนพิการทางการ               เห็นให้เหมาะสม รวมถึงแนวทางให้บริการที่เอื้อต่อคนพิการประเภทอื่นเพิ่มเติม และสื่อสารแนวปฏิบัติให้พนักงานสาขาทราบอย่างทั่วถึงด้วย
- ก.ล.ต. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และ                ธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติงานในการให้บริการอย่างมีคุณภาพ และปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน ซึ่งรวมถึง ?คนพิการ? ด้วยแล้ว
          3.2 พัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ที่เอื้อต่อการเข้าถึงโดยสะดวกของคนทุกกลุ่ม รวมถึงคนพิการ โดยนำหลักการออกแบบที่เป็นสากล และเป็นธรรม เพื่อคนทั้งมวล (Universal Design : UD) มาใช้ออกแบบระบบการให้บริการของธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์          - อว. เห็นว่าการพัฒนาเทคโนโลยี FinTech ต้องสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการและหลักการ UNGP ด้วย
- ธปท. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นำไปใช้ปฏิบัติสำหรับการดูแลการให้บริการแก่คนพิการ ได้แก่ หลักเกณฑ์เรื่องการบริหารจัดการด้านการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับช่องทางการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ (banking channel)
          3.3 กำหนดให้มีหน่วยงานกลางที่สามารถติดต่อเพื่อให้คำปรึกษาและชี้แนะต่อเจ้าหน้าที่ประจำสาขาของธนาคารและสถาบันการเงินในการให้บริการพื้นฐานต่อคนพิการทุกประเภทที่ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ          - อว. และ พม. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรมีการอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยงานกลางให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการทุกประเภท รวมถึงมาตรฐานการให้บริการแก่               คนพิการแต่ละประเภท เพื่อให้คำปรึกษาและชี้แนะ                  ต่อเจ้าหน้าที่ประจำสาขาของธนาคารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
          3.4 ก.ล.ต. ควรกำกับดูแลข้อมูลบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้ทุกคน รวมถึงคนพิการสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก รวมทั้งมีหลักประกันในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการลงทุนและการบริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป          - อว. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้มีการพัฒนาบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของบริษัทหลักทรัพย์ให้สอดคล้องเป็นไป                  ตามมาตรฐานอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ รวมถึงนำเทคโนโลยีตามหลักการ UNGP ไปใช้ในการให้บริการข้อมูล
- ดศ. มีการดำเนินงานที่สนับสนุนการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินของคนพิการ โดยการประกาศใช้กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554 และตรวจสอบเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐตามมาตรฐานการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility)
          3.5 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางออกระเบียบ ประกาศ และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ของธนาคารและสถาบันการเงิน          - อว. เห็นควรให้คนพิการได้เข้าไปมีส่วนร่วมและเป็นผู้ร่วมทดสอบการเข้าถึงตามมาตรฐานอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ก่อนนำออกไปให้บริการจริง
- ธปท. ประสานงานกับสมาคมธนาคารไทยจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาบริการทางการเงินสำหรับคนพิการ เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาของคนพิการทางการเห็นในการทำธุรกรรมผ่านตู้ ATM ในระยะแรก

13. เรื่อง รายงานประจำปี 2563 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานประจำปี 2563 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองแล้ว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    อว. รายงานว่า
                    1. สวทช. เป็นหน่วยงานในสังกัด อว. ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้และความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับความสามารถทางการผลิตและการบริการ ตลอดจนระดับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยรวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการรองรับและถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งภายในประเทศและ             จากต่างประเทศเพื่อการพัฒนาประเทศในทุกด้าน
                    2. พระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 มาตรา 21 บัญญัติให้ทุก ๆ ปี ให้ สวทช. จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี โดยแสดงงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้อง พร้อมทั้งรายงานของผู้สอบบัญชี รวมทั้งแสดงผลงานของสำนักงานในปีที่ล่วงมาด้วย และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอรายงานประจำปีต่อคณะรัฐมนตรี และให้คณะรัฐมนตรีเสนอรายงานนั้นต่อรัฐสภาเพื่อทราบ สวทช. จึงได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563 เสนอคณะกรรมการฯ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป ซึ่งรายงานเรื่องนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างรายได้และ           การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
                    3. ในคราวประชุมคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564               เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ที่ประชุมได้มีมติรับทราบรายงานดังกล่าวแล้ว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สวทช. ได้มุ่งเน้นการวิจัยและสร้างนวัตกรรมในสาขาเทคโนโลยีที่ สวทช. มีความเชี่ยวชาญและพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีที่ตอบสนองต่อโจทย์ประเทศ และรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคต รวมถึงการผลักดันให้ภาครัฐและเอกชนมีการลงทุนในการวิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรมเพิ่มขึ้น ด้วยการปรับปรุงกลไกสนับสนุนการลงทุนในด้านนวัตกรรม สร้างการเชื่อมโยงกับพันธมิตรภาคี สถาบันการศึกษา นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปขยายผล โดยเฉพาะการตอบสนองนโยบายประเทศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ EECi การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีผล                    การดำเนินงานที่สำคัญโดยสรุป ดังนี้
                    1. ผลการดำเนินงานของ สวทช. ประจำปี 2563 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
แผนการดำเนินงาน          สาระสำคัญ
1.1 ผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม          - มีบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ 691 เรื่อง มีการยื่นขอ                  จดทรัพย์สินทางปัญญา 451 รายการ และมีผลงานสำคัญเชิงประจักษ์ ดังนี้
          1. นวัตกรรมเพื่อรับมือต่อการระบาดของโรคโควิด 19 ได้แก่                  (1) พัฒนาแอปพลิเคชันการเฝ้าระวังและการควบคุมโรคโควิด 19 เช่น                  DDC-Care แอปพลิเคชันติดตามและประเมินสุขภาพผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 (2) การตรวจคัดกรองเบื้องต้น เช่น MuTherm-FaceSence เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิใบหน้าอัตโนมัติที่ตรวจได้หลายคนพร้อมกัน                  (3) การตรวจเชื้อไวรัสโควิด 19 เช่น พัฒนาวิธีสกัด RNA เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 แบบง่าย (4) การป้องกันและลดการแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 เช่น MagikTuch ระบบสั่งการลิฟต์แบบไร้สัมผัส และ (5) การวิจัยและพัฒนาต้นแบบวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยนำเทคโนโลยีการตัดต่อพันธุกรรมมาใช้ในการพัฒนาวัคซีน 5 ประเภท เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไปในอนาคต
          2. ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น พัฒนาชุดตรวจ ELISA โรคใบด่างมันสำปะหลัง เพื่อคัดกรองท่อนพันธุ์ปลอดโรคใบด่างมันสำปะหลัง ซึ่งได้ถ่ายทอดวิธีการตรวจวินิจฉัยให้แก่ภาคเอกชน 14 บริษัท และ Green Rock นวัตกรรมวัสดุเม็ดมวลเบาสังเคราะห์ ช่วยลดน้ำหนักโครงสร้างอาคารได้มากกว่าร้อยละ 20 เป็นต้น
          3. ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ สวทช. และพันธมิตรสู่การสร้างความสามารถให้แก่ภาคเกษตรและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ เช่น พัฒนาชุมชนด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ อาทิ เทคโนโลยีโรงเรือนอัจฉริยะระบบควบคุมการใช้น้ำในแปลงเปิด และเทคโนโลยีการผลิตข้าวปลอดภัยถ่ายทอดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีรวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีปรับปรุงหน้าดินให้แก่กลุ่มเกษตรกรนำร่องในพื้นที่จังหวัดสงขลาร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ เป็นต้น
1.2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการวิจัยของประเทศ          - โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National S&T Infrastructure) เป็นโครงสร้างพื้นฐานสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริการด้านเทคนิค วิชาการที่มีมาตรฐานด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ (1) ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (National Biobank of Thailand) (2) ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (National Omics Center) (3) ศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง (NSTDA Supercomputer Center) (4) ศูนย์ระบบไซเบอร์-กายภาพ (Center for Cyber-Physical Systems) และ (5) สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Technology and Informatics Institute for Sustainability)
- โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure) เป็นศูนย์กลางการออกแบบผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ และรับรองผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้ได้มาตรฐานระดับสากล รวมทั้งให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานสากล ให้บริการเชิงเทคนิคและให้คำปรึกษา ได้แก่ (1) ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Electrical and Electronic Product Testing Center) (2) ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ สวทช. (NSTDA Characterization and Testing Service Center) (3) ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (Design and Engineering Consulting Service Center) (4) ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในบ้านและเซรามิกอุตสาหกรรม (Industrial Ceramic and Houseware Product Testing Center) และ (5) ศูนย์ทดสอบทางพิษวิทยาและชีววิทยา (Toxicology and Bio Evaluation Service Center)
1.3 การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม          - การพัฒนากลไกสนับสนุนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งมีการจดทะเบียนจัดตั้งแล้ว                    2 บริษัท ได้แก่ บริษัทไบโอ เจเนเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัทเอไอไนน์ จำกัด
- กลไกการส่งเสริมเขตนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนางานวิจัยของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศ                      เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย และเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EECi ซึ่งมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย 6 ด้าน ได้แก่ เกษตรสมัยใหม่และเทคโนโลยีชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพ และเคมีชีวภาพ แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูงและขนส่งสมัยใหม่ ระบบอัตโนมัติหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เทคโนโลยีการบินและอวกาศ และเครื่องมือทางการแพทย์
- สวทช. ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหลักในการจัดทำข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ร่วมกับหน่วยงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยจัดระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนมากกว่า 500 คน และนำเสนอแนวทางและโอกาสของประเทศไทยในเวทีโลก โดยนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการและมีข้อสั่งการให้จัดทำรายละเอียดแผนงานเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ต่อไป
1.4 การพัฒนาและสร้างเสริมบุคลากรวิจัย          - สวทช. มุ่งเน้นการสร้างบุคลากรวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ให้กับประเทศผ่านกลไกการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาประเทศสู่ประเทศไทย 4.0 โดยอาศัยความพร้อมของนักวิจัย และโครงสร้างพื้นฐานที่ สวทช. มีอยู่ด้วย รวมถึงพัฒนาส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชน สนใจเรียนรู้ด้าน วทน. เพิ่มมากขึ้น โดยการสนับสนุนทุนการศึกษาในระดับมัธยม ปริญญาตรี/โท/เอก/หลังปริญญาเอก รวม 708 คน และสนับสนุนนักศึกษาและบุคลากรวิจัยทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมงานในห้องปฏิบัติการของศูนย์แห่งชาติ จำนวน 569 คน
1.5 ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม          - สวทช. สามารถสร้างผลลัพธ์ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ มูลค่ารวม 65,255 ล้านบาท รวมทั้งผลักดันให้เกิดการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของภาคการผลิตและบริการ มูลค่ารวม 13,796 ล้านบาท
1.6 ผลการใช้จ่ายและบุคลากร          - สวทช. มีผลการใช้จ่ายตามงบการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ทั้งสิ้น 6,980.89 ล้านบาท มีรายได้รวมเท่ากับ 6,742.45 ล้านบาท มีบุคลากรทั้งสิ้น 3,096 คน เป็นบุคลากรสายวิจัยและวิชาการร้อยละ 70 (จำนวน 2,167 คน) และบุคลากรที่ไม่ใช่สายวิจัยและวิชาการร้อยละ 30 (จำนวน 929 คน)
                    2. รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของ สวทช. สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า งบการเงินของ สวทช. ดังกล่าวมีความถูกต้องตามที่ควร         ในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

14. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของ              โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 3/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจาก
ผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 3/2564 (วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม
2564)  ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เสนอ สรุปสาระสำคัญและมติที่ประชุม ดังนี้
          1. เรื่องเพื่อทราบ
                    1.1  ที่ประชุมได้รับทราบเรื่องที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
                                        1.1.1 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เสนอโดยสำนักงาน
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จากข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ล่าสุด ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 511,164 คน และผู้เสียชีวิตรายใหม่ 8,674 คน ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก 192,278,425 คน  และมีผู้เสียชีวิตสะสม 4,133,988 คน โดยพบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ขณะที่สัดส่วนการฉีดวัคซีนในประเทศสำคัญ ๆ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 13,002 คน ผู้หายป่วย 8,248 คน และผู้เสียชีวิต 108 คน ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อสะสมรวม 439,477 คน โดยเป็นผู้ติดเชื้อสะสมจากการระบาดระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 จำนวน 410,614 คน และมีผู้เสียชีวิตสะสม 3,516 คน ข้อมูลการฉีดวัคซีนพบว่ามีผู้เข้ารับการฉีดเข็มแรกจำนวน 10.78 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.5 ต่อประชากร และเข็มที่สองจำนวน 3.44 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.9 ต่อประชากร
                                        1.1.2          สถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุด เสนอโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจากเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจไทยในเดือนพฤษภาคม 2564 เมื่อพิจารณาเทียบกับ
เดือนก่อนหน้าภายหลังจากปรับปัจจัยฤดูกาลแล้วพบว่าเครื่องชี้ด้านการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในเดือนพฤษภาคม สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ อย่างไรก็ดี ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
ยังทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐยังเป็นแรงสนับสนุนเศรษฐกิจ
ที่สำคัญ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลความถี่สูง (High-frequency data) ล่าสุดถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2564 พบว่าการเดินทางภายในประเทศเพื่อออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ปรับตัวลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังรุนแรงส่งผลให้ต้องดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดในหลายพื้นที่มากขึ้น
                                        1.1.3 ความคืบหน้ามาตรการ Phuket Sandbox เสนอโดยการท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย ความคืบหน้าล่าสุด ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 พบว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมตั้งแต่วันที่                 1 ? 21 กรกฎาคม 2564 รวม 9,358 คน ไม่พบเชื้อโควิด-19 จำนวน 9,339 คน และพบเชื้อ
โควิด-19 จำนวน 19 คน ขณะที่ยอดการจองห้องพักตามมาตรฐาน SHA+ สะสมระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนอยู่ที่ 244,703 คืน มีจำนวนห้องพักที่เปิดให้บริการ 27,000 ห้อง คิดเป็นอัตราการเข้าพักร้อยละ 10.12 ค่าใช้จ่ายต่อทริป 70,000 บาท (เฉลี่ย 5,500 บาทต่อคนต่อวัน) และสร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยว 534.31              ล้านบาท และในส่วนของเที่ยวบิน คาดว่าในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมจะมีเที่ยวบินประมาณ 30 และ 40 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตามลำดับ
                                                  1.1.3.1 ผลการสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่างชาติภายใต้มาตรการ Phuket Sandbox ข้อมูลสำรวจระหว่างวันที่ 11-20 กรกฎาคม 2564 จากนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 25 คน พบว่าผู้ตอบสำรวจร้อยละ 64 ต้องการเดินทางไปยังจุดหมายอื่น ๆ ในประเทศ อาทิ กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ขณะที่ผู้ตอบสำรวจร้อยละ 88 พึงพอใจมากที่สุดในอัธยาศัยไมตรีของคนภูเก็ต และร้อยละ 80 พึงพอใจมากที่สุดในคุณภาพและการบริการของโรงแรม SHA+ โดยเรื่องที่นักท่องเที่ยวพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ คุณภาพของรถบริการรับ-ส่ง SHA+ ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต ภาพรวมของการให้บริการ ณ ท่าอากาศยานภูเก็ต และการตรวจคัดกรองเมื่อเดินทางมาถึง สำหรับเรื่องที่นักท่องเที่ยวพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ ขั้นตอนการขอ COE การจองรถบริการรับส่ง และความชัดเจนของข้อมูลรายละเอียด หลักเกณฑ์การเดินทางเข้าประเทศไทย
                                                  1.1.3.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่พบระหว่างการดำเนินงาน สามารถสรุปได้ดังนี้
                                                            1.1.3.2.1 ปัญหาที่ดำเนินการแก้ไขแล้ว ได้แก่ (1) การคัดกรองคนเข้า-ออกจังหวัดภูเก็ต สำหรับด้านคุณสมบัติผู้ขนส่งสาธารณะ ได้รายงานข้อมูลให้กระทรวงคมนาคมรับทราบปัญหาและพิจารณาร่างกฎระเบียบด้านสาธารณะนำไปปฏิบัติโดยเคร่งครัด และ (2) ขั้นตอนระหว่างก่อนการเดินทางและเมื่อเดินทางมาถึงที่หมายของนักท่องเที่ยว ประกอบด้วย (2.1) กรมการกงสุลโดยสำนักงานหนังสือเดินทางจังหวัดภูเก็ตได้พิจารณา COE ของนักท่องเที่ยว ณ สนามบินนานาชาติจังหวัดภูเก็ต โดยพิจารณาความเหมาะสมเป็นกรณีไป (2.2) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตจัดทำระบบการจองการตรวจเชื้อออนไลน์เพื่อสามารถให้นักท่องเที่ยวจองล่วงหน้า และ (2.3) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตเร่งประสานสายการบินเพื่อขอรับผังที่นั่งเครื่องบินในเที่ยวบินของนักท่องเที่ยวผู้ติดเชื้อให้เร็วขึ้น
                                                            1.1.3.2.2 ปัญหาที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ได้แก่ (1) การคัดกรองคนเข้า-ออกจังหวัดภูเก็ต สำหรับด้านปริมาณเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์คัดกรอง อยู่ระหว่างจัดกำลังคนและอุปกรณ์เพิ่มเติมให้เพียงพอ รวมทั้งการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาปรับลดเกณฑ์ในการอนุมัติให้จัดตั้งจุดตรวจหาเชื้อโดยภาคเอกชนเพิ่มเติม ขณะที่ด้านการคัดกรองคน อยู่ระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีการสแกนใบหน้าและระบบตรวจสอบติดตามตัว และได้มีการเร่งประชาสัมพันธ์มาตรการคัดกรองเพื่อให้ประชาชนรับทราบโดยทั่วถึง                    (2) นักท่องเที่ยวไม่ทราบหลักเกณฑ์กลุ่มเสี่ยงและเงื่อนไขการกักตัว โดยให้นักท่องเที่ยวซื้อกรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมกรณีนักท่องเที่ยวกลายเป็นผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง และ (3) การอยู่ระหว่างพำนักของนักท่องเที่ยว ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยที่ไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาลรวมทั้งการกักตัวสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงเมื่อเดินทางมาถึงหรือระหว่างพำนักอยู่ในภูเก็ต และต้องสำรองค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยในการประสานบริษัทประกันภัยในประเทศเพื่อหาทางแก้ไข โดยการนำเสนอกรมธรรม์ใหม่ที่ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยงและไม่ต้องสำรองจ่าย นอกจากนี้ยังรวมถึงการซื้อประกันภัยผิดประเภท และผลกระทบจากการห้ามเดินทางภายในประเทศ
ซึ่งปัจจุบันทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ประสานจัดหารถโดยสารเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางจากภูเก็ตมายังกรุงเทพฯ แล้ว
                                        1.1.4 ความคืบหน้ามาตรการ Samui Plus Model เสนอโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ความคืบหน้าล่าสุด ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 พบว่ามีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมตั้งแต่วันที่ 15 ? 21 กรกฎาคม 2564 รวม 20 คน โดยยังไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งนี้ มาตรการ Samui Plus มีข้อจำกัดจากการที่ในปัจจุบันยังมีเที่ยวบินตรงจากต่างประเทศในปริมาณที่น้อย
                    1.2  มติคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจฯ
                              ที่ประชุมรับทราบ (1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสถานการณ์เศรษฐกิจไทย เสนอโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ (2) ความคืบหน้าผลการปฏิบัติงาน Phuket Sandbox และ Samui Plus model เสนอโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
                    1.3  ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
                                        1.3.1 มอบหมายให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเร่งรัดดำเนินมาตรการในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อโดยเฉพาะการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อ การนำผู้ติดเชื้อที่พักคอยอยู่ตามที่พักอาศัยและสถานที่ต่าง ๆ เข้าสู่กระบวนการรักษาในโรงพยาบาลสนามหรือสถานพยาบาลแรกรับอย่างเป็นระบบโดยเร็วที่สุด
                                        1.3.2          มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและช่วยเหลือให้คำปรึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาของรัฐบาลในทุกพื้นที่ เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาล ตลอดจนวิธีการเข้าถึงความช่วยเหลือของรัฐบาล เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือต่าง ๆ ของรัฐบาลได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น นอกจากนี้ มอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่ได้ดำเนินมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชน ทำการประชาสัมพันธ์เชิงรุกโดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้ประชาชนแต่ละกลุ่มได้รับข้อมูลข่าวสารจากทางราชการได้อย่างถูกต้องครบถ้วนและทั่วถึง                                        1.3.3          มอบหมายให้สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง ประสานให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ในโครงการที่สามารถดำเนินการได้ สำหรับโครงการที่ยังไม่พร้อมดำเนินการหรือไม่มีความเหมาะสมในการดำเนินการในช่วงเวลาปัจจุบัน ให้พิจารณาปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เหมาะสมเพื่อที่จะสามารถนำงบประมาณในส่วนดังกล่าวไปดำเนินการในส่วนอื่นที่จำเป็นได้
                                        1.3.4          มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการคลัง พิจารณาปรับปรุงโครงการกระตุ้นการบริโภคเพิ่มเติมจากมาตรการคนละครึ่ง ระยะที่ 3
ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งให้พิจารณาข้อเสนอของภาคเอกชนในการปรับปรุงเงื่อนไขโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ เพื่อจูงใจผู้มีกำลังซื้อสูงเข้าร่วมโครงการและใช้จ่ายมากขึ้น
                                        1.3.5          มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดังนี้ (1) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนหลักของประเทศ ตลอดจนข้อมูลด้านสาธารณสุขอื่น ๆ ให้แก่ภาคเอกชนและประชาชนทราบผ่านช่องทางต่าง ๆ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันและสร้างความเชื่อมั่นต่อแนวทางการควบคุมการแพร่ระบาดและระบบสาธารณสุขของประเทศ (2) ชี้แจงและสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนต่อแนวทางการนำผู้ติดเชื้อกลับไปรักษาต่อที่ภูมิลำเนาเพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมุ่งเน้นพิจารณาตามระดับความรุนแรงของโรคและอาการของผู้ติดเชื้อเป็นสำคัญ (3) จัดสรรกระจายวัคซีนโดยพิจารณาจัดลำดับความสำคัญให้แก่พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อรุนแรง กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ อาทิ กลุ่มครูและสถานศึกษา และกลุ่มแรงงานเพื่อให้ภาคการผลิตสามารถดำเนินต่อไปได้ และ (4) จัดหายาและเวชภัณฑ์             ต่าง ๆ เพื่อจัดสรรต่อไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศให้ทั่วถึงและเพียงพอต่อความต้องการ โดยให้เร่งประสานกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อสำรวจความต้องการในแต่ละพื้นที่โดยเร็ว
                                        1.3.6          มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เร่งติดตามดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลที่มีการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ และช่องทางต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ
ที่ถูกต้องให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง
                                        1.3.7          มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) หารือร่วมกับเครือข่ายภาคเอกชนที่มีศักยภาพเพื่อดำเนินการจัดหาวัคซีนทางเลือกเพิ่มเติมร่วมกับรัฐบาล
                                        1.3.8          มอบหมายกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชสมุนไพร การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมทั้งส่งเสริมการแปรรูป และพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศและสนับสนุนการหาตลาดเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ
          2.          เรื่องสืบเนื่อง
                    2.1 มาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในพื้นที่นำร่อง เสนอโดยการท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย
                              2.1.1 แนวทางการให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าร่วม Phuket Sandbox เดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดภูเก็ตกับพื้นที่นำร่องอื่น (7+7) โดยนักท่องเที่ยวพำนัก
ภายในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นเวลา 7 วัน และสามารถเดินทางท่องเที่ยวและต้องพำนักในพื้นที่อื่น ๆ อีกเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพงัน และเกาะเต่า) จังหวัดกระบี่ (เกาะพีพี เกาะไหง และไร่เล) และจังหวัดพังงา (เขาหลัก เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่) มีกำหนดเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 สิงหาคม 2564 รายละเอียดสรุปได้ดังนี้
                                                  2.1.1.1 คุณสมบัติของนักท่องเที่ยวภายใต้ Phuket Sandbox ประกอบด้วย                 (1) หนังสือเดินทางและวีซ่า ที่ได้รับการประทับตรารับรอง โดยตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต (2) เอกสารหลักฐานยืนยัน แสดงระยะเวลาพำนักในโรงแรม SHA+ ในภูเก็ตมาแล้ว 7 คืน และเอกสารการตรวจไม่พบเชื้อโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR (ผล Swab ครั้งที่ 1 วันที่ 0 และครั้งที่ 2 วันที่ 6 เป็นลบ หรือ Not Detected) (3) เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เดินทางพร้อมผู้ปกครองที่แสดงเอกสารผ่านตามเกณฑ์ (4) เอกสารยืนยันการจองโรงแรมที่พัก SHA+ ในพื้นที่นำร่องอื่น และ (5) รายงานตัวผ่านระบบแอปพลิเคชัน ?หมอชนะ? และเปิดเข้าถึงสถานที่หรือรายงานตัว ณ ที่พัก SHA+ ตลอดระยะเวลาที่พำนัก
                                                  2.1.1.2  คุณสมบัติของนักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย (Expat) ประกอบด้วย (1) เอกสารการฉีดวัคซีน Sinovac หรือ Sinopharm ครบ 2 เข็ม วัคซีน Astrazeneca 1 เข็ม ไม่น้อยกว่า 14 วัน (2) ผลตรวจไม่พบเชื้อโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR หรือ Rapid Antigen Test ก่อนเดินทางและมีผลเป็นลบ (negative) ก่อนเดินทาง 72 ชั่วโมง (3) เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มากับผู้รับวัคซีนให้เดินทางพร้อมผู้เดินทางได้ (4) แสดงแอปพลิเคชัน ?หมอชนะ? และเปิดให้เข้าถึงสถานที่ และ (4) ลงทะเบียน QT14 สำหรับเข้าพักในพื้นที่นำร่อง
                              2.1.2 แนวทางการรับรองวัคซีน Sputnik V เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวรัสเซียและประเทศใช้วัคซีนดังกล่าวเป็นวัคซีนหลักสามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้
                              2.1.3 แนวทางการขอรับการสนับสนุนงบประมาณและกำลังคนอย่างเป็นระบบ ซึ่งครอบคลุมการตรวจ RT-PCR และ Rapid Antigen Test เพื่อยกระดับการควบคุมโรคแก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายัง Phuket Sandbox และ Samui Plus Model
                    2.2          มติคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจฯ
                                        2.2.1 เห็นชอบในหลักการแนวทางการให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าร่วม Phuket Sandbox เดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดภูเก็ตกับพื้นที่นำร่องอื่น (7+7) โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ดำเนินการ ดังนี้
                                                  2.2.1.1 มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ดังกล่าวประสานภาคเอกชนและภาคประชาชนเพื่อสร้างความเข้าใจของคนในพื้นที่ร่วมกัน และพิจารณาจัดเตรียมแผนการดำเนินการบนระเบียบ หลักเกณฑ์ และมาตรฐานเดียวกันกับการดำเนินการของ Phuket Sandbox เพื่อมุ่งเน้นความปลอดภัยและการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่
                                                  2.2.1.2 มอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดทำรายละเอียดแผนการเชื่อมโยงให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถเดินทางระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่นำร่องอื่น เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุม ศบค. พิจารณาต่อไป และให้พิจารณาจัดทำแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจฯ และ ศบค. พิจารณาต่อไป
                    2.3          ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
                              2.3.1 มอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ดำเนินการดังนี้ (1) ประสานผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานด้านความมั่นคง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการการตรวจคัดกรองผู้ที่เดินทางเข้าในพื้นที่นำร่องให้มีความเข้มงวดมากขึ้น เพื่อป้องกันการนำเชื้อโควิด-19 เข้าไปแพร่ระบาดในพื้นที่ (2) ประสานกระทรวงมหาดไทย พิจารณานำแนวทางการดำเนินมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติภายใต้ Phuket Sandbox เผยแพร่ให้แก่จังหวัดอื่น ๆ เพื่อเป็นกรณีศึกษาในการนำไปวางแนวทางระยะต่อไป และ (3) ประสานกระทรวงการต่างประเทศ ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาดของประเทศไทยในพื้นที่ท่องเที่ยว รวมถึงความคืบหน้าและความสำเร็จในการดำเนินการ Phuket Sandbox ให้แก่สถานทูตประเทศต่าง ๆ และสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ รับทราบอย่างต่อเนื่อง
                              2.3.2 มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตและผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เร่งรัดจัดทำข้อเสนอคำของบประมาณและแผนกำลังคนเพื่อรองรับการยกระดับศักยภาพของจุดคัดกรองให้เพียงพอ ทั้งกระบวนการคัดกรองผู้เดินทางด้วยระบบดิจิทัล และการจัดหา Rapid Antigen Test และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายใน 1 สัปดาห์ และประสานกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ในรายละเอียดของแหล่งเงิน เพื่อจัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
                              2.3.3 มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดติดตามการพิจารณาขึ้นทะเบียนรับรองวัคซีน Sputnik V เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนดังกล่าวสามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังประเทศไทยได้
          3.          เรื่องเพื่อพิจารณา
                    3.1          มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย เสนอโดยทีมปฏิบัติการเชิงรุกทาบทามทั้งบริษัทเอกชนไทยและต่างประเทศ (ทีมปฏิบัติการเชิงรุกฯ) โดยมีสาระสำคัญดังนี้
                                        3.1.1          แนวทางการดึงดูดชาวต่างชาติกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว ประกอบด้วย (1) กลุ่มประชากรโลกที่มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy global citizen) (2) ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy pensioner) (3) กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work-from-Thailand professional) และ (4) กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (High-skilled professional)
                                        3.1.2          การจัดตั้งศูนย์บริการผู้พำนักระยะยาว (LTR-Service center) เพื่อเป็นหน่วยงานที่คอยอำนวยความสะดวกให้กับชาวต่างชาติกลุ่มเป้าหมายที่มีความประสงค์จะเข้ามาพำนักในประเทศไทยในระยะยาว โดยจะทำหน้าที่หลักในการประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อลดความยุ่งยากและความซ้ำซ้อนสำหรับผู้พำนักระยะยาวในการติดต่อกับราชการ รวมถึงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้บริการนักลงทุนต่างประเทศในระยะต่อไป
                    3.2          มติคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจฯ
                              3.2.1 เห็นด้วยในหลักการของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่ประเทศไทย ตามข้อเสนอของทีมปฏิบัติการเชิงรุกฯ เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาข้อเสนอในรายละเอียดและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ดังนี้
                                                  3.2.1.1 มอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีประเภทต่าง ๆ และระเบียบวิธีปฏิบัติด้านการศุลกากร
                                                  3.2.1.2 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดวีซ่าประเภทใหม่ รวมทั้งข้อยกเว้นและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                                                  3.2.1.3 มอบหมายให้กระทรวงแรงงานพิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการทำงานและอนุญาตให้ทำงานของคนต่างด้าว
                                        3.2.1.4 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้ง กำกับดูแล และบริหารศูนย์บริการผู้พำนักระยะยาว
                    3.3          ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
                              3.3.1 มอบหมายให้ทีมปฏิบัติการเชิงรุกฯ ประสานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความคืบหน้าการดึงดูดนักลงทุนและแนวทางการส่งเสริมการลงทุนในกิจการสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (International Headquarters: IHQ) และรายงานผลให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจฯ ทราบต่อไป
                              3.3.2 มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ศึกษาความเป็นไปได้ของการขยายการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีศักยภาพในการรองรับการลงทุน
                              3.3.3 มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง ประสานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณาหาแนวทางมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินและสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการรายย่อย โดยพิจารณาปรับปรุงแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงมาตรการได้มากขึ้น

15. เรื่อง การส่งเสริมการใช้ยาฟ้าทะลายโจรเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
                       1. กรณีที่ ยธ. ได้มอบหมายให้เรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจรและพืชสมุนไพรอื่น ๆ ในพื้นที่ 141 ไร่ เป็นการเริ่มต้น เพื่อช่วยผู้ต้องขังในเรือนจำกรณีเจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัส              โคโรนา 2019 และโรคอื่น ๆ รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนทั่วไป
                       2. การส่งเสริมให้ใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อและยังไม่มีอาการ ตามแนวทางปฏิบัติที่กรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการแล้ว เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาและลดภาระระบบสาธารณสุข
                       และให้กระทรวงสาธารณสุข ยธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาวิจัยเพื่อนำไปใช้รักษาผู้ป่วย             โควิด โดยพิจารณาให้รอบด้าน ทั้งสรรพคุณ ปริมาณที่จะใช้ อาการข้างเคียง ฯลฯ โดยมอบหมายให้                           รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นเจ้าภาพร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาการใช้พืชสมุนไพรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมถึงการจดลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรต่าง ๆ ให้ถูกต้องด้วย
                    ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่า
                    สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เพิ่มปริมาณขึ้น และ              การฉีดวัคซีนยังไม่สามารถดำเนินการให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึง ดังนั้น หากปล่อยให้สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดความสูญเสียในทุกด้าน อาทิ การสูญเสียชีวิตของประชาชน สูญเสียทางเศรษฐกิจ ในการนี้ การนำ ?สมุนไพรไทย? มาใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง โดยมีข้อมูลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสมุนไพรไทยโดยเฉพาะฟ้าทะลายโจรมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ที่มีศักยภาพในการป้องกันเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ และลดการแบ่งตัวของไวรัสได้ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมโดยกรมราชทัณฑ์ ได้มอบหมายให้เรือนจำ/ทัณฑสถานทั่วประเทศ 143 แห่ง ปลูกสมุนไพรประเภทต่าง ๆ โดยเน้นการปลูกฟ้าทะลายโจร กระชายขาว เป็นหลักเพื่อเป็นการช่วยเหลือตนเองและไม่เป็นภาระกับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีจำกัด เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ดูแลประชาชนทั่วไปที่มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โดวิด-19) เพิ่มขึ้น และเพื่อส่งเสริมให้ใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อและยังไม่มีอาการ               ตามแนวทางปฏิบัติที่กรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการแล้ว เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาและลดการเข้าสู่ระบบสาธารณสุข
16. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 26/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 26/2564 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 6 วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563               (พระราชกำหนดฯ) (ครั้งที่ 6) การพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ การพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติให้กรมส่งเสริมการเกษตร เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการยกระดับเกษตรแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาดตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทำให้วงเงินของโครงการฯ ในส่วนของงบเงินอุดหนุน ปรับลดจาก 13,878.1200 ล้านบาท เป็น 9,479.4936 ล้านบาท หรือลดลง 4,398.6264 ล้านบาท โดยเห็นควรมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร เร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็ว
                    2. อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (3) มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (1) เพิ่มเติม จำนวน 13,026.1200 ล้านบาท และมาตรา 5 (2) เพิ่มเติม จำนวน 1,522.9900 ล้านบาท รวมวงเงิน 14,549.1100 ล้านบาท เพื่อรองรับการดำเนินงานโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุขและโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 6 วรรคสามแห่งพระราชกำหนดฯ (ครั้งที่ 6) ทั้งนี้ ภายหลังการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้กรอบวงเงินเพื่อการตามมาตรา 5 (3) คงเหลือ 4,265.6210 ล้านบาท (รวมการปรับลดกรอบวงเงินโครงการยกระดับเกษตรแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ของกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว แต่ยังไม่รวมกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 26/2564 ในส่วนที่เหลือ)
                    3. อนุมัติโครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงิน 13,026.1200 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 1.3 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยบริการ สถานพยาบาลที่ให้บริการสาธารณสุขโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชนทุกสิทธิ ระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน 2564 และมอบหมายให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ เร่งดำเนินการตามความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
                    4. อนุมัติให้สำนักงานประกันสังคม ปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยขยายพื้นที่ดำเนินโครงการฯ จากเดิม 10 จังหวัด เป็น 13 จังหวัดโดยเพิ่มเติมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ทำให้กรอบวงเงินโครงการฯ เพิ่มขึ้นจาก 13,504.6960 ล้านบาท เป็น 15,027.6860 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1,522.9900 ล้านบาท พร้อมทั้งเห็นควรให้นายจ้างและลูกจ้างที่ได้รับเงินช่วยเหลือ เยียวยาจากการดำเนินโครงการฯ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ เห็นควรมอบหมายให้สำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการตามความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด
                    5. อนุมัติให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3 เพื่อรองรับการเป็นเครือข่ายห้องปฏิบัติการวินิจฉัยการติดเชื้อโรคโควิด-19 และเชื้อโรคระบาดอื่น ๆ ในเขตภาคเหนือ จากเดิม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 กันยายน 2564 เป็น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2564 ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ โดยเห็นควรมอบหมายให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็ว
                    6. อนุมัติให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของโครงการคนละครึ่ง และโครงการคนละครึ่งระยะที่ 2 ให้แก่ร้านค้าที่ถูกระงับสิทธิ จำนวน 296 ราย วงเงินที่ระงับการจ่ายจำนวน 972,516 บาท จนกว่าการตรวจจะแล้วเสร็จ เพื่อให้ครอบคลุมการจ่ายเงินให้ร้านค้าใน                  กลุ่มดังกล่าวได้อย่างครบถ้วน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยเห็นควรมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เร่งดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนต่อไป
                    7. อนุมัติให้จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดยะลา ปรับแผนดำเนินงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณโครงการฯ และยกเลิกการดำเนินกิจกรรมย่อยภายใต้โครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว และอนุมัติให้จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปรับแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาผ้าทอละว้า ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว และให้ยุติการดำเนินโครงการ Mae Hong Son Arts and Crafts และโครงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหลังโควิด (Pai Post Covid Retreat) ทั้งนี้ เห็นควรมอบหมายให้จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดยะลา จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดแม่ฮ่องสอน เร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็ว

17. เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการของมาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชนซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ตามที่เสนอ
                    2. มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนแหล่งเงินเพื่อดำเนินตามมาตรการดังกล่าวตามขั้นตอนของพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ต่อไป ทั้งนี้ มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ความสำคัญกับการพิจารณากำหนดกลไกการตรวจสอบยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือและการจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผ่านระบบบัญชีธนาคาร พร้อมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน รับรู้และเข้าใจถึงหลักการและแนวทางการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชนด้วย
                    โดยให้ สศช. รับความเห็นของหน่วยงาน ร่วมทั้งความเห็นของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ที่ขอให้ครอบคลุมสถานศึกษาในสังกัดของ วธ. ด้วย
                    สาระสำคัญ
                    มาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชนที่เสนอในครั้งนี้ เป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ปกครอง นักเรียนและนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. มาตรการให้ความช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ
                              1.1 หลักการให้ความช่วยเหลือ
                                        1) กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนในระบบการศึกษาไทย
                                        2) ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
                              1.2 แนวทางการให้ความช่วยเหลือ ประกอบด้วย
                                        1) การสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อลดภาระให้แก่ผู้ปกครองในอัตรา 2,000 บาทต่อนักเรียน 1 คน เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองที่เพิ่มขึ้นจากการปรับรูปแบบการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากระบบปกติ ที่ทำให้ผู้ปกครองมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และเป็นการช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                                        2) การจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยจัดการเรียนรู้ให้แก่สถานศึกษา เพื่อลดค่าใช้จ่ายของครูในการดูแลนักเรียน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่ครูมีภาระในการติดตามและจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                                        3) การขอความร่วมมือให้ลดหรือชะลอการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากผู้ปกครองในโรงเรียนเอกชน เป็นการดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 และมาตรา 34 ของพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 โดย ศธ. จะดำเนินการกำหนดให้สถานศึกษาลดค่าใช้จ่ายหรือตรึงค่าใช้จ่ายในการเรียกเก็บจากผู้ปกครองในโรงเรียนเอกชนโดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐและโรงเรียนนานาชาติในภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2564 ให้เท่ากับปีการศึกษา 2563 ซึ่งที่ผ่านมาโรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ได้ดำเนินการคืนค่าธรรมเนียมและค่าธรรมเนียมอื่นแก่ผู้ปกครองไปแล้วรวมจำนวน 2,275.27 ล้านบาท
                                                  นอกจากนี้ ศธ. จะได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในโรงเรียนเอกชนในกลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐและโรงเรียนนานาชาติ เพื่อใช้ดำเนินการตามมาตรการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 และมาตรา 34 ของพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ตามขั้นตอนต่อไป
                              1.3 ประมาณการกรอบวงเงิน ในเบื้องต้นคาดว่าการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวจะมีกรอบวงเงินประมาณ 23,000 ล้านบาท
                    2. มาตรการการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
                              2.1 หลักการให้ความช่วยเหลือ
                                        1) กลุ่มเป้าหมาย นิสิต นักศึกษาชาวไทยระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ภาคปกติ ภาคพิเศษ และภาคสมทบในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน
                                        2) ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ทั้งนี้ กรณีที่นักศึกษาได้ชำระค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาแล้ว ให้สถาบันอุดมศึกษาให้การช่วยเหลือตามแนวทางการให้ความช่วยเหลือ โดยการชำระส่วนลดคืนให้แก่นักศึกษาโดยเร็วต่อไป
                              2.2 แนวทางการให้ความช่วยเหลือ ภายใต้มาตรการการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย
                                        1) การลดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โดยการให้ส่วนลดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามอัตราค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาที่เรียกเก็บดังนี้ (1) ลดค่าเล่าเรียน และค่าธรรมเนียมการศึกษาส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท ร้อยละ 50 (2) ส่วนที่ 50,001 - 100,000 บาท ลดร้อยละ 30 และ (3) ส่วนที่เกิน 100,000 บาท ลดร้อยละ 10 ซึ่งการให้ส่วนลด จะเป็นลักษณะร่วมจ่ายระหว่างรัฐบาลและสถาบันอุดมศึกษาในอัตรา 6 : 4 ซึ่งจะเป็นการให้ส่วนลดสูงสุดรวมกันไม่เกินร้อยละ 50 หรือเท่ากับสถาบันอุดมศึกษาสนับสนุนไม่เกินร้อยละ 20 และภาครัฐสนับสนุนเพิ่มเติมอีกไม่เกินร้อยละ 30
                                        2) การลดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน โดยภาครัฐจะสนับสนุนค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนในอัตรา 5,000 บาทต่อคน ทั้งนี้ อว. ได้ประสานให้สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน พิจารณาให้ส่วนลดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาเพิ่มเติม หรือสนับสนุนมาตรการอื่น ๆ อาทิ การขยายเวลาผ่อนชำระหรือผ่อนจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษา การจัดหาอุปกรณ์/โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษายืมเพื่อศึกษาออนไลน์ ส่วนลดค่าหอพักนักศึกษา
                              2.3 ประมาณการกรอบวงเงิน ในเบื้องต้นคาดว่าการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว จะมีกรอบวงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท

ต่างประเทศ

18.  เรื่อง กรอบความตกลงว่าด้วยข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Mutual Recognition Arrangement: AFA on MRA) ฉบับปรับปรุงแก้ไข
                      คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบร่างกรอบความตกลงว่าด้วยข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Mutual Recognition Arrangement) ฉบับปรับปรุงแก้ไข ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ  และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายอื่นลงนามในร่างกรอบความตกลงฯ ฉบับปรับปรุงแก้ไขดังกล่าว และเมื่อลงนามแล้วให้กระทรวงอุตสาหกรรมส่งกรอบความตกลงฯ ดังกล่าวให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา แล้วเสนอรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อนแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันต่อไป ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 (เรื่อง แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการเสนอหนังสือสัญญาตามบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย) พร้อมให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างกรอบความตกลงฯ ฉบับปรับปรุงแก้ไขดังกล่าว  หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย  ให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
                      สาระสำคัญของเรื่อง
                      1. กรอบความตกลงว่าด้วยข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียน ฉบับปรับปรุงแก้ไขตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกรอบความตกลงฯ ฉบับปี 2541 ให้ทันสมัยมากขึ้น โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมข้อตกลงยอมรับร่วมรายสาขาต้องรับรองหรือยอมรับผลของกระบวนการตรวจสอบและรับรองที่มีการดำเนินการตามบทบัญญัติภายใต้ข้อตกลงยอมรับร่วมรายสาขา และร่างกรอบความตกลงฯ ฉบับนี้ จะนำไปใช้กับข้อตกลงยอมรับร่วมรายสาขาสำหรับทุกผลิตภัณฑ์ โดยครอบคลุม 5 สาขา ที่มีอยู่ในปัจจุบัน (1.สาขาไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์  2. ผลิตภัณฑ์ยา 3.อาหารสำเร็จรูป 4. ยานยนต์  และ 5. อาคารและวัสดุก่อสร้าง)  รวมถึงสาขาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย เพื่อส่งเสริมการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน ยกระดับมาตรฐานสินค้าให้สอดคล้องกับแนวทางสากล สร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์ของอาเซียน ลดอุปสรรคทางการค้าและเพิ่มขีดความสามารถของภูมิภาคอาเซียนในการแข่งขันในตลาดโลก ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติม
                      2. ร่างกรอบความตกลงฯ กำหนดขั้นตอนการลงนามและขั้นตอนการแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันแยกออกจากกัน โดยกรอบความตกลงฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อทุกประเทศสมาชิกอาเซียนได้ยื่นสัตยาบันสาร ตราสารรับรองหรือยอมรับต่อเลขาธิการอาเซียนแล้ว ทั้งนี้ มีกำหนดการเสนอรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนลงนามในปี 2564
 กรอบความตกลง ฯ  ฉบับปรับปรุงแก้ไขนี้มีประโยชน์ต่อไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนี้ 1) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก 2) อำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ 3) ปรับมาตรฐานในอาเซียนให้สอดคล้องกันตามแนวทางสากล และสินค้าได้มาตรฐานตามแนวทางสากล 4) ลดต้นทุน เนื่องจากไม่ต้องมีการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าซ้ำ 5) สินค้าต้องผ่านการรับรองตามมาตรฐานก่อนออกวางจำหน่ายในท้องตลาด 6) มีหน่วยงานตรวจสอบและรับรองที่น่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์หลายสาขาในอนาคต 7) มีห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้มาตรฐาน สอดคล้องตามแนวทางสากล 8) ผู้บริโภคเชื่อมั่นในสินค้าและบริการที่ได้รับการรับรองที่ได้มาตรฐานแล้ว และ 9) ผู้รับบริการได้รับการอำนวยความสะดวกที่มีมาตรฐาน  รวมทั้งเป็นการลดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าระหว่างประเทศสมาชิกที่เกิดจากมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และกระบวนการตรวจสอบและรับรอง รวมถึงยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมของไทยในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ

19. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 54 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                       คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างเอกสารจำนวน 5 ฉบับ 1) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 54 2) ร่างกรอบการจัดทำระเบียบการเดินทางของอาเซียน 3) ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการส่งเสริมเยาวชน สันติภาพ และความมั่นคงในการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เออาร์เอฟ) 4) ร่างแถลงการณ์ประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก  (เออาร์เอฟ) ว่าด้วยการป้องกันและต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ และ 5) ร่างแผนงานประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงเอเชีย-แปซิฟิก  (เออาร์เอฟ) สำหรับการบรรเทาภัยพิบัติ ค.ศ. 2021 - 2023 ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือ ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกและให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                       สาระสำคัญของร่างเอกสาร จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งจะมีการเสนอที่ประชุมรับรองระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 54 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                         1) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 54   เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะสานต่อความร่วมมือในการสร้างเสริม ประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนในระยะยาวของภูมิภาค การลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก การส่งเสริมบูรณาการทางเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงในภูมิภาค การรักษาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมความร่วมมือกับคู่เจรจาและหุ้นส่วนต่าง ๆ ของอาเซียน การเสริมสร้างความเป็นแกนกลางของอาเซียนในโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาค และการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค
                         2) ร่างกรอบการจัดทำระเบียบการเดินทางของอาเซียน  เป็นเอกสารที่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย และเป็นการวางกรอบกว้าง ๆ เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพิจารณาใช้เป็นแนวทางจัดทำระเบียบการเดินทางระหว่างกันในลักษณะทวิภาคีสำหรับการเดินทางด้านธุรกิจระยะสั้นและการเดินทางทางราชการ และถือเป็นการตกลงระหว่างประเทศผู้ขอและประเทศผู้รับเท่านั้น โดยปฏิบัติตามระเบียบการตรวจลงตราของแต่ละประเทศรวมทั้ง กำหนด ให้ผู้เดินทางต้องมีผลตรวจโควิด-19 ที่เป็นลบไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง นอกจากนี้ประเทศผู้รับสามารถระบุมาตรการเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร รวมทั้งมาตรการกักตัว
                           3) ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการส่งเสริมเยาวชน สันติภาพ และความมั่นคงในการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เออาร์เอฟ)  มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับวาระเยาวชนสันติภาพ และความมั่นคง การสนับสนุนให้เยาวชนมีความตระหนักรู้และเข้าใจในระดับสากลเกี่ยวกับวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ (culture of peace) หลักขันติธรรม การเสวนาระหว่างศาสนาและวัฒนธรรม การส่งเสริมบทบาทของเยาวชนด้านสารสนเทศและการเท่าทันสื่อ รวมถึงการสร้างขีดความสามารถให้เยาวชนในฐานะนักสร้างสันติภาพ (peacebuilders)
                          4) ร่างแถลงการณ์ประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค     เอเชีย-แปซิฟิก  (เออาร์เอฟ) ว่าด้วยการป้องกันและต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์   มีสาระสำคัญเพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการส่งเสริมการหารือและความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์               ซึ่งรวมถึงการส่งตัวผู้กระทำผิด การสืบสวน การป้องกันและกวาดล้างการโอนทรัพย์สินระหว่างประเทศที่เกิดจากการกระทำผิด การแบ่งปันข้อมูล การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและยุทธศาสตร์ รวมทั้งการสร้างความตระหนักรู้เรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และจริยธรรมไซเบอร์ (cyber ethics) แก่สาธารณชนในการรับมืออาชญากรรม                ข้ามชาติ
                              5) ร่างแผนงานประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงเอเชีย-แปซิฟิก                (เออาร์เอฟ) สำหรับการบรรเทาภัยพิบัติ ค.ศ. 2021 - 2023  เป็นเอกสารกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสมาชิก   เออาร์เอฟ ในการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อพัฒนาศักยภาพในการรับมือภัยพิบัติในระดับภูมิภาคและระดับ              อนุภูมิภาค  โดยต่อยอดจากแผนงานเดิม ครอบคลุมสาขาสำคัญ (priority areas) ได้แก่ การแบ่งปันข้อมูล                การส่งเสริมหน่วยเคลื่อนที่เร็ว การทำงานร่วมกันเพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ               การสร้างเสริมเครือข่ายในการจัดการภัยพิบัติระหว่างรัฐ การส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและความเป็นหุ้นส่วนกับตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ

20. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง?สหรัฐฯ ครั้งที่ 2
                    คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ครั้งที่ 2 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ และร่างแผนปฏิบัติการหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ค.ศ. 2021 ? 2023 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ มีสาระสำคัญ ได้แก่ ระบุหลักการความร่วมมือที่เน้นความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน การเปิดกว้าง ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล หลักนิติธรรม ความเท่าเทียม หลักฉันทามติ การได้ประโยชน์ร่วมกัน การเคารพต่อหลักอธิปไตย การไม่แทรกแซง การเคารพต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และความร่วมมือที่มีกฎเกณฑ์เป็นพื้นฐาน รวมทั้งเน้นแนวทางการเชื่อมโยงกับกรอบความร่วมมืออื่น ๆ อาทิ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy - ACMECS) คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission - MRC) และอาเซียน นอกจากนี้ ยังเน้นการดำเนินโครงการสำคัญในสาขาความร่วมมือ 4 สาขา ภายใต้กรอบ MUSP รวมทั้งแนวทางความร่วมมือในอนาคตของ MUSP ในประเด็นสำคัญ อาทิ สาธารณสุข และการบริหารจัดการน้ำ
                    2. ร่างแผนปฏิบัติการฯ มีสาระสำคัญ ได้แก่ ระบุหลักการความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนความโปร่งใส ธรรมาภิบาล การเคารพต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และความร่วมมือที่มีกฎเกณฑ์เป็นพื้นฐาน โครงสร้างและสาขาความร่วมมือ 4 สาขา รวมทั้งโครงการของสหรัฐฯ ที่จะดำเนินการในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงภายใต้กรอบ MUSP โดยสหรัฐฯ ได้ปรับปรุงสาระและถ้อยคำของร่างแผนปฏิบัติการฯ ฉบับล่าสุด มุ่งให้ความสำคัญกับ                    อนุภูมิภาคฯ ชัดเจนมากขึ้น ตลอดจนกำหนดกรอบเวลาของการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่แผนปฏิบัติการฯ จะสิ้นสุดลงในปี 2566
                    ทั้งนี้ การดำเนินการตามร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ ครั้งที่ 2 สอดคล้องกับนโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทยในการส่งเสริมและกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคฯ และการลดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนา โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก เพื่อสนับสนุนความเข้มแข็งของประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะด้านการพัฒนาความเชื่อมโยงในทุกมิติ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการลดความเหลื่อมล้ำทางการพัฒนา นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมบทบาทของไทยในอนุภูมิภาคฯ อีกด้วย

21. เรื่อง  การแต่งตั้งคณะผู้แทนไทยในการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 27
                       คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ  ดังนี้
                     1. เห็นชอบเอกสารกรอบท่าทีของประเทศไทยในการเข้าร่วมการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 27 รวมถึงร่างข้อสงวนต่อกรรมสารสุดท้าย และมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนไทยที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะพิจารณาใช้ดุลยพินิจตามสถานการณ์ตามความเหมาะสมในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อไป
                       2. มอบอำนาจให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการอภิปรายลงมติและลงนามในกรรมสารสุดท้าย ของการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 27
                       3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) โดยมอบอำนาจ ตามข้อ 2 ให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                      1. การประชุมใหญ่ (Congress) เป็นการประชุมองค์กรสูงสุดของ UPU  ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกทุกประเทศ มีการประชุมทุก ๆ 4 ปี เพื่อกำหนดนโยบายด้านกิจการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ ปรับปรุงแก้ไขพิธีสารต่าง ๆ และเลือกตั้งผู้บริหารของสหภาพฯ ตลอดจนเลือกตั้งสมาชิกสภาบริหารและสมาชิกสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปีจนถึงการประชุมใหญ่ฯ สมัยต่อไป โดยจะมีคณะผู้แทนที่รับมอบอำนาจจากรัฐบาลของประเทศสมาชิก UPU (ปัจจุบันมีจำนวน 193 ประเทศ) เข้าร่วมการประชุมและมีสิทธิ์ในการออกเสียงในนามของรัฐบาลที่ประชุมใหญ่จะพิจารณาประเด็นสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ ข้อเสนอการแก้ไขบทบัญญัติแห่งธรรมนูญและอนุสัญญาของ UPU (หากมี) การพิจารณากำหนดนโยบายแผนการดำเนินกิจการไปรษณีย์ของ UPU  ใน 4 ปีถัดไป ตลอดจนการวางหลักเกณฑ์ด้านงบประมาณ การเงิน และบุคลากร สำหรับสหภาพฯ และการพิจารณาประเด็นท้าทายที่สำคัญ ๆ  ในด้านกิจการไปรษณีย์ในปัจจุบัน รวมทั้งการเลือกตั้งตำแหน่งสำคัญใน UPU ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์แรกของการประชุมฯ จะมีการกล่าวถ้อยแถลงของผู้นำประเทศ หัวหน้าคณะผู้แทนระดับรัฐมนตรี และผู้บริหารระดับสูงที่เข้าร่วมการประชุมฯ
                       2. ในการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์สมัยที่ 27 จะมีการเลือกตั้งตำแหน่งผู้บริหารของ UPU สำหรับวาระปี ค.ศ. 2021 - 2024 ดังนี้
                                    - เลขาธิการ (1 ที่นั่ง)
                                    - รองเลขาธิการ (1 ที่นั่ง)
                                     - สมาชิกสภาบริหาร จำนวน 41 ที่นั่ง จาก 5 กลุ่ม
                                       - สมาชิกสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ จำนวน 48 ที่นั่ง จาก 5 กลุ่ม
                    3. คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 ได้มีมติอนุมัติให้ประเทศไทยสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งสมาชิกสภาบริหาร (Council of Administration : CA) และสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ (Postal Operation Council : POC) ของสหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal Postal Union : UPU) และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการขอเสียง/ แลกเสียงสนับสนุนจากประเทศสมาชิกของ UPU สำหรับการสมัครรับเลือกตั้งทั้งสองสภาของประเทศไทย
                      4. ตามข้อบังคับของการประชุมใหญ่ ข้อ 3 ได้ระบุหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งคณะผู้แทนของประเทศสมาชิกเพื่อเข้าร่วมการประชุมใหญ่ของสหภาพฯ ว่าจะต้องมีหนังสือแต่งตั้งผู้แทน (Credentials) ซึ่งลงนามโดยผู้นำประเทศ หรือหัวหน้ารัฐบาล หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยระบุเกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ผู้แทนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (1) มอบอำนาจเต็มให้แก่คณะผู้แทน (2) มอบอำนาจให้คณะผู้แทนเป็นตัวแทนของรัฐโดยไม่มีข้อจำกัด และ (3) ให้สิทธิ์ แก่คณะผู้แทนหรือผู้แทนรายใดลงนามในกรรมสารสุดท้าย
                      5. การเข้าร่วมการประชุมใหญ่จะเป็นโอกาสในการแสดงบทบาทการมีส่วนร่วมของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก UPU มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528  ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาบริหาร จำนวน 8 สมัย และเป็นสมาชิกสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ 10 สมัย                       (ตั้งแต่ ปี พ.ศ . 2507 ถึงปี พ.ศ. 2559)
                      6. ในการประชุมใหญ่จะมีการลงนามในกรรมสารสุดท้าย (Final Acts) ในวันสุดท้ายของ                   การประชุมฯ เพื่อรับรองผลการประชุมฯ โดยในกรรมสารสุดท้ายจะประกอบไปด้วย (1) กรรมสาร เพิ่มเติมบทบัญญัติธรรมนูญ ของสหภาพสากลไปรษณีย์ Additional Protocol to the Constitution of the Universal Postal Union (หากมีการแก้ไข) (2) ข้อบังคับทั่วไป (General Regulations) (3) การประกาศลงนามในกรรมสารสุดท้าย                        ( Declarations met on Signature of the Act) (4) ข้อตกลงการให้บริการจ่ายเงินทางไปรษณีย์ (Postal Payment Services  Agreement) และ (5) ข้อมติ (Decisions)

22. เรื่อง การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 15 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 10 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวยาน สมัยที่ 10
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลฯ สมัยที่ 15 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ สมัยที่ 10 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 10 และเห็นชอบต่อกรอบการเจรจา ข้อเสนอแนะ และความเห็นของประเทศไทยสำหรับใช้ในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลฯ สมัยที่ 15 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ สมัยที่ 10 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 10   ทั้งนี้ หากมีข้อเจรจาใดที่นอกเหนือจากกรอบการเจรจาฯ และไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย (Legally Binding) ต่อประเทศไทย ขอให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำเสนอกลับคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่จนสิ้นสุดการประชุมรัฐภาคีฯ ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. องค์ประกอบคณะผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลฯ สมัยที่ 15 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ สมัยที่ 10 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 10  รวมทั้งสิ้น 12 คน ประกอบด้วย 1) อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หรือผู้แทน  หัวหน้าคณะผู้แทนไทย 2) ผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม 3) ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4) ผู้แทนกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ  และ 5) ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    2. กรอบการเจรจา ข้อเสนอแนะ และความเห็นของประเทศไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคีทั้ง 3      อนุสัญญาฯ ประกอบด้วย (1) กรอบการเจรจาของประเทศไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลฯ สมัยที่ 15 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ สมัยที่ 10 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 10                 (2) ประเด็นการคัดเลือกคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ และอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ                       (3) ประเด็นแผนงานและงบประมาณร่วมของ 3 อนุสัญญาฯ และ (4) ประเด็นทรัพยากรและกลไกทางการเงินของอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ ซึ่งเป็นไปตามหลักการและแนวทางเดียวกันกับกรอบการเจรจาของประเทศไทยในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลฯ สมัยที่ 14 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ สมัยที่ 9 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 9 ปี พ.ศ. 2562 ซึ่งผ่านการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่                  24 เมษายน 2562 โดยจะ (1) สนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักการและจุดมุ่งหมายของทั้ง 3 อนุสัญญาฯ ในการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม (2) คำนึงถึงสภาพการณ์ต่าง ๆ และความต้องการจำเพาะของประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถในระดับประเทศด้านการจัดการของ    เสียอันตรายและสารเคมีอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจร โดยผ่านการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคและทางด้านการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคีต่าง ๆ (3) สนับสนุนความร่วมมือและการบูรณาการร่วมกันในการดำเนินงานตามพันธกรณีข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยเป็นภาคีและข้อตกลงที่สอดคล้องกับศักยภาพและขีดความสามารถของประเทศและ (4) สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) รวมทั้งแผนปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนปฏิรูปประเทศ                  ด้านสาธารณสุขและด้านสังคม และแผนยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2555 - 2564)

แต่งตั้ง

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                  (กระทรวงพาณิชย์)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง นางสาวเก็จพิรุณ เกาะสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาการพาณิชย์ (นักวิชาการพาณิชย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

24. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายดนุช ตันเทอดทิตย์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง

25. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเกษตรในคณะกรรมการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิม           พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นางสาวศิริพร               บุญชู เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเกษตรในคณะกรรมการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

26. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เสนอแต่งตั้ง        นายประเวทย์ ตันติสัจจธรรม ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล) แทนผู้ที่ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กรกฎาคม 2564


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ